สะพานเฉลิมวันชาติ
ชื่ออักษรไทย | สะพานวันชาติ |
---|---|
ชื่ออักษรโรมัน | Saphan Wan Chat |
รหัสทางแยก | N134 (ESRI), 078 (กทม.) |
ที่ตั้ง | แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ทิศทางการจราจร | |
ถนนดินสอ » อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย | |
ถนนพระสุเมรุ » แยกบางลำพู | |
ถนนประชาธิปไตย » แยกวิสุทธิกษัตริย์ | |
ถนนพระสุเมรุ » แยกป้อมมหากาฬ | |
สะพานเฉลิมวันชาติ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานวันชาติ เป็นสะพานแห่งหนึ่งในพื้นที่แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานที่ข้ามคลองรอบกรุง ในส่วนของคลองบางลำพู สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ตรงกับยุครัฐบาลที่มีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเฉลิมฉลองวันชาติไทย คือ วันที่ 10 ธันวาคม อันตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ประชาชนชาวไทย
ชุมชนรอบ ๆ สะพานเฉลิมวันชาติ เป็นชุมชนที่มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน โดยเป็นชุมชนของช่างฝีมือในเรื่องการทำเครื่องถม แม้ปัจจุบันอาชีพดังกล่าวจะไม่ได้รุ่งเรืองเหมือนดังในอดีต แต่ก็ยังมีชุมชน คือ "ชุมชนบ้านพานถม" ปรากฏอยู่ และยังเป็นแหล่งที่รวบรวมร้านจำหน่ายธงชาติ รวมถึงธงอื่น ๆ กรอบรูป และตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมากอีกด้วย โดยเริ่มมาจากร้านคลังเสาธง ของหลวงสิทธิบรรณาการ อดีตข้าราชการที่ลาออกจากราชการมาเปิดร้านจำหน่ายธงชาติเป็นร้านแรกที่นี่ และต่อมา่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ร้านธงบรรณาการ ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงเปิดดำเนินกิจการอยู่[1] [2]
สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

- วัดบวรนิเวศวิหาร
- โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- ป้อมยุคนธร
- วงเวียนสิบสามห้าง
- วัดตรีทศเทพวรวิหาร
- โรงเรียนสตรีวิทยา
- หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ จินตนะดิลกกุล, สิริลักษณ์ (2002-03-19). "สะพาน เฉลิมวันชาติ". สนุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 2018-03-05.
- ↑ ชอุ่มผล, เมธินีย์ (2016-04-19). ""ปิดฉาก" งานช่างชั้นครูที่ตรอกบ้านพาน". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 2018-03-05.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สะพานเฉลิมวันชาติ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′34″N 100°30′09″E / 13.759389°N 100.502483°E