ข้ามไปเนื้อหา

สถานีรถไฟชลบุรี

พิกัด: 13°20′32″N 100°59′54″E / 13.34222°N 100.99833°E / 13.34222; 100.99833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟชลบุรี
การรถไฟแห่งประเทศไทย
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งบ้านสวน เมืองชลบุรี ชลบุรี 20000
พิกัด13°20′32″N 100°59′54″E / 13.34222°N 100.99833°E / 13.34222; 100.99833
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
ชานชาลา3 ชานชาลา
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ที่จอดรถด้านหน้าอาคารสถานี
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี3032 (ชบ.)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ14 กรกฎาคม พ.ศ. 2532; 35 ปีก่อน (2532-07-14)
สร้างใหม่7 กันยายน พ.ศ. 2553; 14 ปีก่อน (2553-09-07)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
พานทอง สายตะวันออก บางพระ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรถไฟชลบุรี เป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่หลักกิโลเมตรที่ 107.79 จากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) อยู่ใกล้กับพื้นที่การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ อ่างศิลา ชายหาดบางแสน

โดยสถานีนี้ เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาการขนส่งทางรางตามแนวเลียบชายฝั่งตะวันออกตามมติคณะรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2506 เพื่อพัฒนาการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังและสัตหีบ

ปัจจุบัน มีรถไฟที่จอดสถานีนี้ 2 ขบวน คือ ขบวนรถธรรมดา 283/284: กรุงเทพ (หัวลำโพง) - จุกเสม็ด และขบวนรถเร็ว 997/998: กรุงเทพ (หัวลำโพง) - จุกเสม็ด (ให้บริการเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์) ในส่วนขบวนรถสินค้า มีขบวนรถสินค้าที่วิ่งระหว่าง ICD ลาดกระบัง และท่าเรือแหลมฉบัง และขบวนรถสินค้ามุ่งหน้าไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยส่วนใหญ่

ประวัติ

[แก้]

สถานีชลบุรี เป็นหนึ่งในสถานีของโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา - สัตหีบ เกิดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2506 ที่ต้องการมีเส้นทางรถไฟแยกจากเส้นทางฉะเชิงเทรา - อรัญประเทศ โดยมีแนวเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือสัตหีบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการใช้ท่าเรือน้ำลึกที่จะเกิดขึ้นในภาคตะวันออก และพัฒนาพื้นที่ในบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก

   รฟท. ได้เตรียมการและทำการสำรวจเบื้องต้น เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของแนวทางเมื่อ พ.ศ. 2509 ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินการสำรวจแนวทาง โดยผ่านอำเภอเมืองชลบุรี

แต่โครงการต้องถูกระงับไประยะหนึ่ง เนื่องจากความไม่เหมาะสมทางเศรษฐกิจบางประการ ต่อมา รัฐบาลได้รื้อฟื้นโครงการขึ้นมาอีกครั้งในปลายปี พ.ศ. 2520 เพื่อพร้อมรับกับการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ และโครงการนิคมอุตสาหกรรมในภูมิภาคตะวันออก การรถไฟฯ จึงทำการทบทวนแนวทาง เพื่อความเหมาะสม โดยว่าจ้างบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา มาทำการศึกษาออกแบบรายละเอียดต่างๆ และจัดทำเอกสารประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้าง โดยงานก่อสร้างเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2524 แล้วเสร็จเมื่อ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2532[1]

ในปี พ.ศ. 2547 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรถไฟในภาคตะวันออก รฟท. ได้เสนอขออนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ตอนฉะเชิงเทรา - ศรีราชา - แหลมฉบัง และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ให้ดำเนินโครงการดังกล่าวได้ โดยโครงการได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 แล้วเสร็จวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 28 เดือน[2] ซึ่งมีการปรับปรุงอาคารสถานีเดิมและก่อสร้างบ้านพักพนักงานขึ้นมาใหม่

การให้บริการ

[แก้]

เที่ยวขึ้น

[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง เวลาถึง-ออก สถานีชลบุรี ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก เวลาถึง เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร997 กรุงเทพ (หัวลำโพง) 06:45 08:36 08:37 จุกเสม็ด 10:10 มีเดินรถเฉพาะ ส - อา
ธ283 กรุงเทพ (หัวลำโพง) 06:55 09:48 09:49 จุกเสม็ด 11:45

เที่ยวล่อง

[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง เวลาถึง-ออก สถานีชลบุรี ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก เวลาถึง เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ธ284 จุกเสม็ด 13:05 15:20 15:21 กรุงเทพ (หัวลำโพง) 18:15
ร998 จุกเสม็ด 15:30 17:02 17:03 กรุงเทพ (หัวลำโพง) 18:55 มีเดินรถเฉพาะ ส - อา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วันนี้เรามารู้จัก ประวัติการรถไฟไทย และเส้นทางต่างๆ กันหน่อย..ดูสิว่ายังมีอนาคตมั้ย. สมัยก่อนไทยเป็นมหาอำนาจทางรถไฟ นะ". Pantip. สืบค้นเมื่อ 2025-02-09.
  2. "รถไฟทางคู่ใหม่ 8 สาย -". Realist Blog รีวิวบ้าน คอนโด อัพเดทข่าวอสังหาฯ รถไฟฟ้า ทางด่วน. สืบค้นเมื่อ 2025-02-09.