ทางรถไฟสายสวรรคโลก
ทางรถไฟสายสวรรคโลก | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
ที่ตั้ง | จังหวัดอุตรดิตถ์และสุโขทัย |
ปลายทาง | |
จำนวนสถานี | 7 |
การดำเนินงาน | |
รูปแบบ | รถไฟระหว่างเมือง |
ระบบ | รถไฟทางไกล |
ผู้ดำเนินงาน | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
ศูนย์ซ่อมบำรุง | โรงรถจักรดีเซลอุตรดิตถ์ |
ประวัติ | |
เปิดเมื่อ | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2453 |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ระยะทาง | 28.83 กม. (17.91 ไมล์) |
รางกว้าง | มีเตอร์เกจ |
ทางรถไฟสายสวรรคโลก–ชุมทางบ้านดารา หรือ ทางแยกสวรรคโลก[1] เป็นทางรถไฟสายรองในระบบรถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย แยกมาจากทางรถไฟสายเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา ตำบลบ้านดารา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านสถานีรถไฟคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย มาสุดปลายทางที่สถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย มีความยาวทั้งหมด29.007 กิโลเมตร[2] เมื่อแรกสร้างมีแผนจะสร้างเส้นรถไฟนี้ต่อไปจนถึงจังหวัดตาก[3] นอกจากจะเป็นระบบขนส่งมวลชนในท้องถิ่นแล้ว ในอดีตทางรถไฟสายนี้ยังทำหน้าที่ลำเลียงไม้ท่อนและของป่าจากแถบนี้ลงไปยังกรุงเทพมหานคร[4]
ประวัติ
[แก้]ทางรถไฟสายสวรรคโลกนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้สร้างทางรถไฟจากเมืองพิษณุโลก แล้วแยกเป็นสองสายที่บ้านดารา สายหนึ่งขึ้นเหนือไปสุดที่เมืองอุตรดิตถ์ และอีกสายหนึ่งไปฝั่งตะวันตกสุดที่เมืองสวรรคโลก[5] เพื่อเชื่อมการเดินไปออกไปทางทิศตะวันตกออกทางเมืองตากในอนาคต ซึ่งในขณะนั้น ทางรถไฟสายนี้ยังเป็นที่ราบเต็มไปด้วยป่ารกทึบ ไม่มีสถานีรายทาง มีเพียงสถานีปลายทางคือสวรรคโลก ใช้รางเกจใหญ่ มีระยะทาง 28.9 กิโลเมตร สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง 840,000 บาท[3] สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เพื่อเปิดทางรถไฟทั้งสองเส้นเมื่อวันที่ 6–7 ธันวาคม พ.ศ. 2452 (นับแบบปัจจุบันคือ พ.ศ. 2453) และประทับรถไฟพระที่นั่งจากปะรำพิธีข้างสถานีรถไฟพิษณุโลกไปยังสถานีรถไฟสวรรคโลกและสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ตามลำดับ หลังจากนั้นพระองค์เสด็จประพาสหัวเมืองรายทางรถไฟแถบเขาพลึง และเมืองสวรรคโลก แล้วจึงเสด็จกลับพระนครในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2453[5]
หลังการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงให้หยุดเดินรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพ–สวรรคโลก–กรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563[6] ต่อมาได้เปิดให้บริการขบวนรถท้องถิ่นที่ 405/406 ศิลาอาสน์-สวรรคโลก-ศิลาอาสน์ ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
รายชื่อสถานีรถไฟสายสวรรคโลก
[แก้]ช่วงสถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา - สวรรคโลก
[แก้]ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ | ชื่อภาษาอังกฤษ | เลขรหัส | ระยะทางจาก กท. | ชั้นสถานี | ตัวย่อ | อาณัติสัญญาณ | ระบบบังคับประแจ | ที่ตั้ง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตำบล | อำเภอ | จังหวัด | |||||||||
ชุมทางบ้านดารา - สวรรคโลก | |||||||||||
ชุมทางบ้านดารา | Ban Dara Junction | 1137 | 458.31 กม. | 3 | ดร. | หางปลา มีสัญญาณเตือน ไม่ใช้ห่วงทางสะดวก | สายลวด | บ้านดารา | พิชัย | อุตรดิตถ์ | แยกจากสายหลักเชียงใหม่ |
คลองละมุง | Khlong Lamung | 1138 | 466.32 กม. | ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) | ลม. | - | - | ไร่อ้อย | เปิดเป็นสถานีในวันที่ 15 สิงหาคม 2453[5] เป็น 1 ใน 4 สถานีรายทางในเส้นทางสายสวรรคโลก[7] ยุบเป็นที่หยุดรถและยุบเลิกในภายหลัง | ||
คลองมะพลับ | Khlong Maphlap | 1139 | 470.27 กม. | 3 | มป. | ป้ายเขตสถานี ใช้ห่วงทางสะดวก | มือโยก | ศรีนคร | ศรีนคร | สุโขทัย | เข้าเขตจังหวัดสุโขทัย |
วัดคลองปู | Wat Khlong Pu | 1140 | 474.96 กม. | ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) | วู. | - | - | คลองยาง | สวรรคโลก | ||
คลองยาง | Khlong Yang | 1141 | 479.03 กม. | ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) | คย. | - | - | เปิดเป็นสถานีในวันที่ 15 สิงหาคม 2453[5] เป็น 1 ใน 4 สถานีรายทางในเส้นทางสายสวรรคโลก[7] ยุบเป็นที่หยุดรถและยุบเลิกในภายหลัง | |||
หนองเรียง | Nong Riang | 1142 | 483.08 กม. | ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) | นย. | - | - | ในเมือง | |||
สวรรคโลก | Sawankhalok | 1143 | 487.14 กม. | 3 | สว. | ป้ายเขตสถานี ใช้ห่วงทางสะดวก | มือโยก | เมืองสวรรคโลก | สิ้นสุดทางรถไฟสายสวรรคโลกที่สถานีนี้ |
แผนการพัฒนาเส้นทาง
[แก้]ตามที่ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวงรักษาราชการแทน ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการท้ายหนังสือสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ที่ คค 0809.7/1667 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 เรื่อง รายงานผลการประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดพิษณุโลก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ โดยมอบหมายให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) รับข้อเสนอการพัฒนาทางรถไฟสายใหม่ ช่วงตาก - สวรรคโลก และ ช่วงศิลาอาสน์ -ภูดู่ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ นั้นของการพัฒนาโครงข่ายรถไฟ โดยแผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฯ เส้นทางการพัฒนาทางรถไฟสายใหม่ช่วงตาก - สวรรคโลก และช่วงศิลาอาสน์ - ภูดู่ เป็นเส้นทางรถไฟตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ East - West Economic Corridor อีกเส้นหนึ่ง ที่เชื่อมโยงสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผ่านทางด่านภูดู่ จังหวัดอุตรดิตถ์ จะเกิดการเชื่อมต่อทางรถไฟ 3 ประเทศ ที่มีระยะทางสั้นกว่าเส้นทางรถไฟสายอื่นๆและนำมาซึ่งการประหยัดค่าขนส่งและโลจิสติกส์ในการค้าชายแดนและการส่งออกจากประเทศไทยไปยังกลุ่มประเทศอินโดจีนด้วยระบบราง โดยมีระยะมางโครงการ 108 กิโลเมตร เป็นระบบทางเดี่ยว/ขนาดทาง 1.000 เมตร โดยนับเป็นเส้นทางที่มีศักยภาพ มีแผนดำเนินการภายหลังปี พ.ศ. 2585[8]
แนวเส้นทาง
[แก้]แนวคิดการออกแบบโครงการจะเป็นการก่อสร้างทางรถไฟทางเดี่ยว ขนาดทาง 1.000 เมตร โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการที่บริเวณสถานีตาก (ตำบลวังหิน) จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่เขตจังหวัดสุโขทัย แนวเส้นทางรถไฟจะขนานไปกับแนวถนน AH12 ที่อยู่ระหว่างอุทยานแห่งชาติรามคำแหง และอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยไม่ล่วงล้ำพื้นที่ของเขตอุทยาน โดยมีสถานีรถไฟอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ประมาณ 3.5กิโลเมตร และสถานีสุโขทัยตั้งอยู่บริเวณทุ่งทะเลหลวง โดยไม่เข้าไปผ่านย่านชุมชนเมืองที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่มีต่อประชาชน จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าขึ้นสู่ทิศเหนือ ผ่านพื้นที่ท่าอากาศยานสุโขทัย เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางผ่านทางรางและทางอากาศไว้ ณ จุดนี้ โดยสถานีรถไฟท่าอากาศยานสุโขทัย ห่างจากอาคารผู้โดยสารขาเข้า-ขาออกประมาณ 2 กิโลเมตร และจะสิ้นสุดโครงการที่สถานีรถไฟสวรรคโลกแห่งใหม่ โดยจะใช้พื้นที่ของที่หยุดรถไฟหนองเรียง(เดิม) เป็นสถานีสวรรคโลกแห่งใหม่ เนื่องจากจะได้ไม่ต้องทำการเวนคืนพื้นที่สร้างสถานีเพิ่มเติม และเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อชุมชน ประชาชนให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยสถานีสวรรคโลกแห่งใหม่จะห่างจากตัวเมืองสวรรคโลกประมาณ 3-4 กิโลเมตร
รายชื่อสถานีในโครงการ | |||||
---|---|---|---|---|---|
สถานี | ขนาดสถานี | ตำบล | อำเภอ | จังหวัด | หมายเหตุ |
ตาก | เล็ก | วังหิน | เมืองตาก | ตาก | เป็นจุดเริ่มต้นโครงการ |
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย | เล็ก | เมืองเก่า | เมืองสุโขทัย | สุโขทัย | |
สุโขทัย | กลาง | บ้านกล้วย | |||
ท่าอากาศยานสุโขทัย | เล็ก | คลองกระจง | สวรรคโลก | ||
สวรรคโลกใหม่ | เล็ก | ในเมือง | อยู่บริเวณอดีตที่หยุดหนองเรียง เป็นจุดสิ้นสุดโครงการ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายงานฉบับกลาง การจัดทำเอกสาร การนำเสนอแหล่งมรดกวัฒนธรรมเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (ทางรถไฟสายมรณะ) เข้าสู่บัญชีชั่วคราวมรดกโลก (PDF). สมาคมอิโคโมสไทย. 29 มิถุนายน 2561. p. 28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-17. สืบค้นเมื่อ 2021-08-17.
- ↑ "การรถไฟแห่งประเทศไทย". กระทรวงคมนาคม. กรกฎาคม 2564. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-16. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "คำกราบบังคมทูลรายงาน การเปิดทางรถไฟอุตรดิษฐ์แลสวรรคโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 2063–2071. 26 ธันวาคม 2452.
- ↑ เมธินีย์ ชอุ่มผล (19 กันยายน 2561). "สถานีรถไฟสวรรคโลก". วารสารเมืองโบราณ. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "การเปิดรถไฟสายเหนือแต่เมืองพิศณุโลก ไปยังเมืองอุตรดิษฐ์แลเมืองสวรรคโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 2059–2063. วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2452
- ↑ "รถไฟสุโขทัย หยุดเดินรถแล้ววันนี้". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. 1 เมษายน 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-16. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 7.0 7.1 "กรมรถไฟหลวงแบบอักษรย่อ พ.ศ. ๒๔๖๐". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2460
- ↑ การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) หน้าที่ 594