สิทธิชัย สุวรประทีป
หน้าตา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
เหรียญรางวัล | ||
---|---|---|
กรีฑา ชาย
| ||
ตัวแทนของ ไทย | ||
เอเชียนเกมส์ | ||
2002 ปูซาน | 4 x 100 เมตร | |
2006 โดฮา | 4 x 100 เมตร |
นาวาโท สิทธิชัย สุวรประทีป เป็นนักกรีฑาชาวจังหวัดสมุทรปราการ ยอดลมกรดทีมชาติไทย 1 ในสมาชิกทีมแชมป์วิ่งผลัด 4 คูณ 100 เมตร หลายสมัยในกีฬาซีเกมส์ และกรีฑาชิงแชมป์เอเชีย ประกาศอำลาลู่ หลังในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ เมืองกวางโจว ประเทศจีน ปี 2553
ประวัติ
[แก้]ชื่อเล่น โจ๊ก เกิดวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 จังหวัดสมุทรปราการ บิดาชื่อ นายบรรลือศักดิ์ สุวรประทีป มารดาชื่อ นางสมใจ สุวรประทีป มีพี่น้อง 3 คน
การศึกษาและทำงาน
[แก้]- เข้ารับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนมัธยมด่านสำโรง และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ โรงเรียนสมุทรปราการ
- ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา รุ่น1 ปี 2541-2544 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เข้ารับราชการที่ กรมสื่อสารทหารเรือ ในตำแหน่ง เสมียนแผนกสื่อสารทางโทรศัพท์
- ปัจจุบัน รับราชการที่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ในตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาฯ กองประกันคุณภาพการศึกษา
ผลงาน
[แก้]- เจ้าของเหรียญทอง วิ่งผลัด 4×100 เมตร จากการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ หลายสมัย
- คว้าเหรียญทอง ในการแข่งขันกรีฑา ประเภทวิ่งผลัด 4×100 เมตร จากการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 14 ที่ประเทศเกาหลีใต้ และ ครั้งที่ 15 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์
- คว้าเหรียญทอง ในการแข่งขันกรีฑา ประเภทวิ่งผลัด 4×100 เมตร จากการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์เอเชีย 3 สมัย
- ผ่านเข้ารอบสุดท้าย การแข่งขันกรีฑา ประเภทวิ่งผลัด 4×100 เมตร จากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปี2002 ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และ ปี2008 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน
- ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมการแข่งขัน กรีฑาชิงแชมป์โลก 4 ครั้ง ปี 1999 ประเทศสเปน ปี 2002 ประเทศฝรั่งเศส ปี 2007 ประเทศญี่ปุ่น ปี 2009 ประเทศเยอรมัน
ปี | การแข่งขัน | สถานที่ | อันดับที่ | ประเภท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
Representing ไทย | |||||
1999 | World Championships | Seville, Spain | อันดับที่56 (h) | 200 m | 21.32 |
อันดับที่13 (h) | 4 × 100 m relay | 39.55 | |||
Asian Junior Championships | Singapore | ชนะเลิศ | 200 m | 20.96 | |
2000 | Asian Championships | Jakarta, Indonesia | รองชนะเลิศอันดับ1 | 200 m | 20.79 |
ชนะเลิศ | 4 × 100 m relay | 38.80 | |||
Olympic Games | Sydney, Australia | อันดับที่13 (sf) | 4 × 100 m relay | 39.05 | |
2002 | Asian Championships | Colombo, Sri Lanka | รองชนะเลิศอันดับ2 | 200 m | 21.04 |
ชนะเลิศ | 4 × 100 m relay | 38.99 | |||
Asian Games | Busan, South Korea | อันดับที่7 (sf) | 100 m | 10.47 | |
อันดับที่6 | 200 m | 20.79 | |||
1st | 4 × 100 m relay | 38.82 | |||
2003 | World Championships | Paris, France | − (h) | 200 m | DQ |
Asian Championships | Manila, Philippines | อันดับที่6 | 100 m | 10.48 | |
อันดับที่24 (h) | 200 m | 23.77 | |||
Afro-Asian Games | Hyderabad, India | อันดับที่5 | 200 m | 21.21 | |
อัยดับที่4 | 4 × 100 m relay | 39.85 | |||
Southeast Asian Games | Hanoi, Vietnam | รองชนะเลิศอันดับ1 | 100 m | 10.50 | |
รองชนะเลิศอันดับ1 | 200 m | 21.23 | |||
ชนะเลิศ | 4 × 100 m relay | 40.05 | |||
2005 | Universiade | Izmir, Turkey | อันดับที่18 (qf) | 200 m | 21.34 |
Asian Championships | Incheon, South Korea | รองชนะเลิศอันดับ1 | 4 × 100 m relay | 39.23 | |
Southeast Asian Games | Manila, Philippines | ชนะเลิศ | 200 m | 20.94 | |
ชนะเลิศ | 4 × 100 m relay | 39.74 | |||
2006 | เอเชียนเกมส์ | Doha, Qatar | อันดับที่19 (h) | 200 m | 23.87 |
ชนะเลิศ | 4 × 100 m relay | 39.21 | |||
2007 | Universiade | Bangkok, Thailand | อันดับที่22 (qf) | 200 m | 22.08 |
ชนะเลิศ | 4 × 100 m relay | 39.15 | |||
World Championships | Osaka, Japan | อันดับที่42 (h) | 200 m | 21.87 | |
ซีเกมส์ | Nakhon Ratchasima, Thailand | รองชนะเลิศอันดับ1 | 200 m | 20.84 | |
ชนะเลิศ | 4 × 100 m relay | 38.95 | |||
2008 | กีฬาโอลิมปิก | Beijing, China | อันดับที่9 (h) | 4 × 100 m relay | 39.40 |
2009 | World Championships | Berlin, Germany | อันดับที่15 (h) | 4 × 100 m relay | 39.73 |
Asian Championships | Guangzhou, China | อันดับที่17 (h) | 200 m | 21.71 | |
อันดับที่4 | 4 × 100 m relay | 39.57 | |||
ซีเกมส์ | ประเทศเวียดนาม, ประเทศลาว | รองชนะเลิศอันดับ1 | 200 m | 21.12 | |
ชนะเลิศ | 4 × 100 m relay | 39.34 | |||
2010 | เอเชียนเกมส์ | มณฑลกวางตุ้ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน | รองชนะเลิศอันดับ2 | 4 × 100 m relay | 39.09 |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[1]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[2]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[3]
- พ.ศ. 2560 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๐๗, ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘ เพิ่มเติม เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๔, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๙๓, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐