คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Faculty of Humanities,
Ramkhamhaeng University
สถาปนา26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทิพอุษา ศรีเพริศ
ที่อยู่
อาคารคณะมนุษยศาสตร์ ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240
วารสารวารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์[1]
สี  สีแสด
เว็บไซต์http://www.human.ru.ac.th/

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากอง เป็นหนึ่งในสี่คณะ ที่ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประกอบไปด้วย คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์

เริ่มแรกในปี พ.ศ. 2514 คณะมนุษยศาสตร์ เปิดสอน 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ และสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส


ประวัติ[แก้]

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษยศาสตร์ ได้ถือกำเนิดมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยจัดตั้งขึ้นตาม "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พุทธศักราช 2514" ซึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514

แต่แรกนั้น ที่ทำการของคณะมนุษยศาสตร์เป็นอาคารหลังหนึ่งในงานแสดงสินค้านานาชาติแห่งประเทศไทย ต่อมามหาวิทยาลัยฯ ได้อนุมัติให้คณะมนุษยศาสตร์สร้างอาคารถาวรขึ้นใหม่ คือ อาคารคณะมนุษยศาสตร์ 1 ในปัจจุบัน

ได้มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วาสน์ วาสโน) (สมณศักดิ์ในขณะนั้น ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ)

อาจารย์และข้าราชการคณะมนุษยศาสตร์จึงได้พร้อมใจกันถือเอาวันที่ 28 กันยายน ของทุกปีเป็นวันคณะมนุษยศาสตร์ ตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา

ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์บริหารงานภายใต้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541 โดยดำเนินงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยรามคำแหง อันได้แก่ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การจัดบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ด้านวิชาชีพ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทั้งหมดนี้สะท้อน ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงคุณลักษณะซึ่งดำรงความเป็นมนุษยศาสตร์อันโดดเด่นและเป็นความภาคภูมิใจของบุคลากรและนักศึกษาของคณะมนุษยศาสตร์ทุกคน


ภาควิชา[แก้]

  • ภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์
  • ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก
  • ภาควิชาภาษาตะวันตก
  • ภาควิชาปรัชญา
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์

แผนผังที่ทำการคณะ[แก้]

อาคาร 1  (HUB 1) เป็นอาคาร 5 ชั้น

  • อาคาร 1 ชั้นที่ 1 เป็นที่ตั้งของห้องทำงานเลขานุการคณะฯ หน่วยส่งเสริมและพัฒนาทางวิชาการ หน่วยกิจการนักศึกษา หน่วยทะเบียน หน่วยอาคารสถานที่ ห้องผลิตเอกสาร และสำนักงานโครงการภาคพิเศษหลักสูตรวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว
  • อาคาร 1 ชั้นที่ 2 เป็นที่ตั้งของงานคลังและพัสดุ งานนโยบายและแผน หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยสารบรรณ หน่วยผลิตเอกสาร ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาและห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ
  • อาคาร 1 ชั้นที่ 3 เป็นที่ตั้งของห้องประชุมพดด้วง หน่วยโสตทัศนศึกษา ห้องเรียน AV-IT 1 และห้องปฏิบัติการทางภาษา
  • อาคาร 1 ชั้นที่ 4 เป็นที่ตั้งของภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์และห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ
  • อาคาร 1 ชั้นที่ 5 เป็นที่ตั้งของภาควิชาปรัชญาและห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ห้องปฏิบัติการสารสนเทศและห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ  ห้องสมุดคณะฯ

อาคาร 2  (HUB 2) เป็นอาคาร 5 ชั้น

  • อาคาร 2 ชั้นที่ 1 เป็นที่ตั้งของห้องทำงานคณบดี ห้องทำงานรองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัยและรองคณบดีฝ่ายนโยบายและแผน ห้องทำงานรองคณบดีฝ่ายบริหาร และห้องทำงานรองคณบดีฝ่ายสวัสดิการ ห้องประชุมศรีศรัทธา ห้องศูนย์สารสนเทศและศูนย์แปล งานประกันคุณภาพการศึกษา และสำนักงานโครงการปริญญาตรีภาคพิเศษ
  • อาคาร 2 ชั้นที่ 2 เป็นที่ตั้งของห้องรับรองแขก สำนักงานบัณฑิตศึกษา และห้องประชุมพวงแสด
  • อาคาร 2 ชั้นที่ 3 เป็นที่ตั้งของภาควิชาภาษาตะวันตก และห้องทำงานคณาจารย์สาขาวิชาภาษาเยอรมัน สาขาวิชาภาษารัสเซีย สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส  สาขาวิชาภาษากรีก สาขาวิชาภาษาโปรตุเกส สาขาวิชาภาษาสเปน
  • อาคาร 2 ชั้นที่ 4 เป็นที่ตั้งของภาควิชาประวัติศาสตร์  และห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ
  • อาคาร 2 ชั้นที่ 5 เป็นที่ตั้งของภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก และห้องทำงานคณาจารย์ ประจำภาควิชาฯ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษามลายู สาขาวิชาภาษาอาหรับ สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น สาขาวิชาภาษาจีน สาขาวิชาภาษาเกาหลี สาขาวิชาภาษาบาลี-สันสกฤตและฮินดี สาขาวิชาภาษาลาว สาขาวิชาภาษาเมียนมา สาขาวิชาภาษาเขมร

ศิษย์เก่าคนดัง[แก้]

หมวดหมู่:บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ศิลปศาสตรบัณฑิต[แก้]

ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต รวมทั้งสิ้น จำนวน 14 สาขาวิชา ดังนี้[2][3]

สำหรับวิชาโทนั้น นักศึกษาสามารถเลือกเรียนสาขาวิชาที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดเป็นวิชาโทได้ทุกสาขา นอกจากนี้ยังมีวิชาโทอื่น ๆ ให้เลือกเรียนได้อีกหลายสาขาวิชา รวม 23 สาขาวิชา ได้แก่ ภาษาศาสตร์ ภาษาอังกฤษทั่วไป วรรณคดี ภาษาอังกฤษเฉพาะด้าน ภาษาไทย ภาษาบาลี-สันสกฤตและฮินดี คติชนวิทยา ภาษาอาหรับ ภาษามลายู ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย ภาษากรีก ภาษาเมียนมา สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว และ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา[5]

ส่วนวิชาเลือกนั้น นอกจากนักศึกษาจะสามารถเลือกเรียนรายวิชาต่างๆในสาขาวิชาเอกและวิชาโทเป็นวิชาเลือกแล้ว นักศึกษายังสามารถเลือกเรียนวิชาเลือกอื่นๆอีกมากมายหลากหลายวิชา ได้แก่ ภาษาโปรตุเกส ภาษาเกาหลี ภาษาเวียดนาม ภาษาลาว และภาษาเขมร

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต[แก้]

นอกจากการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ยังได้เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตอีก 3 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชา ไทยศึกษา
  • สาขาวิชาภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศ

หลักสูตรการศึกษา[แก้]


ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (4 ปี) (ศศ.บ)

  • วิชาเอกภาษาอังกฤษ
  • วิชาเอกภาษาไทย
  • วิชาเอกภาษาตะวันตก (ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน และภาษารัสเซีย)
  • วิชาเอกปรัชญาและศาสนา
  • วิชาเอกประวัติศาสตร์
  • วิชาเอกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • วิชาเอกสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • วิชาเอกภาษาจีน
  • วิชาเอกประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว
  • วิชาเอกภาษาญี่ปุ่น
  • วิชาภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศ
  • สาขาวิชาไทยศึกษา

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]