หมายเลขขบวนรถไฟ (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
หมายเลขขบวนรถไฟ คือเลขกำกับขบวนรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้เรียกชื่อขบวนรถ เป็นตัวเลข เพื่อสะดวกในการใช้โทรเลข, ในการเดินรถ และผู้ปฏิบัติงานเข้าใจง่ายไม่สับสน โดยกำหนดสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และสถานีธนบุรีเป็นหลัก โดยขบวนรถที่มีต้นทางจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) หรือสถานีธนบุรี หรือเที่ยวขึ้น จะใช้เลขขบวนรถเป็นเลขคี่ และขบวนรถที่มีปลายทางสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) หรือสถานีธนบุรี หรือเที่ยวล่อง ใช้เลขขบวนรถเป็นเลขคู่
การรถไฟยังได้มีการกำหนดหมายเลขให้แตกต่างกัน โดยเรียงจากหมายเลขมีจำนวนน้อยไปหาจำจำนวนมาก ตามประเภทหรือความสำคัญของขบวนรถนั้น กล่าวคือ ยิ่งมีตัวเลขน้อยแปลว่า เป็นประเภทรถที่มีความสำคัญมากที่สุด ส่วนมีตัวเลขมาก แปลว่ามีความสำคัญน้อยลงมา ตามลำดับ[1]
หลักการตั้งหมายเลขขบวนรถไฟ
[แก้]หลักการตั้งหมายเลขขบวนรถไฟตามระเบียบการรถไฟแห่งประเทศไทย อ้างอิงตามประเภทขบวน ทิศทาง ความสำคัญและลำดับการเกิดขึ้นของขบวนรถ โดยแบ่งได้ 12 ประเภท ดังนี้
- เลข 1-50 เป็นขบวนรถด่วนพิเศษ
- เลข 1-10 เป็นสายเหนือ
- เลข 11-30 เป็นสายตะวันออกเฉียงเหนือ
- เลข 31-50 เป็นสายใต้
- เลข 51-98 เป็นรถด่วน
- เลข 51-60 เป็นสายเหนือ
- เลข 61-80 เป็นสายตะวันออกเฉียงเหนือ
- เลข 81-98 เป็นสายใต้
- เลขสามหลักขึ้นต้นด้วยเลข 1 คือรถเร็ว
- เลขสามหลักขึ้นต้นด้วยเลข 2 คือรถธรรมดา
- เลขสามหลักขึ้นต้นด้วยเลข 3 คือรถชานเมืองและรถพิเศษชานเมือง
- เลขสามหลักขึ้นต้นด้วยเลข 4 คือรถท้องถิ่นและรถรวม
- เลขสามหลักขึ้นต้นด้วยเลข 5 คือรถสินค้าสายตะวันออกเฉียงเหนือ
- เลขสามหลักขึ้นต้นด้วยเลข 6 คือรถสินค้าสายเหนือ
- เลขสามหลักขึ้นต้นดัวยเลข 7 คือรถสินค้าสายใต้
- เลขสามหลักขึ้นต้นด้วยเลข 8 คือรถสินค้าสายตะวันออก
- เลขสามหลักขึ้นต้นด้วยเลข 9 คือรถท่องเที่ยวพิเศษ
- เลขสี่หลักขึ้นไป เป็นรถพิเศษอื่น ๆ
ประเภทและหมายเลขขบวนรถไฟ
[แก้]ขบวนด่วนพิเศษ
[แก้]

ขบวนด่วนพิเศษ (Special Express; ดพ-X/ดพ-XX)[2] เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล โดยหยุดที่สถานีที่สำคัญเท่านั้น ทั้งขบวนรถเป็นรถปรับอากาศและเป็นชั้นสองและหนึ่งทั้งขบวน จะมีหมายเลขตั้งแต่เลขที่ 1–50 ในปัจจุบันมีอยู่ 26 หมายเลข ดังนี้
ขบวนด่วนพิเศษ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับที่ | หมายเลข | ประเภทขบวนรถ | เส้นทาง | เที่ยว | ต้นทาง | ปลายทาง | สถานะ |
1 | 3 | ด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) | สายเหนือ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | สวรรคโลก - ศิลาอาสน์ | งดให้บริการ (พบข้อมูลในระบบ)[3] |
4 | ด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) | สายเหนือ | ล่อง | ศิลาอาสน์ | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
2 | 7 | ด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) | สายเหนือ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | เชียงใหม่ | เปิดให้บริการปกติ |
8 | ด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) | สายเหนือ | ล่อง | เชียงใหม่ | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
3 | 9 | ด่วนพิเศษ "อุตราวิถี" | สายเหนือ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | เชียงใหม่ | |
10 | ด่วนพิเศษ "อุตราวิถี" | สายเหนือ | ล่อง | เชียงใหม่ | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
4 | 13 | ด่วนพิเศษ | สายเหนือ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | เชียงใหม่ | |
14 | ด่วนพิเศษ | สายเหนือ | ล่อง | เชียงใหม่ | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
5 | 21 | ด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | อุบลราชธานี | |
22 | ด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ล่อง | อุบลราชธานี | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
6 | 23 | ด่วนพิเศษ "อีสานวัตนา" | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | อุบลราชธานี | |
24 | ด่วนพิเศษ "อีสานวัตนา" | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ล่อง | อุบลราชธานี | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
7 | 25 | ด่วนพิเศษ "อีสานมรรคา" | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | หนองคาย | |
26 | ด่วนพิเศษ "อีสานมรรคา" | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ล่อง | หนองคาย | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
8 | 31 | ด่วนพิเศษ "ทักษิณารัถย์" | สายใต้ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ชุมทางหาดใหญ่ | |
32 | ด่วนพิเศษ "ทักษิณารัถย์" | สายใต้ | ล่อง | ชุมทางหาดใหญ่ | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
9 | 37 | ด่วนพิเศษ "ทักษิณ" | สายใต้ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | สุไหงโก-ลก | |
38 | ด่วนพิเศษ "ทักษิณ" | สายใต้ | ล่อง | สุไหงโก-ลก | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
10 | 39 | ด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) | สายใต้ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | สุราษฎร์ธานี | |
40 | ด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) | สายใต้ | ล่อง | สุราษฎร์ธานี | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
11 | 41 | ด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) | สายใต้ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ยะลา | งดให้บริการ (พบข้อมูลในระบบ)[4] |
42 | ด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) | สายใต้ | ล่อง | ยะลา | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
12 | 43 | ด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) | สายใต้ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | สุราษฎร์ธานี | เปิดให้บริการปกติ |
44 | ด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) | สายใต้ | ล่อง | สุราษฎร์ธานี | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
13 | 45 | ด่วนพิเศษ "ระหว่างประเทศ" | สายใต้ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ปาดังเบซาร์ (มาเลเซีย) | |
46 | ด่วนพิเศษ "ระหว่างประเทศ" | สายใต้ | ล่อง | ปาดังเบซาร์ (มาเลเซีย) | กรุงเทพอภิวัฒน์ |
ขบวนรถด่วน
[แก้]

ขบวนรถด่วน (Express; ด-XX)[2] เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล หยุดสถานีที่สำคัญเท่านั้น แต่มีการให้บริการของชนิดรถพ่วงและจอดสถานีมากกว่าขบวนรถด่วนพิเศษ จะมีตั้งแต่หมายเลข 51-98 ในปัจจุบันมีทั้งหมด 16 หมายเลข ดังนี้
ขบวนรถด่วน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับที่ | หมายเลข | ประเภทขบวนรถ | เส้นทาง | เที่ยว | ต้นทาง | ปลายทาง | สถานะ |
1 | 51 | ด่วน | สายเหนือ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | เชียงใหม่ | เปิดให้บริการปกติ |
52 | ด่วน | สายเหนือ | ล่อง | เชียงใหม่ | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
2 | 67 | ด่วน | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | อุบลราชธานี | |
68 | ด่วน | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ล่อง | อุบลราชธานี | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
3 | 71 | ด่วน (ดีเซลราง) | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | อุบลราชธานี | |
72 | ด่วน (ดีเซลราง) | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ล่อง | อุบลราชธานี | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
4 | 75 | ด่วน (ดีเซลราง) | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | หนองคาย | |
76 | ด่วน (ดีเซลราง) | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ล่อง | หนองคาย | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
5 | 77 | ด่วน (ดีเซลราง) | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | หนองคาย | งดให้บริการ (ไม่พบข้อมูลในระบบ)[5] |
78 | ด่วน (ดีเซลราง) | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ล่อง | หนองคาย | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
6 | 83 | ด่วน | สายใต้ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ตรัง | เปิดให้บริการปกติ |
84 | ด่วน | สายใต้ | ล่อง | ตรัง | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ||
7 | 85 | ด่วน | สายใต้ | ขึ้น | กรุงเทพอภิวัฒน์ | นครศรีธรรมราช | |
86 | ด่วน | สายใต้ | ล่อง | นครศรีธรรมราช | กรุงเทพอภิวัฒน์ |
บางขบวนหมายเลขไม่ได้อยู่ในเลข 51-98 แต่จัดเป็นประเภทรถด่วน ได้แก่

ขบวนรถด่วน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับที่ | หมายเลข | ประเภทขบวนรถ | เส้นทาง | เที่ยว | ต้นทาง | ปลายทาง | สถานะ |
8 | 997 | ด่วน (ดีเซลราง) | สายตะวันออก | ขึ้น | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | จุกเสม็ด | เปิดให้บริการเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ |
998 | ด่วน (ดีเซลราง) | สายตะวันออก | ล่อง | จุกเสม็ด | กรุงเทพ (หัวลำโพง) |
ขบวนรถเร็ว
[แก้]ขบวนรถเร็ว (Rapid; ร-1XX)[2] เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล จอดสถานีมากกว่าขบวนรถด่วน ชนิดรถพ่วงคล้ายกับรถด่วนแต่ไม่มีการพ่วงรถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 1 ปรับอากาศ (บนอ.ป.) ขบวนรถเร็วจะมีหมายเลข 3 หลัก และขึ้นต้นด้วยเลข 1 (1XX) ในปัจจุบันมีทั้งหมด 28 หมายเลข ได้แก่
ขบวนรถธรรมดา
[แก้]ขบวนรถธรรมดา (Ordinary; ธ-2XX)[2][9] เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารเดินทางไปยังส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย มีระยะทำการสั้นกว่าขบวนรถด่วนพิเศษ, ด่วน และ เร็ว โดยหยุดจอดทุกสถานีในเส้นทาง ขบวนรถธรรมดาจะมีหมายเลข 3 หลัก และขึ้นต้นด้วยเลข 2 (2XX) ในปัจจุบันมีทั้งหมด 88 หมายเลข ได้แก่
นอกจากนี้ บางขบวนอาจจะมีหมายเลขขึ้นต้นด้วยเลขอื่น แต่ก็จัดเป็นประเภท ขบวนรถธรรมดา ได้แก่
ขบวนรถธรรมดา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับที่ | หมายเลข | ประเภทขบวนรถ | เส้นทาง | เที่ยว | ต้นทาง | ปลายทาง | สถานะ |
16 | 147 | ธรรมดา | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ขึ้น | อุดรธานี | เวียงจันทร์ (คำสะหวาด) | เปิดให้บริการปกติ |
148 | ธรรมดา | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ล่อง | เวียงจันทร์ (คำสะหวาด) | อุดรธานี | ||
17 | 351 | ธรรมดา | สายใต้ | ขึ้น | ธนบุรี | ราชบุรี | |
352 | ธรรมดา | สายใต้ | ล่อง | ราชบุรี | ธนบุรี | ||
18 | 367 | ธรรมดา | สายตะวันออก | ขึ้น | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ชุมทางฉะเชิงเทรา | |
368 | ธรรมดา | สายตะวันออก | ล่อง | ชุมทางฉะเชิงเทรา | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ||
19 | 371 | ธรรมดา | สายตะวันออก | ขึ้น | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ปราจีนบุรี | |
372 | ธรรมดา | สายตะวันออก | ล่อง | ปราจีนบุรี | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ||
20 | 379 | ธรรมดา | สายตะวันออก | ขึ้น | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | หัวตะเข้ | |
380 | ธรรมดา | สายตะวันออก | ล่อง | หัวตะเข้ | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ||
21 | 381 | ธรรมดา | สายตะวันออก | ขึ้น | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ชุมทางฉะเชิงเทรา | งดให้บริการ (ไม่พบข้อมูลในระบบ)[11] |
382 | ธรรมดา | สายตะวันออก | ล่อง | ชุมทางฉะเชิงเทรา | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ||
22 | 383 | ธรรมดา | สายตะวันออก | ขึ้น | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ชุมทางฉะเชิงเทรา | เปิดให้บริการปกติ |
384 | ธรรมดา | สายตะวันออก | ล่อง | ชุมทางฉะเชิงเทรา | กรุงเทพ (หัวลำโพง) |

ทางรถไฟสายแม่กลอง ทางรถไฟที่เดินรถจากฝั่งธนบุรี ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สิ้นสุดที่จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งอยู่แยกกับเส้นทางหลักของการรถไฟฯ ขบวนรถที่วิ่งในสายนี้ จัดว่าเป็นขบวนรถธรรมดา ตามที่ระบบติดตามขบวนรถของการรถไฟระบุ[12] แต่หมายเลขขบวนรถจะมี 4 หลัก และขึ้นต้นด้วยเลข 4 (4XXX)[13][14][15][16] ได้แก่
ขบวนรถชานเมือง
[แก้]
ขบวนรถชานเมือง (Commuter; ช-3XX)[2][9][17][18] เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับจังหวัดใกล้เคียงรัศมีไม่เกิน 150 กม. ได้แก่
- สายเหนือ กรุงเทพ - ลพบุรี ระยะทาง 133 กิโลเมตร
- สายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพ - ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง 125 กิโลเมตร
- สายตะวันออก กรุงเทพ - ปราจีนบุรี ระยะทาง 122 กิโลเมตร
- สายใต้ กรุงเทพ - ราชบุรี ระยะทาง 117 กิโลเมตร
- สายใต้ กรุงเทพ - สุพรรณบุรี ระยะทาง 158 กิโลเมตร (ขบวนรถพิเศษชานเมือง)
มีวัตถุประสงค์เพื่อบริการให้ประชาชนใช้เดินทางไปทำงาน ศึกษาเล่าเรียน และติดต่อค้าขาย โดยขบวนรถจะมีความถี่ในการทำขบวนมากกว่าขบวนรถประเภทอื่น ๆ หยุดทุก ๆ สถานี และป้ายหยุดรถ ขบวนรถชานเมืองจะมีหมายเลข 3 หลัก และขึ้นต้นด้วยเลข 3 (3XX) ในปัจจุบันมีทั้งหมด 19 หมายเลข ได้แก่
ขบวนรถชานเมือง เที่ยวขึ้น | |||||
---|---|---|---|---|---|
หมายเลข | ประเภทขบวนรถ | เส้นทาง | ต้นทาง | ปลายทาง | สถานะ |
301 | ชานเมือง | สายเหนือ | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ลพบุรี | เปิดให้บริการปกติ |
303 | ชานเมือง | สายเหนือ | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ลพบุรี | |
311 | ชานเมือง | สายเหนือ/สายตะวันออกเฉียงเหนือ | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | รังสิต | งดให้บริการ (พบข้อมูลในระบบ)[19] |
313 | ชานเมือง | สายเหนือ/สายตะวันออกเฉียงเหนือ | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ชุมทางบ้านภาชี | เปิดให้บริการ
เฉพาะวัน ทำงานราชการ |
317 | ชานเมือง | สายเหนือ/สายตะวันออกเฉียงเหนือ | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ลพบุรี | เปิดให้บริการปกติ |
339 | ชานเมือง | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ชุมทางแก่งคอย | |
341 | ชานเมือง | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ชุมทางแก่งคอย | |
355 | ชานเมืองพิเศษ | สายใต้ | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | สุพรรณบุรี | |
389 | ชานเมืองพิเศษ | สายตะวันออก | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ชุมทางฉะเชิงเทรา | |
391 | ชานเมืองพิเศษ | สายตะวันออก | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | ชุมทางฉะเชิงเทรา |
ขบวนรถชานเมือง เที่ยวล่อง | |||||
---|---|---|---|---|---|
หมายเลข | ประเภทขบวนรถ | เส้นทาง | ต้นทาง | ปลายทาง | สถานะ |
302 | ชานเมือง | สายเหนือ | ลพบุรี | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | เปิดให้บริการปกติ |
304 | ชานเมือง | สายเหนือ | ลพบุรี | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | |
314 | ชานเมือง | สายเหนือ/สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ชุมทางบ้านภาชี | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | เปิดให้บริการ
เฉพาะวัน ทำงานราชการ |
318 | ชานเมือง | สายเหนือ/สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ลพบุรี | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | เปิดให้บริการปกติ |
340 | ชานเมือง | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ชุมทางแก่งคอย | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | |
342 | ชานเมือง | สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ชุมทางแก่งคอย | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | |
356 | ชานเมืองพิเศษ | สายใต้ | ชุมทางหนองปลาดุก | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | |
376 | ชานเมือง | สายเหนือ/สายตะวันออกเฉียงเหนือ/สายตะวันออก | รังสิต | หัวตะเข้ | งดให้บริการ (ไม่พบข้อมูลในระบบ)[20] |
388 | ชานเมืองพิเศษ | สายตะวันออก | ชุมทางฉะเชิงเทรา | กรุงเทพ (หัวลำโพง) | เปิดให้บริการปกติ |
ขบวนรถท้องถิ่น
[แก้]ขบวนรถท้องถิ่น (Local; ถ-4XX)[2][9] เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารระหว่างจังหวัด โดยมีต้นทางและปลายทางไม่ใช่สถานีภายในเขตกรุงเทพและปริมณฑล หยุดทุก ๆ สถานีและป้ายหยุดรถ เป็นขบวนรถที่มีราคาค่าโดยสารถูกที่สุด ขบวนรถท้องถิ่นจะมีหมายเลข 3 หลัก และขึ้นต้นด้วยเลข 4 (4XX) ในปัจจุบันมีทั้งหมด 23 ขบวน 46 หมายเลข ได้แก่
ขบวนรถท่องเที่ยว
[แก้]
ขบวนรถท่องเที่ยว (Excursion; ท-9XX)[2] เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ จะหยุดรับ - ส่งผู้โดยสารเฉพาะสถานีที่มีแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น ขบวนรถท่องเที่ยวจะมีหมายเลข 3 หลักแต่บางขบวนอาจมี 4 หลัก และขึ้นต้นด้วยเลข 9 (9XX/9XXX) แต่บางขบวนอาจมีสี่หลัก ในปัจจุบันมีทั้งหมด 4 ขบวน 12 หมายเลข ได้แก่
ขบวนรถสินค้า
[แก้]เป็นขบวนรถที่ใช้ในการขนส่งสินค้าจากอีกสถานีไปยังอีกสถานี ไม่จอดรับส่งผู้โดยสารและมีต้นทางปลายทางไม่เหมือนกันในแต่ละรอบ โดยขบวนรถสินค้าจะมีหมายเลข 3 หลัก และขึ้นต้นด้วยเลข 5-8 แล้วแต่ว่าขนส่งผ่านเส้นทางใด โดยมีการจำแนกดังนี้
- ขึ้นต้นด้วยเลข 5 คือรถสินค้าสายตะวันออกเฉียงเหนือ
- ขึ้นต้นด้วยเลข 6 คือรถสินค้าสายเหนือ
- ขึ้นต้นดัวยเลข 7 คือรถสินค้าสายใต้
- ขึ้นต้นด้วยเลข 8 คือรถสินค้าสายตะวันออก
ขบวนรถอื่น ๆ
[แก้]เป็นขบวนรถไฟที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาทั้งหมด อาจเป็นขบวนรถที่ใช้ในราชการ เช่น รถพิเศษทหาร เป็นต้น โดยจะมีหมายเลข 4 หลักขึ้นไป เช่น 1XXX
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๔ / เรื่องที่ ๗ รถไฟ / การกำหนดหมายเลขขบวนรถ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-01. สืบค้นเมื่อ 2023-10-21.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "ประเภทขบวนรถโดยสาร การรถไฟแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-31. สืบค้นเมื่อ 2023-10-21.
- ↑ SRT Tracking ระบบติดตามขบวนรถ ค้นหาขบวนที่ 3/4
- ↑ SRT Tracking ระบบติดตามขบวนรถ ค้นหาขบวนที่ 41/42
- ↑ SRT Tracking ระบบติดตามขบวนรถ ค้นหาขบวนที่ 76/77
- ↑ SRT Tracking ระบบติดตามขบวนรถ ค้นหาขบวนที่ 105/106
- ↑ SRT Tracking ระบบติดตามขบวนรถ ค้นหาขบวนที่ 145/146
- ↑ SRT Tracking ระบบติดตามขบวนรถ ค้นหาขบวนที่ 173/174
- ↑ 9.0 9.1 9.2 ระบบติดตามรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย
- ↑ SRT Tracking ระบบติดตามขบวนรถ ค้นหาขบวนที่ 285/286
- ↑ SRT Tracking ระบบติดตามขบวนรถ ค้นหาขบวนที่ 381/382
- ↑ ระบบติดตามขบวนรถ TRAIN TRACKING SYSTEM
- ↑ กำหนดเวลาเดินรถ สายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย (ขบวนรถขาเข้า)
- ↑ กำหนดเวลาเดินรถ สายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย (ขบวนรถขาออก)
- ↑ กำหนดเวลาเดินรถ สายบ้านแหลม - แม่กลอง (ขบวนรถขาเข้า)
- ↑ กำหนดเวลาเดินรถ สายบ้านแหลม - แม่กลอง (ขบวนรถขาออก)
- ↑ "ตารางเดินรถไฟ สถานีกรุงเทพและสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-31. สืบค้นเมื่อ 2023-10-21.
- ↑ "หน้าเว็ปไซต์ รวมตางรางเดินรถทั่วประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-10. สืบค้นเมื่อ 2023-10-21.
- ↑ SRT Tracking ระบบติดตามขบวนรถ ค้นหาขบวนที่ 311
- ↑ SRT Tracking ระบบติดตามขบวนรถ ค้นหาขบวนที่ 376
- ↑ การรถไฟฯ ขยายคอสะพานเร่งการระบายน้ำ ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ประกาศหยุดเดินขบวนรถท้องถิ่น 2 ขบวน เป็นการชั่วคราว[ลิงก์เสีย]