ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย
ป้ายหยุดรถไฟตลาดหนองคาย | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ที่หยุดรถไฟ | |||||||||||||||||
ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย ทางทิศตะวันตก ในปี พ.ศ. 2561 | |||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ทางหลวงหมายเลข 242 (แก้ววรวุฒิ) บ้านมีชัย หมู่ที่ 2 ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000 | ||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||
ผู้บริหาร | กระทรวงคมนาคม | ||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||
ชานชาลา | 1 | ||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||
ระดับชานชาลา | ที่หยุดรถไฟ | ||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||
รหัสสถานี | 2209 (ตง.) | ||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 1 มกราคม พ.ศ. 2501 | ||||||||||||||||
ปิดให้บริการ | พ.ศ. 2551 (50 ปี) | ||||||||||||||||
ชื่อเดิม | หนองคาย | ||||||||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||||||||
ปัจจุบัน | 0 | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
|
ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย หรือ สถานีรถไฟหนองคาย (เก่า) อดีตเป็นที่หยุดรถไฟ และสถานีรถไฟ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ปัจจุบันไม่มีขบวนรถไฟมายังสถานนีนี้แล้ว ตั้งอยู่ในบริเวณย่านสถานีรถไฟหนองคาย (เดิม) ริมฝั่งแม่น้ำโขง ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 242 (ถนนแก้วรวุฒิ)
ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย อดีตเคยมีชื่อว่าสถานีรถไฟหนองคาย ซึ่งเป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดหนองคายในขณะนั้น และเป็นสถานีรถไฟปลายทางของขบวนรถไฟโดยสารภายในประเทศเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในระหว่างปี พ.ศ. 2501 - 2551[1]
ประวัติที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย
[แก้]การก่อสร้างเส้นทาง
[แก้]จากการก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จากสถานีรถไฟขอนแก่นขึ้นไป ถูกระงับไว้ชั่วคราว ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบบประชาธิปไตย ต่อมาจึงลงมือก่อสร้าง ต่อ จนกระทั่งเปิดเดินรถ ระหว่างขอนแก่น-อุดรธานี ระยะทาง 120 กิโลเมตร ได้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 จากนั้น การสร้างทางรถไฟสายนี้ ก็ถูกระงับเรื่อยมา จนในปี พ.ศ. 2497 จึงเริ่มการก่อสร้าง ต่อไปถึงจังหวัดหนองคาย ระยะทาง 49 กิโลเมตร โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ออกเงินสมทบค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เป็นมูลค่า 4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 80 ล้านบาท เพื่อให้สร้างเสร็จภายใน 7 เดือน ตามความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ การก่อสร้างเสร็จตามกำหนด สามารถเปิดเดินรถได้ถึง สถานีรถไฟหนองคาย(ปัจจุบันใช้ชื่อสถานีรถไฟนาทา) ระยะทาง 49 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2498 ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ขยายการก่อสร้างต่อระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร เพื่อสะดวกในการขนส่งสินค้า ผ่านไปยังประเทศลาว จากสถานีรถไฟหนองคายเดิม (สถานีรถไฟนาทาในปัจจุบัน) ไปถึงสถานีหนองคายแห่งใหม่(ที่หยุดรถตลาดหนองคายในปัจจุบัน) ในขณะนั้น[2]
การเปลี่ยนชื่อ
[แก้]ซึ่งในการตั้งชื่อสถานีรถไฟสร้างใหม่ ริมฝั่งแม่น้ำโขง การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ติดต่อกับผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายแล้วเห็นควรตั้งชื่อว่า"หนองคาย" ใน ก.ม.623+588.11 โดยใช้ชื่อย่อว่า "นค." อภาษาอังกฤษว่า "Nong Khai" เนื่องจากตั้งอยู่ในตัวเมืองหนองคาย ส่วนสถานีหนองคายเดิมเห็นควรเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็นสถานี"นาทา" ใน ก.ม. 617+840 ใช้อักษรย่อเพื่อมิให้พ้องกับแห่งอื่นว่า "ยน." ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Na Tha" เพราะเนื่องจากสถานีรถไฟอยู่ติดกับตำบลนาทา[3]
การเปิดเดินรถไฟ
[แก้]หลังจาการก่อสร้างทางรถไฟ แล้วมีการตั้งชื่อและเปลี่ยนชื่อ ช่วงสถานีนาทา-สถานีหนองคายเสร็จแล้ว จึงเปิดเดินรถครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 แต่เนื่องจากก่อสร้างอาคารสถานีหนองคายที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ การรถไฟแห่งประเทศไทยจะเปิดสถานีหนองคายเป็นที่หยุดรถไปพลางก่อน ที่ก.ม. 623+588 (บริเวณย่านสถานีหนองคาย ริมฝั่งแม่น้ำโขง) โดยใช้ชื่อว่า "ที่หยุดรถหนองคาย" มีอักษรย่อว่า "นค." ให้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Nong Khai" เป็นการชั่วคราวแทนสถานีหนองคาย ตามคำสั่งที่ ก.112/7599 ที่ลงวันที่ 16 กันยายน 2500 ซึ่งให้ใช้ความเร็วในการเดินรถในทางตอนสถานีนาทา-ที่หยุดรถไฟหนองคาย โดยใช้ความเร็วไม่เกิน 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง หลังจากก่อสร้างสถานีรถไฟหนองคายเสร็จครบถ้วน จึงเปลี่ยนชื่อกลับจากที่หยุดรถไฟหนองคาย เป็นสถานีรถไฟหนองคาย แล้วเปิดการเดินรถได้ตลอดทาง เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 โดยความยาวของทางรถไฟสายนี้ ตั้งแต่สถานีชุมทางถนนจิระ ถึง สถานีหนองคาย ยาว 359 กิโลเมตร[4]
การถูกลดระดับ และยุบสถานี
[แก้]จากเปิดใช้งานสถานีรถไฟหนองคายมาอย่างยาวนาน ในปี พ.ศ. 2543 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการก่อทางรถไฟสายหนองคาย(ใหม่)–ท่านาแล้ง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟผ่านทวีปเอเชียขององค์การสหประชาชาติ จึงย้ายสถานีรถไฟหลักจากสถานีรถไฟหนองคาย ไปยังสถานีรถไฟหนองคายแห่งใหม่ และลดระดับจากสถานีรถไฟหนองคายเดิมเป็นที่หยุดรถไฟ แล้วใช้ชื่อใหม่เป็น ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย เป็นที่หยุดรถไฟบริเวณ กม.623+580 ในช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2548 จนในที่สุดวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 ก็ยกเลิกการเดินรถไฟและปิดที่หยุดรถไฟตลาดหนองคายอย่างถาวร โดยมีขบวนรถท้องถิ่น 415/418 นครราชสีมา - หนองคาย - นครราชสีมา เป็นเที่ยวสุดท้ายก่อนที่จะตัดเส้นทางย้ายไปท่านาแล้ง โดยให้ไปใช้สถานีรถไฟหนองคายแห่งใหม่(สถานีรถไฟหนองคายในปัจจุบัน)แทน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยนำที่ดินของที่หยุดรถไฟตลาดหนองคายจำนวน 30 ไร่ไปทำประโยชน์อื่นเพื่อสร้างรายได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ(สายอีสาน) สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2562.
- ↑ สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย Rotfaithai.Com สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562
- ↑ คำสั่งทั่วไป ที่ ก.๑๑๒/๗๕๙๙ การรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง ตั้งชื่อสถานีที่ต่อจากสถานีหนองคายไปสู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงว่าสถานี "หนองคาย" และเปลี่ยนชื่อสถานีหนองคายเดิม เป็นสถานี "นาทา ตำนานแห่งรถไฟไทย หน้า37 Rotfaithai.Com สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562.
- ↑ คำสั่งทั่วไป ที่ ก.๑๕๑/๑๐๑๘๐ การรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง เปิดการเดินรถต่อจากสถานีนาทาถึงสถานีหนองคาย ตำนานแห่งรถไฟไทย หน้า37 Rotfaithai.Com สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562.