โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายประถม
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายประถม) | |
---|---|
Ramkhamhaeng University Demonstration School (Elementary lavel) | |
ไฟล์:Pk1.jpg | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | สธ.มร.(ฝ่ายประถม) / DMRU |
ประเภท | โรงเรียนสาธิต สังกัด สกอ. |
คำขวัญ | "หลานพ่อขุน ใจการุญ รู้คุณสังคม นิยมกีฬา ปัญญาสร้างสรรค์ " |
สถาปนา | พ.ศ. 2547 |
ผู้อำนวยการ | รองศาสตราจารย์นพคุณ คุณาชีวะ |
สี | ███ ███ น้ำเงิน-ทอง |
เพลง | มาร์ชสาธิต ม.รามคำแหง(ฝ่ายประถม) |
ต้นไม้ | สุพรรณิการ์, ฝ้ายคำ |
เว็บไซต์ | http://www.kids.ru.ac.th/ |
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายประถม) ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
ประวัติ[แก้]
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ได้ก่อตั้งขึ้นโดย ศาสตราจารย์ประจำรังสรรค์ แสงสุข อธิการบดี ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบนโยบายให้ รองศาสตราจารย์นพคุณ คุณาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายสวัสดิการ จัดตั้งโครงการพัฒนาเด็กเล็กขึ้นในระยะแรก เพื่อลดปัญหาผู้ปกครองที่ไม่สามารถนำบุตรหลานไปฝากเรียนในโรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็กในบริเวณใกล้เคียงที่พักได้ และเพื่อเป็นสวัสดิการแก่บุคลากรมหาวิทยาลัย ในปี 2537 จึงได้เปิดรับนักเรียนในชั้นบริบาล 2 ห้อง อนุบาล 1 ห้อง โรงเรียนได้พัฒนาด้านวิชาการและด้านบุคลากรจนโครงการพัฒนาเด็กเล็ก จึงได้เปลี่ยนรูปเป็นโรงเรียนอนุบาลรามคำแหง ในปี 2538 หลังจากนั้นโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยและพัฒนาจนถึงชั้นอนุบาล 3 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน ผู้ปกครองที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยก็ประสบปัญหาในการหาโรงเรียนให้บุตร จึงได้เรียกร้องให้โรงเรียนเปิดสอนชั้นประถมศึกษาต่อไป โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) จึงได้จัดตั้งขึ้น โดยได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 และเปิดรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2541 เป็นต้นมา และได้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ในปีการศึกษา 2546 ในปีการศึกษา 2544 โรงเรียนได้เปิดสอนโครงการภาคภาษาอักฤษ ชั้นอนุบาล1 โดยจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ( Integration ) แบบ 2 ภาษา (Bilingual) เน้นภาษาอังกฤษเป็นสำคัญ พร้อมทั้งสอนภาษาจีนควบคู่ด้วย
ในปีการศึกษา 2548 โรงเรียนได้เปิดสอนโครงการศูนย์ ์การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาให้สำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและเด็กที่มีปัญหาความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ โดยทางโรงเรียนจัดให้นักเรียนได้มีโอกาสในการเข้าเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคมได้สมวัย หรือสามารถพัฒนาได้สูงสุดตามศักยภาพ
ในด้านวิชาการโรงเรียนจะเป็นต้นแบบของการจัดการเรียนการสอนแบบเตรียมความพร้อม จะเอื้อประโยชน์ให้กับอาจารย์ ข้าราชการ และ นักศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ให้ใช้เป็นแหล่งค้นคว้า วิจัยและทดลองปฏิบัติการสอน เพื่อพัฒนางานวิชาการให้กว้างขวางออกไป ตลอดจนเปิดโอกาสให้ บุคลากรภายนอกที่สนใจงานวิชาการด้านนี้ ได้เข้ามาศึกษาดูงานเพื่อนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาเยาวชน ให้เติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพของสังคม
สัญลักษณ์[แก้]
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]
ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนใช้ตราเดียวกันกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายมัธยม คือ ตราพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ข้อมูลทั่วไป[แก้]
- ตราประจำโรงเรียน : ตราพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
- สีประจำโรงเรียน : ชมพู-เขียว
- ดอกไม้ประจำโรงเรียน : ดอกสุพรรณิการ์ (ฝ้ายคำ)
- เพลงประจำโรงเรียน : มาร์ชสาธิตรามคำแหง,มาร์ชลูกพ่อขุนประถม
- คำขวัญประจำโรงเรียน : หลานพ่อขุน ใจการุญ รู้คุณสังคม นิยมกีฬา ปัญญาสร้างสรรค์
คำขวัญโรงเรียน[แก้]
- สาธิตรามงามน้ำใจใฝ่เรียนรู้ คู่ความดีมีวัฒนธรรมชี้นำสังคม
รศ.นพคุณคุณาชีวะ (๕ สิงหาคม ๒๕๕๐)
สีและเครื่องหมายประจำโรงเรียน[แก้]
- สีชมพู - สีเขียว
- สีชมพู หมายถึง ความรักของพ่อแม่และครู
- สีเขียว หมายถึง ชีวิตที่เจริญงอกงาม เป็นสีที่มาจากการรวมกันระหว่าง
- สีน้ำเงิน และ เหลือง (ทอง) อันเป็นสีประจำของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง[แก้]
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายประถม
สถานที่ที่อยู่รอบโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)
- ลานพ่อขุนรามคำแหง
- สนามฟุตบอลราชมังคลากีฬาสถาน
- สนามฟุตบอลของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายมัธยม
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)
- สำนักกีฬา
- สนามกีฬากลางมหาวิทยาลัยรามแหง
- สถาบันคอมพิวเตอร์
- คณะคณะเศรษฐศาสตร์