รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์
รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เปิดให้บริการ |
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
ที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, นครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง และสงขลา |
ปลายทาง | |
จำนวนสถานี | 13 |
การดำเนินงาน | |
รูปแบบ | รถด่วนพิเศษ |
เส้นทาง | ทางรถไฟสายใต้ |
ประวัติ | |
เปิดเมื่อ | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559[1] |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ระยะทาง | 946 กิโลเมตร |
รางกว้าง | 1.000 เมตร |
ความเร็ว | สูงสุด 120 กม./ชั่วโมง ความเร็วที่ใช้ในเดินรถ100 กม./ชั่วโมง |
รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ (ทักษิณารัถย์ แปลว่า ทางเดินสู่ภาคใต้; รหัสขบวน: 31/32) เป็นขบวนรถด่วนพิเศษของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้บริการผู้โดยสารระหว่างสถานีรถไฟกรุงเทพ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร กับสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นขบวนรถด่วนพิเศษในสายใต้ ชนิดรถที่ให้บริการได้แก่ รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 1 รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 2 รถเสบียงปรับอากาศ รถเฉพาะผู้พิการมีลิฟต์สำหรับรับรถผู้พิการ และรถเฉพาะสุภาพสตรีและเด็กผู้หญิง ทุกตู้จะมีเจ้าหน้าที่ประจำตู้และรถไฟขบวนนี้มีทางขึ้นทั้งแบบชานชาลาตำและชานชาลาสูง รถไฟขบวนนี้มีตู้ปั่นไฟ มีถังเก็บนำ และมีถังเก็บสิ่งปฏิกูล
รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์เริ่มเดินรถเที่ยวปฐมฤกษ์ในเส้นทางกรุงเทพมหานคร-ชุมทางหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559[1] หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดซื้อรถไฟโดยสารเชิงพาณิชย์รุ่นใหม่จากประเทศจีนจำนวนทั้งหมด 115 คัน โดยขบวนรถได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[2] ร่วมกับรถด่วนพิเศษของการรถไฟแห่งประเทศไทยในอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ อุตราวิถี อีสานมรรคา และอีสานวัตนา
ผังขบวน[แก้]
หมายเลขตู้ขาขึ้น | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
หมายเลขตู้ขาล่อง | 13 | 12 | 11 | 10 | 9 | 8 | 7 | 6 | 5 | 4 | 3 | 2 | 1 |
ชั้น | ตู้ปั่นไฟ | ชั้นสอง | ตู้เสบียง | ชั้นสอง | ชั้นหนึ่ง | ||||||||
จำนวนที่นั่ง | 6 | 40 | 40 | 40 | 40 | 34 | 26 | 40 | 40 | 40 | 40 | 40 | 24 |
สิ่งอำนวย ความสะดวก |
ที่นอนและห้องนำสำหรับเจ้าหน้าที่ | สุขา | สุขา | สุขา | สุขา | สุขาผู้พิการ พื้นที่วีลแชร์ |
โต๊ะสำหรับทานอาหาร | สุขา | สุขา | สุขา | สุขา | สุขา | สุขา ห้องอาบน้ำ |
- ขาล่องหัวรถจักรจะอยู่ติดกับตู้ปั่นไฟ ขาขึ้นหัวรถจักรจะอยู่ติดกับตู้ชั้นหนึ่ง
- มีตะขอพ่วงและท่อลมที่พ่วงกับหัวรถจักรที่ตู้ปั่นไปกับตู้ชั้นหนึ่งเท่านั้น ตู้โดยสารที่อยู่ระหว่างตู้ปั่นไฟกับตู้ชั้นหนึ่งเป็นตะขอพ่วงซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับรถไฟฟ้า ไม่สามารถแยกกันได้
- เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทำการยกเลิกการพ่วงตู้เสบียงคันที่ 7 ทั้งขาขึ้นและขาล่อง ออกจากชุดขบวนรถจนถึงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2565
กำหนดเวลาเดินรถ[แก้]
รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์มีกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
เที่ยวขึ้น[แก้]
|
เที่ยวล่อง[แก้]
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "อัปเดต รถไฟรุ่นใหม่ ข้อมูลที่ต้องรู้ก่อนจอง ตารางเวลา และราคา". สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'สมเด็จพระเทพฯ' พระราชทานชื่อขบวนรถไฟ4สาย". สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)