โรงเรียนสมุทรปราการ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรงเรียนสมุทรปราการ | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ส.ป. (S.P.) |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
คำขวัญ | ปญญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นแก้วของนรชน |
สถาปนา | 18 กรกฎาคมพ.ศ. 2426 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) |
ผู้ก่อตั้ง | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1001110101 (ใหม่) 01110101 (เก่า) |
ผู้อำนวยการ | สมชาย ทองสุทธิ์ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 |
จำนวนนักเรียน | 3,259 คน ปีการศึกษา 2561[1] |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | • ไทย • อังกฤษ |
พื้นที่ | 17 ไร่ |
สี | ฟ้า - เหลือง |
เพลง |
|
ดอกไม้ | ต้นประดู่อังสนา |
เว็บไซต์ | https://www.prakan.ac.th |
โรงเรียนสมุทรปราการ (อักษรย่อ: ส.ป.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ตั้งอยู่เลขที่ 498 ถนนสุขุมวิท ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ[2] โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2426[3] ปัจจุบันมีอายุ 141 ปี บนเนื้อที่ 17 ไร่ ประกอบด้วยอาคารเรียน 7 หลัง เดิมใช้รหัสสถานศึกษาเป็น 1001110101 ต่อมาเปลี่ยนเป็น 01110101 อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 (ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ แต่เดิมโรงเรียนเป็นโรงเรียนชายล้วนมาก่อน ปัจจุบันเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา และเป็นโรงเรียนบุรุษประจำจังหวัดสมุทรปราการคู่กับโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
ประวัติ
[แก้]...ครั้น ณ ๒ ๑๔ ฯ ๘ พุทธศักราช ๒๔๒๖ พระบรมวงศ์เธอกรมพระดำรงราชานุภาพครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระองค์เจ้าดิศวรกุมารได้เสร็จลงมาตั้งโรงเรียนหนังสือไทยขึ้นที่วัดกลาง…[4][5][3]
โรงเรียนสมุทรปราการทำการสอนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2426 หลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสร็จลงมาตั้งโรงเรียนหนังสือไทยที่วัดกลางเมืองสมุทรปราการ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จัดตั้งโรงเรียนที่มีอยู่ตามพระอารามหลวง[6][7] ทำให้โรงเรียนหนังสือไทยที่วัดกลางได้รับการจัดตั้งเป็น โรงเรียนวัดกลาง เมื่อ พ.ศ. 2429[3][6][7]
ก่อตั้ง
[แก้]การตั้งโรงเรียนที่วัดกลางสมุทรปราการนี้ พระครูสุนทรสมุทร์ (น้อย) ได้รับภาระเป็นผู้จัดการและอุปการะดูแลโรงเรียน และให้นายเชาว์เป็นครูใหญ่ได้เริ่มการสอนนักเรียนที่ศาลาทำบุญกลางอาวาส กระทั่งวันเสาร์แรม 9 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 2427 พระครูสุนทรสมุทร์ (น้อย) ได้จัดจ้างอาจารย์มาสอนพระปริยัติธรรมแก่ภิกษุ สามเณร[5][8]
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาพระราชทานผ้าพระกฐิน 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่าง พ.ศ. 2424–พ.ศ. 2427 และครั้งที่สองในวันเสาร์ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ. 2428 โดยเป็นการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค[4] หลังจากพระราชทานผ้าพระกฐินแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณวัดและโรงเรียนหนังสือไทยแล้วทรงรับสั่งว่า "เด็กนั่งพื้นสกปรก นาฬิกาสำหรับดูเวลาก็ไม่มี" จึงทรงรับสั่งให้ขุนอไภย์ภาษี (หลวงจู้ม้า อัศวนนท์) มัคทายกของวัดกลางที่มาเฝ้ารับเสด็จให้นำเรือไปรับนาฬิกาปารีสกับโต๊ะเรียนที่พระราชทาน[5][9] (ปัจจุบันนาฬิกาปารีสและโต๊ะเรียนตั้งอยู่ที่อาคาร 4 โรงเรียนสมุทรปราการ)
หลังจากที่พระครูสุนทรสมุทร์ (น้อย) มรณภาพใน พ.ศ. 2428 ทำให้ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการว่าง พระธรรมถาวรเจ้าคณะฝ่ายใต้วัดพระเชตุพนและพระยาวุฒิการบดี จางวางกรมสังฆการี กระทรวงธรรมการ ได้มีหนังสือมอบให้พระปลัด (จ้อย) รักษาการคณะสงฆ์และปกครองอาวาสแทนต่อไปจนกว่าจะมีเจ้าคณะมาปกครอง และทางด้านโรงเรียนหนังสือไทยนั้นสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงมอบให้พระปลัด (จ้อย) เป็นผู้อุปการะดูแลจัดการต่อ[5][8]
วันเสาร์ เดือนยี่ แรม 4 ค่ำ ปีระกา สัปตศก 1247 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทำรายงานโรงเรียนขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อทรงทราบ ซึ่งเป็นรายงานฉบับที่ 2 ความตอนหนึ่งว่า "…ในรายงานฉบับก่อนมีโรงเรียน 23 แห่ง, อาจารย์ 54 คน, นักเรียน 1,363 คน ล่วงมาจนถึงเวลานี้มีโรงเรียนทั้งสิ้น 28 แห่ง, อาจารย์ 73 คน, นักเรียน 1,955 คน มากกว่าในรายงานครั้งก่อน คือ โรงเรียน 5 แห่ง, อาจารย์ 19 คน, นักเรียน 590 คน" ซึ่งในจำนวน 5 แห่งนี้ มีแขวงเมืองสมุทรปราการรวมอยู่ด้วยแห่งหนึ่ง มีจำนวนนักเรียน 60 คน ดังตัวอย่างของแผนกการศึกษาถึงจำนวน ครู นักเรียน ในเดือน 2-3-4[5][7][10]
พัฒนา
[แก้]พ.ศ. 2428 ความทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศแก่พระบรมวงศานุวงศ์และทวยราษฎร์ทั้งหลายทราบว่า พระองค์มีพระราชดำริเห็นว่าวิชาการและหนังสือเป็นต้นเค้าของวิชาความรู้สมควรที่จะทำนุบำรุงให้เจริญยิ่งขึ้นเพราะคนในสยามของเราไม่รู้หนังสือไทยยังมีอีกมาก ที่พออ่านออกเขียนได้แต่ไม่ถูกนั้นก็มีมาก เพราะโรงเรียนที่สอนวิชาตามแบบหลวงยังมีน้อย อีกทั้งมีพระประสงค์จะให้พระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนได้เล่าเรียนหนังสือ จึงสละราชทรัพย์ออกตั้งโรงเรียนและจ้างครูสอนทำนุบำรุงการเล่าเรียนและยังมีพระราชดำริจะให้ตั้งโรงเรียนตามพระอารามหลวงทุก ๆ พระอารามทำให้ประชาชนตื่นเล่าลือกันว่าที่ให้ตั้งโรงเรียนนั้นเพราพระราชประสงค์จะเก็บเด็กนักเรียนเป็นทหาร[5][10][11]
ความทราบใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท จึงประกาศ ณ วันศุกร์ เดือน 6 แรม 3 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2428 ว่า
...อย่าให้ผู้ใดพลอยตื่นเต้นเชื่อฟังคำเล่าลือเป็นอันขาด คนที่ชักชวนเป็นทหารก็มีอยู่พวกหนึ่งต่างหาก ไม่ต้องตั้งโรงเรียนเกลี้ยกล่อมเด็กมาเป็นทหารเลย อนึ่ง เด็กทั้งปวงนี้ก็ล้วนเป็นบุตรหลานไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินสิ้นด้วยกัน ถ้าจะเก็บเอามาเป็นทหารเสียตรง ๆ นั้นจะไม่ได้หรือจะต้องตั้งโรงเรียนเกลี้ยกล่อมให้ลำบากและเปลืองพระราชทรัพย์ด้วยเหตุใดถ้อยคำของคนหล่านั้นใคร ๆ ไม่ควรเชื่อ ใครมีบุตรหลานอยากให้ได้เล่าเรียนมีวิชาก็ส่งเข้าเรียนได้ อย่าได้คิด หวาดหวั่น[5]
และด้วยความพยายามของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะตั้งโรงเรียนให้แก่ประชาชนได้เล่าเรียนกันใน พ.ศ. 2429 จึงตั้งโรงเรียนที่มีอยู่เดิมสำเร็จ 30 แห่งคือในพระนคร 17 โรง, กรุงเก่า 5 โรง, อ่างทอง 2 โรง, ลพบุรี 1 โรง, อุทัยธานี 1 โรง, นครปฐม 1 โรง, ราชบุรี 1 โรง, เพชรบุรี 1 โรงและสมุทรปราการ 1 โรง [5][10]
พ.ศ. 2434 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งกรมศึกษาธิการขึ้นในกระทรวงธรรมการ ก็เพราะมีพระราชประสงค์จะจัดการศึกษาเล่าเรียนให้แพร่หลายออกไปอีกทั้งจำนวนนักเรียนโดยประมาณชั้นสูงเพียง 201 คน โรงเรียนภาษาอังกฤษ 206 คน โรงเรียนสามัญซึ่งตั้งในพระอารามต่าง ๆ ทั่วในพระนครและหัวเมืองรวม 51 ตำบล มีนักเรียน 2,360 คน โรงเรียนเชลยศักดิ์ 46 โรง นักเรียน 827 คน ซึ่งน้อยกว่าที่ประสงค์ไว ประกอบกับศิษย์วัดมักจะไม่ได้มาเรียนถึงแม้จะให้มาเรียนก็ให้มาแต่น้อย จะมีก็แต่เด็กชาวบ้านที่บิดา มารดา ยอมสมัครให้มาเรียนเสียโดยมากแต่เด็กเหล่านี้บ้างก็มาบ้างก็ไม่มา บางทีก็เลิกเรียนไป ทำให้ไม่เป็นการแน่นอนจึงเป็นเหตุให้จำนวนนักเรียนน้อยไป เป็นการสมควรที่จะจัดการแก้ไขให้การศึกษาหนังสือไทยแพร่หลายออกไป เพื่อให้ประชาราษฎร์ได้รับประโยชน์การเล่าเรียนเต็มบริบูรณ์ทั่วหน้ากัน[10]
พ.ศ. 2435 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานกระทรวงธรรมการ จัดการศึกษาให้เป็นแบบแผน โดยแบ่งการเล่าเรียนเป็นลำดับชั้น บรรดาการเล่าเรียนในชั้นแรกเรียกว่า มูลศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ[11][12]
- โรงเรียนมูลสามัญชั้นต่ำ ให้สอนเพียง เขียน อ่าน คิดเลข 4 แม่ (บวก ลบ คูณ หาร)
- โรงเรียนมูลสามัญชั้นสูง ให้สอน เขียน อ่าน แต่งข้อความ ไวยากรณ์ คิดเลข พระราชพงศาวดาร ภูมิศาสตร์ วิทยาการตามแบบเรียน
ในความว่าด้วยโรงเรียนมูลศึกษาวัดกลางเมืองสมุทรปราการได้เปิดทำการสอนมาหลายปีแต่ผู้อุปการะและครูได้ลาจากการในโรงเรียน ต่อมาภายหลังท่านพระครูสุนทรสมุทร์เจ้าคณะใหญ่ได้ชักชวนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ตั้งพิธีเปิดโรงเรียน เมื่อวันที่ 3 กันยายน ร.ศ. 114 เวลาบ่าย 3 โมงเศษ พระสงฆ์ถานานุกรม 95 รูป เจริญพระพุทธมนต์ รุ่งขึ้นวันที่ 4 ทายกถวายอาหารบิณฑบาตรแล้ว พระครูสุนทรสมุทร์ได้จัดให้ นายบุตร นักเรียนประโยค 1 เป็นครู เริ่มลงมือสอนตั้งแต่ 3 โมงเช้าเป็นต้นไป [13][14][12]
มีนักเรียนในคราวแรกนี้ 54 คน มีบรรดาทายกผู้ลงชื่อรับบำรุงทุกเดือน 19 คนได้เงินเดือนละ 26 บาท 3 สลึงถ้วน ต่อมานายบุตร อาจารย์โรงเรียนวัดกลางเมืองสมุทรปราการได้ยื่นรายงานถึงพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์อธิบดีกรมศึกษาธิการว่าพระครูสุนทรสมุทร์ ผู้อุปการะได้มอบหนังสือแบบเรียนเร็วเล่ม 1 จำนวน 5 เล่ม, กระดานชนวนศิลา 48 แผ่น, พระปลัดจ้อยให้โต๊ะกลม 1 โต๊ะ, เก้าอี้ 1 ตัว, ท่านพระยาสมุทรบุรารักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรปราการ ให้เงิน 16 บาท, นายบุตร อาจารย์ให้หนังสือแบบเรียนเร็วเล่ม 1 จำนวน 5 เล่ม, เลขวิธีที่ 1 จำนวน 5 เล่ม, เลขวิธีที่ 2 จำนวน 5 เล่ม, กระดานชนวนศิลา 9 แผ่น, กระดาษฝรั่งมีไม้บรรทัด 15 โหล, หมึกดำ 6 ขวด, ปากกา 1 หีบ, ด้ามปากกา 6 ด้าม ระหว่างเวลาที่ล่วงเลยมา การศึกษาหนังสือไทยก็ได้เล่าเรียนยู่ที่ศาลากลางอาวาสเจริญเป็นลำดับมา[12]
ต่อมา พ.ศ. 2445 พระปลัดจ้อย ได้จัดตั้งการศึกษาสำหรับสตรีขึ้น อาศัยโรงมหรสพเรียนเป็นการชั่วคราว โดยมีนายอยู่เป็นครูคนแรก ต่อมาพระปลัดจ้อยได้รับพระราชทานสัญญาบัตร สมณศักดิ์ เป็นพระครูสุนทรสมุทร์ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดกลางก็ได้จัดการบำรุงการศึกษาพระปริยัติธรรมและฝ่ายหนังสือไทยเจริญแพร่หลายเป็นลำดับ
พ.ศ. 2460 กระทรวงธรรมการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนวัดกลางเป็น "โรงเรียนมัธยมวัดกลาง"[3] และในปีนี้เองที่ได้ขยายโรงเรียนมัธยมวัดกลางขึ้นอีกแห่งหนึ่ง โดยย้าย ม.1 – 2 จากวัดกลางมาเรียนที่อาคารเรือนแสงเฮี๊ยะ ซึ่งอาศัยที่ดินของวัดพิชัยสงคราม (วัดนอก) เป็นที่ก่อสร้าง
พ.ศ. 2465 ขุนอภิรักษ์จรรยา (เปรื่อง ก้องสมุทร) เป็นครูใหญ่และเฉพาะที่วัดกลางก็เริ่มชั้นมัธยมปีที่ 6 เป็นปีแรก ใน พ.ศ. 2476 ทางจังหวัดได้พิจารณาว่า สถานที่เดิมของวัดกลางเต็มขยายไม่ได้ทำให้เด็กต้องแยกไปเรียนหลายแห่ง ไม่สะดวกในการควบคุมจึงรายงานต่อกระทรวงศึกษาธิการขอยุบชั้นประถม และใน พ.ศ. 2477 มีปัญหานักเรียนสตรีที่เรียนจบชั้นมัธยมตอนต้นไม่มีที่เรียนต่อ จึงขออนุญาตกระทรวง ศึกษาธิการเข้าเรียนรวมกันกับนักเรียนชายแบบสหศึกษา
พ.ศ. 2478 การศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาวัดกลางเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วปัญหาเรื่องที่เรียนไม่พอ ทางกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเงิน 1,000 บาทมาสมทบกับคณะกรรมการดำเนินงานหาทุนสร้างอาคารเรียนเอกเทศได้เงินทั้งสิ้น 13,000 บาท และสร้างแล้วเสร็จปลายปี พ.ศ. 2479 ต่อมาทางจังหวัดได้ทำรายงานเสนอกระทรวงศึกษาธิการขอเงินการกุศลมาสร้างอาคารเรียนเอกเทศหลังที่ 2 ในที่สุสานของวัดแต่มีเงินจำกัด การก่อสร้างไม่เต็มรูปแบบที่ขอไป ทางโรงเรียนจึงหาเงินมาสมทบสร้างจนแล้วเสร็จ [12]
พ.ศ. 2496 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียนรัฐบาลทั่วราชอาณาจักร โดยให้มีชื่อจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียนต่อท้ายโรงเรียนมัธยมวัดกลางจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "โรงเรียนสมุทรปราการ" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[3]
แม้กระทรวงศึกษาอนุมัติเงินงบประมาณให้จัดสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมเพียงไรก็ตามก็ยังไม่พอกับจำนวนเด็ก ประกอบกับที่วัดไม่สามรถขยายได้อีก จึงอนุมัติเงินการกุศลจำนวน 400,000 บาท สำหรับซื้อที่ดินบริเวณริมถนนสุขุมวิทขนาด 17 ไร่ เมื่อ พ.ศ. 2498[3] 10 ปีเศษหลังจากซื้อที่ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดเงินเป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนจำนวนเงิน 2,000,000 บาท เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น ขนาด 18 ห้องเรียน และสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 24 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2511 พร้อมทั้งได้สร้างสาธารณูปโภคอื่น ๆ อีก และในเดือนกันยายน ปีเดียวกันนี้เองก็ได้ย้ายนักเรียนจากวัดกลางมาเรียนยังสถานที่ ที่ได้ก่อสร้างขึ้นใหม่ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน[15]
ช่วง พ.ศ. 2511 - 2515 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติเงินงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารเรียน 3 ครั้งคือใน พ.ศ. 2511 ได้อนุมัติสร้างอาคารเรียน 2 ชั้น ขนาด 5.9 x 40.5 ตารางเมตร 8 ห้องเรียน เป็นเงิน 800,000 บาทแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ใน ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2513 อนุมัติสร้างอาคารเรียน 3 ชั้นขนาด 9.5 x 72 ตารางเมตร จำนวน 18 ห้องเรียน เป็นเงิน 200,000 บาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2514 และสุดท้าย พ.ศ. 2515 อนุมัติค่าก่อสร้างอาคารเกษตรขนาด 10 x 24.50ตารางเมตร 2 หน่วย เป็นเงิน 200,000 บาท[15]
พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณจากโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมส่วนภูมิภาค เป็นค่าก่อสร้างอาคารวิทยาศาสตร์ ขนาด 10 x 85 ตารางเมตร จำนวน 12 ห้องเรียน และอาคารอุตสาหกรรมศิลป์ ขนาด 10 x 50 ตารางเมตร จำนวน 6 หน่วย รวมเป็นเงิน 9,671,600 บาท สร้างเสร็จเมื่อ 1 ตุลาคม 2519 ปีต่อมาชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสมุทรปราการ ได้สร้างอาคารชั่วคราวให้โรงเรียนเพื่อใช้เป็นสถานที่เรียนพลานามัยให้ 1 หลัง เป็นเงิน 5,500 บาท ทำให้กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 4 ชั้น 15 ห้องเรียน ชั้นล่างเป็นห้องประชุมโรงอาหาร 1 หลัง เป็นเงิน 7,856,000 บาท ใน พ.ศ. 2525 [15]
พ.ศ. 2528 ได้รับเงินบริจาคจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาและจากการจัดกิจกรรมเดินการกุศลเป็นเงิน 120,000 บาท สร้างอาคารเพิ่มเติมอีก 1 หลังให้เพียงพอแก่จำนวนนักเรียน ให้มีที่นั่งรับประทานอาหารขนาดกว้าง 17 เมตร และยาว 40 เมตร ขนานกับโรงอาหารเดิม
พ.ศ. 2530 ประชาชน สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสมุทรปราการ ชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสมุทรปราการ บริจาคเงินให้โรงเรียนรวมเป็นเงิน 335,000 บาท และ บริษัทกระเบื้องโอฬารมอบกระเบื้องมุงหลังคาให้และสมทบเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนอีก 315,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 650,000 บาท เพื่อการก่อสร้างอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นเรือนพยาบาล ชั้นบนเป็นห้องจริยธรรม ลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 เมื่อสร้างเสร็จแล้วเรียบร้อยแล้วใช้ชื่อว่า “อาคารอนุสรณ์ 100 ปี” เมื่อ พ.ศ. 2529[16] ปีต่อมาสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสมุทรปราการบริจาคเงินให้ทางโรงเรียนเป็นจำนวน 80,000 บาท และสมทบด้วยเงินบำรุงการศึกษาจำนวน 52,400 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 162,400 บาท เพื่อทำการก่อสร้างเรือน ประชาสัมพันธ์โรงเรียนสมุทรปราการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2534 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นชั้นรับประทานอาหาร ชั้นที่สองเป็นห้องฝึกงานเกษตรและโสตทัศนศึกษา ชั้นที่ 3 เป็นห้องประชุมและพลศึกษา เป็นจำนวน 9,975,000 บาท[16]
ปีการศึกษา 2536 วัลลภ ยังตรง จัดสรรงบประมาณจากงบพัฒนาจังหวัดให้ 400,000 บาท เพื่อปรับปรุงถนนในโรงเรียนขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 200 เมตร หนา 0.12 เมตรและประเสริฐ สุขวัฒน์ จัดสรรงบประมาณจากงบพัฒนาจังหวัดให้ 105,450 บาท เพื่อปรับปรุงระบบเสียงภายในโรงเรียน ปีต่อมา นายแพทย์วัลลภ ยังตรง ได้จัดสรรงบประมาณจากงบพัฒนาจังหวัดเพิ่มให้อีก 450,000 บาท เพื่อปรับปรุงถนนภายในโรงเรียนเพิ่มเติม ขนาด 5 เมตร ยาว 220 เมตร หนา 0.12 เมตร และทางจังหวัดอนุมัติงบพัฒนา จัดซื้อถังน้ำสแตนเลส ขนาด 1,100 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 10 ชุด มูลค่า 81,000 บาท เพื่อปรับปรุงน้ำดื่มน้ำใช้ภายในโรงเรียน
ปีการศึกษา 2539 ส.ส.สนิท กุลเจริญ จัดสรรงบประมาณพัฒนาจังหวัด ปรับปรุงประตูทางเข้าโรงเรียน 2 ประตู มูลค่า 135,000 บาท ส่วนนายแพทย์วัลลภ ยังตรง จัดสรรงบประมาณพัฒนาจังหวัดจัดซื้อโต๊ะเพื่อใช้ในห้องประชุมใหญ่มูลค่า 428,000 บาท ต่อมา ส.ส.พรรคชาติไทยได้จัดสรรงบประมาณพัฒนาจังหวัดฯ ปรับปรุงสนามอเนกประสงค์ มูลค่า 949,500 บาท และต่อมาในปีงบประมาณ 2540 ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนอเนกประสงค์ 6 ชั้น งบประมาณ ผูกพันปี 2541 และ 2542 มูลค่า 35,990,000 บาท [16]
พ.ศ. 2560 มีการทอดผ้าป่าการศึกษาและรับบริจาคต่าง ๆ เพื่อสร้างหลังคาอเนกประสงค์ โดยสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 [17]
รายนามผู้บริหาร
[แก้]ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายเชาว์ | พ.ศ. 2428 - 2433 |
2 | นายสุ่น | พ.ศ. 2433 - 2438 |
3 | นายบุศย์ | พ.ศ. 2438 - 2444 |
4 | หลวงอารักษ์ดรุณพล | พ.ศ. 2444 - 2458 |
5 | ขุนคุรุกิจพิจารณ์ | พ.ศ. 2458 - 2461 |
6 | ขุนอภิรักษ์จรรยา | พ.ศ. 2461 - 2464 |
7 | นายแสวง เรือนจำเนียร | พ.ศ. 2464 - 2467 |
8 | นายสว่าง เรือนจำเนียร | พ.ศ. 2467 - 2481 |
9 | นายจำลอง สง่ามั่งคั่ง | พ.ศ. 2481 - 2483 |
10 | นายเทพ เวชพงศ์ | พ.ศ. 2484 - 2485 |
11 | นายฟู พุทธินันท์ | พ.ศ. 2486 - 2488 |
12 | นายเทพ อินสุวรรณ | พ.ศ. 2488 - 2490 |
13 | นายจำนง แสงสว่าง | พ.ศ. 2490 - 2496 |
14 | นายสระ เหลืองอรุณ | พ.ศ. 2496 - 2510 |
15 | นายสงบ นันทกิจ | พ.ศ. 2510 - 2511 |
16 | นายสุวรรณ จันทร์สม | พ.ศ. 2511 - 2513 |
17 | นายลพ ชูแข | พ.ศ. 2513 - 2516 |
18 | นายบรรจบ เสริมทอง | พ.ศ. 2516 - 2528 |
19 | นายบุญเปี่ยม เวชรักษ์ | พ.ศ. 2528 - 2532 |
20 | นายบรรเลง รอดแดง | พ.ศ. 2532 - 2539 |
21 | นายสันติ คงทน | พ.ศ. 2539 - 2542 |
22 | นายสำอาง คำหริ่ม | พ.ศ. 2542 - 2543 |
23 | นายสมบัติ คุ้มภู | พ.ศ. 2543 - 2544 |
24 | นายอดุล อนุชปรีดา | พ.ศ. 2544 - 2548 |
25 | นางปลื้มจิตร สถาพรดำรงค์ | พ.ศ. 2549 - 2551 |
26 | นายสุรัต อัตนวานิช | พ.ศ. 2551 - 2556 |
27 | นายชาญสินธุ์ กิจแสงทอง | พ.ศ. 2556 - 2561 |
28 | นายไพรัตน์ ก้อนทองคำ | พ.ศ. 2561 - 2566 |
29 | นายสมชาย ทองสุทธิ์ | พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
การศึกษา
[แก้]โรงเรียนสมุทรปราการเปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
การรับบุคคลเข้าศึกษา
[แก้]
ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
|
ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า
|
การสำเร็จการศึกษา
[แก้]ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จะได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จะได้ประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
แผนการเรียน
[แก้]- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีทั้งหมด 3 แผนการเรียน คือ
- แผนการเรียน หลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. และสอวน.
- แผนการเรียน Mini English Program
- แผนการเรียนปกติ
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีทั้งหมด 9 แผนการเรียน คือ
- แผนการเรียนวิทย์-คณิต
- แผนการเรียนศิลป์-คณิต
- แผนการเรียน หลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. และสอวน.
- แผนการเรียน Mini English Program
- แผนการเรียนศิลป์ภาษาอังกฤษ
- แผนการเรียนศิลป์ภาษาจีน
- แผนการเรียนศิลป์ภาษาญี่ปุ่น
- แผนการเรียนธุรกิจ
- แผนการเรียนเกษตร-อุตสาหกรรม (ยกเลิกแล้ว)
- แผนการเรียนวิทย์-คณิต-คอม
เกียรติประวัติ
[แก้]
|
|
อาคารและหน่วยงานภายใน
[แก้]อาคาร
[แก้]
|
|
|
กิจกรรมและประเพณี
[แก้]- กิจกรรมกีฬาสีภายใน
- โรงเรียนสมุทรปราการจัดกีฬาสีภายในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ปีละ 2 วัน โดยมี 6 คณะสี โดยชื่อของแต่ละคณะสีนั้นได้มาจากชื่อป้อมยุทธนาวีในจังหวัดสมุทรปราการ
- ██ คณะ 1 คณะนารายณ์ปราบศึก (สีน้ำเงิน) ห้องที่ได้อยู่คณะนี้ คือห้อง 1 และ 12
- ██ คณะ 2 คณะจักรกรด (สีแสด) ห้องที่ได้อยู่คณะนี้ คือห้อง 2 และ 11
- ██ คณะ 3 คณะกายสิทธ์ (สีเขียว) ห้องที่ได้อยู่คณะนี้ คือห้อง 3 และ 10
- ██ คณะ 4 คณะเสือซ่อนเล็บ (สีแดง) ห้องที่ได้อยู่คณะนี้ คือห้อง 4 และ 9
- ██ คณะ 5 คณะปราการ (สีชมพู) ห้องที่ได้อยู่คณะนี้ คือห้อง 5 และ 8
- ██ คณะ 6 คณะตรีเพชร (สีม่วง) ห้องที่ได้อยู่คณะนี้ คือห้อง 6 และ 7
- งานทำบุญคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน
- พิธีประดับเข็มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
- กิจกรรมดอกประดู่บาน
- กิจกรรมประดู่บานเป็นการบอกลารุ่นพี่ ม.3 และ ม.6 ของแต่ละรุ่นซึ่งจะจบการศึกษาจากโรงเรียนสมุทรปราการ
- กิจกรรมห้องเรียนสีเขียว
- กิจกรรมปลูกป่าชายเลน
- กิจกรรมเข้าชมงานวิทยาศาสตร์ ไบเทค-บางนา
- กิจกรรมวันวิชาการ
- กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์
- กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ
- กิจกรรม To Be Number One
- กิจกรรมลองดีลองดู
- การแข่งขันโฟลค์ซอง ม.ต้น
- การแข้งขันโฟลค์ซอง ม.ปลาย
- การแข่งขันฟุตซอล ม.ต้น
- การแข่งขันฟุตซอล ม.ปลาย
- กิจกรรมสานสัมพันธ์สตรี-สป
สถานที่ตั้ง
[แก้]- สถานที่ตั้ง
- เลขที่ 498 ถ.สุขุมวิท (กม.27) ต.ปากน้ำ อ.เมืองสมุทรปราการ จ. สมุทรปราการเนื้อที่ ทั้งหมด 17 ไร่[2]
- แผนที่
สถานที่โดยรอบ
[แก้]- บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาสมุทรปราการ
- ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสมุทรปราการ
- สถานีแพรกษา รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ศุภวัฒน์ อ่ำประสิทธิ์ นายแบบและนักแสดง
- สิทธิชัย สุวรประทีป อดีตนักกรีฑาทีมชาติไทย[32]
- เหรียญชัย สีหะวงษ์ อดีตนักกรีฑาทีมชาติไทย[33]
- พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จำนวนนักเรียน ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2561 เก็บถาวร 2019-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 2.0 2.1 "เกี่ยวกับโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-14. สืบค้นเมื่อ 2019-01-19.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 โรงเรียนสมุทรปราการ (2562). "ประวัติโรงเรียนสมุทรปราการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-08. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2021.
- ↑ 4.0 4.1 พระครูสุนทรสมุทร ตำนานวัดกลาง จังหวัดสมุทรปราการ ตามจดหมายเหตุความทรงจำ, ม.ป.ท., 2462
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 โรงเรียนสมุทรปราการ. หนังสือรุ่นโรงเรียนสมุทรปราการ 129 พ.ศ. 2557 หน้า 4 และ 5
- ↑ 6.0 6.1 กฤษณา สินไชย, 200 ปีการศึกษาไทย ลำดับเหตุการ์ณสำคัญ (กรุงเทพ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2525) และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงธรรมการ รัชกาลที่ 5 และ 6.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 นางสาววรัฏรยา หุ่นเจริญ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2545 โรงเรียนสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ISBN 974-653-572-2
- ↑ 8.0 8.1 ประวัติโรงเรียนสมุทรปราการหน้าที่ 1
- ↑ บันทึกของคุณหลวงอารักษ์ดรุณพล (ม้วน บุรารักษ์)
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 ประวัติโรงเรียนสมุทรปราการหน้าที่ 2
- ↑ 11.0 11.1 ม.ม.ป. การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 - พ.ศ. 2474)สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 ประวัติโรงเรียนสมุทรปราการหน้าที่ 3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 12 หน้า 270-271
- ↑ จากหลักฐาน “แจ้งความกระทรวงธรรมการแผนกศึกษาธิการ”
- ↑ 15.0 15.1 15.2 ประวัติโรงเรียนสมุทรปราการหน้าที่ 4
- ↑ 16.0 16.1 16.2 ประวัติโรงเรียนสมุทรปราการหน้าที่ 5
- ↑ สร้างหลังคาอเนกประสงค์[ลิงก์เสีย]
- ↑ โรงเรียนมาตรฐานสากล (World - Class Standard School) รุ่นที่ 1 [ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.obec.go.th/sites/obec.go.th/files/document/attachment/4164/40138.pdf[ลิงก์เสีย] โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2554
- ↑ โรงเรียนสมุทรปราการชนะเลิศ การแข่งขันโต้สาระวาที โลกรอดเพราะกตัญญู "โครงการอบรมและแข่งขันโต้สาระวาที สิ่งแวดล้อม ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ" ประจำปี 2555 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[ลิงก์เสีย]
- ↑ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จไปยังโรงเรียนสมุทรปราการ [ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.sesao8.go.th/file/2012-12-06_01.pdf[ลิงก์เสีย] โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2556
- ↑ http://www.korat7.go.th/web/images/stories/01-57/227.pdf?e1a5ed8408d7cd9dfd4e6ed5108ec95d=bf934e39ee54ad550be3e7ff8eca8299[ลิงก์เสีย] โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2557
- ↑ http://www.mathayom9.go.th/webspm9/data/student58/student05.pdf เก็บถาวร 2019-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2558
- ↑ "รางวัลชนะเลิศ แข่งขันวงโยธวาทิตชิงถ้วยพระราชทานพระเทพฯ ครั้งที่35 ทุกประเภท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-01. สืบค้นเมื่อ 2016-10-13.
- ↑ รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันฟุตซอลนักเรียน กรมพลศึกษา ประจำปี 2559 ประเภททั่วไป ทุกรุ่น
- ↑ http://www.nmrsw2.ac.th/St2558/St2559/racing-matyom59.pdf เก็บถาวร 2016-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2559
- ↑ [ลิงก์เสีย] งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 66 ประจำปีการศึกษา 2559 สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ที่จังหวัดจันทบุรีระหว่าง วันที่ 16-18 ธันวาคม พ.ศ. 2559
- ↑ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 66 ประจำปีการศึกษา 2559 วันที่ 29-31 มกราคม พ.ศ. 2559
- ↑ http://plan.bopp-obec.info/tmp/upload/2016-09-21-12-31-36.pdf[ลิงก์เสีย] โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2560
- ↑ http://plan.bopp-obec.info/tmp/upload/2017-11-08-09-02-02.pdf[ลิงก์เสีย] โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2561
- ↑ ถิรพัฒน์ ณ ลำปาง (17 พฤษภาคม 2563). ""สิทธิชัย สุวรประทีป"ตำนานไม้สุดท้ายทีมไต้ฝุ่นไทย". สยามสปอร์ต. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ถิรพัฒน์ ณ ลำปาง (15 เมษายน 2563). ""เหรียญชัย สีหะวงษ์"ตำนานลมกรดอัจฉริยะแห่งกรีฑาไทย". สยามสปอร์ต. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)
บรรณานุกรม
[แก้]- โรงเรียนสมุทรปราการ. หนังสือรุ่นโรงเรียนสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ : บริษัท จามจุรีโปรดักส์ จำกัด เลขที่ 26 ซ.พระรามที่ 83 ถ.พระรามที่ 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน 10150, พ.ศ. 2557. 120 หน้า. หน้า 4 และ 5.
- พระครูสุนทรสมุทร. ตำนานวัดกลาง จังหวัดสมุทรปราการ ตามจดหมายเหตุความทรงจำ. พระนคร : ม.ป.ท. พิมพ์แจกในงานศพท่านพระครูสุนทรสมุทร์ (จ้อย สุวัณ์ณสโร), 27 เมษายน พ.ศ. 2462.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์โรงเรียนสมุทรปราการ เก็บถาวร 2011-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนสมุทรปราการ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์