ทางรถไฟสายชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ทางรถไฟสายชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ เป็นทางรถไฟระหว่างประเทศที่เชื่อมระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย มีจุดเริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผ่านพรมแดนไทยกับมาเลเซีย จนถึงสถานีปลายทางคือสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส ซึ่งบรรจบกับทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันตกของมาเลเซีย[3]
ประวัติ[แก้]
มีการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2452 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2464 โดยมีสถานีปลายทางคือสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส[1] ต่อมาได้มีการก่อสร้างเส้นทางเพิ่มเติมจากสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เชื่อมเข้ากับทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศมาเลเซีย ที่สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส[3] โดยเดินรถระหว่างกันครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2461[1] ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำสัญญาการเดินรถระหว่างกันเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465[4] ทั้งสายปาดังเบซาร์และสายปาซีร์มัซ[5] โดยสถานีร่วมในสายปาดังเบซาร์ตั้งอยู่ในดินแดนคาบเกี่ยวกันของสองประเทศ ส่วนสถานีร่วมในสายปาซีร์มัซคือสถานีรถไฟสุไหงโก-ลกในฝั่งไทย[5] กระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่สอง จึงหยุดการเดินรถระหว่างกัน[1]
หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลมาเลเซียเจรจาขอเปิดการเดินรถระหว่างประเทศอีกครั้ง และได้มีการตกลงตามสัญญาเดิมเกี่ยวกับการเดินรถผ่านแดนที่เคยกระทำต่อกันเมื่อปี พ.ศ. 2478 มีการแก้ไขบางข้อ และเดินรถตามข้อตกลงใหม่เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2497[1]
เดิมทางรถไฟสายนี้มีเพียงสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ในฝั่งมาเลเซีย หากผู้โดยสารมีความประสงค์จะลงที่ปาดังเบซาร์ฝั่งไทยต้องมีการทำหนังสือเดินทางเพราะผู้โดยสารต้องลงที่สถานีฝั่งมาเลเซียแล้วนั่งรถยนต์ย้อนกลับเข้าฝั่งไทยอีก กระทั่งวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558 มีการเปิดสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ (ไทย) ใหม่เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว[6][7] ต่อมาวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 ได้ยกเลิกรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ กรุงเทพ–บัตเตอร์เวิร์ท เปลี่ยนเป็นกรุงเทพ–ปาดังเบซาร์ หากผู้โดยสารมีความประสงค์จะเดินทางต่อไปยังประเทศมาเลเซีย ต้องลงไปซื้อตั๋วและต่อรถไฟฟ้าของมาเลเซียเอง[8]
การเดินรถ[แก้]
ปัจจุบันในเส้นทางชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ จะมีรถไฟหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารในสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่, สถานีรถไฟคลองแงะ, สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ (ไทย) และสถานีปาดังเบซาร์ (มาเลเซีย) ผู้ที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศมาเลเซีย สามารถจัดการได้ที่ด่านศุลกากรในสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ฝั่งมาเลเซียแล้วต่อรถไฟได้เลย[9]
ในปี พ.ศ. 2557 รถไฟในฝั่งมาเลเซียเป็นระบบรถไฟทางคู่ ใช้ระบบรถไฟฟ้า ทำความเร็ว 80-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรถไฟขนส่งสินค้าห้าขบวน ขนตู้สินค้าขนาดเล็กได้ 300 ตู้ต่อวัน ขณะที่รถไฟไทยยังเป็นรถไฟทางเดี่ยว และทำความเร็วเพียง 30-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[10] ในปี พ.ศ. 2560 รัฐบาลไทยมีแผนที่จะพัฒนาให้ทางรถไฟสายชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์เป็นรถไฟทางคู่[11][12]
10 มกราคม พ.ศ. 2561 หอการค้าสงขลาและการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ออกให้ข้อมูลว่าจะมีการเวนคืนที่ดินในปี พ.ศ. 2561 เพื่อเตรียมสร้างทางรถไฟทางคู่สายสงขลา–ชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ จะเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2562 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2564[13]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง. "ทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน". สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย". การรถไฟแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "เส้นทางรถไฟ". การรถไฟแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ให้ใช้สัญญา ว่าด้วยการเดินรถไฟ ระหว่างพระราชอาณาจักร์สยาม กับ กลันตัน, ไทรบุรี, เปอร์ลิศและสหรัฐมลายู" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 274. 29 ธันวาคม 2467. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ 5.0 5.1 "คำแปล สัญญาระหว่างรัฐบาลสหรัฐมลายู กับ รัฐบาลสยาม เพื่อความสดวกในการเดินรถไฟ ระหว่างพระราชอาณาจักร์สยาม กับ กลันตัน, ไทรบุรี, เปอร์ลิศ และสหรัฐมลายู" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 276. 29 ธันวาคม 2467. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ผุดสถานีใหม่ 'ปาดังเบซาร์' เชื่อมระบบราง 'ไทย-มาเลย์'". ประชาชาติธุรกิจ. 21 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "เปิดตัว 'ปาดังเบซาร์' สถานีรถไฟเชื่อมไทย-มาเลเซีย". คมชัดลึก. 29 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "ร.ฟ.ท.ปรับขายตั๋ว "บัตเตอร์เวอร์ธ เหลือแค่กรุงเทพ-ปาดังเบซาร์"". ผู้จัดการออนไลน์. 26 สิงหาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "เปิดขบวนพิเศษรถไฟหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ เชื่อมรถไฟความเร็วสูงมาเลเซีย-สิงคโปร์". กิมหยงนิวส์. 19 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "ด่านปาดังเบซาร์ ไทยพัฒนาช้ากว่ามาเลเซีย?". วอยซ์ทีวี. 3 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "ทางคู่ "หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์" โมเดลนำร่องรถไฟพลังงานไฟฟ้า". ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 7 พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "รถไฟทางคู่ หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ เปิดประตูศก.สู่แดนใต้เชื่อมมาเลเซีย". ฐานเศรษฐกิจ. 7 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "หอการค้าสงขลา-รฟท เคาะข่าวดีรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์". สงขลาทูเดย์. 10 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help)