รถไฟฟ้าสายสีฟ้า
รถไฟฟ้าสายสีฟ้า | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | อยู่ระหว่างการขอ EIA |
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร |
ที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
ปลายทาง | |
จำนวนสถานี | 9 |
การดำเนินงาน | |
รูปแบบ | รถไฟฟ้าโมโนเรล |
ระบบ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร |
ประวัติ | |
เปิดเมื่อ | พ.ศ. 2572 (est.) |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ระยะทาง | 9.5 กิโลเมตร (est.) |
ระบบจ่ายไฟ | รางที่สาม[ต้องการอ้างอิง] |
ความเร็ว | 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง[ต้องการอ้างอิง] |
รถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2553-2572 โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นเส้นทางใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 พร้อมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเทา ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ที่เชื่อมต่อจุดสำคัญใจกลางเมือง มีจุดมุ่งหมายเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ย่านดินแดง ซึ่งมีโครงการพัฒนาเคหะชุมชนดินแดง โครงการพัฒนาย่านมักกะสัน และการเปิดใช้ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ระยะที่ 2-4 รวมทั้งเพื่อเชื่อมต่อกับย่านธุรกิจบนถนนสาทร โดยมีแนวเส้นทางจากเคหะชุมชนดินแดง เข้าสู่ศูนย์คมนาคมมักกะสัน (สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง) ไปยังถนนวิทยุ และถนนสาทร รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 319,000 รายต่อวันในปี พ.ศ. 2572
ปัจจุบันโครงการได้ถูกนำมาบรรจุลงไปใหม่ ในแผนแม่บทระยะที่ 1 (M Map1) ที่ประกาศยืนยันโดยกรมการขนส่งทางราง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้ก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2572
พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน[แก้]
เขตดินแดง, ราชเทวี, ปทุมวัน, บางรัก และสาทร กรุงเทพมหานคร
แนวเส้นทาง[แก้]
เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน เริ่มต้นจากสถานีประชาสงเคราะห์ ของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม บริเวณที่ตั้งของศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ลงมาทางทิศใต้ตามแนวถนนประชาสงเคราะห์ ผ่านเคหะชุมชนดินแดง แยกประชาสงเคราะห์ จุดตัดถนนดินแดง ยกระดับข้ามทางพิเศษศรีรัชบริเวณบึงมักกะสัน เข้าสู่พื้นที่ของศูนย์คมนาคมมักกะสัน โดยวิ่งไปทางทิศตะวันออกตามแนวเขตทางที่เตรียมไว้สำหรับระบบรางเดี่ยวภายในศูนย์ฯ ผ่านสถานีมักกะสัน แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนอโศก-ดินแดง เลี้ยวขวาอีกครั้งที่แยกอโศก-เพชรบุรี เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี ผ่านแยกมิตรสัมพันธ์ จุดตัดถนนนิคมมักกะสัน และซอยนานาเหนือ ยกระดับข้ามทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณทางขึ้น-ลงทางด่วนเพชรบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายที่แยกวิทยุ-เพชรบุรีเข้าสู่แนวถนนวิทยุลงมาทางทิศใต้ ผ่านแยกเพลินจิต สถานทูตอเมริกา แยกสารสิน สวนลุมพินี ยกข้ามสะพานลอยไทย-เบลเยี่ยม ถนนพระรามที่ 4 ที่แยกวิทยุ เข้าสู่ถนนสาทร ผ่านแยกถนนสวนพลู ไปสิ้นสุดที่แยกสาทร-นราธิวาส จุดตัดถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร
สถานี[แก้]
มี 9 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด
ชื่อและรหัสของสถานี | ชานชาลา | จุดเปลี่ยนเส้นทาง | |
---|---|---|---|
ประชาสงเคราะห์ | ![]() | ||
มิตรไมตรี | |||
ดินแดง | |||
มักกะสัน | ![]() ![]() สายนครวิถี สถานีมักกะสัน (อโศก) (โครงการ) | ||
เพชรบุรี | |||
เพลินจิต | ![]() | ||
ลุมพินี | ![]() | ||
สวนพลู | |||
ช่องนนทรี | ![]() ![]() | ||
การเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนอื่น[แก้]
- สถานีประชาสงเคราะห์ เชื่อมต่อกับสถานีประชาสงเคราะห์ของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม
- สถานีมักกะสัน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ภายในศูนย์คมนาคมมักกะสัน และเชื่อมต่อกับสถานีเพชรบุรี ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
- สถานีเพลินจิต เชื่อมต่อกับสถานีเพลินจิต ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท
- สถานีลุมพินี เชื่อมต่อกับสถานีลุมพินี ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
- สถานีช่องนนทรี เชื่อมต่อกับสถานีช่องนนทรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม และสถานีสาทร ของรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ (Bangkok BRT)
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- โครงการศึกษาเพื่อปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2553-2572 โดย สนข. เก็บถาวร 2013-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- MRT Black-Grey Lines -กระทู้จาก SkyscraperCity Thai Forum
- [MRTA] Bangkok METRO part II -กระทู้จาก SkyscraperCity Thai Forum
- "ปัดฝุ่น" รถไฟฟ้า...สายสีเทา-สายสีฟ้า[ลิงก์เสีย]