ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 124: บรรทัด 124:
* [http://www.ubu.ac.th/~study/ บัณฑิตศึกษา]
* [http://www.ubu.ac.th/~study/ บัณฑิตศึกษา]
{{ล่าง}}
{{ล่าง}}

{| class="toccolours" width=100%
|-
! style="background: gold; color:white;"|<span style="color:Black"> พุทธศักราช </span>
! style="background: gold; color:white;"|<span style="color:Black"> คณะ, วิทยาลัย </span>
|-
| valign = "top" |
2531<br />
2537<br />
2542<br />
2544<br />
2546<br />
2547<br />
2548<br />
2549<br />
2553<br />
| valign = "top" |
คณะเกษตรศาสตร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์<br />
คณะเภสัชศาสตร์<br />
คณะศิลปศาสตร์<br />
คณะบริหารศาสตร์<br /> วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข<br />
คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />
คณะนิติศาสตร์<br />
คณะรัฐศาสตร์<br />
คณะพยาบาลศาสตร์<br />
|}


== การวิจัย ==
== การวิจัย ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:46, 26 พฤษภาคม 2562

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ไฟล์:Ubu logo.png
ชื่อย่อม.อบ. / UBU
คติพจน์พัฒนาความรู้ มุ่งสู่ปัญญา
พร้อมคุณค่าคุณธรรม
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา14 กันยายน พ.ศ. 2530
(วิทยาลัยอุบลราชธานี)

29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533
(มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
อธิการบดีผศ.ดร.ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา
อธิการบดีผศ.ดร.ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา
นายกสภาฯศ. (พิเศษ) ดร.จอมจิน จันทรสกุล
ที่ตั้ง
สีแม่แบบ:Yellow -สีเหลือง
เว็บไซต์www.ubu.ac.th
ไฟล์:มหาวิทยาลัยอุบลฯ.png

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ม.อบ.) (Ubon Ratchathani University) "ภูมิปัญญาแห่งภูมิภาคลุ่มน้ำโขง" เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่จัดตั้งในพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2530 โดยจัดตั้งเป็น วิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น และยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2533 จากความพยายามที่จะให้มีมหาวิทยาลัยในจังหวัดอุบลราชธานีของทุกฝ่าย รวมทั้งประชาชนในจังหวัดและมีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งที่สองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางของการศึกษาและการค้นคว้าวิจัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ประวัติ

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นมหาวิทยาลัยที่ยกฐานะมาจาก วิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามมติคณะรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2533 ในรัฐบาลของ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี ด้วยความมุ่งหมายให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการจัดการศึกษาเน้นหนักทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองต่อความต้องการพัฒนา กำลังคนของประเทศ ซึ่งกำลังมุ่งพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศ กึ่งอุตสาหกรรม และเพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา ให้แก่ประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งให้มหาวิทยาลัย เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นสามารถนำความรู้ ที่ได้ไปปรับปรุงการประกอบวิชาชีพของตนเองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นต่อไป

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2531 ภายใต้ชื่อ "วิทยาลัยอุบลราชธานี" โดยเปิดทำการสอน ในสาขาเกษตรศาสตร์ และสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 67 คน ซึ่งฝากเรียนไว้ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นต่อมาในปีการศึกษา 2533 วิทยาลัยอุบลราชธานีได้ยกฐานะมาเป็น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2533 ได้ย้ายสถานที่จัดการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาประจำ ณ สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบริเวณกิโลเมตรที่ 10 - 11 ถนนวารินเดชอุดม ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บนเนื้อที่ประมาณ 5,228 ไร่ และเริ่มจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของคณะเกษตรศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้ถือเอาวันที่ 30 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยแล้วในปี พ.ศ. 2534 คณาจารย์และนักศึกษาทั้งหมด ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มาประจำ ณ สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยโดยสมบูรณ์ โดยสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้แต่งตั้งให้ รองศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นคนแรก ในส่วนของการก่อสร้าง เริ่มต้นด้วยงบประมาณเพียง 16 ล้าน ในปี 2531 อาคารหลังแรก ที่ก่อสร้างคือ อาคารเอนกประสงค์

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ไฟล์:Ubu logo.png
ตราประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ตราประจำมหาวิทยาลัย ใช้สัญลักษณ์ เจดีย์ทรงล้านช้าง หมายถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภายในมีดอกบัวหลวงประดิษฐานอยู่บนแท่นรองรับของเส้น 3 เส้น ดอกบัวมีสีกลีบบัว อันหมายถึงสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี และเส้น 3 เส้นที่เป็นฐานรองรับดอกบัวนั้น หมายถึงแม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ลักษณะของดอกบัวเป็นประเภทบัวเหนือน้ำที่พร้อมจะ เบ่งบาน ให้ความดีงามแก่มหาชนได้ชื่นชม ส่วนกลีบดอกบัวด้านล่างสองกลีบ หมายถึง คุณธรรมและปัญญาอันเป็นเปลือกหุ้มสถาบันสำหรับดอกตูมสามกลีบหมายถึง องค์พระรัตนตรัย สีน้ำเงิน ที่เป็นขอบเส้นของตรามหาวิทยาลัยนั้นมีความ หมายถึง ความมั่นคงแข็งแรงและสีเหลืองสดที่เป็นพื้น หมายถึง สีประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นกันเกรา เป็นไม้สูงประมาณ 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึก ใบดกหนาทึบ สีเขียวแก่เป็นมัน ดอกสีเหลืองอมแสด ออกดอกที่ช่อปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมเย็นระรื่นอยู่ 7 วัน จากนั้นจะมีกลิ่นเหม็น ไม้กันเกราสื่อความหมายถึงเครื่องป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ และทำให้เสาเรือนมั่นคง ต้นกันเกราเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบล ราชธานี เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่พบมากใน บริเวณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก “มันปลา” ภาคใต้ เรียก“ตำเสา”ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย
  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง
  • อักษรย่อ คือ ม.อบ.

ทำเนียบผู้อำนวยการวิทยาลัย และอธิการบดี

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผู้อำนวยการวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี 24 ธันวาคม พ.ศ. 2530 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 (สมัยดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการวิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น)
อธิการบดีมหาวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 - 25 มกราคม พ.ศ. 2534 (รักษาการ)

25 มกราคม พ.ศ. 2534 - 25 มกราคม พ.ศ. 2538 (สมัยที่ 1)
25 มกราคม พ.ศ. 2538 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 (สมัยที่ 2)

2. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545
3. ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549 (สมัยที่ 1)

1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553 (สมัยที่ 2)

4. รองศาสตราจารย์ ดร.นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 (สมัยที่ 1)

1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 26 เมษายน พ.ศ. 2562 (สมัยที่ 2)

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา 27 เมษายน พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นายกสภามหาวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ดร.อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535
2. ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2538
3. ศาสตราจารย์ ดร.เกษม สุวรรณกุล พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2547
4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2549
5. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.จอมจิน จันทรสกุล 24 กันยายน พ.ศ. 2549 - 24 กันยายน พ.ศ. 2551 (สมัยที่ 1)

17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (สมัยที่ 2)
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 - 3 มกราคม พ.ศ. 2555 (สมัยที่ 3)
4 มกราคม พ.ศ. 2556 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (สมัยที่ 4)
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน

การศึกษา

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประกอบไปด้วย 10 คณะ 1 วิทยาลัย ครอบคลุมทั้งระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษา ประกอบไปด้วยหน่วยงานทางด้านวิชาการดังนี้

การวิจัย

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยโดยที่มุ่งที่จะเป็น Research University จึงมีหน่วยงานหลักที่สนับสนุนการวิจัยคือ งานส่งเสริมการวิจัยและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งทุกคณะจะมีหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย ซึ่งมีโครงการวิจัยที่สำคัญอีกหลายโครงการ เช่น

และนอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่วัตถุประสงค์เพื่องานวิจัยโดยเฉพาะได้จัดตั้งเป็นศูนย์วิจัยคือ


การจัดอันดับและมาตรฐานมหาวิทยาลัย

การจัดอันดับโดย Nature Index โดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group เป็นวารสารทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารในเครือ Nature Publishing Group ปี 2016 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อยู่ในอันดับที่ 7 ของประเทศไทย

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อยู่ในอันดับที่ 2,470 ของโลก อันดับที่ 19 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[1]

ดูบทความหลักที่ อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

การจัดอันดับคณะต่าง ๆ

ผลการประเมินโดย สกอ. (พ.ศ. 2549)

การจัดระดับมหาวิทยาลัยไทยด้านการวิจัย (Research Ranking Indicators) และด้านการเรียนการสอน (Teaching Ranking Indicators) และข้อมูลการจัด 50 อันดับของคณะในสาขาต่าง ๆ 7 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยี สาขาชีวการแพทย์ สาขามานุษยวิทยาและศิลปกรรมศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ สาขาเกษตร และสาขาศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ภายใต้ "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย" ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา "มติชน" เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง นักเรียน และผู้สนใจทั่วไป[2] โดยอันดับแรกของแต่ละด้าน คือ

สาขา คณะ ด้านการสอน ด้านการวิจัย
คณะวิทยาศาสตร์ อันดับที่ 8 อันดับที่ 13
คณะวิศวกรรมศาสตร์ อันดับที่ 5 อันดับที่ 27
คณะเภสัชศาสตร์ อันดับที่ 44 อันดับที่ 50
คณะศิลปศาสตร์, คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ อันดับที่ 15 อันดับที่ 15, อันดับที่ 7
คณะบริหารศาสตร์ อันดับที่ 23 อันดับที่ 49
คณะเกษตรศาสตร์ อันดับที่ 9 อันดับที่ 10

ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ

  • ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น 3 ผลงาน เป็นผลงานวิจัยทางวิชาการที่มีการตีพิมพ์ในวารสารมากที่สุด ผลงานวิจัยด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และผลงานวิจัยด้านการตอบสนองชุมชน
  • ได้รับการประเมินคุณภาพ รอบสอง ในระดับดีมาก ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) พ.ศ. 2549-2551 และได้คะแนนเป็นลำดับที่สาม 4.70 คะแนน ในกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เน้นการผลิตบัณฑิตและวิจัย
  • ผลการสอบของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจาก คณะเภสัชศาสตร์ เพื่อเป็นผู้ปฏิบัติการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมปี 2553 ซึ่งสอบผ่านเกณฑ์เป็นลำดับที่ 2 ของประเทศ
  • ทีมกันเกรา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU ชิงแชมป์ประเทศไทย ปี 2555
  • ผลการสอบของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจาก คณะเภสัชศาสตร์ เพื่อเป็นผู้ปฏิบัติการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมปี 2556 ซึ่งสอบผ่านเกณฑ์เป็นลำดับที่ 5 ของประเทศ

หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย

สำนัก

ศูนย์/ศูนย์วิจัย

อุทยาน/สถาบัน

โรงแรม

สถานปฏิบัติการการโรงแรม และการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (Hotel and Tourism Training Center Debaratana Siripabha Building, Ubon Rachathani University) เป็นศูนย์บริการที่ทันสมัย และเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการศึกษาชั้นสูงของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีความโดดเด่นในการให้บริการห้องพัก อาหาร งานประชุมสัมมนา และงานเลี้ยงสังสรรค์ รวมไปถึงเป็นศูนย์ฝึกอบรมให้กับนักศึกษา ด้านการบริการอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว

โรงพยาบาล

องค์การนักศึกษา

องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นกลุ่มของผู้นำนักศึกษาที่เข้ามาดูแลสวัสดิการ การเรียน กิจกรรม และสิ่งอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อประสานงาน อำนวยความสะดวก ให้บริการแก่นักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อดำเนินการกับหน่วยงานต่างๆภายในมหาวิทยาลัยและรวมไปถึงกับหน่วยงานภายนอกด้วย

  • สโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ส.ม.อบ.)
  • สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ส.น.ม.อบ.)
  • ชมรมนักศึกษา สังกัดสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัย และชุมนุม สังกัดสโมสรนักศึกษาคณะ

สมาคม

พื้นที่มหาวิทยาลัย

ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เป็นพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่จัดการเรียนการสอนและการวิจัยในปัจจุบันโดยมีพื้นที่โดยประมาณจำนวน 5,228 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 15 กิโลเมตร โดยตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 10 - 11 บนถนนสถลมาร์ค ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นดังนี้

  • กลุ่มอาคารบริหารส่วนกลาง ที่ประกอบไปด้วย อาคารสำนักงานอธิการบดี อาคารหอประชุมเอนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารสำนักวิทยบริการ (หอสมุดกลาง) อาคารสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย อาคารสำนักบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ อาคารปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมและวิจัยด้านธุรกิจ (อาคารเทพรัตน์สิริปภา) อาคารกิจกรรมนักศึกษาและโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กลุ่มอาคารกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มอาคารเรียนรวม โรงอาหารกลาง
  • กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ประกอบด้วย อาคารปฏิบัติการเภสัชชุมชน กลุ่มอาคารคณะเภสัชศาสตร์และอาคารปฏิบัติการ กลุ่มอาคารณะพยาบาลศาสตร์และอาคารปฏิบัติการรวม กลุ่มอาคารวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข และโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (อาคารศูนย์การศึกษาและวิจัยทางการแพทย์) อาคารกิจกรรมด้านสุขภาพ และอาคารกายวิภาคศาสตร์
  • กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ประกอบไปด้วย กลุ่มอาคารคณะวิทยาศาสตร์และอาคารปฏิบัติการ กลุ่มอาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และกลุ่มอาคารปฏิบัติการโรงงานคณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มอาคารคณะเกษตรศาสตร์และอาคารโรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมเกษตรและพื้นที่ไร่ฝึกและทดลองประมาณ 3,928 ไร่
  • กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ประกอบไปด้วย กลุ่มอาคารคณะศิลปศาสตร์ อาคารโรงละครคณะศิลปศาสตร์ กลุ่มอาคารคณะบริหารศาสตร์ กลุ่มอาคารคณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ อาคารคณะนิติศาสตร์ อาคารคณะรัฐศาสตร์ และอาคารฝึกอบรมภาษาและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
ป้ายคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มอาคารหอพักอาจารย์และนักศึกษา บนเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ ที่ประกอบไปด้วย กลุ่มอาคารหอพักอาจารย์และบุคลากร กลุ่มอาคารหอพักนักศึกษา
  • กลุ่มอาคารกีฬาและนันทนาการ บนเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ ที่ประกอบไปด้วย อาคารศูนย์กีฬาเอนกประสงค์ สนามกีฬากลาง สระว่ายน้ำยอดเศรณี และสนามกีฬาต่าง ๆ

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

ปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นประจำทุกปีนับแต่แรกเริ่มก่อตั้งจวบจนกาลปัจจุบัน

ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2536 จัดขึ้นที่ตึกอาคารเรียนรวม 1 ชั้น 2 โดยนักศึกษาจะเข้ารับปริญญาบัตรกับพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีอย่างใกล้ชิดซึ่งนับเป็นพระกรุณาเป็นล้นพ้น และเป็นศิริมงคลแก่ประชาชนชาวอุบลราชธานีเป็นอย่างยิ่ง

ลำดับการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจะเรียงลำดับจากดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต และบัณฑิตจากคณะต่างๆเรียงตามการสถาปนาคณะ ดังนี้ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะบริหารศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ คณะพยาบาลศาสตร์

โดยสถานที่จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจัดขึ้นที่แรก คือ อาคารเรียนรวม 1 ซึ่งสถานที่ไม่อาจสามารถรับรองจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นได้ ต่อมาได้มีการย้ายมายัง อาคารศูนย์กีฬาอเนกประสงค์ และในปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้มีการก่อสร้าง อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สำหรับจัดการแสดงนิทรรศการต่างๆ การเลี้ยงรับรองและการประชุม และยังเป็นสถานที่จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรอีกด้วย สามารถรับรองได้ถึง 5,000 ที่นั่ง จึงได้ใช้สถานที่นี้เป็นการถาวร

ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้จัดการเรียนการสอนแตกต่างกันออกไปตามหลักสูตรของแต่ละคณะและสาขาวิชาที่มีการจัดการศึกษาตั้งแต่ 4 ปี ไปจนถึง 6 ปี และมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาในแต่ละคณะวิชาได้ทำความรู้จักในฐานะนักศึกษาสถาบันเดียวกันและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในหมู่สมาชิกและเพื่อนในแต่ละคณะวิชา โดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ส่งเสริมในด้านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บัณฑิตที่จบออกไปจากรั้วมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นผู้ทีมีความรับผิดชอบ และมีความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ และการรู้จักการช่วยเหลือสังคม โดยมีกิจกรรมนักศึกษาที่เด่น ๆ ดังนี้

กิจกรรมนักศึกษา

  • ประเพณีเดินเท้าสู่วัดหนองป่าพง จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาใหม่ ได้เรียนรู้จักชุมชนรอบบริเวณมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รวมทั้งได้เข้าปฏิบัติธรรมตามหน้าที่ของชาวพุทธอย่างถูกต้องและสามารถดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท มีสมาธิ ปัญญาและเป็นการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะเป็นบัณฑิตที่พึ่งประสงค์ของสังคมต่อไป
  • ชุมนุมไอทีคาเฟ่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นหน่วยกลางในการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นเวที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาทางด้านสารสนเทศ
  • ชุมนุมนักประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2543 วัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มนักศึกษาที่สนใจเรื่องสิ่งประดิษฐ์ และสร้างนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ รวมถึงประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยในการแสดงความรู้ความสามารถต่อสาธารณชน ลักษณะกิจกรรม เช่น จัดการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์หุ่นยนต์ รวมถึงเข้าแข่งขันรถประหยัดพลังงานและการแข่งขันหุ่นยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • ชุมนุมหมอลำการเมือง คณะรัฐศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นชุมนุมที่รวบรวมเอานักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ทุกชั้นปีที่มีใจรักและกล้าแสดงออก ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นแหล่งรวบรวม แลกเปลี่ยน ศึกษาและพัฒนารูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจเกี่ยวกับหมอลำ และอยากเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยโดยใช้วัฒนธรรมหมอลำเป็นสื่อ

การพักอาศัยของนักศึกษา

สำหรับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนั้นเป็นสถาบันการศึกษาที่ให้การศึกษากับกลุ่มนักศึกษาในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและนักศึกษาจากทั่วทั้งประเทศ ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้มีการจัดสร้างหอพักนักศึกษาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาที่ต่างภูมิลำเนาเข้าพักอาศัย และเป็นการสร้างความรู้จักกันให้กับนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อน ๆ ต่างคณะและเป็นการสร้างความปลอดภัยและความอุ่นใจให้กับผู้ปกครองที่มีนักศึกษาจากต่างภูมิลำเนาเข้ามาศึกษา

โดยมีกลุ่มหอพักให้การบริการนักศึกษา ได้แก่ กลุ่มอาคารราชาวดี กลุ่มอาคารราชพฤกษ์ กลุ่มอาคารลีลาวดี และกลุ่มอาคารกันเกรา

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

โดยมีบุคคลที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดังนี้

ระดับปริญญาตรี

  • รศ.ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ (คณะวิศวกรรมศาตร์) รองผู้อำนวยการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ประภัย ริทัศน์โส (คณะนิติศาสตร์) สอบได้อันดับที่ 1 ของประเทศในการสอบผ่านความรู้เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 63 กลุ่ม กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของสำนักฝึกอบรมและศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
  • วสันต์ สุระคาย (คณะวิศวกรรมศาสตร์) ชนะเหรียญทองแดง กีฬามวยสากลสมัครเล่น รุ่นเวลเตอร์เวท กีฬามหาวิทยาลัยแห่งชาติ ครั้งที่ 38 "จามจุรีเกมส์"
  • อารยา เมืองเหนือ (คณะบริหารศาสตร์) รางวัลขวัญใจช่างภาพสื่อมวลชน การประกวดนางสาวอุบลราชธานี ปี 2554
  • จอย ราเนีย หรือ จุฑามาศ วิชัย หรือ คิมจีเฮ (Kim Jee Hye) (คณะศิลปศาสตร์) สาวไทยหน้าใสหนึ่งเดียวในวง "Rania"
  • ชุติมา สอนบุญทอง (คณะศิลปศาสตร์) คว้ารางวัลชนะเลิศ นางสาวสงกรานต์เทพีทุ่งกุลา จังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ. 2555
  • ชนิตา จันทเนตร (คณะศิลปศาสตร์) Miss Grand Ubon Ratchathani และผู้เข้ารอบ 10 คนสุดท้ายของการประกวด Miss Grand Thailand 2016
  • วราวุฒิ คำพานุช (คณะรัฐศาสตร์) ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่น สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2554 และได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นด้านศาสนาและจริยธรรม สำนักนายกรัฐมนตรี ปี 54
  • สุชาติ สุภาพันธ์ (คณะรัฐศาสตร์) ปลัดอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ชัยนเรศ ยอดแตง (คณะรัฐศาสตร์) ปลัดอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี
  • อนุสรา ศิริมา (คณะรัฐศาสตร์) ปลัดอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
  • วิษณุ สนมศรี (คณะรัฐศาสตร์) ปลัดอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

ระดับปริญญาโท

  • ใจเพชร กล้าจน (คณะบริหารศาสตร์) ได้รับรางวัล "คนต้นเรื่องแห่งปี" จากงานประกาศรางวัล "คนค้นคน อวอร์ด ครั้งที่ 2"
  • สมปรารถนา วิกรัยเจิดเจริญ (คณะรัฐศาสตร์) นายกเทศมนตรีเทศบาลนครอุบลราชธานี

ระดับปริญญาเอก

  • ดร.ศรีเมือง เจริญศิริ (คณะรัฐศาสตร์ - รัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2551-2551
  • รศ.ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ (คณะรัฐศาสตร์ - รัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต) ข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ)
  • พันเอก ดร.ประเวศสุทธิ สุทธิประภา (คณะรัฐศาสตร์ - รัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต) เสนาธิการจังหวัดทหารบกสุรินทร์ ค่ายวีรวัฒน์โยธิน จังหวัดสุรินทร์
  • ดร.ประชา ประสพดี (คณะรัฐศาสตร์ - รัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต) สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรสมุทรปราการ เขต 7 ได้รับโปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำเนาว์ เสาวกูล (คณะเกษตรศาสตร์ - ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) คณบดีคณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

  • อาจารย์ทรงพล อินทเศียร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รับบทแสดงเป็น อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ตุ๊กกี้ ภาพยนตร์เรื่อง ฮักนะ สารคาม
  • ดร.ถนัดกิจ ชารีรัตน์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ที่ได้รับ 3 รางวัลจากการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 หรือ 3rd Thailand Eco Design Award 2010
  • ศ.ดร.ธาดา สุทธิธรรม อดีตคณบดีคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ สถาปนิกคนแรกของประเทศไทย ที่ได้รับรางวัลยูเนสโก ในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค
  • ผศ.ดร.วินิจ พรหมอารักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ ประจำปี 2550 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • รศ.ดร.พรพรรณ พึ่งโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้รับทุนโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science L’OREAL Thailand) ครั้งที่ 8 ประจำปี 2553 ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Science) จากบริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งร่วมมือกับสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
  • อาจารย์ติ๊ก แสนบุญ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้เขียนบทความใน นิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม"
  • อาจารย์สมบัติ วอทอง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี / อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม / อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ (เดิม) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


อ้างอิง

  1. [http://www.webometrics.info/en/Asia/Thailand
  2. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จาก ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ "มติชน" ฉบับวันที่ 2 กันยายน 2549 หน้าที่ 22

ทำไร

แหล่งข้อมูลอื่น