จีอีเอ (รถจักร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
General Electric CM22-7i / GEA
รถจักรดีเซลไฟฟ้า GEA 4538
รถจักรดีเซลไฟฟ้า GEA 4538
ประเภทและที่มา
ชื่อเรียกรุ่นGEA (General Electric Airbrake)
รุ่นเลขที่4523 – 4560
โมเดลโรงงานCM22-7i
ผู้ผลิตGeneral Electric Transportation, สหรัฐอเมริกา สหรัฐ
ประจำการพ.ศ. 2538 - ปัจจุบัน
จำนวน38 คัน
ข้อมูลทั่วไป
ชนิดรถจักรดีเซลไฟฟ้า
มาตรฐานทางกว้าง1.000 เมตร
การจัดวางล้อCo-Co
ความยาว19.355 เมตร
ความกว้าง2.820 เมตร
ความสูง3.635 เมตร
น้ำหนักจอดนิ่ง 80.60 ตัน
ใช้การ 86.50 ตัน
น้ำหนักกดเพลา15 ตัน/เพลา (U15)
ความจุถังเชื้อเพลิง4,540 ลิตร
ระบบห้ามล้อลมอัด
จำนวนห้องขับ2 ฝั่ง
ประสิทธิภาพ
กำลังเครื่องยนต์1,250 x 2 แรงม้า
ความเร็วสูงสุด100 กิโลเมตร/ชั่วโมง
การใช้งาน
ประจำการในการรถไฟแห่งประเทศไทย, ประเทศไทย ไทย
จำนวนประจำการในปัจจุบัน36 คัน
ปลดประจำการ2 คัน

เจเนอรัล อิเล็กทริก ซีเอ็ม22-7ไอ (General Electric CM22-7i) หรือ จีอีเอ (GEA) เป็น รถจักรดีเซลไฟฟ้า ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สั่งนำเข้ามาเพื่อใช้ในการทำขบวนรถโดยสารและขบวนรถสินค้า สั่งซื้อจาก บริษัท General Electric Transportation, รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2538

ข้อมูลรถจักร[แก้]

  • ชนิดรถจักร รถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Locomotives)
  • ชื่อเรียก : GEA (General Electric Airbrake)
  • โมเดลโรงงาน : CM22-7i
  • เครื่องยนต์ Cummins KTA-50L ขนาดความจุ 50,000 cc. 16 สูบ มี 2 เครื่องยนต์
  • แรงม้า 2 x 1,250 แรงม้า ที่ 1,800 รอบต่อนาที
  • น้ำหนักรถจักร 80.60 ตัน (จอดนิ่ง) / 86.50 ตัน (ขณะทำขบวน)
  • น้ำหนักกดเพลา 15 ตัน
  • การจัดวางล้อ Co-Co all axles powered (มี 2 แคร่ แต่ละแคร่มี 3 เพลาล้อ ทุกเพลาล้อติดตั้งมอเตอร์ลากจูง 1 ลูก)
  • พิกัดตัวรถ กว้าง 2.820 เมตร / สูง 3.635 เมตร / ยาว 19.355 เมตร
  • ระบบห้ามล้อ ลมอัดล้วน ทุกคัน
  • ความจุถังนั้ามันเชื้อเพลิง 4,540 ลิตร
  • ความจุถังนั้ามันหล่อลื่นเครื่องยนต์ 474 ลิตร
  • ความจุถังทราย 450 ลิตร
  • ความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • บริษัทผู้ผลิต บริษัท เจเนอรัลอิเล็กทริก ฝ่ายการคมนาคมและขนส่ง รัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐ
  • ราคาต่อคัน 54,350,498 บาท
  • เริ่มใช้งาน ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2538–2539


ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทยมักใช้รถจักร GEA ในการลากขบวนรถด่วนพิเศษ เช่น รถด่วนพิเศษอุตราวิถี, รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์, รถด่วนพิเศษอีสานมรรคา, รถด่วนพิเศษอีสานวัตนา เป็นบางโอกาส

รถจักรที่ตัดบัญชี[แก้]

หมายเลข ลักษณะอุบัติเหตุ ขบวนที่ทำ วันที่ สถานที่ ความเสียหาย สถานะปัจจุบัน อ้างอิง
†4526 ชนกับรถบรรทุก ขบวนรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศที่ 36 (บัตเตอร์เวอร์ธกรุงเทพ (หัวลําโพง)) 22 มีนาคม พ.ศ. 2549 สถานีรถไฟบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี เสียหายทั้งหมด ตัดบัญชี [1]
†4544 ตกราง ขบวนรถด่วนที่ 84 (ตรัง–กรุงเทพ) 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สถานีรถไฟเขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เสียหายทั้งหมด ตัดบัญชี [2]

รายชื่อหมายเลขรถจักร[แก้]

เจเนอรัล อิเล็กทริก ซีเอ็ม22-7ไอ (General Electric CM22-7i)
หมายเลขรถจักร หมายเลขที่ผลิต รุ่น แรงม้า เครื่องยนต์ ล้อ ขนาดความกว้างรางรถไฟ ปีที่เข้าประจำการ ระบบห้ามล้อ หมายเหตุ
4523 48681 CM22-7I 2600 KTA50L Co-Co 1.000 เมตร (Metre gauge) สิงหาคม พ.ศ. 2538 - มีนาคม พ.ศ. 2539 ลมอัด
4524 48682
4525 48683
4526 48684 ชนกับรถบรรทุกขณะทำขบวนรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศที่ 36 (บัตเตอร์เวอร์ธกรุงเทพ (หัวลําโพง)) ที่สถานีรถไฟบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี
4527 48685
4528 48686
4529 48687
4530 48688
4531 48689
4532 48690
4533 48691
4534 48692
4535 48693
4536 48694
4537 48695
4538 48696
4539 48697
4540 48698
4541 48699
4542 48700
4543 48701
4544 48702 ตกรางขณะทำขบวนรถด่วนที่ 84 (ตรัง–กรุงเทพ) ที่สถานีรถไฟเขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก่อนหน้านั้นเคยเป็นรถจักรทำขบวนพิธีเปิดทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์ โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นพิธีเปิดทางรถไฟเส้นนี้
4545 48703
4546 48704
4547 48705
4548 48706
4549 48707
4550 48708
4551 48709
4552 48710
4553 48711
4554 48712
4555 48713
4556 48714
4557 48715
4558 48716
4559 48717
4560 48718

อ้างอิง[แก้]

  1. "ตัดหน้ารถด่วน ขยี้สิบล้อ 6 ศพ". สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "เบื้องหลัง รถไฟตกราง ที่เขาเต่า อ.หัวหิน". สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]