ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สถานีรถไฟสุพรรณบุรี)
ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
State Railway of Thailand Logo 2019.svg
Suphanburi stn.jpg
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งจังหวัดราชบุรี
จังหวัดนครปฐม
จังหวัดสุพรรณบุรี
ปลายทาง
จำนวนสถานี1
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟระหว่างเมือง
ระบบรถไฟชานเมือง
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประวัติ
เปิดเมื่อ16 มิถุนายน พ.ศ. 2506
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง78 กม. (48.47 ไมล์)
รางกว้างราง 1 เมตร ทางเดี่ยว
ที่หยุดรถไฟกำแพงแสน

ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี เป็นทางรถไฟสายหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายเหนือและทางรถไฟสายใต้เข้าด้วยกัน โดยเริ่มสำรวจแนวทางการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2496 และเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2497 ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2501 - 2504 ทางรถไฟสายนี้ไม่ได้รับงบประมาณจึงหยุดการก่อสร้างชั่วคราว หลังจากนั้นเมื่อได้รับงบประมาณจึงทำการก่อสร้างต่อและเปิดเดินรถเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2506 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

ในอดีตทางรถไฟสายนี้มีสถานีรายทางมากถึง 11 สถานี (ไม่รวมชุมทางหนองปลาดุก) คือ สถานีรถไฟยางประสาท สถานีรถไฟดอนขุนวิเศษ สถานีรถไฟกำแพงแสน สถานีรถไฟหนองฟัก สถานีรถไฟทะเลบก สถานีรถไฟสะพังเขิน สถานีรถไฟศรีสำราญ สถานีรถไฟหนองผักชี สถานีรถไฟบ้านมะขามล้ม สถานีรถไฟสะแกย่างหมู และสถานีรถไฟสุพรรณบุรี ปัจจุบันทางรถไฟสายนี้ได้ยุบสถานีรายทางเหลือเพียงสถานีเดียว คือ สถานีสุพรรณบุรี ที่เหลือมีฐานะเป็นเพียงที่หยุดรถ และป้ายหยุดรถ ประกอบด้วย ป้ายหยุดรถไฟทุ่งบัว ที่หยุดรถไฟโรงเรียนการบิน ที่หยุดรถไฟศรีสำราญ ป้ายหยุดรถไฟดอนทอง และที่หยุดรถไฟมาลัยแมน ในเส้นทางนี้มีขบวนรถไฟเพียงวันละ 2 ขบวน คือ ขบวนรถชานเมืองที่ 355/356 กรุงเทพ-สุพรรณบุรี-กรุงเทพ[1]

หมายเหตุ : ขบวนรถชานเมืองที่ 355 - 356 ต้นทาง/ปลายทางที่สถานีชุมทางหนองปลาดุก ไม่มีเดินรถช่วงสถานีชุมทางหนองปลาดุก - สถานีสุพรรณบุรี

อนาคตของทางรถไฟสายสุพรรณบุรี ตามรายละเอียดแผนแม่บทการพัฒนาทางรถไฟ ปี 2561 ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี จะถูกควบรวมเข้ากับทางรถไฟสาย E-W Corridor เชื่อมตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งต้นทางจากสถานีท่ากิเลน อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี รอการเชื่อมต่อกับทางรถไฟไปทวาย - ชุมทางหนองปลาดุก - สถานีหนองผักชี - สร้างทางใหม่ ไปตัดกับชุมทางบ้านภาชี ซึ่งจะลดรถไฟสินค้าที่วิ่งผ่านจากเหนือ-อิสาน-ตะวันออก ไปใต้ได้ทั้งหมด และยังสร้างโอกาสการพัฒนาการขนส่งสินค้า ระหว่าง ตะวันออก-ตะวันตก พร้อมเชื่อมต่อการเดินทางกับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย[2] รวมทั้งรถไฟสายสุพรรณบุรี อนาคตถูกตัดเส้นทางรถไฟใหม่ช่วง สุพรรณบุรี-นครสวรรค์ (MR1-7) และ สุพรรณบุรี-นครปฐม (MR1-8) เป็นหนึ่งในโครงข่าย mr map ช่วง เชียงราย-นราธิวาส[3]

โครงการพัฒนาทางรถไฟสายใหม่ ช่วงกาญจนบุรี-สุพรรณบุรี-ชุมทางบ้านภาชี[แก้]

แนวเส้นทางจะเป็น การก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ความกว้าง 1 เมตร หรือ Meter Gauge โดยจะมีการออกแบบแนวเส้นทาง รถไฟเพื่อให้สามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 160 กม./ชม. และเพื่อความปลอดภัยการก่อสร้างทางรถไฟสาย ใหม่นี้ได้กำหนดให้มีแนวรั้วกั้นตลอดแนวเส้นทาง และออกแบบบริเวณที่เป็นจุดตัดรถไฟกับถนนเป็นจุดตัดต่างระดับ เส้นทางโครงการเริ่มต้นจากสถานีท่ากิเลนและสิ้นสุดแนวเส้นทางโครงการที่สถานีชุมทางบ้านภาชีแนวเส้นทางแบ่งเป็น 6 ช่วง คือ

  • ช่วงที่ 1 จากสถานีรถไฟท่ากิเลนถึงสถานีรถไฟวังเย็น จะเป็นการก่อสร้างทางคู่ใหม่ขนานกับแนวเส้นทางรถไฟเดิมโดยก่อสร้างอยู่ในเขตทางของการรถไฟเดิม ระยะทาง 23 กม.
  • ช่วงที่ 2 หลังจากผ่านสถานีรถไฟวังเย็น จะตัดแนวเส้นทางรถไฟใหม่มาตามแนวทิศตะวันออกเป็นแนวเลี่ยงตัว จังหวัดกาญจนบุรี ที่เป็นชุมชนหนาแน่น และมีรัศมีโค้งแคบทำให้รถไฟไม่สามารถทำความเร็วได้ตามที่ต้องการ จนมาบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟเดิมที่บริเวณสถานีรถไฟท่าเรือน้อย โดยเส้นทางในช่วงนี้จะเป็นการเวนคืนเพื่อตัดแนวเส้นทางรถไฟใหม่ทั้งหมดระยะทาง 29 กม.
  • ช่วงที่ 3 จากสถานีรถไฟท่าเรือน้อยถึงสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก จะเป็นการก่อสร้างทางคู่ใหม่ขนานกับแนวเส้นทางรถไฟเดิมโดยก่อสร้างอยู่ในเขตทางของการรถไฟเดิม ระยะทาง 30 กม.
  • ช่วงที่ 4 สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก–สถานีรถไฟหนองผักชี จะเป็นการก่อสร้างทางคู่ใหม่ขนานกับแนวเส้นทางรถไฟเดิมโดยก่อสร้างอยู่ในเขตทางของการรถไฟฯ สายชุมทางหนองปลาดุก–สุพรรณบุรี โดยรูปแบบโครงสร้างทางรถไฟในช่วงที่ผ่านอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จะเป็นแบบสะพานช่วงสั้นเพราะอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากระยะทาง 63 กม.
  • ช่วงที่ 5 จากสถานีหนองรถไฟผักชี–สถานีรถไฟมาบพระจันทร์จะตัดเป็นแนวเส้นทางรถไฟใหม่ทั้งหมดมาตามแนวทิศตะวันออก โดยแนวเส้นทาง จะเป็นแบบสะพานช่วงสั้นเพราะอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากระยะทาง 67.5 กม.
  • ช่วงที่ 6 จากสถานีรถไฟมาบพระจันทร์–สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี จะเป็นการก่อสร้างทางคู่ใหม่ขนานกับแนวเส้นทางรถไฟเดิม โดยก่อสร้างอยู่ในเขตทางของการรถไฟฯ สายเหนือ ระยะทาง 8.5 กม. รวมระยะทางทั้งหมด 221 กม. โดยแบ่งเป็นการก่อสร้างทางคู่แนวเส้นทางใหม่ 96.5 กม. และเป็นการก่อสร้างทางคู่ใหม่ขนานกับแนว เส้นทางรถไฟเดิม 124.5 กม.

รายชื่อสถานีรถไฟ สายสุพรรณบุรี[แก้]

ลำดับสถานีจาก กท. และธบ. ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ ชื่อภาษาอังกฤษ เลขรหัส ระยะทางจาก ธบ. ชั้นสถานี ตัวย่อ อาณัติสัญญาณ ระบบบังคับประแจ ที่ตั้ง หมายเหตุ
ตำบล อำเภอ จังหวัด
ชุมทางหนองปลาดุก - สุพรรณบุรี
25/19 ชุมทางหนองปลาดุก Nong Pla Duk Junction 4020 64.19 กม. 2 ปด. ไฟสีสามท่า ใช้ห่วงทางสะดวก สายลวด หนองกบ บ้านโป่ง ราชบุรี แยกไปสายใต้ กับสายน้ำตก
ยางประสาท Yang Prasat 4022 71.60 กม. ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) ยะ. บ้านยาง เมืองนครปฐม นครปฐม เข้าเขตจังหวัดนครปฐม, เปิดเป็นสถานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2506[4] และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2519[5]

ฝ่ายการช่างโยธา

  • ที่ทำการนายตรวจทางยางประสาท (นตท.ยะ.)
ดอนขุนวิเศษ Don Khun Wiset 4024 80.50 กม. ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) ห้วยหมอนทอง กำแพงแสน เปิดเป็นสถานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2506[6] และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2520[7]
กำแพงแสน Kamphaeng Saen 4025 85.30 กม. ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) กำ. เปิดเป็นสถานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2506[8] และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2519[9]
26/20 ทุ่งบัว Thung Bua 4026 87.86 กม. ที่หยุดรถ วบ. รางพิกุล
หนองฟัก Nong Fak 4027 93.00 กม. ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) นฟ. ทุ่งบัว เปิดเป็นสถานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2506[10] เดิมชื่อสถานี "ทุ่งขวาง" และเปลี่ยนชื่อสถานีเป็น "หนองฟัก"[11] และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2515[12]
27/21 โรงเรียนการบิน Flying Training School 4028 96.40 กม. ที่หยุดรถ ริ. กระตีบ เปิดเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2531
ทะเลบก Tale Bok 4029 99.60 กม. ยุบเลิกใช้งาน ทะ. เปิดเป็นสถานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2506[13] และเปิดเป็นสถานีมีทางสะดวก มีทางตันและชานบรรทุกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2514[14] และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2520[7]
หนองวัลย์เปรียง Nong Wan Priang 4031 104.97 กม. ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) หเ. ทุ่งคอก สองพี่น้อง สุพรรณบุรี เข้าเขตจังหวัดสุพรรณบุรี, เปิดเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2509[15][16]
สะพังเขิน Saphang Khoen 4032 107.00 กม. ยุบเลิกใช้งาน เปิดเป็นสถานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2506[17] และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2509[16] เนื่องจากเปิดที่หยุดรถหนองวัลย์เปรียงขึ้นมาแทน
ดอนมะนาว
28/22 ศรีสำราญ Sri Samran 4033 113.30 กม. ที่หยุดรถ สญ. สองพี่น้อง ตั้งอยู่ในเขตของเทศบาลเมืองสองพี่น้อง, ลงที่นี่สามารถไปอำเภอสองพี่น้องได้สะดวก, เปิดเป็นสถานีในวันที่ 16 มิถุนายน 2506[18] และยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อปี 2528
ดอนสงวน Dan Sa Nguan 4035 118.97 กม. ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) ดน. หัวโพธิ์ เปิดเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2508[19]
29/23 ดอนทอง Don Thong 4036 122.31 กม. ที่หยุดรถ ดถ. วัดโบสถ์ บางปลาม้า
- หนองผักชี Nong Phak Chi 4037 125.50 กม. ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) ผช. - -
- บ้านมะขามล้ม Ban Makham Lom 4039 131.35 กม. ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) มข. - - มะขามล้ม เคยเป็นสถานี ยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2522

[20]

- สะแกย่างหมู Sakae Yang Mu 4040 135.35 กม. ยุบเลิกใช้งาน (ยังไม่ตัดบัญชี) ส ู. - - เคยเป็นสถานี ยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2515[21]
30/24 สุพรรณบุรี Suphan Buri 4042 141.60 กม. 2 สพ. ป้ายเขตสถานี ใช้ห่วงทางสะดวก คันโยก รั้วใหญ่ เมืองสุพรรณบุรี สถานีประจำจังหวัดสุพรรณบุรีและเป็นสถานีเพียงแห่งเดียวของทางสายนี้

ฝ่ายการช่างโยธา

  • ที่ทำการนายตรวจทางสุพรรณบุรี (นตท.สพ.)
31/25 มาลัยแมน Ma Lai Maen 142.66 กม. ที่หยุดรถ - - เปิดเมื่อ 5 มกราคม 2539 เป็นจุดสิ้นสุดทางรถไฟสายสุพรรณบุรี

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-03-10.
  2. โครงการพัฒนารถไฟสายใหม่ ช่วงกาญจนบุรี - สุพรรณบุรี - ชุมทางบ้านภาชี สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566
  3. "เส้นทาง MR-Map – MR-MAP" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  4. "คำสั่งตั้งชื่อสถานีที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี ด้วยการรถไฟฯกำลังดำเนินการก่อสร้าง อาคารสถานี ทางหลีก,พร้อมอุปกรณ์ในการเดินรถในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ตอนระหว่างหนองปลาดุก-ศรีสำราญ รวม 7 แห่ง ได้แก่ กม.71+600 "สถานียางประสาท"". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2500
  5. "ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2520 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ประกาศ ณ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2519)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2519
  6. "คำสั่งตั้งชื่อสถานีที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี ด้วยการรถไฟฯกำลังดำเนินการก่อสร้าง อาคารสถานี ทางหลีก,พร้อมอุปกรณ์ในการเดินรถในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ตอนระหว่างหนองปลาดุก-ศรีสำราญ รวม 7 แห่ง ได้แก่ กม.80+500 "สถานีดอนขุนวิเศษ"". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
  7. 7.0 7.1 "ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2520 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520
  8. "คำสั่งตั้งชื่อสถานีที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี ด้วยการรถไฟฯกำลังดำเนินการก่อสร้าง อาคารสถานี ทางหลีก,พร้อมอุปกรณ์ในการเดินรถในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ตอนระหว่างหนองปลาดุก-ศรีสำราญ รวม 7 แห่ง ได้แก่ กม.85+300 "สถานีกำแพงแสน"". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2500
  9. "ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2519 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
  10. "คำสั่งตั้งชื่อสถานีที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี ด้วยการรถไฟฯกำลังดำเนินการก่อสร้าง อาคารสถานี ทางหลีก,พร้อมอุปกรณ์ในการเดินรถในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ตอนระหว่างหนองปลาดุก-ศรีสำราญ รวม 7 แห่ง ได้แก่ กม.93+000 "สถานีหนองฟัก"". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2500
  11. "กรมศิลปากรพิจารณาแล้วมีความเห็นพ้องด้วย ส่วนกระทรวงมหาดไทยมีความเห็นว่า สำหรับ สถานีทุ่งขวาง ควรใช้ชื่อสถานีว่า สถานีหนองฟัก สถานีอื่นๆนอกนั้นเหมาะสมแล้ว ณ วันที่ 26 สค. 2500 ป. ศกุนตนาค ลงนามแทนผู้ว่า". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2500
  12. "ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2515 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
  13. "คำสั่งตั้งชื่อสถานีที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี ด้วยการรถไฟฯกำลังดำเนินการก่อสร้าง อาคารสถานี ทางหลีก,พร้อมอุปกรณ์ในการเดินรถในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ตอนระหว่างหนองปลาดุก-ศรีสำราญ รวม 7 แห่ง ได้แก่ กม.99+600 "สถานีทะเลบก"". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
  14. "ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 เปิดสถานีทะเลบก ในทางสายสุพรรณบุรี เป็นสถานีทางสะดวก สร้างทางหลีกทาง 2 มีความยาว 502.53 สร้างทางตันมีความยาว332.23 และสร้างชานบรรทุกขนาด 10.00+60.00 เมตร". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2514
  15. "ตั้งชื่อที่หยุดรถสร้างขึ้นมาใหม่ในทางสายใหม่ว่า "หนองวัลย์เปรียง" ด้วยการรถไฟฯได้ให้ฝ่ายการก่อสร้างจัดสร้างที่หยุดรถขึ้นที่ กม.104+975 ระหว่างสถานีทะเลบก กับสถานีสะพังเขิน ในทางสายสุพรรณบุรี แต่ที่หยุดรถดังกล่าวยังไม่มีชื่อ จึงให้ตั้งชื่อที่หยุดรถที่จะสร้างขึ้นใหม่ตามที่กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบ สั่ง ณ วันที่ 23 มีนาคม 2509". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2509
  16. 16.0 16.1 "ด้วยเจ้าหน้าที่เขตก่อสร้างหนองปลาดุก ฝ่ายก่อสร้างได้จัดสร้างที่หยุดรถหนองวัลย์เปรียง ที่กม.104+975 (ระยะทางจากสถานีธนบุรี) ระหว่างสถานีทะเลบกกับสถานีสะพังเขิน ในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี (แทนการย้ายที่ตั้งสถานีสะพังเขิน) เสร็จเรียบร้อยแล้ว และให้ใช้อักษรย่อว่า"หเ" ฉะนั้นให้ยุบเลิกสถานีสะพังเขินนั้นเสีย และให้เปิดที่หยุดรถ หนองวัลย์เปรียงขึ้นใหม่แทน ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2509 เป็นต้นไป". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2509
  17. "คำสั่งตั้งชื่อสถานีที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี ด้วยการรถไฟฯกำลังดำเนินการก่อสร้าง อาคารสถานี ทางหลีก,พร้อมอุปกรณ์ในการเดินรถในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ตอนระหว่างหนองปลาดุก-ศรีสำราญ รวม 7 แห่ง ได้แก่ กม.107+000 "สถานีสะพังเขิน"". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2500
  18. "คำสั่งตั้งชื่อสถานีที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี ด้วยการรถไฟฯกำลังดำเนินการก่อสร้าง อาคารสถานี ทางหลีก,พร้อมอุปกรณ์ในการเดินรถในทางสายหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ตอนระหว่างหนองปลาดุก-ศรีสำราญ รวม 7 แห่ง ได้แก่ กม.113+300 "สถานีศรีสำราญ"". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2500
  19. "ด้วยการรถไฟฯได้จัดสร้างที่หยุดรถขึ้นที่ กม.118/975 ระหว่างสถานีศรีสำราญ กับสถานีหนองผักชี ในทางสายสุพรรณบุรี แต่ที่หยุดรถดังกล่าวยังไม่มีชื่อ จึงได้ตั้งชื่อที่หยุดรถที่สร้างขึ้นใหม่ตามที่กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2508". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2508
  20. "ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
  21. "ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2516 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2515)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2515