เอชไอดี (รถจักร)
HITACHI 8FA-36C / HID | |
---|---|
![]() รถจักรดีเซลไฟฟ้าHID หมายเลข4517 กำลังวิ่งผ่านสถานีการเคหะ | |
ประเภทและที่มา | |
ชื่อเรียกรุ่น | HID (Hitachi Dual brake) |
รุ่นเลขที่ | 4501 – 4522 |
โมเดลโรงงาน | 8FA-36C |
ผู้ผลิต | Hitachi, Ltd., ประเทศญี่ปุ่น ![]() |
ประจำการ | พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน |
จำนวน | 22 คัน |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชนิด | รถจักรดีเซลไฟฟ้า |
มาตรฐานทางกว้าง | 1.000 เมตร |
การจัดวางล้อ | Co-Co |
ความยาว | 19.900 เมตร |
ความกว้าง | 2.780 เมตร |
ความสูง | 3.870 เมตร |
น้ำหนัก | จอดนิ่ง 86.50 ตัน ใช้การ 90.00 ตัน |
น้ำหนักกดเพลา | 15 ตัน/เพลา (U15) |
ความจุถังเชื้อเพลิง | 5,000 ลิตร |
ระบบห้ามล้อ | ลมอัด |
จำนวนห้องขับ | 2 ฝั่ง |
ประสิทธิภาพ | |
กำลังเครื่องยนต์ | 1,250 x 2 แรงม้า (เดิม1430 x 2 แรงม้า) |
ความเร็วสูงสุด | 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง |
การใช้งาน | |
ประจำการใน | การรถไฟแห่งประเทศไทย, ประเทศไทย ![]() |
จำนวนประจำการในปัจจุบัน | 21 คัน |
ปลดประจำการ | 1 คัน |
ฮิตาชิ 8เอฟเอ-36ซี (HITACHI 8FA-36C) หรือ เอชไอดี (HID) มักถูกเรียกสั้น ๆ ด้วยชื่อยี่ห้อว่า ฮิตาชิ (Hitachi) รถจักรเอชไอดี เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นหนึ่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สั่งนำเข้ามาเพื่อใช้ในการทำบวนรถโดยสารและขบวนรถสินค้า สั่งซื้อจาก บริษัท ฮิตาชิ (Hitachi), ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2536 ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทยมักใช้รถจักรเอชไอดี ในการลากขบวนรถด่วนพิเศษ เช่น รถด่วนพิเศษอุตราวิถี, รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์, รถด่วนพิเศษอีสานมรรคา, รถด่วนพิเศษอีสานวัตนา รวมไปถึงขบวนรถพิเศษนำเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ข้อมูลรถจักร[แก้]
- ชนิดรถจักร รถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Locomotives)
- ชื่อเรียก : HID (Hitachi Dual brake)
- โมเดลโรงงาน : 8FA-36C
- เครื่องยนต์ Cummins KTA-50L ขนาดความจุ 50,000 cc. 16 สูบ มี 2 เครื่องยนต์ (รหัสเครื่องยนต์เดิม Cummins KTTA-50L)
- แรงม้า เดิม 2 x 1430 แรงม้า ที่ 1,800 รอบต่อนาที ปัจจุบันได้มีการลดสเตจเทอร์โบ ทำให้เหลือแค่ 2 x 1250 แรงม้า และเปลี่ยนรหัสเครื่องยนต์เป็น KTA-50L เหมือนจีอีเอ
- น้ำหนักรถจักร 86.50 ตัน (เมื่อจอดนิ่ง) / 90.00 ตัน (ขณะทำขบวน)
- น้ำหนักกดเพลา 15.00 ตัน
- การจัดวางล้อ Co-Co มี 2 แคร่ แต่ละแคร่มี 3 เพลาล้อ ทุกเพลาล้อติดตั้งมอเตอร์ลากจูง 1 ลูก
- พิกัดตัวรถ กว้าง 2.780 เมตร / สูง 3.870 เมตร / ยาว 19.900 เมตร
- ระบบห้ามล้อ ใช้ระบบลมดูดและลมอัด ทุกคัน
- ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง 5,000 ลิตร
- ความจุถังนั้ามันหล่อลื่นเครื่องยนต์ 265 ลิตร
- ความจุถังนั้าระบบหล่อเย็น 375 ลิตร
- ความจุถังทราย 500 ลิตร
- ความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- บริษัทผู้ผลิต บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (มหาชน) โรงงานมิโตะ เวิร์ค (Mito work) ประเทศญี่ปุ่น
- ราคาต่อคัน 75,059,743.00 บาท
- จำนวน 22 คัน (หมายเลข 4501 - 4522)
- เริ่มใช้งาน พ.ศ. 2536
รถจักรที่ตัดบัญชี[แก้]
หมายเลข | ลักษณะอุบัติเหตุ | ขบวนที่ทำ | วันที่ | สถานที่ | ความเสียหาย | สถานะปัจจุบัน | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
†4502 | ชนกับขบวนรถสินค้าน้ำมันที่ 541 (มาบตาพุด–อุบลราชธานี) | ขบวนรถสินค้าข้าวสารที่ 540 (บ้านเกาะ–แหลมฉบัง) | วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2549 | สถานีรถไฟมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี | ตัวรถ(โครงประธานหลัก) | ตัดบัญชี | [1] |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "เกิดอุบัติเหตุรถไฟชนกันที่มวกเหล็ก บาดเจ็บ 4 คน". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
2.โครงสร้างการออกแบบรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่น HITACHI (การรถไฟแห่งประเทศไทย).pdf.
3. ข้อมูลรถจักรดีเซลไฟฟ้า (Railway.co.th) เก็บถาวร 2019-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ฮิตาชิ แปดเอฟเอ-สามหกซี |
- การรถไฟแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2007-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รถไฟไทยแกลลอรี่
- จีโอซิตี