คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Faculty of Business Administration,
Ramkhamhaeng University
คณบดีรองศาสตราจารย์สุวรรณี เดชวรชัย
สี  สีฟ้า
เว็บไซต์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อังกฤษ: Faculty of Business Administration, Ramkhamhaeng University) เป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรด้านวิชาบริหารธุรกิจ ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหงในปี พ.ศ. 2514 [1]

ประวัติ[แก้]

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดตั้งตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 โดยมีหลักในการดำเนินงานให้เป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา ซึ่งนักศึกษาจะมาเรียนหรือ ไม่มาเรียนที่มหาวิทยาลัยก็ได้ นับตั้งแต่ปี 2514 จนถึงปัจจุบัน คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เปิด ทำการเรียนการสอน มาเป็นเวลา 51 ปี แล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ผู้เรียนในส่วนภูมิภาคโดยจัดการศึกษาผ่านระบบดาวเทียม และจัดคณาจารย์เข้าบรรยายตามสาขาวิทยาบริการต่าง ๆ หมุนเวียน สลับสับเปลี่ยนกันไป นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย ตลอดจนบุคคลภายนอก ที่ต้องการศึกษาเป็นรายกระบวนวิชา สมัครเข้าเรียนได้โดยไม่รับปริญญา และสามารถนำหน่วยกิตสะสมที่ได้ไว้นี้โอนเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยอีกด้วย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีที่ทำการเป็นตึกคณะฯ โดยลักษณะเป็นอาคารสูง 5 ชั้น มีชื่อคณะบริหารธุรกิจบนยอดตึก ตั้งอยู่บริเวณทางเข้ามหาวิทยาลัย และมี ศาสตราจารย์ไพบูลย์ สุวรรณโพธิ์ศรี เป็นคณบดีคนแรก ของคณะบริหารธุรกิจ และเป็นผู้หนึ่งที่เริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปีการศึกษา 2514 : เป็นปีแรกที่จัดการเรียนการสอน[2]

รายนามคณบดีตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน[แก้]

  • ศาสตราจารย์ไพบูลย์ สุวรรณโพธิ์ศรี
  • รองศาสตราจารย์วิชัย ธนรังสีกุล
  • รองศาสตราจารย์เริงรัก จำปาเงิน
  • รองศาสตราจารย์สัมพันธ์ ธาราทิพยกุล
  • รองศาสตราจารย์สุวรรณี เดชวรชัย (9 พฤษภาคม 2561 - ปัจจุบัน)[3]

หลักสูตร[แก้]


ระดับปริญญาตรี[4][5] ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

  • สาขาวิชาการจัดการ[6]
  • สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ
  • สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
  • สาขาวิชาการท่องเที่ยว

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
  • สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
  • สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาการจัดการการโฆษณา
  • สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ
  • สาขาวิชาการจัดการงานบริหารระดับสูง[7][8]
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-16. สืบค้นเมื่อ 2010-06-18.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-29. สืบค้นเมื่อ 2016-09-02.
  3. ข่าวรามคำแหง ปีที่ 48 ฉบับที่ 6 วันที่ 21-27 พฤษภาคม 2561
  4. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สำหรับนักศึกษาส่วนกลางรหัสนักศึกษาขึ้นต้นด้วย 60 ขึ้นไป
  5. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555) สำหรับนักศึกษาส่วนกลางรหัสนักศึกษาขึ้นต้นด้วย 55-59
  6. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สำหรับนักศึกษาส่วนภูมิภาครหัส 60 ขึ้นไป
  7. 7.0 7.1 "หลักสูตร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-29. สืบค้นเมื่อ 2010-06-18.
  8. บัณฑิตศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]