สถานีรังสิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สถานีรถไฟรังสิต)
รังสิต
Rangsit
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg
Rangsit Station 03.jpg
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ให้บริการบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (ชั่วคราว)
สาย สายธานีรัถยา 
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
ถนนช้างเอราวัณ 1
เขต/อำเภออำเภอธัญบุรี
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ (สายธานีรัถยา)
ระดับพื้นดิน (รถไฟทางไกล)
รูปแบบชานชาลาเกาะกลางแบบแยก (island platform)
จำนวนชานชาลา8
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีSRT RN10.svg
ทางออก4
บันไดเลื่อน8
ลิฟต์8
เวลาให้บริการ06.00 - 24.00น.
ประวัติ
เปิดให้บริการ17 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (รถไฟทางไกล)
2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (สายธานีรัถยา)
ที่ตั้ง
Map
เว็บไซต์รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.
หมายเหตุ
SRT RN10 Traditional station sign.svg

สถานีรังสิต (อังกฤษ: Rangsit Station; รหัสสถานี: RN10) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา และยังเป็นสถานีของรถไฟทางไกลในเส้นทางทางรถไฟสายเหนือ และทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ บนถนนช้างเอราวัณ 1 ในพื้นที่ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนช้างเอราวัณ 1 ใกล้กับถนนรังสิต-ปทุมธานี ในพื้นที่ตำบลประชาธิปัตย์ เทศบาลนครรังสิต (อำเภอธัญบุรี) จังหวัดปทุมธานี

ตัวสถานีเดิมตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกในเขตตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี หลังจากสร้างสถานีรถไฟฟ้ารังสิตในเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา สถานีมีพื้นที่ครอบคลุมในเขตตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี[1] และตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี[2] โดยใช้กึ่งกลางของทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต

ปัจจุบัน องค์การส่วนจังหวัดปทุมธานีอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโมโนเรลจากสถานีรังสิตเชื่อมเข้าสู่ยังบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง นำโดยบริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย มาดำเนินการก่อสร้างในส่วนนี้ [3] สำหรับเส้นทางที่ได้มีการศึกษาและวางแผนไว้ ได้แก่ สถานีรังสิต-ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต วิ่งตรงตามแนวถนนรังสิต-นครนายก ไปสิ้นสุดที่แยกทางหลวงปท.3004 (แยกไฟแดงคลอง 7) ส่วนอีกเส้นทางคือ สถานีรังสิต-รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีแยก คปอ.[4] [5] คาดการณ์ว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2566[6] โดยระยะแรกจะก่อสร้างในเส้นทางดังนี้ ฟิวเจอร์รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต / สถานีคูคต-คลองสาม / สถานีรังสิต-ตลาดพูนทรัพย์-เทคนิคปทุม-มหาวิทยาลัยปทุมธานี-สะพานปทุมธานี[7]

สถานีรังสิต เป็นสถานีปลายทางในส่วนเหนือ (Northbound Section) ของโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา ไปจนกว่าจะมีความชัดเจนในการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายธานีรัถยา ระยะที่ 2 และ 3 ตั้งแต่สถานีรังสิต ไปจนถึงสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถานีบ้านภาชี จากคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

แผนผังสถานี[แก้]

U3
ชานชาลาบน
(รถไฟชานเมือง)
ชานชาลา 1  สายธานีรัถยา  สถานีปลายทาง
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ชานชาลา 2  สายธานีรัถยา  สถานีปลายทาง
ชานชาลา 3  สายธานีรัถยา  มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ชานชาลา 4  สายธานีรัถยา  มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ชานชาลาล่าง
(รถทางไกล)
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, จุดรับส่งผู้โดยสาร, ถนนช้างเอราวัณ 1
ชานชาลา 5  รฟท. เหนือ  มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ชานชาลา 6  รฟท. ตะวันออกเฉียงเหนือ  มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
ชานชาลา 7  รฟท. เหนือ  ปลายทาง สถานีเชียงใหม่
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ชานชาลา 8  รฟท. ตะวันออกเฉียงเหนือ  ปลายทาง สถานีหนองคาย, สถานีอุบลราชธานี
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนรังสิต-ปทุมธานี, สถานีวัดความดันและควบคุมปริมาณก๊าซรังสิต ปตท.

เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง ผู้โดยสารที่มาจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ถึงแล้วจะต้องลงจากขบวนทั้งหมดที่ชานชาลา 3 หรือ 4 จากนั้นขบวนรถจะกลับทิศบริเวณสุดราง เพื่อมุ่งหน้ามารับผู้โดยสารที่ชานชาลา 1 หรือ 2 ฝั่งตรงข้าม

รูปแบบของสถานี[แก้]

สถานีรถไฟรังสิต(ชานชาลารถไฟทางไกล)ในปัจจุบัน

เป็นแบบชานชาลาเกาะกลางแบบแยก (island platform station) เหมือนกับสถานีดอนเมือง ขนาดมาตรฐานยาว 230 เมตร ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา ชั้นชานชาลารถไฟทางไกลที่ตั้งอยู่ระดับดินออกแบบให้มีการติดตั้งพัดลมดูดควัน สำหรับใช้ระบายควันจากรถจักรดีเซลออกสู่ปลายสถานีทั้งสองฝั่งอย่างรวดเร็ว

ทางเข้า-ออก[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ ได้แก่

  • 1, 2 ทางรถไฟสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ
  • 3, 4 ถนนช้างเอราวัณ 1, ซอยรังสิต-ปทุมธานี 16

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

  • ฝั่งหน้าสถานี - สาย 338 (รังสิต - เชียงรากน้อย) / 381 (ป้ายเหลือง) (รังสิต - เคหะคลอง 6) / 381 (ป้ายขาว / รอบเมือง) (รังสิต - บ้านฟ้าลากูน) / 381 (ป้ายเขียว / รอบเมือง) (รังสิต - โรงเรียนธัญบุรี) / 522 (เสริมพิเศษ) / 1116 (รังสิต - เชียงราก) / 6188 (รังสิต - จารุศร)
  • ฝั่งหน้าอู่รังสิต (ขสมก.) - สาย 34 / 59 / 95ก / 185 / 503 / 522 (เส้นทางหลัก) / 555
  • ฝั่งหน้าอู่รังสิต (สมาร์ทบัส) - สาย 504 / 554

ตารางเวลาการเดินรถ[แก้]

รถไฟฟ้า[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายธานีรัถยา
ชานชาลาที่ 3 และ 4
SRT RN01-RS01.svg กรุงเทพอภิวัฒน์ จันทร์ - อาทิตย์ 05:30 00:00

เที่ยวขึ้น[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง รังสิต ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
น921 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.40 07.34 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 10.40 เดินรถเฉพาะวันหยุดราชการ
ช303 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 04.20 05.08 ลพบุรี 07.05 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช311 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 04:40 05.25 รังสิต 05:25 ไม่จอดสถานีรถไฟระหว่างทาง
ช339 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 05:20 06.02 ชุมทางแก่งคอย 08:15 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ดพ21 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.10 06.36 อุบลราชธานี 14.00
ร135 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.10 07.48 อุบลราชธานี 18.00
ร111 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.30 08.00 เด่นชัย 16.30
ด75 กรุงเทพอภิวัฒน์ 08.45 09.11 หนองคาย 17.30
ดพ7 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05 09.20 เชียงใหม่ 19.30 ขบวนที่ 9 เดิม
(ก่อนปี 2555)
ธ201 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 09.30 10.41 พิษณุโลก 17.55
ด71 กรุงเทพอภิวัฒน์ 10.35 10.58 อุบลราชธานี 19.50
ดพ3 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.50 11.48 ศิลาอาสน์ 19.15 งดเดินรถจากสถานการณ์โควิด-19
ธ209 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 11.15 12.21 บ้านตาคลี 15.40
ธ233 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 11:30 12.32 สุรินทร์ 20:00
ธ211 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12.55 13.53 ตะพานหิน 19.15
ธ207 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14.10 15.06 นครสวรรค์ 19.35
ร109 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.15 15.26 เชียงใหม่ 04.05
ร145 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 15.20 16.18 อุบลราชธานี 03.15 *งดเดินรถจากสถานการณ์โควิด-19
ช315 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 16.10 17.13 ลพบุรี 19.30 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช301 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 16.30 17.36 ลพบุรี 20.05 เดินรถเฉพาะวันหยุดราชการ
ช313 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 18:20 17.58 ชุมทางบ้านภาชี 20:45 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช341 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17:00 18.16 ชุมทางแก่งคอย 20:00
ช343 กรุงเทพ 17:25 18.16 ชุมทางแก่งคอย 20:40 ยกเลิกตั้งแต่
1 ตุลาคม
พ.ศ. 2558
ช317 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17.25 18.27 ลพบุรี 20.25 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ดพ11 กรุงเทพ 18.00 18.54 เชียงใหม่ 06.20 ยกเลิกตั้งแต่
1 พฤศจิกายน 2555 (2555-11-01)
ดพ1 กรุงเทพ 18.10 19.06 เชียงใหม่ 07.15 ยกเลิกตั้งแต่
11 พฤศจิกายน 2559 (2559-11-11)
ดพ9 กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.40 19.06 เชียงใหม่ 07.15 ทดแทนขบวนที่ 1
ช305 กรุงเทพ 18:20 19.24 อยุธยา 20:10 ยกเลิกตั้งแต่
1 ตุลาคม
พ.ศ. 2558
ด77 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 18.35 19.26 หนองคาย 03.45 *งดเดินรถจากสถานการณ์โควิด-19
ร139 กรุงเทพอภิวัฒน์ 19.25 19.51 อุบลราชธานี 06.15
ดพ13 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.05 20.30 เชียงใหม่ 08.40
ด69 กรุงเทพ 20.00 21.00 หนองคาย 06.45 ยกเลิกตั้งแต่
2 ธันวาคม
พ.ศ. 2559
ดพ25 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.25 21.00 หนองคาย 06.25
ร107 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.45 21.08 เด่นชัย 05.15
ดพ23 กรุงเทพอภิวัฒน์ 21.05 21.20 อุบลราชธานี 06.35 เวลาเดิมของ
ขบวนที่ 67
ร133 กรุงเทพอภิวัฒน์ 21.25 21.40 หนองคาย 07.55
ร105 กรุงเทพอภิวัฒน์ 21.45 21.49 ศิลาอาสน์ 05.15
ร115 กรุงเทพ 20.55 22.00 พิษณุโลก 05.23 ยกเลิกตั้งแต่
1 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2555[8]
ด67 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 21.30 22.18 อุบลราชธานี 07.50 *งดเดินรถจากสถานการณ์โควิด-19
ด73 กรุงเทพ 21.50 22.43 ศีขรภูมิ 05.50 ยกเลิกตั้งแต่
11 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2559[9]
ด51 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.30 22.57 เชียงใหม่ 12.10
ร141 กรุงเทพอภิวัฒน์ 23.05 23.18 อุบลราชธานี 10.20
ร143 กรุงเทพ 23.40 00.34 อุบลราชธานี 11.50 ยกเลิกตั้งแต่
1 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2555[10]
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า

เที่ยวล่อง[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง รังสิต ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ดพ4 ศิลาอาสน์ 19.50 03.01 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 04.00 งดเดินรถจากสถานการณ์โควิด-19
ด78 หนองคาย 18.30 03.48 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 04.35 *งดเดินรถจากสถานการณ์โควิด-19
ร142 อุบลราชธานี 17.35 03.52 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.10
ร108 เด่นชัย 19.05 04.02 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.30
ดพ24 อุบลราชธานี 19.00 04.15 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.50 เวลาเดิมของ
ขบวนที่ 68
ด52 เชียงใหม่ 15.30 04.19 กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.10
ร134 หนองคาย 18.50 04.30 กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.30
ดพ26 หนองคาย 19.40 04.49 กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.50
ดพ14 เชียงใหม่ 17.00 05.06 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.10
ช376 รังสิต 05.35 05.35 หัวตะเข้ 07.40 กซข.74-ไม่มีเดินวันหยุดราชการ
ด68 อุบลราชธานี 19.30 05.37 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.40 *งดเดินรถจากสถานการณ์โควิด-19
ดพ10 เชียงใหม่ 18.00 05.45 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.50 ทดแทนขบวนที่ 2
ร140 อุบลราชธานี 20.30 06.12 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.10
ช314 ชุมทางบ้านภาชี 04:45 06.16 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 07:15 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช316 ลพบุรี 04.40 06.56 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.20 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช302 ลพบุรี 04.40 06.57 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.15 เดินรถเฉพาะวันหยุดราชการ
ช342 ชุมทางแก่งคอย 05:30 07.18 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08:35
ช318 ลพบุรี 06.00 07.49 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 09.05 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ธ208 นครสวรรค์ 05.00 09.12 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.15
ช304 ลพบุรี 08:00 09.32 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10:35
ช340 ชุมทางแก่งคอย 08:45 10.11 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 11:10
ธ212 ตะพานหิน 05.30 11.08 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12.10
ธ202 พิษณุโลก 06.05 13.02 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14.05
ธ234 สุรินทร์ 05:20 13.13 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14:25
ร106 ศิลาอาสน์ 07.30 13.42 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.10
ด72 อุบลราชธานี 05.40 13.53 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.30
ด76 หนองคาย 07.45 16.09 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.35
น926 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 14.20 16.43 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17.45 เดินรถเฉพาะวันหยุดราชการ
ร112 เด่นชัย 07.30 16.50 กรุงเทพอภิวัฒน์ 17.20
ร136 อุบลราชธานี 07.00 17.25 กรุงเทพอภิวัฒน์ 17.55
ดพ8 เชียงใหม่ 08.50 18.30 กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.55 ขบวนที่ 12 เดิม
(ก่อนปี 2555)[11]
ธ210 บ้านตาคลี 16.00 19.37 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 20.35
ร102 เชียงใหม่ 06.30 20.00 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.25
ร146 อุบลราชธานี 09.30 20.06 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 21.10 *งดเดินรถจากสถานการณ์โควิด-19
ดพ22 อุบลราชธานี 14.50 22.08 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.35
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า

สถานที่ใกล้เคียง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°59′27″N 100°36′07″E / 13.990697°N 100.602057°E / 13.990697; 100.602057

สถานีใกล้เคียง[แก้]

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีหลักหก (มหาวิทยาลัยรังสิต)
มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
   สายธานีรัถยา    สถานีปลายทาง
สถานีดอนเมือง
มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
   รฟท. เหนือ    สถานีคลองหนึ่ง
มุ่งหน้า สถานีเชียงใหม่
สถานีดอนเมือง
มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
   รฟท. ตะวันออกเฉียงเหนือ    สถานีคลองหนึ่ง
มุ่งหน้า สถานีหนองคาย และ สถานีอุบลราชธานี

อ้างอิง[แก้]

  1. "แผนที่ดินและสารสนเทศดินระดับตำบลในตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี". กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน. สืบค้นวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565
  2. "แผนที่ดินและสารสนเทศดินระดับตำบลในตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี". กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน. สืบค้นวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565
  3. อบจ.ปทุมธานี ลุยเมกะโปรเจ็กต์เดินหน้ารถไฟฟ้าโมโนเรล มุ่งแก้ปัญหารถติดเพื่อ ปชช.
  4. รังสิตโมเดลฟีดเดอร์แนวใหม่ ผุด ‘โมโนเรล’ 4 หมื่นล้านเชื่อมสายสีแดง
  5. บิ๊กแจ๊ส ลุยโปรเจ็กต์ รถไฟฟ้าโมโนเรล
  6. ภารกิจพลิกโฉมเมือง‘ปทุมธานี’ เนรมิตรถไฟฟ้า4สายใหม่ แก้รถติด เชื่อม‘กรุงเทพฯ’ไร้รอยต่อ
  7. ""บิ๊กแจ๊ส" เดินหน้าลุยเมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าโมโนเรล พร้อมเลนปั่นจักรยานลอยฟ้า". banmuang.co.th (ภาษาอังกฤษ).
  8. http://www.thairath.co.th/content/eco/299573
  9. https://www.facebook.com/Thaitrainstory/photos/a.985444548250457.1073741857.617685891692993/985444711583774/?type=3&theater
  10. http://www.thairath.co.th/content/eco/299573
  11. "ลดภาระขาดทุน รฟท.ประกาศยกเลิก 6ขบวนรถเชิงพาณิชย์". ไทยรัฐ ออนไลน์. 18 October 2012.