ทางรถไฟสายสงขลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางรถไฟสายสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
สถานะยกเลิก
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ปลายทาง
จำนวนสถานี15
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟระหว่างเมือง
ระบบรถไฟทางไกล
เส้นทาง1
ประวัติ
เปิดเมื่อ1 มกราคม พ.ศ. 2456
ปิดเมื่อ1 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 (65 ปี)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง29 กม. (18.02 ไมล์)
รางกว้างราง 1 เมตร ทางเดี่ยว

ทางรถไฟสายหาดใหญ่–สงขลา[1] หรือ ทางรถไฟสายสงขลา–สุไหงโก-ลก[2] เป็นทางแยกสายหนึ่งของทางรถไฟสายใต้ ที่ชุมทางหาดใหญ่ สุดปลายทางที่สถานีรถไฟสงขลา มีความยาว 29 กิโลเมตร

ประวัติ[แก้]

ทางรถไฟสายสงขลาเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายใต้ซึ่งในขณะนั้นมีการก่อสร้างเป็นช่วง ๆ เบื้องต้นมีการก่อสร้างเส้นทางสงขลา–พัทลุง ระยะทาง 107 กิโลเมตร กระทรวงคมนาคมจึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เปิดการเดินรถรับส่งผู้โดยสารและสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2456 เป็นต้นมา[3] กรมรถไฟหลวงก่อสร้างทางรถไฟสายใต้เสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2459 เชื่อมการเดินทางไปถึงสถานีรถไฟบางกอกน้อยได้[4]

กรมรถไฟหลวงได้ย้ายทางแยกสายสงขลา จากเดิมแยกที่สถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภาไปยังสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ เพื่อให้ชุมทางสายสุไหงโก-ลก และสายปาดังเบซาร์รวมอยู่ที่หาดใหญ่ที่เดียว พร้อมกับยุบเลิกสถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภาใน พ.ศ. 2465 ทำให้การเดินทางระหว่างสงขลากับหาดใหญ่เป็นไปอย่างสะดวก และมีการเพิ่มขบวนรถเพื่อรองรับผู้โดยสารที่มีมากขึ้นตามลำดับ[4]

ในเวลาที่ผู้คนนิยมใช้รถไฟในการโดยสาร ใน พ.ศ. 2509 รัฐบาลได้ก่อสร้างทางหลวงเพิ่มขึ้น มีการปรับปรุงผิวทางจราจรให้แข็งแรง การเดินทางด้วยรถยนต์จึงได้รับความนิยมแทนที่รถไฟ[4] ที่สุดคณะรัฐมนตรีมีมติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยยกเลิกการเดินรถไฟสายสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 แต่ให้รักษาเขตทางไว้ก่อน โดยมิได้รื้อทางรถไฟออก ปัจจุบันเส้นทางอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม และมีผู้บุกรุกปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนทับบริเวณเขตทางรถไฟเป็นจำนวนมาก[5] โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครสงขลา

กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนสถานีรถไฟสงขลา พื้นที่ 3 ไร่ 1 งาน 51 ตารางวา เป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2547[6]

สถานี[แก้]

ทางรถไฟสายสงขลาประกอบด้วยสถานี ที่หยุดรถและป้ายหยุดรถดังต่อไปนี้[7]

(เป็นข้อมูลในปี พ.ศ. 2511)

การฟื้นฟู[แก้]

เมื่อเมืองหาดใหญ่และเมืองสงขลามีการพัฒนาเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก จึงมีแนวคิดที่จะฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายนี้ขึ้นมาใหม่ตามโครงการศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่และเชื่อมโยงเมืองสงขลา มี สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นผู้ให้ทุนและมอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาจราจรและขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้ศึกษาในปี พ.ศ. 2552 ผลการศึกษาเห็นว่าระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมควรเป็นทางรถไฟรางเดี่ยว ใช้ขบวนรถดีเซลราง โดยมีประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ 5,000 ล้านบาท [8]

กิโลเมตรที่ ผลการสำรวจ
กม.928 จุดเริ่มต้นทางรถไฟสายสงขลา,ลอดใต้สะพานลอยถนนเพชรเกษม,ประแจมือ หมายเลข 96
กม.929 หลักกิโลเมตรที่ 929,ประแจมือหมายเลข 97,ป้ายหยุดรถตลาดหาดใหญ่
กม.930 ลอดใต้สะพานสัจจกุล,มีบ้านบุกรุกคันทาง
กม.931 สะพานไม้ข้ามถนนดำ ความยาว 60 เมตร,จุดตัดถนนลพบุรีราเมศวร์
กม.932 ป้ายหยุดรถคลองแห,สะพานข้ามคลองเตย ความยาว 40 เมตร
กม.933 เลียบคลองชลประทาน,สะพานข้ามถนนคลองเตย-คลองเปล ความยาว 20 เมตร
กม.934 ป้ายหยุดรถคลองเปล,มีการปลูกสับปะรดบนคันทาง
กม.935 จุดตัดซอยกาญจนวนิช 1
กม.936 มีถนนดินเลียบคันทาง,ป้ายหยุดรถบ้านเกาะหมี,จุดตัดทางหลวงชนบท สข.3041,จุดตัดทางหลวงหมายเลข 407 แห่งที่ 1,อดีตสถานีเขาบันไดนาง
กม.937 เลียบทางหลวงหมายเลข 407
กม.938 สะพานความยาว 20 เมตร,จุดตัดทางหลวงชนบท สข.3005,สะพานข้ามคลองน้ำน้อย ความยาว 60 เมตร
กม.939 ป้ายหยุดรถตลาดน้ำน้อย,อดีตสถานีน้ำน้อย
กม.940 จุดตัดทางหลวงหมายเลข 407 แห่งที่ 2
กม.941 จุดตัดถนนลาดยาง แยกมาจากทางหลวงหมายเลข 407
กม.942 ป้ายหยุดรถบ้านกลางนา,จุดตัดถนนลาดยาง แยกมาจากทางหลวงหมายเลข 407
กม.943 จุดตัดทางหลวงหมายเลข 407 แห่งที่ 3
กม.944 อดีตสถานีควนหิน,สะพานข้ามคลองพะวง ความยาว 20 เมตร ปัจจุบันเหลือเพียงซากท้องช้าง
กม.945 ป้ายหยุดรถตลาดพะวง,จุดตัดทางหลวงชนบท สข.3015
กม.946 ไม่ทราบ
กม.947 ไม่ทราบ
กม.948 ที่หยุดรถน้ำกระจาย,จุดตัดทางหลวงหมายเลข 408
กม.949 ไม่ทราบ
กม.950 ป้ายหยุดรถบ้านบางดาน,จุดตัดทางหลวงหมายเลข 407 แห่งที่ 4
กม.951 ไม่ทราบ
กม.952 สะพานความยาว 20 เมตร
กม.953 ไม่ทราบ
กม.954 สะพานข้ามคลองสำโรง ความยาว 20 เมตร
กม.955 ไม่ทราบ
กม.956 จุดตัดถนนเข้าลานจอดรถ ที่โรงแรม Greenworld Palace,จุดตัดถนนเตาหลวง,จุดตัดทางหลวงหมายเลข 407 แห่งที่ 5,ป้ายหยุดรถวัดอุทัย
กม.957 จุดตัดถนนทะเลหลวง,จุดตัดถนนรามวิถีซอย 6,แยกกับทางรถไฟไปยังท่าเรือสงขลา
กม.958 ย่านสถานีสงขลา,อดีตสถานีสงขลา,ป้ายสถานีด้านทิศเหนือ

ต่อมา เส้นทางนี้ได้ถูกนำมาศึกษาเพื่อฟื้นฟู โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟทางคู่ สายสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา โดยมีระยะทางรวม 29 กิโลเมตร ครอบคลุม 2 อำเภอ 9 ตำบล สถานีในแนวเส้นทาง 7 สถานี (ไม่รวมสถานีชุมทางหาดใหญ่)[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พ.ศ. 2538" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (40 ก): 20. 24 กันยายน 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2021-08-23.
  2. "พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2520" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (31 ก): 323. 12 เมษายน 2520.
  3. "ประกาศกระทรวงคมนาคม แพนกรถไฟ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 2218–2219. 28 ธันวาคม 2456.
  4. 4.0 4.1 4.2 ปริญญา ชูแก้ว (5 มีนาคม 2556). "อาคารสถานีรถไฟสงขลา มรดกทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของไทย" (PDF). รถไฟไทยดอทคอม. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ประชาไท (20 มกราคม 2554). รายงานพิเศษ: 50 ชุมชนบนแนวรางคู่สายใต้ กับพัฒนาการต่อสู้บนที่ดินรถไฟ. เรียกดูเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2556
  6. "ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (พิเศษ 52 ง): 4. 10 พฤษภาคม 2547.
  7. http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=524
  8. http://www.songkhlaline.com
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-04. สืบค้นเมื่อ 2017-02-13.