ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอกาบัง

พิกัด: 6°22′00″N 100°58′31″E / 6.36658°N 100.97534°E / 6.36658; 100.97534
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอกาบัง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kabang
คำขวัญ: 
แหล่งต้นน้ำใหญ่ ชื่นใจธรรมชาติ
ไม้กวาดดอกหญ้า จำปาดะพันธุ์ดี
แผนที่จังหวัดยะลา เน้นอำเภอกาบัง
แผนที่จังหวัดยะลา เน้นอำเภอกาบัง
พิกัด: 6°25′39″N 101°1′9″E / 6.42750°N 101.01917°E / 6.42750; 101.01917
ประเทศ ไทย
จังหวัดยะลา
พื้นที่
 • ทั้งหมด451.0 ตร.กม. (174.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด25,627 คน
 • ความหนาแน่น56.82 คน/ตร.กม. (147.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 95120
รหัสภูมิศาสตร์9507
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกาบัง หมู่ที่ 5 ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา 95120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กาบัง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลา ทางภาคใต้ของประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอกาบังตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

[แก้]

อำเภอกาบัง ได้รับการจัดตั้งโดยแยกพื้นที่การปกครองสองตำบลของอำเภอยะหา คือ ตำบลกาบังและตำบลบาละ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2534 ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2533 เป็น กิ่งอำเภอกาบัง[1] และได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น อำเภอกาบัง เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2540 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม ปีเดียวกัน[2]

ที่มาของชื่อ

[แก้]

คำว่า กาบัง หรือ กาแบ (ยาวี: كاب; รูมี: Kabae, Kabe) เป็นภาษามลายูพื้นเมืองที่เรียกพันธุ์ไม้คล้ายกับเงาะ ซึ่งก็คือเงาะพันธุ์หนึ่ง แต่แตกต่างตรงที่ผลของพรรณไม้ชนิดนี้มีลักษณะกลม ใหญ่ ขนเกรียน ดูขรุขระ ไม่มีขนมากเหมือนเงาะ

บ้างว่ามาจากคำว่า ฆามแบ (มลายู: Gambe) แปลว่า ต้นสีเสียด[3]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอกาบังแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 ตำบล 19 หมู่บ้าน ได้แก่

1. กาบัง (Kabang) 8 หมู่บ้าน
2. บาละ (Bala) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอกาบังประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลกาบัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกาบังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบาละ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบาละทั้งตำบล

ประชากร

[แก้]

ประชากรส่วนมากประมาณร้อยละ 73 เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู มีมัสยิดทั้งหมด 16 แห่ง[4] และอีกร้อยละ 17 เป็นชาวไทยพุทธ ซึ่งมีวัดสองแห่งคือ วัดบาละและวัดคชศิลาวนาราม ส่วนมากมีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกยางพารา ทำสวนผลไม้ และปลูกพืชไร่

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอกาบัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (15 ง): 1068. 31 มกราคม 2534. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  2. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองปรือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอปางศิลาทอง อำเภอเนินสง่า อำเภอนาทม อำเภอพระพรหม อำเภอแม่วงก์ อำเภอสองแคว อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอไทยเจริญ อำเภอกาบัง อำเภอพยุห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอภูพาน อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอนาวัง อำเภอพิบูลย์รักษ์ และอำเภอทุ่งศรีอุดม พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (50 ก): 24–27. 26 กันยายน 2540. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  3. ประพนธ์ เรืองณรงค์. "บทผนวกเกียรติยศ". ใน รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มติชน. 2547, หน้า 347
  4. มูลนิธิเพื่อคุณธรรม มัสยิดในประเทศไทย - ทำเนียบมัสยิดในจังหวัดยะลา[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]