อำเภอธารโต
อำเภอธารโต | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Than To |
คำขวัญ: ธารโตเมืองดาหลา เงาะป่าซาไก ทะเลใหญ่บนหุบเขา ถ้ำยาวธารน้ำลอด | |
แผนที่จังหวัดยะลา เน้นอำเภอธารโต | |
พิกัด: 6°10′2″N 101°10′48″E / 6.16722°N 101.18000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ยะลา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 648.0 ตร.กม. (250.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 25,788 คน |
• ความหนาแน่น | 39.80 คน/ตร.กม. (103.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 95150, 95170 (เฉพาะหมู่ที่ 1-5, 7-8, 10-12 ตำบลแม่หวาด), 95130 (เฉพาะหมู่ที่ 6, 9 ตำบลแม่หวาด) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9504 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอธารโต หมู่ที่ 1 ถนนสุขยางค์ ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา 95150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ธารโต เป็นอำเภอตั้งอยู่ในจังหวัดยะลา มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐเกอดะฮ์ ประเทศมาเลเซียทางทิศตะวันตก ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอเบตง ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอบันนังสตา และทิศตะวันออกอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส มีทะเลสาบธารโตอยู่ตรงกลาง
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอธารโตมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบันนังสตา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอศรีสาคร (จังหวัดนราธิวาส)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเบตง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐเกอดะฮ์ (ประเทศมาเลเซีย)
ประวัติ
[แก้]เดิมอำเภอธารโตอยู่ในการปกครองของตำบลแม่หวาด อำเภอบันนังสตา ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้จัดตั้งทัณฑสถานเพื่อกักขังนักโทษทางการเมืองและนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ที่จัดส่งมาจากทั่วประเทศ และเรียกทัณฑสถานแห่งนี้ว่า "นรกธารโต" ถือเป็นป่าทึบที่ชุกชมไปด้วยไข้ป่าหลบหนีได้ยาก[1] ต่อมากรมราชทัณฑ์ได้ยกเลิกทัณฑสถานแห่งนี้ใน พ.ศ. 2499 กรมประชาสงเคราะห์จึงได้จัดตั้งนิคมสร้างตนเองธารโตขึ้น และเปลี่ยนทัณฑสถานดังกล่าวเป็นโรงเรียนขึ้นในปี พ.ศ. 2500 ปัจจุบันยังมีร่องรอยของคุกปรากฏอยู่ เช่น โรงครัว, โซ่ตรวน และได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์คุกธารโต[1]
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ได้มีการแยกเขตการปกครองออกจากอำเภอบันนังสตา จัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอธารโต ขึ้นกับอำเภอบันนังสตา[2] ก่อนจะยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอธารโต เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2524[3]
แต่เดิมชาวบ้านแต่เก่าก่อนเรียกบริเวณนี้ว่า ไอร์กือดง หรือ ไอร์เยอร์กระดง[1] เป็นภาษามลายู คำว่า ไอร์ หรือ ไอร์เยอร์ แปลว่า "น้ำ" หรือ "ลำธารใหญ่" ส่วน กือดง หรือ กระดง มีสองความหมายคือ "บริเวณที่ลำน้ำหลายสายไหลมารวมกันเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่" หรือ "พืชมีพิษ" ซึ่งมีมากในแหล่งน้ำดังกล่าว[1]
คำว่า ธารโต มาจากชื่อ เรือนจำกลางภาคธารโต[1] เป็นชื่อที่ทางกรมราชทัณฑ์ตั้งขึ้นตามลักษณะภูมิประเทศ สอดคล้องกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ เพราะมีลำธารขนาดใหญ่ไหลผ่าน[4]
ประชากร
[แก้]ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู ราวร้อยละ 60 และชาวไทยพุทธร้อยละ 40[1] ซึ่งรวมไปถึงชาวไทยเชื้อสายจีน, ชาวไทยจากภาคเหนือ, อีสาน และใต้ อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในเขตนิคมทั้งสามแห่ง ได้แก่ นิคมสร้างตนเองธารโต นิคมสร้างตนเองเบตง และนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ (นิคมกือลอง)[1] มีมัสยิด 16 แห่ง[5] มีวัดทั้งหมด 6 วัด[6] ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และทำประมงน้ำจืด
และที่นี่ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของเงาะป่าซาไก ซึ่งได้รับพระราชทานนามสกุล "ศรีธารโต" จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[7] พวกยังดำรงชีวิตอย่างโบราณอยู่ แม้ว่าทางกรมประชาสงเคราะห์จะสร้างที่พักและที่ทำกินให้ แต่พวกเขาก็มิใคร่ใส่ใจ เพราะพวกเขาพอใจที่จะใช้ชีวิตอย่างเดิมมากกว่า[4] แต่ปัจจุบันพวกเขานิยมที่จะอาศัยในประเทศมาเลเซียตั้งแต่เมื่อ 12 ปีก่อน และ 3 ปีที่ผ่านมาชาวซาไกที่เหลือก็เริ่มเข้าไปในมาเลเซียอย่างจริงจัง ด้วยเหตุผลด้านความไม่สงบ และข้อเสนอที่ดีของทางการมาเลเซียที่ให้ที่ทำกินที่ดีกว่าแก่พวกเขา[7]
ชาวซาไกนับถือศาสนาพุทธและผี ส่วนในมาเลเซียนับถือศาสนาอิสลาม แต่เป็นเพียงในนามเท่านั้นเพื่อความมั่นคงของตนเอง[7]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอธารโตแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 4 ตำบล 37 หมู่บ้าน ได้แก่
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอธารโตประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลคอกช้าง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่หวาด
- องค์การบริหารส่วนตำบลธารโต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธารโตทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแหรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่หวาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่หวาด (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลคอกช้าง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคีรีเขต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคีรีเขตทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- น้ำตกธารโต มี 9 ชั้น ทุกชั้นมีทางเดินเท้าสามารถเดินชมความงามได้ตลอด บริเวณน้ำตกชั้นที่ 3-5 มีศาลาพักชมความงามของน้ำตกและผืนป่า ระยะทางจากชั้นที่ 1-9 ประมาณ 500 เมตร
- สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง ได้แก่ ทะเลสาบธารโตและ เขื่อนบางลาง ซึ่งอยู่ในเขต อำเภอบันนังสตา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "อำเภอธารโต ที่ทำการปกครองจังหวัดยะลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-28. สืบค้นเมื่อ 2012-08-05.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอธารโต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (109 ง): 1412. June 10 1975. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2012-08-05.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ อำเภอพรหมคีรี อำเภอนาบอน อำเภอบางสะพานน้อย อำเภอนาดี อำเภอกงหรา อำเภอวังทรายพูน อำเภอธารโต อำเภอคำตากล้า อำเภอศรีนคร อำเภอด่านช้าง อำเภอพรเจริญ อำเภอวังสามหมอ และอำเภอลานสัก พ.ศ. ๒๕๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (115 ก Special): 7–10. July 13 1981. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2012-08-05.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 4.0 4.1 ประพนธ์ เรืองณรงค์. "บทผนวกเกียรติยศ". ใน รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มติชน. 2547, หน้า 346
- ↑ มูลนิธิเพื่อคุณธรรม มัสยิดในประเทศไทย - ทำเนียบมัสยิดในจังหวัดยะลา[ลิงก์เสีย]
- ↑ รายชื่อวัดในจังหวัดยะลา
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "รอวันปิดตำนาน 'ซาไก' แห่ง 'ศรีธารโต'" (Press release). สำนักข่าวอามาน. 3 มกราคม พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]หนังสือและบทความ
[แก้]แผนที่และภาพถ่าย
[แก้]- 6°04′51″N 101°15′20″E / 6.08093°N 101.25549°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ อำเภอธารโต
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย