ทางหลวงเอเชียสาย 2
ทางหลวงเอเชียสาย 2 | |
---|---|
![]() | |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศตะวันออก: | เดนพาซาร์, อินโดนีเซีย |
ปลายทางทิศตะวันตก: | โคสราวี, อิหร่าน |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ: | อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย, พม่า, อินเดีย, เนปาล, ปากีสถาน, อิหร่าน |
ระบบทางหลวง | |
ระบบทางหลวงเอเชีย |
ทางหลวงเอเชียสาย 2 (AH2) เป็นเครือข่ายทางหลวงสายเอเชีย ระยะทาง 8,230 ไมล์ (13,177 กม.) จากเดนพาซาร์, อินโดนีเซีย ถึง โคสราวี, อิหร่าน โดยช่วงที่ผ่านประเทศไทย เริ่มจากพรมแดนพม่าที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ลงมาจนจรดชายแดนบ้านจังโหลน จังหวัดสงขลา เป็นระยะทาง 2,254 กิโลเมตร
อินโดนีเซีย[แก้]
เดนพาซาร์ — สุราบายา — สุราการ์ตา — เซมารัง — จิคัมเพค (— บันดุง) — จาการ์ตา (— เมรัค)
สิงคโปร์[แก้]
มาเลเซีย[แก้]
Johor Bahru — เซไน อุทารา — เซรัมบัง — กัวลาลัมเปอร์ — บุทเทอร์วอร์ท — บูคิต คายู ฮิทัม
ไทย[แก้]

เริ่มจาก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) บริเวณด่านศุลกากรสะเดา–บูกิตกายูฮิตัม พรมแดนไทย-มาเลเซีย ในเขตอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ผ่านอำเภอหาดใหญ่ ถึงจังหวัดพัทลุง ถึงบริเวณสี่แยกเอเชียพัทลุง อำเภอเมืองพัทลุง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ผ่านบางอำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดชุมพร ถึงสี่แยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) อีกครั้ง ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม ถึงทางแยกต่างระดับบางแค ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
จากนั้นแยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนรอบนอกกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันตก) ผ่านบางอำเภอในจังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี ถึงทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1 อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) บริเวณอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดลำปาง จังหวัดพะเยา และสิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรพรมแดนไทย-พม่า ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
พม่า[แก้]
ท่าขี้เหล็ก — เชียงตุง — Meiktila — มัณฑะเลย์ — ทามุ
อินเดีย (1)[แก้]
โมเรฮ์ — อิมพัล — โคหิมะ(Kohima) — ติมาพูร์ — Nagaon — จอราบัต (— กูวาฮิติ) — ชิรอง — Dawki
บังกลาเทศ[แก้]
ทามาบิล — ชิเรต — Katchpur — ธากา — Hatikamrul — บังลาบันดา
อินเดีย (2)[แก้]
เนปาล[แก้]
คาการ์บิททา — พัตไรยา — นารายังกา — โคฮัลปู — มาฮาลี — บัมฮาเดฟ มันดี
อินเดีย[แก้]
บันบาซา — รัมปูร์ — นิวเดลี — อัตตารี — วากัทฮ์
ปากีสถาน[แก้]
วากัทฮ์ — ลาฮอร์ — มูตัน — รอฮ์ลี — เควตตาร์ — ทาฟทัน
อิหร่าน[แก้]
- ทางหลวงอิหร่านหมายเลข 84 : มีร์จาเวฮ์ — ซาเฮดัน — เคอร์มัน — อานาร์
- ทางหลวงอิหร่านหมายเลข 71 : อานาร์ — คาชัน — กัวม
- ทางหลวงอิหร่านหมายเลข 56 : กัวม — ซาลาเชกัน — ซาเวฮ์
- ทางหลวงอิหร่านหมายเลข 48 : ซาเวฮ์ — ฮาเมดัน — เคอร์มันชาฮ์ — โคสราวี
อ้างอิง[แก้]
- Asian Highway Handbook. UNESCAP. 2003. Retrieved 2009-01-01 เก็บถาวร 2012-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โครงการพัฒนาทางหลวงเอเชีย, วารสารทางหลวง ปีที่ 48 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม - มิถุนายน 2554 เก็บถาวร 2013-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ทางหลวงเอเชียสาย 2 |
![]() |
บทความเกี่ยวกับการเดินทาง การคมนาคม และการขนส่งนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |