คณะทัศนมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะทัศนมาตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Faculty of Optometry,
Ramkhamhaeng University
สถาปนา30 ตุลาคม พ.ศ. 2541
คณบดีอาจารย์ ดร.ดนัย ตันเกิดมงคล
ที่อยู่
วารสารวารสารทัศนมาตร
สี  สีเขียวเข้ม
เว็บไซต์http://www.opto.ru.ac.th/

คณะทัศนมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เดิมเป็นหน่วยงานในสังกัด สถาบันวิทยาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้พัฒนามาจากหลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศที่ให้ความสำคัญด้านการแพทย์ด้านสายตาและสุขภาพตาโดยเน้นการดูแล แก้ไข และป้องกันสุขภาพของระบบการมองเห็น ซึ่งรวมตั้งแต่สุขภาพของลูกตาไปจนถึงอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ เช่นระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบประสาท ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบการเห็น เป็นหลักสูตร 6 ปีและ มีการผลิตบุคลากรสาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ ในระดับปริญญาบัณฑิตเมื่อปีเปิดสอนมาแล้วถึง 17 ปี โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอินเดียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา และอีกหลายมหาวิทยาลัยที่ส่งผู้เชียวชาญด้านทัศนมาตรศาสตร์ ระดับโลกมาสอนนักศึกษา และผลิตบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มาอย่างต่อเนื่อง

ประวัติ[แก้]

  • พ.ศ. 2544 เริ่มมีการผลิตบัณฑิต "สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ" ในระดับปริญญาบัณฑิตขึ้นที่ สถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในระยะแรกได้รับความช่วยเหลือจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. วรรณา มุสิกเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ ช่วยราชการจากคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์รสิตา โอสถานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ช่วยราชการจากคณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ดนัย ตันเกิดมงคล หัวหน้าสาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ ช่วยราชการจากคณะวิทยาศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประพิณพันธ์ ศรีสวรรค์ หัวหน้าสาขาวิชาสารสนเทศทางสุขภาพ ช่วยราชการจากคณะวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2555สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้อนุมัติจัดตั้ง”คณะทัศนมาตรศาสตร์”อย่างเป็นทางการเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2555 โดยแต่งตั้ง อาจารย์ ดร.ดนัย ตันเกิดมงคล หัวหน้าสาขาทัศนมาตรศาสตร์ เป็นคณบดีท่านแรก หลักสูตรทัศนมาตรศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นหลักสูตรเฉพาะทางในการให้บริการทางการแพทย์ด้านสายตาและสุขภาพตาโดยเน้นการดูแล แก้ไข และป้องกันสุขภาพของระบบการมองเห็น ซึ่งรวมตั้งแต่สุขภาพของลูกตาไปจนถึงอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ เช่นระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบประสาท ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบการเห็น เป็นหลักสูตร 6 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแล้ว จะได้รับปริญญาทัศนมาตรศาสตร์บัณฑิต Doctor of Optometry มีสิทธิในการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบโรคศิลปะตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข เรียกว่า "นักทัศนมาตรวิชาชีพ"

หน่วยงานและหลักสูตร[แก้]

คณะทัศนมาตรศาสตร์ ประกอบด้วย 1ภาควิชา เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีใน 1สาขาวิชาชีพ

ที่ตั้ง[แก้]

การเรียนการสอนในสาขาทัศนมาตรศาสตร์ แรกเริ่มใช้สถานที่ของ สถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ชั้น 1-3 อาคารสุโขทัย ปัจจุบัน สถานที่จัดการเรียนการสอนและปฏิบัติการยังคงอยู่ที่เดิม แต่มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้มีมติให้ยุบสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพแล้วจัดตั้งเป็นคณะทัศนมาตรศาสตร์