ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยรามคำแหง"

พิกัด: 13°45′19″N 100°37′13″E / 13.755236°N 100.620142°E / 13.755236; 100.620142
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suchon (คุย | ส่วนร่วม)
Thejeang (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 62: บรรทัด 62:
== เกร็ดบางประการเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง ==
== เกร็ดบางประการเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง ==


*'''รามคำแหงเปิดเรียนครั้งแรก'''ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2514 วิชาที่เปิดบรรยายเป็นวิชาแรกคือ '''LS103''' (การใช้ห้องสมุด)
*'''รามคำแหงเปิดเรียนครั้งแรก'''ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2514 วิชาที่เปิดบรรยายเป็นวิชาแรกคือ '''LB103''' (การใช้ห้องสมุด)
*'''คำขวัญเดิมของรามคำแหง''' คือ '''รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ ''' เป็นของ '''ศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์''' อธิการบดีคนแรก และต่อมาได้มีการคิดคำขวัญเพิ่มเติมขึ้นอีก ประมาณปี 2527 ได้มีการจัดประกวดคำขวัญของรามคำแหงขึ้น สำนวนที่ชนะเลิศคือ '''"เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง" '''
*'''คำขวัญเดิมของรามคำแหง''' คือ '''รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ ''' เป็นของ '''ศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์''' อธิการบดีคนแรก และต่อมาได้มีการคิดคำขวัญเพิ่มเติมขึ้นอีก ประมาณปี 2527 ได้มีการจัดประกวดคำขวัญของรามคำแหงขึ้น สำนวนที่ชนะเลิศคือ '''"เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง" '''
*'''ค่าหน่วยกิตของรามคำแหง ''' รามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยที่มีค่าหน่วยกิตถูกที่สุดในโลกคือ '''25 บาท ''' เดิมทีเดียวใน พ.ศ. 2514 กำหนดค่าหน่วยกิตไว้ที่ 30 บาท เนื่องจากคาดว่าอาจมีนักศึกษาเข้ามาสมัครเรียนไม่มากนัก แต่ปรากฏว่ากลับมีผู้สนใจสมัครเข้าเป็นนักศึกษาในครั้งนั้นกว่า 30,000 คน ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์จึงเสนอต่อที่ประชุม ทปม. เห็นควรให้ลดค่าหน่วยกิตลงมาเหลือ 25 บาท ครั้งหนึ่งในช่วงหลังเหตุการณ์ [[14 ตุลา ]] ได้มีการเรียกร้องให้ลดค่าหน่วยกิตลงมาอีก ซึ่งได้ลดลงมาจนถึงหน่วยกิตละ 18 บาท
*'''ค่าหน่วยกิตของรามคำแหง ''' รามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยที่มีค่าหน่วยกิตถูกที่สุดในโลกคือ '''25 บาท ''' เดิมทีเดียวใน พ.ศ. 2514 กำหนดค่าหน่วยกิตไว้ที่ 30 บาท เนื่องจากคาดว่าอาจมีนักศึกษาเข้ามาสมัครเรียนไม่มากนัก แต่ปรากฏว่ากลับมีผู้สนใจสมัครเข้าเป็นนักศึกษาในครั้งนั้นกว่า 30,000 คน ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์จึงเสนอต่อที่ประชุม ทปม. เห็นควรให้ลดค่าหน่วยกิตลงมาเหลือ 25 บาท ครั้งหนึ่งในช่วงหลังเหตุการณ์ [[14 ตุลา ]] ได้มีการเรียกร้องให้ลดค่าหน่วยกิตลงมาอีก ซึ่งได้ลดลงมาจนถึงหน่วยกิตละ 18 บาท

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:37, 16 สิงหาคม 2550

มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Ramkhamhaeng
ชื่อย่อม.ร. / RU
คติพจน์รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ
ประเภทรัฐ มหาวิทยาลัยตลาดวิชา
สถาปนาพ.ศ. 2514
นายกสภาฯประจวบ ไชยสาส์น
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.ru.ac.th

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (Ramkhamhaeng University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีแบบตลาดวิชา กล่าวคือรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวน แต่มีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในอดีต ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 บนบริเวณที่ดินประมาณ 300 ไร่เศษ บนถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา กล่าวคือ ให้เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักศึกษา โดยไม่จำกัดจำนวน และไม่มีการสอบคัดเลือกนับตั้งแต่ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 2514 ทั้งนี้เพื่อแก้ไขการขาดแคลนสถานที่เรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในขณะนั้น ต่อมาได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541 ขึ้นใช้บังคับแทนกฎหมายฉบับเดิม

ในการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2512 คือ นายประมวล กุลมาตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร สังกัดพรรคสหประชาไทย โดยในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่ได้ระบุชื่อมหาวิทยาลัย และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2512 โดยตั้งคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งมีพลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยละเอียด คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งกำหนดชื่อมหาวิทยาลัยในร่างพระราชบัญญัตินั้นว่า "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ..."

ไฟล์:รามในอดีต.jpg
มหาวิทยาลัยรามคำแหงขณะเริ่มก่อสร้าง

สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้อีกครั้งในวาระที่ 2 ซึ่งในการประชุม นายแคล้ว นรปติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น ได้เสนอให้เปลี่ยนชื่อเป็น ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบ และวุฒิสภาได้เห็นชอบให้นำ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ..." ไปดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2513 หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมเปิดมหาวิทยาลัยรามคำแหงจำนวน 8 คน มี นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ (ต่อมาเป็นอธิการบดีคนแรก) เป็นประธาน และ นายจิรโชค (บรรพต) วีระสัย (ต่อมาเป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์คนแรก)เป็นเลขานุการ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514

ในระยะเริ่มแรกคณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้ใช้อาคารสถานที่แสดงสินค้านานาชาติ ที่ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร เป็นที่ตั้งชั่วคราวจนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้อนุญาตให้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งถาวร และได้มีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สถานที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2515 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ซึ่งถือว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ วันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไฟล์:รามคำแหง.jpg
มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรกในปีพ.ศ. 2514 ซึ่งในครั้งแรกเปิดสอนใน 4 คณะ คือ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ โดยมีผู้สนใจสมัครเป็นนักศึกษาในครั้งแรกจำนวน 37,198 คน ต่อมาในพ.ศ. 2517 ได้เปิดเพิ่มอีกสามคณะคือ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ กระทั่งในปี 2540 ได้เปิดสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก จนสถานที่เรียนที่หัวหมากเริ่มแออัด มหาวิทยาลัยจึงได้เปิดวิทยาเขตรามคำแหง 2 หรือวิทยาเขตบางนา ขึ้นในปีพ.ศ. 2527 ที่ถนนบางนา-ตราด กม.8 แขวงวัดดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ บนเนื้อที่ 150 ไร่เศษ โดยใช้เป็นที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มาจนถึงปัจจุบัน

ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่น ๆ ในบางรายวิชา

สัญลักษณ์ของรามคำแหง

พระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

นับแต่ได้สถานที่เป็นที่ตั้งถาวรแล้ว มหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ได้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคาร และปรับปรุงสถานที่ให้ทันกับการเปิดสอนของแต่ละปีมาโดยลำดับ ถาวรวัตถุสิ่งแรกที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าจำเป็นจะต้องก่อสร้างก่อนก็คือ ที่ประดิษฐานพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งมหาวิทยาลัยได้อัญเชิญมาเป็นเครื่องหมายของมหาวิทยาลัย เมื่อได้สร้างเสร็จและอัญเชิญพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมาประดิษฐานเรียบร้อย ถาวรวัตถุนี้จะเป็นสัญญลักษณ์ที่รวมพลังกาย พลังใจของคณาจารย์ ข้าราชการ และนักศึกษาให้มุ่งประกอบแต่ความดีงามอันจักเป็นคุณต่อชาติบ้านเมืองสืบไป สำหรับพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น ได้จัดสร้างตามแบบของกรมศิลปากร เป็นโลหะทองเหลืองผสมทองแดงและรมดำ ความสูงจากพื้นฐานถึงยอดพระมาลา 115 เซนติเมตร พระหัตถ์ขวาทรงถือหนังสือ และประทับบนพระแท่นมนังคศิลาบาตร การหล่อพระบรมรูปต้องใช้วิธีแยกเทองเป็นส่วนๆ รวมถึง 5 ส่วน กว่าจะเสร็จครบบริบูรณ์ต้องใช้เวลาถึง 8 เดือนเศษ จากนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาประกอบพิธีเปิดพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นที่ 1 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542 สุพรรณิการ์มีถิ่นกำเนิดในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมืองของพม่าด้วย ในศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถ เป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ นำเข้ามาประเทศไทยกว่า 50 ปีมาแล้ว

ตราประจำมหาวิทยาลัย

เป็นพระรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1) จารึกนี้พบเมื่อ พ.ศ. 2376 ณ เนินปราสาท เมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงผนวชเป็นผู้ค้นพบ เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทย มีลักษณะเป็นแท่นหินรูปสี่เหลี่ยม ยอดกลมมน สูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร หนา 35 เซนติเมตร เป็นหินชนวนสีเขียวมีจารึกทั้ง 4 ด้าน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

สีประจำมหาวิทยาลัย

"สีน้ำเงิน-ทอง" ความหมาย สีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์คือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ส่วน สีทอง เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรือง สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัย

คำขวัญประจำมหาวิทยาลัย

  • "อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"
  • "รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ "
  • "เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง"

ลักษณะเฉพาะของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

รามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาที่มีนักศึกษามากที่สุดในโลก รับนักศึกษาโดยไม่จำกัดจำนวน และไม่ต้องสอบคัดเลือก จึงเป็นที่รวมของคนทุกประเภท ถ้าจะเปรียบกับน้ำ ก็มีทั้งน้ำสะอาด น้ำธรรมดา และน้ำไม่สะอาด มหาวิทยาลัยรามคำแหงเปรียบเสมือนเครื่องกรองน้ำขนาดใหญ่ ที่ทำหน้าที่กรองน้ำใสสะอาดออกไปให้สังคมได้ดื่มกินกันต่อไป มหาวิทยาลัยจึงภาคภูมิใจกับการทำหน้าที่นี้มาตลอดเวลากว่า 30 ปี


เกร็ดบางประการเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง

  • รามคำแหงเปิดเรียนครั้งแรกในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2514 วิชาที่เปิดบรรยายเป็นวิชาแรกคือ LB103 (การใช้ห้องสมุด)
  • คำขวัญเดิมของรามคำแหง คือ รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ เป็นของ ศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดีคนแรก และต่อมาได้มีการคิดคำขวัญเพิ่มเติมขึ้นอีก ประมาณปี 2527 ได้มีการจัดประกวดคำขวัญของรามคำแหงขึ้น สำนวนที่ชนะเลิศคือ "เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง"
  • ค่าหน่วยกิตของรามคำแหง รามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยที่มีค่าหน่วยกิตถูกที่สุดในโลกคือ 25 บาท เดิมทีเดียวใน พ.ศ. 2514 กำหนดค่าหน่วยกิตไว้ที่ 30 บาท เนื่องจากคาดว่าอาจมีนักศึกษาเข้ามาสมัครเรียนไม่มากนัก แต่ปรากฏว่ากลับมีผู้สนใจสมัครเข้าเป็นนักศึกษาในครั้งนั้นกว่า 30,000 คน ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์จึงเสนอต่อที่ประชุม ทปม. เห็นควรให้ลดค่าหน่วยกิตลงมาเหลือ 25 บาท ครั้งหนึ่งในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ได้มีการเรียกร้องให้ลดค่าหน่วยกิตลงมาอีก ซึ่งได้ลดลงมาจนถึงหน่วยกิตละ 18 บาท
  • เกรดของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ กล่าวคือ ใช้ระบบ G P F แสดงระดับผลการเรียนในระดับปริญญาตรี โดย G = Good 4.00 (ระดับคะแนน 75-100), P = Pass 2.25 (ระดับคะแนน 60-74) และ F = Failure หมายถึงสอบตก (ระดับคะแนน 59 ลงมา) ในช่วงเตรียมจัดตั้งมหาวิทยาลัยได้มีบางท่านเสนอว่าควรใช้ระบบ A B C D แต่จากข้อสรุปของที่ประชุมตกลงให้ใช้ G P F ดังเช่นในปัจจุบัน สาเหตุที่ไม่ใช้ระบบ A B C D เนื่องจากนักศึกษามีเป็นจำนวนมาก และมีรูปแบบเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา การใช้ตะแกรงถี่เกินไปอาจไม่เป็นระบบการวัดผลที่ดี

การศึกษา

มหาวิทยาลัยรามคำแหงเปิดสอนในหลายสาขาวิชา ปัจจุบันมีคณะดังนี้

หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับทางมหาวิทยาลัย

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′19″N 100°37′13″E / 13.755236°N 100.620142°E / 13.755236; 100.620142


Internet TV