สถานีรถไฟปาดังเบซาร์
ปาดังเบซาร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() รถจักร YDM-4 จากกรุงเทพฯจอดที่ปาดังเบซาร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่ออื่น | Stesen Keretapi Padang Besar (มาเลย์) | ||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟมาลายา | ||||||||||||||||||||||||||||||
สาย |
| ||||||||||||||||||||||||||||||
ชานชาลา | 2 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ราง | 3 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการรถไฟ | |||||||||||||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||||||||||||||||
ที่จอดรถ | มีบริการ, ฟรี | ||||||||||||||||||||||||||||||
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการ | มี | ||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||||||||||||||
เปิดให้บริการ | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 | ||||||||||||||||||||||||||||||
สร้างใหม่ | มกราคม 2013 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ติดตั้งระบบไฟฟ้า | 25 kV AC, 50 Hz | ||||||||||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||||||||||||||||
|
สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ (อังกฤษ: Padang Besar railway station) เป็นสถานีรถไฟตั้งอยู่ที่เมืองชายแดนปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย เป็นสถานีเหนือสุดของสายชายฝั่งตะวันตกซึ่งเชื่อมกับสายใต้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สถานีดังกล่าวเป็นที่บรรจบของการรถไฟมาเลเซียและไทย ทำให้ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนระหว่างระบบทางรถไฟสองระบบได้[1] มีระบบศุลกากร การเข้าเมืองและการกักกันของทั้งสองประเทศอยู่ในสถานี แม้ว่าสถานีดังกล่าวตั้งอยู่ในเขตแดนมาเลเซียทั้งหมด คือ อยู่ใต้ชายแดนมาเลเซีย-ไทย 200 เมตร นอกจากนี้ยังมีสถานีรถไฟขนาดเล็กกว่าอยู่ทางฝั่งไทย ชื่อ สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ (ไทย)
สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ยังมีลานสินค้าซึ่งใช้เป็นท่าเรือแห้งสำหรับมาเลเซียส่วนเหนือและสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle)
บริการรถไฟ[แก้]
สถานีรถไฟปาดังเบซาร์บริการทั้งเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและการรถไฟแห่งประเทศไทย.
รถไฟที่บริการโดยเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู[2] ไปยังประเทศมาเลเซีย ได้แก่:
- เคทีเอ็มโกมูเตอร์อูตารา - ไป/กลับ 16 เที่ยวต่อวันจาก/ถึง บัตเตอร์เวิร์ท
- เคทีเอ็มอีทีเอส - ไป/กลับ 4 เที่ยวต่อวันจาก/ถึง สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์, กัวลาลัมเปอร์
- เคทีเอ็มอีทีเอส - ไป/กลับเที่ยวเดียวจาก/ถึง เกอมัซ, รัฐเนอเกอรีเซิมบีลันด้วยทางสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์
รถไฟที่บริการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย[3] ไปยังประเทศไทย ได้แก่:
- รถไฟ 45/46 ด่วนพิเศษ - ไป/กลับรอบเดียวจาก/ถึง กรุงเทพ-หัวลำโพง
- รถไฟ 947/948 และ 949/950 ธรรมดา - ไป/กลับ 2 เที่ยวจาก/ถึง หาดใหญ่
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ |
- Keretapi Tanah Melayu
- State Railway of Thailand เก็บถาวร 2020-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Padang Besar Railway Station – Train times & tickets" (ภาษาอังกฤษ). Malaysia Trains. สืบค้นเมื่อ 11 June 2019.
- ↑ "KTMB Train Schedules" (ภาษาอังกฤษ). Keretapi Tanah Melayu Berhad. สืบค้นเมื่อ 11 June 2019.
- ↑ "Southern Line Timetable" (ภาษาอังกฤษ). State Railway of Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-29. สืบค้นเมื่อ 12 June 2019.