อำเภอชัยบาดาล
อำเภอชัยบาดาล | |
---|---|
![]() | |
ศูนย์การค้าเศรษฐกิจการเกษตร เขตป่าสักอนุรักษ์เขาสมโภชน์ รุ่งโรจน์ หลากหลายวัฒนธรรม สวยล้ำน้ำตก วังก้านเหลือง | |
ข้อมูลทั่วไป | |
อักษรไทย | อำเภอชัยบาดาล |
อักษรโรมัน | Amphoe Chai Badan |
จังหวัด | ลพบุรี |
ข้อมูลสถิติ | |
พื้นที่ | 1,253.0 ตร.กม. |
ประชากร | 91,506 คน (พ.ศ. 2561) |
ความหนาแน่น | 73.02 คน/ตร.กม. |
รหัสทางภูมิศาสตร์ | 1604 |
รหัสไปรษณีย์ |
15130, 15190 (เฉพาะตำบลนาโสม), 15230 (เฉพาะตำบลชัยบาดาล ม่วงค่อม และมะกอกหวาน) |
ที่ว่าการอำเภอ | |
ที่ตั้ง | ที่ว่าการอำเภอชัยบาดาล เลขที่ 339 หมู่ที่ 5 ถนนท่ามะนาว ตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 15130 |
พิกัด | 15°12′22″N 101°8′12″E / 15.20611°N 101.13667°E |
โทรศัพท์ | 0 3646 1039, 0 3646 2395, 0 3646 1099 |
โทรสาร | 0 3646 1039 |
![]() |
ชัยบาดาล เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี และเป็นอำเภอที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของจังหวัด ในอดีตมีพื้นที่กว้างขวางมาก ครอบคลุมพื้นที่อำเภอท่าหลวงและอำเภอลำสนธิในปัจจุบัน และเคยได้ถูกเสนอจัดตั้งเป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระนารายณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2546 และปี พ.ศ. 2553
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
แต่เดิมอำเภอชัยบาดาล มีฐานะเป็นเมืองชั้นโทชื่อ เมืองไชยบาดาล ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองนครราชสีมา ที่ทำการตั้งอยู่ที่บ้านบัวชุม ตำบลบัวชุม ในปี พ.ศ. 2457 ทางราชการได้ลดฐานะเป็น อำเภอไชยบาดาล โอนการปกครองไปขึ้นอยู่กับเมืองเพชรบูรณ์จนถึงปี พ.ศ. 2461 ได้โอนอำนาจไชยบาดาลไปขึ้นอยู่กับจังหวัดสระบุรี และย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่บ้านไชยบาดาล ตำบลไชยบาดาล ต่อมาทางราชการได้สั่งโอนอำเภอไชยบาดาลไปขึ้นอยู่กับการปกครองของจังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 ส่วนตัวสะกดชื่อนั้นได้เปลี่ยนจากคำว่า "ไชยบาดาล" เป็น "ชัยบาดาล" เมื่อปี พ.ศ. 2514 ครั้นปี พ.ศ. 2521 ได้รับเรื่องราวจากกรมทางหลวงแผ่นดิน ขอให้รื้อที่ว่าการอำเภอหลังนี้เพื่อตัดถนนผ่านตัวอาคารที่ว่าการอำเภอ และได้รับอนุมัติให้รื้อถอนได้เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2521 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่อยู่ปัจจุบันนี้
อำเภอชัยบาดาลเคยถูกเสนอยกฐานะเป็นอำเภอเมืองของจังหวัดพระนารายณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2546 แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ และได้มีการเสนอขอจัดตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2553 แต่ก็ยังไม่ได้รับการพิจารณา เนื่องจากไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดตั้งจังหวัด[1]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอชัยบาดาลตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอศรีเทพ (จังหวัดเพชรบูรณ์)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอลำสนธิ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอมวกเหล็ก (จังหวัดสระบุรี) อำเภอท่าหลวงและอำเภอพัฒนานิคม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโคกสำโรง อำเภอสระโบสถ์ และอำเภอโคกเจริญ
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอชัยบาดาลแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 17 ตำบล 136 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ลำนารายณ์ | (Lam Narai) | 12 หมู่บ้าน | 10. | นาโสม | (Na Som) | 6 หมู่บ้าน | |
2. | ชัยนารายณ์ | (Chai Narai) | 6 หมู่บ้าน | 11. | หนองยายโต๊ะ | (Nong Yai To) | 8 หมู่บ้าน | |
3. | ศิลาทิพย์ | (Sila Thip) | 12 หมู่บ้าน | 12. | เกาะรัง | (Ko Rang) | 10 หมู่บ้าน | |
4. | ห้วยหิน | (Huai Hin) | 8 หมู่บ้าน | 13. | ท่ามะนาว | (Tha Manao) | 8 หมู่บ้าน | |
5. | ม่วงค่อม | (Muang Khom) | 11 หมู่บ้าน | 14. | นิคมลำนารายณ์ | (Nikhom Lam Narai) | 9 หมู่บ้าน | |
6. | บัวชุม | (Bua Chum) | 9 หมู่บ้าน | 15. | ชัยบาดาล | (Chai Badan) | 8 หมู่บ้าน | |
7. | ท่าดินดำ | (Tha Din Dam) | 6 หมู่บ้าน | 16. | บ้านใหม่สามัคคี | (Ban Mai Samakkhi) | 6 หมู่บ้าน | |
8. | มะกอกหวาน | (Makok Wan) | 3 หมู่บ้าน | 17. | เขาแหลม | (Khao Laem) | 8 หมู่บ้าน | |
9. | ซับตะเคียน | (Sap Takhian) | 6 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอชัยบาดาลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลลำนารายณ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลลำนารายณ์และบางส่วนของตำบลชัยนารายณ์
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำนารายณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำนารายณ์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลลำนารายณ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลชัยนารายณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยนารายณ์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลลำนารายณ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาทิพย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศิลาทิพย์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยหินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงค่อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงค่อมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบัวชุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวชุมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าดินดำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าดินดำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลซับตะเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซับตะเคียนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาโสม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาโสมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายโต๊ะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองยายโต๊ะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะรัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะรังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะนาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ามะนาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมลำนารายณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมลำนารายณ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยบาดาลและตำบลมะกอกหวานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่สามัคคี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่สามัคคีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแหลม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาแหลมทั้งตำบล
ภาษาและวัฒนธรรม[แก้]
ภาษาถิ่น[แก้]
ประชาชนในอำเภอชัยบาดาลส่วนใหญ่จะย้ายจากจังหวัดอื่น ๆ เข้าประกอบอาชีพในอำเภอชัยบาดาล เช่น มาจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับผลกระทบจากการยกเลิกรถสามล้อถีบ และทางรัฐบาลจัดสรรที่ทำกินให้ในเขตนิคมสหกรณ์ ตำบลท่าดินดำ มาจาก[จังหวัดนครสวรรค์ตั้งถิ่นฐานอยู่ตำบลซับตะเคียน มาจากจังหวัดนครนายกตั้งถิ่นฐานอยู่ตำบลลำนารายณ์ มาจากจังหวัดนครราชสีมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตำบลบัวชุม ตำบลหนองยายโต๊ะ และตำบลท่าดินดำ ทั้งสามตำบลจะมีประชากรร่วมกันเกินกึ่งหนึ่งของอำเภอชัยบาดาล จึงทำให้อำเภอชัยบาดาลมีภาษาท้องถิ่นเป็นภาษาไทยโคราช (ไทยเบิ้ง) และภาษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาษาไทยเบิ้งจะมีลักษณะคล้ายภาษาไทยกลาง มีหน่วยเสียงพยัญชนะ 21 เสียง หน่วยเสียงสระ 21 หน่วยเสียง และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียง สันนิษฐานว่าภาษาไทยเบิ้งคือภาษาไทยโคราช คำว่า เบิ้ง เป็นคำที่ชาวอีสานกลุ่มอื่น เช่น ลาว เขมร ใช้เรียกชาวไทยโคราช เมื่อชาวไทยโคราชอพยพมาอยู่ถิ่นอื่นยังคงใช้ภาษาไทยโคราชและเรียกกลุ่มของตนว่าไทยเบิ้ง ภาษาที่ใช้จึงเรียกว่าภาษาไทยเบิ้ง ที่สำคัญคือมีเสียงลงท้ายประโยคโดยเฉพาะได้แก่ ด๊อก (ดอก) แหล่ว (แล้ว) เบิ้ง (บ้าง) เหว่ย (หว่า)
การละเล่น[แก้]
รำโทนที่ตำบลบัวชุมและตำบลหนองยายโต๊ะ รำโทนเป็นการแสดงพื้นบ้านที่นิยมเล่นกันทั่วประเทศไทย ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รำโทนได้รับการเชิดชูให้เป็นศิลปะประจำชาติอย่างหนึ่งในสมัยนั้น ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ารำโทนเกิดขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้ริเริ่ม แต่ผู้ที่นิยมเล่นรำโทนคือหนุ่มสาวชาวบ้าน กล่าวกันว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้คนคอยแต่จะอพยพหนีภัยกัน ในยามค่ำคืนจะมืดไปทั่วทุกหนแห่งเนื่องจากรัฐบาลห้ามจุดไฟ ห้ามชุมนุม ประชาชนเกิดความเหงาจึงได้คิดเล่นรำโทนขึ้น วิธีเล่นคือจุดตะเกียงไว้ตรงกลางลาน ผู้แสดงยืนล้อมวงร้องเพลงเกี้ยวพาราสีกันด้วยจังหวะท่วงทำนองที่สั้นๆ ง่าย ๆ ร้องซ้ำ ๆ กันหลายเที่ยว
ประเพณี[แก้]
- ประเพณีการเลี้ยงเจ้าบ้าน เป็นประเพณีที่ชาวบ้านในอำเภอชัยบาดาลได้กระทำติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เชื่อกันว่าเมื่อได้กระทำพิธีนี้แล้วจะทำให้ครอบครัวได้รับความร่มเย็นเป็นสุข ประเพณีนี้จัดทำในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ชาวบ้านจะไปพร้อมกันที่ศาลเจ้าประจำหมู่บ้านในเวลา 08.00-09.00 น. ใครไปก่อนก็เลี้ยงก่อน ไม่ต้องรอกัน โดยจะต้องเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ได้แก่ ข้าวดำ ข้าวแดง (ใช้ข้าวสุกย้อมสีดำ สีแดง) รูปสัตว์ รูปคน (ใช้ดินหรือแป้งปั้นให้เท่ากับจำนวนคนในบ้าน และรูปสัตว์ใช้เฉพาะสัตว์สี่เท้า) ข้าวสาร พริกเม็ด เกลือก้อน เงิน 12 ทอง 15 (ใช้เป็นแป้งปั้นเป็นรูปสตางค์) ธูป เทียน เหล้า บุหรี่ ด้ายสายสิญจน์สำหรับผูกข้อมือ ถาด กระด้ง หรือเข่งปลาทู
เมื่อถึงวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ทุกคนจะนำสิ่งของต่าง ๆ ดังกล่าวใส่ถาด กระด้ง เข่งปลาทู หรือภาชนะอื่น ๆ ก็ได้ ไปที่ศาลเจ้า จุดธูปเทียนบอกเล่าให้มารับสิ่งของที่ตนเตรียมไป จุดบุหรี่ แล้วเทเหล้าใส่ในโอ่งที่มีอยู่ในศาล เสร็จแล้วก็ขอศีลขอพร เวลากลับให้ขอด้ายสายสิญจน์จากท่าน (สายสิญจน์เตรียมไปนั่นเอง) เพื่อนำไปผูกข้อมือลูกหลาน ก่อนกลับใช้มีดขีดเส้นข้างหน้าระหว่างตัวเองกับศาล เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ให้ต่างคนต่างอยู่ไม่ให้รบกวนกัน ส่วนใหญ่ผู้ที่ไปทำพิธีเลี้ยงเจ้าบ้านมักเป็นแม่บ้านหรือผู้หญิงที่มีอายุ
- ประเพณีสงกรานต์ วันที่ 13 เมษายน เป็นวันสงกรานต์และวันขึ้นปีใหม่ของไทย ชาวไทยจะทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำอวยพรผู้ใหญ่เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องจากเดือนเมษายนเป็นช่วงฤดูร้อน น้ำในคลอง ห้วย หนอง แห้งแล้ง ทำให้ปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวเดือดร้อน ดังนั้นวันสงกรานต์จึงนิยมปล่อยปลาลงในแม่น้ำลำคลอง
- ประเพณีของอำเภอชัยบาดาล มีจัดกันทั่วไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ลักษณะของงานนอกจากจะเป็นงานบุญแล้ว ยังเป็นงานที่คนหนุ่มคนสาวได้สนุกสนานเพราะมีการฟื้นฟู นำการละเล่นพื้นบ้านมาเล่น เช่น ชักเย่อ ลูกช่วง ฯลฯ การจัดงานที่หน้าที่ว่าการอำเภอชัยบาดาล เทศบาลตำบลลำนารายณ์ร่วมกับอำเภอและสภาวัฒนธรรมอำเภอ จัดงานสงกรานต์ขึ้นเป็นประจำทุกปี งานเริ่มตั้งแต่ตอนเช้าทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง ภาคบ่ายขบวนแห่นางสงกรานต์ของหน่วยงานและตำบลต่าง ๆ ประกวดนางสงกรานต์แต่งกายงามแบบไทย สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวขอพรผู้อาวุโส และการแสดงดนตรี
- ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ (ปุนเท่าก๊ง ปุนเท่าม้า) ของคนไทยเชื้อสายจีนในเขตเทศบาลตำบลลำนารายณ์ เป็นงานประจำปีที่จะจัดขึ้นหลังจากวันตรุษจีนผ่านไปแล้ว 5 วันและจะมีขบวนแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ในวันที่ 6 หลังจากวันตรุษจีน ซึ่งจะตรงกับประมาณปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

โรงเรียน[แก้]
- โรงเรียนชัยบาดาลวิทยา
- โรงเรียนชัยบาดาลพิทยาคม
- โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ลำนารายณ์
- โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ลพบุรี
- โรงเรียนสัตยาไส
- โรงเรียนนารายณ์วิทยา
- วิทยาลัยการอาชีพชัยบาดาล
- โรงเรียนสามัคคีวิทยา
- โรงเรียนอารีย์สวัสดิ์
- โรงเรียนอนุบาลลำนารายณ์
สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา[แก้]
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ศูนย์ชัยบาดาล
- วิทยาลัยชัยบาดาลพิพัฒน์ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
- วิทยาลัยเทคโนโลยีชัยบาดาล
- วิทยาลัยการอาชีพชัยบาดาล
สถานที่สำคัญ[แก้]
- วัดเขาสมโภชน์
- สวนรุกชาติน้ำตกวังก้านเหลือง
- บ้านท่าดินดำ (ทอเสื่อ)
- วัดจันทาราม
- ตลาดปลา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
- วัดเขาถ้ำปรางค์
- วัดสิงหาราม
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์[แก้]
- ลูกประคบ 415 หมู่ที่ 3 ตำบลลำนารายณ์
- เครื่องเบญรงค์ 127 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านใหม่สามัคคี
- เสื่อกก กลุ่มทอสื่อกก 79 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าดินดำ
- ผ้าทอ กลุ่มทอผ้าม่วงค่อม 178 หมู่ที่ 11 ตำบลม่วงค่อม
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรศิลาทิพย์ 113 หมู่ที่ 12 ตำบลศิลาทิพย์ (ใยบวบ)
- ทองม้วนปลาช่อน กลุ่มแม่บ้านเกษตรท่ารวก 9/2 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองยายโต๊ะ (น้ำปลา)
- น้ำพริกแม่ศรีรัตน์ 437 หมู่ที่ 3 ตำบลลำนารายณ์
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรชัยบาดาล 49 หมู่ที่ 3 ตำบลชัยบาดาล
- น้ำพริกแม่ศรีรัตน์ ตลาดลำนารายณ์
อ้างอิง[แก้]
|