ข้ามไปเนื้อหา

การขนส่งสาธารณะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ระบบขนส่งมวลชน)
รถไฟใต้ดินนครนิวยอร์ก
รถไฟใต้ดินมอสโก
รถไฟฟ้าเอ็มทีอาร์ในฮ่องกง
รถไฟฟ้าแอร์เออแอร์
สถานีฉัตรปติศิวาชีของมุมไบ สถานีรถไฟที่พลุกพล่านที่สุดในประเทศอินเดีย

การขนส่งสาธารณะ คือบริการคมนาคมขนส่งผู้โดยสารที่สามารถใช้ได้โดยสาธารณชน ซึ่งแตกต่างจากรถแท็กซี รถร่วม หรือรถเมล์เช่าเหมาคันที่จะไม่รับผู้โดยสารแปลกหน้าหากไม่มีการตกลงกันก่อนล่วงหน้า

วิธีการขนส่งสาธารณะรวมไปถึงรถประจำทางสาธารณะ รถราง รถลาก และรถไฟ แล้วยังหมายรวมถึงระบบขนส่งมวลชนเช่นรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าใต้ดินและเรือข้ามฟาก สายการบิน รถทัวร์ และรถไฟระหว่างเมืองมักจะใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง มีการพัฒนาเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงในหลายพื้นที่ทั่วโลกอีกด้วย

การขนส่งสาธารณะส่วนใหญ่ให้บริการโดยมีกำหนดเวลา แท็กซี่ร่วมให้บริการเมื่อมีผู้โดยสารหรือมีผู้โดยสารเต็มคันแล้วแต่กรณี ระบบการขนส่งที่เป็นโครงข่ายรองมีให้บริการในพื้นที่ที่มีประชากรน้อยหรือในพื้นที่ที่ต้องการการให้บริการส่งถึงหน้าบ้าน[1]

การขนส่งสาธาณะในมหานครมีความแตกต่างในพื้นที่เอเซีย อเมริกาเหนือ และยุโรปเป็นอย่างมาก ในเอเซียการขนส่งมวลชนมีผู้ให้บริการคือบริษัทเอกชนหรือมหาชนที่แสวงหาผลกำไรและผู้ลงทุนทางการอสังหาริมทรัพย์[2][3] ในอเมริกาเหนือ หน่วยงานด้านการขนส่งมวลชนเป็นผู้ดูแลการบริการขนส่งสาธารณะ ในยุโรป รัฐบาลมักมอบหมายให้บริษัทเอกชนเป็นผู้ดูแลจัดการการขนส่งสาธารณะ

บริการขนส่งสาธารณะได้รับกำไรจากการเก็บค่าโดยสารซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับระยะทางของการเดินทางหรืออาจจจะเก็บแบบราคาเดียวก็ได้ หากมีจำนวนผู้โดยสารมากและราคาค่าเดินทางสูงพอก็อาจจะทำให้มีกำไรได้ ทั้งนี้รัฐบาลอาจจะอัดฉีดเงินภาษีเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน เมืองบางเมืองมีการให้บริการขนส่งสาธารณะที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยรัฐบาลเป็นผู้ออกค่าดำเนินงานทั้งหมด

เหตุผลทางประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ทำให้มีการใช้การขนส่งสาธารณะในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ประเทศในโลกเก่ามักมีระบบที่น่าเชื่อถือและครอบคลุมพื้นที่ใหญ่ซึ่งให้บริการเมืองที่มีประชากรมากแต่เดิม ทั้งนี้ประเทศในโลกใหม่มักประสบปัญหา "คนเมือง" และมีระบบขนส่งมวลชนที่ไม่ทั่วถึง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2013-12-28.
  2. "Rail integrated communities in Tokyo". JTLU.org.
  3. "Lessons from Japanese Experiences of Roles of Public and Private Sectors in Urban Transport". Japan Railway & Transport Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-26. สืบค้นเมื่อ 2013-12-28.