ข้ามไปเนื้อหา

สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชุมทางหาดใหญ่
สถานีรถไฟทางไกล
สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ใน พ.ศ. 2552
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรถไฟ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
  สายใต้ – สายปาดังเบซาร์
ชานชาลา6
ทางวิ่ง16
ผู้ให้บริการรถไฟ
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ที่จอดรถมีบริการ
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี4347 (หใ.)
ประเภทชั้น 1
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการพ.ศ. 2467; 100 ปีที่แล้ว (2467)
ชื่อเดิมโคกเสม็ดชุน
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
บ้านดินลาน สายใต้ นาม่วง
มุ่งหน้า สุไหงโก-ลก
สายใต้
สายปาดังเบซาร์
คลองแงะ
มุ่งหน้า ปาดังเบซาร์
ชุมทางหาดใหญ่
Hat Yai Junction
กิโลเมตรที่ 928.58
บ้านดินลาน
Ban Din Lan
–6.74 กม.
นาม่วง
Na Muang
+11.68 กม.
คลองแงะ
Khlong Ngae
+24.06 กม.
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ เดิมชื่อ สถานีรถไฟโคกเสม็ดชุน ตั้งอยู่บนถนนรถไฟ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นสถานีรถไฟ ระดับ 1 ของทางรถไฟสายใต้ โดยจากจุดนี้ทางรถไฟจะแยกออกเป็น 2 สาย คือ สายที่มุ่งหน้าไปยังปลายทางที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ติดชายแดนประเทศมาเลเซีย ด้านรัฐกลันตัน และสายที่มุ่งหน้าไปบัตเตอร์เวิร์ท ประเทศมาเลเซีย ส่วนสายที่ถูกยกเลิก 1 สาย คือสายที่มุ่งหน้าไปสงขลา ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

ประวัติ

[แก้]
หัวรถจักรแบลด์วิน หมายเลข 244 ถูกเก็บรักษาไว้บริเวณสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่

ในอดีตสถานีรถไฟชุมทางตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภาแต่ภายหลังประสบปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้ง ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้ทำซื้อที่ดินของขุนนิพัทธ์จีนนคร (เจียกีซี) และย้ายสถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภามายังสถานีโคกเสม็ดชุน ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. 2460 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีชุมทางหาดใหญ่มาแต่นั้น[1] ส่วนสถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภาจึงกลายเป็นที่หยุดรถไฟ[2]

ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2521 ได้มีการเดินรถไปสายหาดใหญ่-สงขลา ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร

การคมนาคมในภาคใต้ในอดีตนั้น ต้องพึ่งการเดินทางด้วยรถไฟเป็นหลัก และด้วยการเป็นชุมทางสำคัญส่งผลให้อำเภอหาดใหญ่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงนับจากอดีตจนปัจจุบัน มีตัวเมืองและย่านพาณิชย์ขนาดใหญ่จนมีขนาดใหญ่กว่าตัวอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลาด้วยซ้ำไป

ตารางเวลาการเดินรถ

[แก้]
ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567

เที่ยวไป

[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางหาดใหญ่ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร171 กรุงเทพอภิวัฒน์ 15.10 05.50 สุไหงโก-ลก 10.10
ร175 ชุมทางหาดใหญ่ 06.30 ต้นทาง สุไหงโก-ลก 09.50
ดพ37 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.10 06.35 สุไหงโก-ลก 10.35
ดพ45 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.10 06.35 ปาดังเบซาร์ 08.05
ดพ31 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.50 ปลายทาง ชุมทางหาดใหญ่ 07.05
ท947 ชุมทางหาดใหญ่ 07.40 ต้นทาง ปาดังเบซาร์ 08.35
ท463 พัทลุง 06.00 07.45 สุไหงโก-ลก 12.08
ร169 กรุงเทพอภิวัฒน์ 17.30 09.18 ยะลา 11.05
ท451 นครศรีธรรมราช 06.00 10.07 สุไหงโก-ลก 14.45
ดพ41 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.50 12.03 ยะลา 13.40 งดเดินรถ
ท447 สุราษฎร์ธานี 06.20 13.02 สุไหงโก-ลก 17.35
ท949 ชุมทางหาดใหญ่ 14.00 ต้นทาง ปาดังเบซาร์ 14.55
ท455 นครศรีธรรมราช 09.38 14.20 ยะลา 17.20
ท445 ชุมพร 06.35 ปลายทาง ชุมทางหาดใหญ่ 16.35
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวกลับ

[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางหาดใหญ่ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท446 ชุมทางหาดใหญ่ 06.20 ต้นทาง ชุมพร 16.30
ท456 ยะลา 06.32 09.11 นครศรีธรรมราช 13.55
ท948 ปาดังเบซาร์ 08.55 ปลายทาง ชุมทางหาดใหญ่ 09.50
ท448 สุไหงโก-ลก 06.30 10.46 สุราษฎร์ธานี 17.50
ท452 สุไหงโก-ลก 08.55 13.41 นครศรีธรรมราช 17.55
ร172 สุไหงโก-ลก 12.10 16.05 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.30
ท950 ปาดังเบซาร์ 15.40 ปลายทาง ชุมทางหาดใหญ่ 16.35
ดพ42 ยะลา 15.35 16.57 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.50 งดเดินรถ
ท464 สุไหงโก-ลก 12.20 16.55 พัทลุง 18.38
ดพ32 ชุมทางหาดใหญ่ 17.45 ปลายทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 08.10
ร176 สุไหงโก-ลก 14.55 ปลายทาง ชุมทางหาดใหญ่ 18.00
ดพ38 สุไหงโก-ลก 14.15 18.05 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05
ดพ46 ปาดังเบซาร์ 17.00 18.05 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05
ร170 ยะลา 16.30 18.20 กรุงเทพอภิวัฒน์ 10.50
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

การก่อการวินาศกรรม

[แก้]
ภายในสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2552

สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ เคยตกเป็นเป้าการโจมตี โดยขบวนการแบ่งแยกดินแดน ในปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้

  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ระเบิดแสวงเครื่อง มีผู้บาดเจ็บ 14 คน[3]
  • 7 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ระเบิดแสวงเครื่อง ขบวนรถไฟหาดใหญ่-กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2532 มีการวางระเบิด 2 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 7 คน[3]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ระเบิดแสวงเครื่อง จุดระเบิดด้วยสายชนวน มีผู้เสียชีวิต 4 คน รวมทั้งเด็กชายอายุ 5 ปี เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ [4]

สถานที่ใกล้เคียง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สมโชติ อ๋องสกุล. (11 กันยายน 2562). "ชีวิตและผลงานไทศึกษาของศาสตราจารย์เจีย แยนจอง : จากหาดใหญ่สู่กวางตุ้ง สิบสองปันนาและคุนหมิง". ศิลปวัฒนธรรม. 40:11, หน้า 31
  2. "ประวัติหาดใหญ่". เทศบาลนครหาดใหญ่. 3 มิถุนายน 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-21. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 พูโล กับการต่อสู้ที่เปลี่ยนไป เก็บถาวร 2007-12-26 ที่ archive.today สถาบันข่าวอิศรา
  4. “ปุระชัย” เช็กบิลตำรวจ - ฝ่ายปกครอง สังเวยระเบิดสถานีรถไฟ[ลิงก์เสีย]