ไทยลีก 3
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
![]() | |
ก่อตั้ง | 2560 |
---|---|
ประเทศ | ![]() |
สมาพันธ์ | เอเอฟซี |
จำนวนทีม | 75 |
ระดับในพีระมิด | 3 |
เลื่อนชั้นสู่ | ไทยลีก 2 |
ตกชั้นสู่ | ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก |
ถ้วยระดับประเทศ | ไทยเอฟเอคัพ |
ถ้วยระดับลีก | ไทยลีกคัพ |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | เอ็มเอช นครศรีฯ ซิตี้ (2565–66) |
ชนะเลิศมากที่สุด | ไทยยูเนี่ยน สมุทรสาคร เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด ขอนแก่น ยูไนเต็ด ลำพูน วอร์ริเออร์ อุทัยธานี เอ็มเอช นครศรีฯ ซิตี้ (ทีมละ 1 สมัย) |
หุ้นส่วนโทรทัศน์ | เอไอเอส (ตั้งแต่รอบแชมเปี้ยนลีก เป็นต้นไป) |
เว็บไซต์ | Thai League 3 (T3) |
ปัจจุบัน: ฤดูกาล 2566–67 |
ไทยลีก 3 (อังกฤษ: Thai League 3) ฟุตบอลลีกอาชีพระดับชั้นที่ 3 ของไทยซึ่งเริ่มแข่งขันในฤดูกาล 2560 เป็นฤดูกาลแรก โดยจะแบ่งออกเป็น 6 โซน โซนละ 12-14 ทีม แชมป์และรองแชมป์ของแต่ละโซน จะผ่านเข้าไปเล่นในรอบซูเปอร์ลีก ซึ่งจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ทีม แชมป์กลุ่มจะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปเล่นไทยลีก 2 อัตโนมัติ และเข้าไปเล่นในรอบชิงแชมป์ประเทศ ขณะที่รองแชมป์กลุ่มจะเล่นในนัดชิงอันดับ 3 เพื่อหาทีมสิทธิ์เลื่อนชั้นไปไทยลีก 2 ขณะที่ทีมอันดับสุดท้ายของแต่ละโซนจะตกชั้นสู่ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
ประวัติ[แก้]
ภายหลังจากการเลือกตั้งนายก สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่ง พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ซึ่งได้รับเลือกจากสโมสรสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม คนใหม่ รวมไปถึงสภากรรมการทั้งหมด ได้มีนโยบายในการยกระดับลีกอาชีพของไทยให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น เลยมีแนวคิดที่จะมีการจัดตั้งลีกระดับสาม แทนที่ ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 โดย กรวีร์ ปริศนานันทกุล ในฐานะประธานบริษัทลีกภูมิภาค ได้เปิดเผย การจัดตั้งลีกใหม่ โดยมีเกณฑ์สโมสรที่จะเข้าร่วมคือ สโมสรที่จบอันดับที่ 1-4 จาก 8 โซนของ ลีกภูมิภาค ฤดูกาล 2559 และไม่ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นใน รอบแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2559 รวมเป็น 32 สโมสร แล้วแบ่งเป็น 2 โซนๆ ละ 14 สโมสร โดยแบ่งเป็นโซนบนของประเทศ (สโมสรจากภาคเหนือ, ภาคตะวันตก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, และภาคตะวันออก) และ โซนล่างของประเทศ (สโมสรจากภาคกลาง, กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, และภาคใต้) โดยจะเริ่มทำการแข่งขันใน ฤดูกาล 2560 เป็นฤดูกาลแรก
ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการเปลี่ยนชื่อลีกจาก ไทยลีกแชมเปียนชิป เป็น ไทยลีก 3 ต่อมายูโร่เค้กได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักทำให้เปลี่ยนเป็น ไทยลีก 3 ยูโร่เค้กลีกโปร
ในปี พ.ศ. 2561 ธนาคารออมสินได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักทำให้เปลี่ยนเป็น ไทยลีก 3 ออมสินลีกโปร ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้มีการควบรวมไทยลีก 3 และ ไทยลีก 4 เข้าด้วยกัน ให้เหลือลีกเดียว และเปลี่ยนชื่อเป็น ไทยลีก 3 ออมสินลีก รีเจินนัล แชมเปี้ยนชิพ
พ.ศ. 2564 ได้มีการเปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักเป็นบริษัท บลู ดราก้อน โฮลดิ้ง จำกัด หรือ มังกรฟ้า ทำให้ชื่อของไทยลีก 3 ในปัจจุบันใช้ชื่อว่า มังกรฟ้า ลีก และได้เริ่มทำการแข่งขันฤดูกาลใหม่ในวันที่ 4 กันยายน ปีเดียวกัน
พ.ศ. 2565 ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้สนับสนุนหลักเป็นบริษัท ลอตเตอรี่ออนไลน์ จำกัด หรือ กองสลากพลัส ทำให้ชื่อของไทยลีก 3 ในปัจจุบันใช้ชื่อว่า กองสลากพลัส ลีก และได้เริ่มทำการแข่งขันฤดูกาลใหม่วันที่ 30 สิงหาคม ปีเดียวกัน
โครงสร้างของลีก[แก้]
การเลื่อนชั้น[แก้]
สโมสรชนะเลิศของแต่ละโซน จะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปทำการแข่งขัน ไทยลีก 2 โดยอัตโนมัติ โดยที่จะมีการเพลย์ออฟหาสโมสรชนะเลิศโดยใช้กฎ Away Goal สโมสรที่ชนะ จะได้ตำแหน่งชนะเลิศ
ส่วนการหาอีกหนึ่งสโมสรที่จะทำการเลื่อนชั้นตามสโมสรชนะเลิศของแต่ละโซนนั้น จะมีการเพลย์ออฟเลื่อนชั้น โดยนำสโมสรที่จบด้วยตำแหน่งรองชนะเลิศของทั้งสองโซน มาทำการแข่งขันในระบบน็อกต์เอำท์ (เหย้า-เยือน) โดยใช้กฎ Away Goal โดยรวมผลสองนัด สโมสรใดชนะประตูรวมสองนัดมากที่สุด จะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปทำการแข่งขัน ไทยลีก 2 ต่อไป ในขณะเดียวกัน สโมสรอันดับ 16-18 ใน ไทยลีก 2 จะต้องตกชั้นลงมาเล่นในไทยลีก 3 แทน
การตกชั้น[แก้]
สำหรับการตกชั้นไปเล่นใน ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ของสโมสรในลีกไทยลีก 3 นั้น จะนำสโมสรที่ได้อันดับสุดท้ายจากทั้งหกโซนตกชั้น
ผู้สนับสนุนหลัก[แก้]
รายชื่อผู้สนับสนุนหลักแข่งขันในฤดูกาลต่างๆ
- 2560: ยูโร่ เค้ก (ไทยลีก 3 ยูโร่เค้ก ลีก โปร)
- 2561–2563: ธนาคารออมสิน (ไทยลีก 3 ออมสิน ลีก โปร)
- 2563–2564: ธนาคารออมสิน (ไทยลีก 3 ออมสิน ลีก รีเจินนัล แชมเปี้ยนชิพ)
- 2564: มังกรฟ้า (ไทยลีก 3 มังกรฟ้า ลีก)
- 2565-ปัจจุบัน: กองสลากพลัส (ไทยลีก 3 กองสลากพลัส ลีก)
ทำเนียบสโมสรที่ชนะเลิศและเลื่อนชั้น[แก้]
ได้เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2
2560–2562[แก้]
# | ฤดูกาล | จำนวนสโมสร | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับสาม | อันดับสี่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2560 | 29 | ไทยยูเนียน สมุทรสาคร | ขอนแก่น | อุดรธานี | ตรัง |
2 | 2561 | 28 | เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด | เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด | อยุธยา ยูไนเต็ด | นรา ยูไนเต็ด |
3 | 2562 | 28 | ขอนแก่น ยูไนเต็ด | นครปฐม ยูไนเต็ด | แพร่ ยูไนเต็ด | แกรนด์ อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด |
2563–ปัจจุบัน[แก้]
# | ฤดูกาล | จำนวนสโมสร | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับสาม | อันดับสี่ |
---|---|---|---|---|---|---|
4 | 2563–64 | 72 | ลำพูน วอร์ริเออร์ | เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด | ราชประชา | อุดร ยูไนเต็ด |
5 | 2564–65 | 75 | อุทัยธานี | กระบี่ | นครศรีฯ ยูไนเต็ด | พิษณุโลก |
6 | 2565–66 | 76 | เอ็มเอช นครศรีฯ ซิตี้ | จันทบุรี | ดราก้อน ปทุมวัน กาญจนบุรี | พัทยา ดอลฟินส์ ยูไนเต็ด |
7 | 2566–67 |
รางวัล[แก้]
ผู้ทำประตูสูงสุดของฤดูกาล[แก้]
ปี | ผู้เล่น | สโมสร | ประตู |
---|---|---|---|
2565–66 | ![]() |
สงขลา | 19 |
2564–65 | ![]() |
อุทัยธานี | 30 |
ผู้เล่นยอดเยี่ยม[แก้]
ปี | ผู้เล่น | สโมสร |
---|---|---|
2565–66 | ![]() |
|
2564–65 | ![]() |
อุทัยธานี |
ผู้จัดการทีม/หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม[แก้]
ปี | ผู้ฝึกสอน | สโมสร |
---|---|---|
2565–66 | ![]() |
|
2564–65 | ![]() |
อุทัยธานี |
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- ระเบียบการแข่งขันรายการไทยลีก 3[ลิงก์เสีย]
- ข่าวสาร Thai League 3 ทางเฟซบุ๊ก
- T3 - T4 ทางเฟซบุ๊ก