ธนิตพล ไชยนันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนิตพล ไชยนันทน์
ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ.2566
นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 ธันวาคม พ.ศ. 2516 (50 ปี)
อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสวรกันยา ไชยนันทน์

ธนิตพล ไชยนันทน์ (ชื่อเล่น : เดี๊ยบ) [1] อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายสาธิต ปิตุเตชะ) กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตากติดต่อกัน 4 สมัย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2556

ประวัติ[แก้]

นายธนิตพล ไชยนันทน์ เกิดวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2516[2] เป็นบุตรชายคนเล็กของ นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กับนางจันทิพา ไชยนันทน์ และเป็นหลานปู่ของนายเทียม ไชยนันทน์ อดีต ส.ส.จังหวัดตาก หนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ นายธนิตพลสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ทางด้านศิลปะ จาก École Supérieure d'Art de Nancy ประเทศฝรั่งเศส และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางวรกันยา ณ ระนอง ไชยนันทน์ ที่โรงแรมเพนนินซูล่า เมื่อปี พ.ศ. 2549 ปัจจุบันมีบุตรจำนวน 2 คน

การทำงาน[แก้]

นายธนิตพล ไชยนันทน์ เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตาก พรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 เป็นกรรมาธิการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร และเป็นเลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ในปี พ.ศ. 2551 (รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)

ในปี พ.ศ. 2548 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตากอีกครั้งเป็นสมัยที่ 2 พร้อมกับได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2549

ในปี พ.ศ. 2554 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดตากอีกครั้งพร้อมได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[3]

ในปี พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดตากในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4] โดยต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สาธิต ปิตุเตชะ)[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตากรวม 4 สมัย ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. แขวน "พู่กัน" อำลา "เด็กอาร์ต" จุดพลิกชีวิต "ธนิตพล ไชยนันทน์"
  2. ประวัติ ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
  4. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๙๒๐/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๒ ราย ๑. นายธนิตพล ไชยนันทน์ ๒. นายเรวัต อารีรอบ)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑