ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525
ก่อนหน้าศาสตราจารย์ ระพี สาคริก
ถัดไปผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก ปรีชานนท์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ดำรงตำแหน่ง
1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ก่อนหน้ารองศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี
ถัดไปศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 (92 ปี)
ประเทศไทย
เสียชีวิต3 มกราคม พ.ศ. 2566
คู่สมรสจารุวรรณ อิงคสุวรรณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ เป็นนักวิชาการ อาจารย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนที่ 8 (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2523-2525) และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คนที่ 2 (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2542-2543) เป็นศิษย์เก่าคนแรกที่ได้รับรางวัล Emil M. Mrak International Award for Outstanding Alumni จากสถาบัน Universty of California at Davis ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ศิษย์เก่าคนแรกที่ได้รับเป็นคนไทย

ประวัติ[แก้]

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2474 เป็นบุตรของนายแทน อิงคสุวรรณ กับนางประไพ อิงคสุวรรณ (สกุลเดิม สุทธิรัชม์) โดยทางฝ่ายบิดา รับราชการเป็นอาจารย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ มีพี่น้องรวมทั้งหมด 6 คน ได้แก่

  1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทัศนีย์ โรจนไพบูลย์
  3. นางทัศนา แสวงผล
  4. นางทัศนัย ทองอุทัยศรี
  5. นางสาวทัศนะ อิงคสุวรรณ
  6. นายทวีวัฒน์ อิงคสุวรรณ

การศึกษา[แก้]

ในตอนนั้น นายแทน อิงคสุวรรณ บิดาของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ รับราชการเป็นครูสอนวิชาเกษตร ทำให้มีการย้ายครอบครัวไปอยู่ยังจังหวัดต่างๆ ทำให้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ ต้องย้ายโรงเรียนไปถึง 9 แห่ง อาทิ

ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ ได้เข้ารับการศึกษาระดับเตรียมอุดมศึกษา ณ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เหตุที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพมหานคร เนื่องจาก บิดาได้ย้ายมาเป็นผู้ช่วยในโครงการการพัฒนาการเลี้ยงไก่ ของหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้น และมีบ้านพักอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำให้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ สนใจวิชาเกษตร และวิชาสัตวบาล จากการที่เคยเลี้ยงไก่และแพะด้วยตนเอง หลังจากที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาแล้ว ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อพุทธศักราช 2492 จนจบชั้นปีที่ 2 และได้รับทุนจากรัฐบาลไทย ไปศึกษาต่อ ณ University of California at Davis ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ภาควิชาสัตวบาล กระทั่งจบระดับปริญญาเอก ทางด้านสรีรวิทยาของสัตว์

การทำงาน[แก้]

หลังจากนั้นในปีพุทธศักราช 2503 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนวิชาสัตวบาลและการเลี้ยงไก่ รวมทั้งวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพให้คณะวิทยาศาสตร์ และคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิชาที่ ศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ จำเป็นต้องให้ความสนใจมาก และรับสอนเป็นวิชาแรกในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คือ วิชาภาษาอังกฤษทางเทคนิคสำหรับการเกษตร โดยมีความเห็นว่า เป็นวิชาที่สำคัญสำหรับผู้ที่จะเรียนจบออกไปทำงาน และจำเป็นต้องรับสอน เพราะอาจารย์มีไม่พอในขณะนั้น ในระหว่างที่รับราชการอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น ศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาสัตวบาลอยู่ 4 ปี (พ.ศ. 2511 - 2515) แต่เนื่องจาก ศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ เป็นผู้ที่มีความคิดความอ่านกว้างไกล ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ มีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน คุณสมบัติเหล่านี้ จึงทำให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยในสมัยนั้น ได้เชิญไปช่วยงานบริหารในฐานะผู้ช่วยรองอธิการบดี และต่อมาเป็นรองอธิการบดีอยู่อีก 8 ปี (พ.ศ. 2515 - 2523) ก่อนที่จะเป็นอธิการบดีอีก 2 ปี ในช่วงนั้นเป็นระยะที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญคือ ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลให้ทำโครงการเงินกู้จากธนาคารโลกเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย และการก่อตั้งวิทยาเขตแห่งแรกคือ วิทยาเขตกำแพงแสน ศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยงานอย่างสำคัญคนหนึ่งของอธิการบดีในสมัยนั้น คือ ศาสตราจารย์อินทรี จันทรสถิตย์ จนถึงสมัยของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ และสืบเนื่องมาตลอดสมัยของศาสตราจารย์ระพี สาคริก ปัญหาอุปสรรคมากมายหลายเรื่องในระยะนั้น จึงได้ผ่านพ้นไปด้วยดี ในด้านงานวิจัยนั้น ศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ ได้ให้ทัศนะว่า


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ ได้ทำงานให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนเกษียณอายุราชการในปีพุทธศักราช 2535

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

ในปีพุทธศักราช 2531 สถานศึกษาเดิม คือ University of California at Davis ได้มอบรางวัล Emil M. Mrak International Award for Outstanding Alumni แก่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ นับว่าเป็นเกียรติอย่างสูงที่ศิษย์เก่าคนแรกที่ได้รับเป็นคนไทย

ครอบครัว[แก้]

ทางด้านครอบครัว ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ สมรสกับ นางจารุวัณณ์ อิงคสุวรรณ(สกุลเดิม ถิระวัฒน์) มีบุตร-ธิดา 2 คน ได้แก่

  1. นางสาวสุขุมาล อิงคสุวรรณ
  2. พลตรีนิธิ อิงคสุวรรณ สมรสกับ นางวรรณวิไล อิงคสุวรรณ(สกุลเดิม เจริญลาภ) มีบุตร 3 คน คือ
  • นายหัสชัย อิงคสุวรรณ
  • นายภัทรกร อิงคสุวรรณ
  • ด.ช.ศรัณ อิงคสุวรรณ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๘, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๔๑๓, ๒๗ เมษายน ๒๕๒๕

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]