สถานีรถไฟกันตัง
สถานีรถไฟกันตัง | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนหน้าค่าย ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง | ||||||||||||||||
พิกัด | 7.4108137° N, 99.5124577° E | ||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||
สาย | ทางรถไฟสายใต้ (ชุมทางทุ่งสง–กันตัง) | ||||||||||||||||
ชานชาลา | 1 | ||||||||||||||||
ราง | 3 | ||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||
ระดับชานชาลา | 1 | ||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||
รหัสสถานี | 4294 | ||||||||||||||||
|
สถานีรถไฟกันตัง (Kantang Railway Station) เป็นสถานีปลายทางของทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง–กันตัง ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าค่าย ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 850.08 กิโลเมตร โดยกันตังเป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ใช้สัญญาณแบบหลักเขตสถานี ตัวย่อของสถานีคือ กต.
ประวัติ[แก้]
สถานีรถไฟกันตัง เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 ในอดีตใช้เป็นที่รับส่งสินค้ากับต่างประเทศ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีรางรถไฟต่อไปเป็นระยะทางประมาณ 500 เมตรจนถึงท่าเทียบเรือกันตัง
ตัวสถานีรถไฟกันตัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา ทาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาล ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนตัวอาคารและชานชาลา ด้านหน้าของอาคารมีมุขยื่น มีการตกแต่งประดับมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุคงเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรแล้ว ส่วนตัวอาคารที่ทำเป็นห้องมีผนังไม้ตีตามตั้งโชว์แนวเคร่า พร้อมช่องลมระแนงไม้ตีทแยง บานประตูหน้าต่างไม้แบบเก่า ส่วนที่เป็นโถงมีรั้วลูกกรงไม้พร้อมบานประตูขนาดเล็กกั้นพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน ส่วนด้านหลังอาคารเป็นชานชาลามีหลังคาจั่วคลุมแยกต่างหากโดยเสารับหลังคาชานชาลานี้มีค้ำยันไม้ฉลุตกแต่งให้กลมกลืนกับตัวอาคาร
ภายในสถานียังมีของใช้ในอดีตคงเหลืออยู่ โดยภาพรวมแล้ว สถานียังคงรักษาเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ไว้ได้เป็นอย่างดี เป็นผลทำให้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของจังหวัดตรัง โดยกรมศิลปากร ตั้งแต่ พ.ศ. 2539
ขบวนรถที่ให้บริการ[แก้]
- ขบวนรถเร็วที่ 167/168 กรุงเทพ – กันตัง – กรุงเทพ
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีรถไฟกันตัง
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 7°24′39″N 99°30′45″E / 7.4108137°N 99.5124577°E
- สถานีรถไฟ สายใต้
- Pages with no open date in Infobox station
- Pages using กล่องข้อมูล สถานี with unknown parameters
- หน้าที่ใช้กล่องข้อมูลสถานีที่มีพารามิเตอร์ที่ไม่รู้จัก
- Pages using infobox station with deprecated parameters
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2456
- โบราณสถานในจังหวัดตรัง
- สิ่งก่อสร้างในอำเภอกันตัง
- โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งในจังหวัดตรัง