คิฮะ 183 ซีรีส์
คิฮะ 183 ซีรีส์ | |
---|---|
รถดีเซลรางคิฮะ 183 ขณะทำขบวนโอค็อตสค์ | |
ประเภทและที่มา | |
ชื่อเรียกรุ่น | キハ183 (KiHa 183) |
ผู้ผลิต | นิอิกาตะเอ็นจิเนียริ่ง และฟูจิเฮฟวี่อินดัสทรี |
ปีที่ผลิต | 1979 - 1992 |
ปีที่ประจำการ | 1980 - ปัจจุบัน |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชนิด | รถดีเซลราง |
มาตรฐานทางกว้าง | 1.067 เมตร |
วัสดุตัวถัง | เหล็กกล้า |
ความยาว | 21.300 เมตร |
ความกว้าง | 2.903 เมตร |
น้ำหนัก | จอดนิ่ง 46.0 ตัน (KiHa183-0) 40.9 ตัน(KiHa183-500) 40.8 ตัน (KiHa183-1500) 40.9 ตัน (KiHa183-1550) |
เครื่องยนต์ | DMF15HSA / DML30HSI |
ระบบส่งกำลัง | ไฮดรอลิก |
ระบบห้ามล้อ | ลมอัด |
ประตูทางขึ้น | 2 ข้างละ 1 |
ประสิทธิภาพ | |
ความเร็วสูงสุด | 110 - 130 กม./ชม. |
การใช้งาน | |
ประจำการใน | JNR (1980–1987) เจอาร์ ฮกไกโด (1987–ปัจจุบัน) เจอาร์ คิวชู (1988–ปัจจุบัน) การรถไฟเมียนมาร์ (2009-2012) การรถไฟแห่งประเทศไทย (2022–ปัจจุบัน) |
คิฮะ 183 ซีรีส์ (ญี่ปุ่น: キハ183系) เป็นรถดีเซลราง เมื่อแรกประจำการในปี 1980 อยู่ภายใต้การดูแลของการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น และแปรสภาพเป็นของ JR ฮกไกโด ตั้งแต่ปี 1987 ถูกออกแบบให้สอดรับภูมิอากาศเย็นจัดของจังหวัดฮกไกโด ปัจจุบันเป็นรถด่วนพิเศษที่มีอายุการใช้งานเยอะที่สุดของเจอาร์ ฮกไกโด ยังเหลือวิ่งให้บริการขบวนโอค็อตสค์[1] และขบวนไทเซ็ตซึ[2] ประจำการที่โรงงานนาเอะโบะ และเคยประจำการที่ศูนย์ซัปโปโร ฮาโกดาเตะ คุชิโระ สามารถทำความเร็วสูงสุด 110-130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ในขณะที่ตัวรถไฟส่วนใหญ่ได้รับการตกแต่งใหม่และยังคงให้บริการอยู่บางขบวนก็ถูกถอนออกจากการให้บริการเช่นกัน ในจำนวนนั้นรถสามคัน (รถ KiHa 183-200 จำนวน 2 คัน และรถ KiHa 183-5000 Niseko Express หนึ่งคัน) ได้รับทุนบูรณะซ่อมแซมและถูกเก็บไว้ในสถานที่รอบๆ ฮอกไกโด บริษัทรถไฟฮอกไกโด (JR Hokkaido) ได้เริ่มการบริจาครถไฟที่ปลดระวาง 19 คันให้กับการรถไฟเมียนมาร์เพื่อใช้ในเส้นทางมัณฑะเลย์-เนปยีดอ และบริการที่ใช้รถเหล่านี้วิ่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 ถึง ค.ศ. 2012 ซึ่งในปัจจุบันได้เลิกใช้แล้ว
ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2021 บริษัทรถไฟฮอกไกโดได้บริจาครถไฟดีเซลรางรุ่นคิฮะ 183 ซีรีส์ที่ปลดระวางและจอดทิ้งไว้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 17 คัน โดยทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เริ่มให้บริการคิฮะ 183 ซีรีส์ ในปี ค.ศ. 2022 และได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมอย่างต่อเนื่องเพื่อเปิดให้บริการครบทั้ง 17 คันภายในปี 2023
รุ่นสมัยแรก[แก้]
คิฮะ 183-900 ซีรีส์[แก้]
เป็นรุ่นแรกของซีรีส์ที่ถูกผลิตขึ้นเป็นรถต้นแบบในปี 1979 ทั้งหมด 12 คัน ลักษณะของตัวรถคล้ายกับรุ่นคิฮะ 183-0 ซีรีส์ แต่จะมีจุดแตกต่างเล็กน้อยเช่นช่องระบายอากาศมีขนาดไม่เท่ากัน มีลักษณะกันชนที่ต่างกัน
คิฮะ 183-0 ซีรีส์[แก้]
คิฮะ 183-0 ซีรีส์ | |
---|---|
![]() รถดีเซลรางคิฮะ 183-0 ขณะทำขบวนโอค็อตสค์ | |
ประเภทและที่มา | |
ชื่อเรียกรุ่น | キハ183-0 (KiHa 183-0) |
ผู้ผลิต | นิอิกาตะเอ็นจิเนียริ่ง และฟูจิเฮฟวี่อินดัสทรี |
ปีที่ผลิต | 1980 - 1983 |
ปีที่ประจำการ | 1981 - 2018 |
จำนวน | 89 คัน |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชนิด | รถดีเซลราง |
วัสดุตัวถัง | เหล็กกล้า |
น้ำหนัก | จอดนิ่ง 46.0 ตัน |
เครื่องยนต์ | DMF15HSA / DML30HSI |
ประตูทางขึ้น | 2 |
ประสิทธิภาพ | |
ความเร็วสูงสุด | 100→110 กม./ชม. |
การใช้งาน | |
ประจำการใน | JNR (1980–1987) เจอาร์ ฮกไกโด (1987–2018) / ประเทศญี่ปุ่น ![]() |
เป็นรุ่นหลักที่มีการผลิตออกเป็นจำนวนมากถึง 89 คัน มีการผลิตตั้งแต่ปี 1981 ถึง 1983 ในช่วงปี 1999 ถึง 2009 ได้มีโครงการเสริมความหนาของกระจกเพื่อป้องกันการเป็นรอยของกระจก ตั้งแต่ปี 1997 เริ่มมีการนำคิฮะ 283 และคิฮะ261เข้าประจำการจึงทำให้คิฮะ 183-0 ซีรีส์ลดหน้าที่ลง และทยอยตัดบัญชีลงแล้วปลดระวางทั้งหมดภายในปี 2018
คิฮะ 183-0[แก้]
ผลิตขึ้นจำนวน 20 คันเป็นตู้โดยสารมีห้องขับ โดยรุ่นนี้จะมีลักษณะพิเศษที่มีการวางห้องขับสูงกว่าระดับพื้นรถ และมีหน้ารถที่เอียงจึงมีชื่อเรียกว่า "Slanted Nose" ตัวรถมีที่นั่ง 40 ที่นั่ง
คิฮะ 182-0[แก้]
เป็นตู้กลางของคิฮะ 183-0 ซีรีส์ ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมากที่สุดของซีรีส์ที่ 48 ตู้มีความจุผู้โดยสารมากสุด 68 ที่นั่ง
คิฮะ 184-0[แก้]
เป็นตู้กลางของคิฮะ 183-0 ซีรีส์ แต่มีเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้า มีแผงระบายอากาศติดอยู่ด้านข้างของตัวรถ ผลิตขึ้นจำนวน 11 ตู้ มีความจุผู้โดยสาร 52 ที่นั่ง
คิโระ 182-0[แก้]
เป็นรถที่มีชั้นกรีนคาร์ และห้องเตรียมอาหารของคิฮะ 183-0 ซีรีส์ ผลิตขึ้น 10 ตู้ และมีความจุผู้โดยสาร 32 ที่นั่ง
รถปรับสภาพ[แก้]
คิฮะ 183-100[แก้]
ในปี 1985 มีการนำตู้รถโดยสาร 4 คันทะเบียน คิฮะ 184 1, 3, 4 และ 5 มาปรับปรุงให้มีห้องขับเพิ่ม โดยลดความจุผู้โดยสารลงเหลือ 40 ที่นั่ง และได้เปลี่ยนเลขทะเบียนเป็น คิฮะ 183-101,102,103 และ 104 โดยหมายเลข -104 เป็นคันสุดท้ายของรุ่นที่ปลดระวาง คันเดียวที่ใช้สีโทคาชิ และเป็นคันเดียวของรุ่นที่ได้บริจาคให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย
คิฮะ 183-200[แก้]
เนื่องจากคิฮะ 183-0 จำนวน 13 คันได้มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น N-DMF13HZC จึงมีการเปลี่ยนทะเบียนเป็น -200 โดนที่หมายเลข -207 ถึง -215 มีห้องเก็บอุปกรณ์ขายอาหารสำหรับขบวนโอค็อตสค์ ส่วนหมายเลข -217 ถึง -220 จะมีห้องทำการพนักงานอยู่
คิฮะ 182-100[แก้]
ดัดแปลงจากคิฮะ 182-0 เพื่อทำการสับเปลี่ยนให้สะดวกและ รวดเร็วขึ้นจึงมีการติดตั้งห้องขับด้านหน้าของตัวรถ 3 คัน ทะเบียนคิฮะ 183-106, 107 และ 108
คิฮะ 182-200[แก้]
สำหรับการเดินรถขบวนโทคาชิ จึงมีการเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น DMF18HZ จำนวน 4 คัน และมีการเปลี่ยนทะเบียนเป็น -200
คิโระฮะ 182-0[แก้]
ในปี 1996 ผู้ใช้บริการตู้กรีนคาร์ลดลง จึงมีการแบ่งตู้ครึ่งหนึ่งเป็นกรีนคาร์ และอีกครึ่งเป็นห้องโดยสารชั้นธรรมดา หมายเลขทะเบียนคิโระฮะ182-2, 3, 4,6 และ 10
ดัดแปลงสำหรับการทำขบวนบนสายหลักโซยะ[แก้]
เพื่อทดแทนตู้นั่งเอนได้ของ 14 ซีรีส์ที่ปลดระวางไป จึงมีการนำตู้คิฮะ182 36, 37 และ 38 มีดัดแปลงให้สามารถวิ่งผสมกับคิฮะ400 และทำสีลายรถด่วนโซยะ สำหรับขบวนบนสายหลักโซยะ เช่น รถด่วนข้ามคืนริชิริ เป็นต้น
รุ่นสมัยหลัง[แก้]
คิฮะ 183-500 ซีรีส์[แก้]
คิฮะ 183-500 ซีรีส์ | |
---|---|
![]() รถดีเซลรางคิฮะ 183-500 ขณะทำขบวนเสริมพิเศษซูซูรัน | |
ประเภทและที่มา | |
ชื่อเรียกรุ่น | キハ183-500 (KiHa 183-500) |
ผู้ผลิต | นิอิกาตะเอ็นจิเนียริ่ง และฟูจิเฮฟวี่อินดัสทรี |
ปีที่ผลิต | 1986 |
ปีที่ประจำการ | 1986 - ปัจจุบัน |
จำนวน | 36 คัน |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชนิด | รถดีเซลราง |
วัสดุตัวถัง | เหล็กกล้า |
น้ำหนัก | จอดนิ่ง 40.9 ตัน(คิฮะ183-500) 40.8 ตัน(คิฮะ183-1500) 38.8 ตัน(คิฮะ182-500) 40.8 ตัน(คิโระ182-500) |
เครื่องยนต์ | DML30HSJ / DMF30HS |
ประตูทางขึ้น | 2 |
ประสิทธิภาพ | |
ความเร็วสูงสุด | 110→120 กม./ชม. |
การใช้งาน | |
ประจำการใน | JNR (1986–1987) เจอาร์ ฮกไกโด (1987–) / ประเทศญี่ปุ่น ![]() |
มีการผลิตขึ้นเป็นจำนวน 36 คันโดยนิอิกาตะเอ็นจิเนียริ่ง และฟูจิเฮฟวี่อินดัสทรีในปี 1986 โดยมีการปรับเปลี่ยนตัวรถให้มีประสิทธิภาพในการเดินรถคล่องตัวขึ้น และไม่มีการผลิตรถที่มีห้องขับสูง เนื่องจากผลิตขึ้นในสมัยยุคเปลี่ยนผ่านจึงไม่ได้มีการติดสัญลักษณ์รถด่วนพิเศษของ JNR มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ N183 ซีรีส์[3] และถูกจัดเป็นรุ่นสมัยหลังรวมกับ NN183 ในสมัยที่เริ่มให้บริการของซีรีส์จะใช้สีที่มีชื่อว่า "Shin tokkyu" ตัวรถสีขาว และมีลายคาดสีแดง กับ สีส้ม
คิฮะ 183-500[แก้]
ผลิตขึ้นเป็นจำนวน 7 ตู้ เป็นตู้โดยสารมีห้องขับ ใช้เครื่องยนต์ DML30HSJ มีห้องน้ำภายในตู้แต่ไม่มีเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้ามีที่นั่งทั้งหมด 60 ที่ รถทะเบียนคิฮะ 183-505 และ 506 ถูกปรับให้ลดความเร็วสูงสุดเหลือเพียง 110 กม./ชม. ปัจจุบันคิฮะ 183-500 ถูกปลดระวางหมดยกเว้นคิฮะ 183-507 ที่ถูกดัดแปลงเป็นคิฮะ 183-6001
คิฮะ 183-1500[แก้]
ผลิตขึ้นเป็นจำนวน 7 ตู้ เป็นตู้โดยสารมีห้องขับเช่นเดียวกับคิฮะ 183-500 แต่ใช้เครื่องยนต์ DMF13HS มีเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้าแต่กลับจะไม่มีห้องน้ำภายในตู้มีที่นั่งทั้งหมด 68 ที่ รถทะเบียนคิฮะ 183-1501 ถึง 1504 มีการปรับแบบให้มีห้องน้ำเพื่อรองรับการเดินรถขบวน 3 ตู้ในเส้นทางสายหลักโซยะได้
คิฮะ 182-500[แก้]
ผลิตขึ้นมา 14 ตู้ เป็นตู้โดยสารคั่นกลาง ไม่มีห้องขับมีที่นั่งสำหรับผู้โดยสารสูงสุด 68 ที่ รถทะเบียนคิฮะ 183-504 ถึง 506 และ 513 ถูกปรับให้ลดความเร็วสูงสุดเหลือเพียง 110 กม./ชม. รถทะเบียนคิฮะ 183-512 มีการใช้ลายเดียวกับคิฮะ 183-0 คือลายโทคาชิ ปัจจุบันคิฮะ 182-500 คิฮะ 183-514 ที่ถูกดัดแปลงเป็นคิฮะ 182-6001 ปัจจุบันรุ่นนี้ถูกปลดระวางเกือบทั้งหมดยกเว้นคิฮะ 183-502 และ 508
คิโระ 182-500[แก้]
ผลิตขึ้นมา 8 ตู้เพื่อเป็นตู้ชั้นกรีนคาร์ของซีรีส์มีลักษณะแตกต่างจากตู้อื่นๆในซีรีส์ มีการยกพื้นห้องโดยสารสูงขึ้น 50 ซม.จากความสูงทั่วไปของพื้นรถ มีกระจกขนาดใหญ่ และใช้เครื่องปรับอากาศรุ่น AU76 รุ่นเดียวกับ 14 ซีรีส์ รถทะเบียนคิโระ 182-501 ถึง 503 ได้มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ และเปลี่ยนทะเบียนเป็น -2550 ในปี 1994 และได้เปลี่ยนรุ่นอีกครั้งเป็น -7550 ปัจจุบันคิโระ 182 ที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีเหลือเพียง -7551 ถึง 7553 และ 504 กับ 505
คิฮะ 183-550 ซีรีส์[แก้]
คิฮะ 183-550 ซีรีส์ | |
---|---|
คิฮะ 183-550 ซีรีส์ขณะทำขบวนฮกกุโตะ | |
ประเภทและที่มา | |
ชื่อเรียกรุ่น | キハ183-550 (KiHa 183-550) |
ผู้ผลิต | ฟูจิเฮฟวี่อินดัสทรี |
ปีที่ผลิต | 1988-1990 |
ปีที่ประจำการ | 1988 - ปัจจุบัน |
จำนวน | 32 คัน |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชนิด | รถดีเซลราง |
วัสดุตัวถัง | เหล็กกล้า |
น้ำหนัก | จอดนิ่ง 40.9 ตัน(คิฮะ183-1550) 40.4 ตัน(คิฮะ182-550) |
เครื่องยนต์ | DMF30HZ / DML30HZ |
ประตูทางขึ้น | 2 |
ประสิทธิภาพ | |
ความเร็วสูงสุด | 120→130 กม./ชม. |
การใช้งาน | |
ประจำการใน | เจอาร์ ฮกไกโด (1988–)/ ประเทศญี่ปุ่น ![]() |
เนื่องจากมีการยกความเร็วสูงสุดที่ให้บริการของสายหลักฮาโกดาเตะขึ้นเป็น 120 กม./ชม. เจอาร์ ฮกไกโดจึงได้สั่งผลิตคิฮะ 183-550 ซีรีส์ ซึ่งพัฒนาต่อจากคิฮะ 183-500 ซีรีส์ แต่มีการปรับแคร่ เครื่องยนต์ และอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมมากขึ้น มีชื่อเรียกอีกชื่อคือ NN183 รวมกันกับ N183 เป็นรุ่นที่ถูกจัดอยู่ในหมวดรุ่นสมัยหลัง
คิฮะ 183-1550[แก้]
เป็นตู้โดยสารมีห้องขับของซีรีส์มีการผลิตขึ้น 16 คันออกแบบตามคิฮะ 183-1500 มีการติดตั้งเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้า และไม่มีห้องน้ำภายในตู้ ต่อมามีบางคันการเปลี่ยนอุปกรณ์เบรครถจึงเปลี่ยนเลขทะเบียนเป็น -3550 และบางคันได้เปลี่ยนเครื่องยนต์ขับเคลื่อนใหม่ด้วยจึงใช้ทะเบียน -7550 คิฮะ 183-1555 และ 1556 มีการดัดแปลงเพื่อใช้งานในเส้นทางสายหลักโซยะ ส่วนคิฮะ 183-1507 ได้นำไปปรับสภาพเป็นคิฮะ 183-6101
คิฮะ 182-550[แก้]
เป็นตู้โดยสารคั่นกลางของซีรีส์ผลิตขึ้นมาจำนวน 12 คันออกแบบตามคิฮะ 182-500 มีห้องน้ำภายในตู้ เช่นเดียวกับคิฮะ 183-1550 มีการเปลี่ยนอุปกรณ์เบรครถได้เปลี่ยนเลขทะเบียนเป็น -3550 และทุกคันได้เปลี่ยนเครื่องยนต์ขับเคลื่อนใหม่จึงใช้ทะเบียน -7550
คิซาโระฮะ 182-550[แก้]
รุ่นเดียวที่ผลิตโดยบริษัทฮิตาชิเพื่อใช้ในการทำขบวนรถด่วนพิเศษโทคาชิจำนวน 4 คันเป็นรถ 2 ชั้น ในห้องโดยสารผสมระหว่างที่นั่งกรีนคาร์ และที่นั่งธรรมดา ใช้พ่วงในริ้วขบวนของคิฮะ 183-0เป็นส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากขบวนโทคาชิสลับมาใช้คิฮะ 283 ในการทำขบวน รุ่นนี้จึงถูกปลดระวาง และทำลายลงในปี 2001
รุ่นพิเศษ[แก้]
คิฮะ 183-5000 ซีรีส์ "รีสอร์ทเทรน"[แก้]
คิฮะ 183-5000 ซีรีส์ "นิเซโกะเอกซ์เพรส"[แก้]
เป็นรถเชิงท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นมาใหม่ในปี 1988 จัดอยู่ในรถประเภท "จอยฟูลเทรน" ในอดีตจะใช้วิ่งขบวนนิเซโกะสกีเอกซ์เพรส รถเที่ยวพิเศษในมุ่งไปทางตอนใต้ และรถจัดเฉพาะ ปัจจุบันได้ตัดบัญชี และทำลายลงเมื่อปี 2017
คิฮะ 183-5100 ซีรีส์ "คริสตัลเอกซ์เพรส"[แก้]
เป็นรถเชิงท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นมาใหม่ในปี 1989 จัดอยู่ในรถประเภท "จอยฟูลเทรน" ในอดีตมักจะถูกใช้เป็นรถนำเที่ยวไปทางเมืองฟูราโนะ และเป็นจัดเฉพาะ ปัจจุบันปลดระวาง และทำลายลงเมื่อปี 2019
คิฮะ 183-5200 ซีรีส์ "คริสตัลเอกซ์เพรส"[แก้]
เป็นรถเชิงท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นมาใหม่ในปี 1992 จัดอยู่ในรถประเภท "จอยฟูลเทรน" ถูกใช้เป็นรถนำเที่ยวในหลายพื้นที่ เป็นรถเสริมในช่วงเทศกาล และเป็นรถจัดเฉพาะ ปัจจุบันประจำการอยู่ที่โรงงานนาเอโบะ
คิฮะ 183-6000 ซีรีส์ "ซาชิกิ"[แก้]
ดัดแปลงมาจากคิฮะ183-507 คิฮะ182-514 และคิฮะ183-1557 ในปี 1999 รุ่น N183 ในชุดได้มีการแปลงเครื่องยนต์และอุปกรณ์ให้เหมือนรุ่น NN183 และมีการปรับปรุงตัวรถให้สามารถลอดอุโมงค์เซกังได้ ภายในห้องโดยสารเป็นที่นั่งแบบทาทามิ และมีการตกแต่งภายในให้สอดคล้องกับที่นั่ง ในปี2015 ตู้กลางคิฮะ182-6001 ถูกตัดบัญชี ส่วนตู้ที่มีห้องขับได้เปลี่ยนสีกลับเป็นลาย HET และยังประจำการอยู่ที่โรงงานนาเอโบะ โดยจะพ่วงเป็นตู้เสริมในริ้วขบวนต่าง ๆ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "特急オホーツク(183系". jrhokkaido.co.jp. JR Hokkaido. February 22, 2022. สืบค้นเมื่อ February 22, 2022.
- ↑ "特急大雪(183系)". jrhokkaido.co.jp. JR Hokkaido. February 22, 2022. สืบค้นเมื่อ February 22, 2022.
- ↑ "特別付録『国鉄最後の車両配置表』(特集:JR旅立ち特大号)". 鉄道ファン (ภาษาญี่ปุ่น). 交友社. 27 (第6号(通巻314号). 1987-06-01.