คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Faculty of Economics, Ramkhamhaeng University | |
![]() | |
คณบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธัญญารัตน์ ทองพาศน์ |
---|---|
ที่อยู่ | คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 |
สี | สีม่วง |
เว็บไซต์ | คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อังกฤษ: Faculty of Economics, Ramkhamhaeng University) เป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรด้านวิชาเศรษฐศาสตร์[1][2] โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่พ.ศ. 2516 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน[3]
ประวัติ
[แก้]คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เกิดขึ้นโดยในปี พ.ศ. 2514 เมื่อมีการสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะเศรษฐศาสตร์มีฐานะเป็นภาควิชาหนึ่งในสังกัดคณะบริหารธุรกิจ ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นคณะในปี พ.ศ. 2516 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีประกาศ ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2516 โดยมีอาคาร BB เป็นที่ทำการชั่วคราว ซึ่งเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น และใช้จัดแสดงสินค้านานาชาติของกรมพาณิชย์สัมพันธ์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งอาคารสำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล) ในปี พ.ศ. 2518 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นคณะเศรษฐศาสตร์อย่างเป็นทางการ และในปี พ.ศ. 2519 ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ อาคารคณะเศรษฐศาสตร์ 1 (ECB 1) ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีต 5 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยทั้งสิ้น 4,707.6 ตารางเมตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ได้มีประกาศทบวงมหาวิทยาลัย ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ให้แบ่งส่วนราชการคณะเศรษฐศาสตร์ เป็นหน่วยงานระดับภาควิชา 10 ภาควิชา ได้แก่
- ภาควิชาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การคลัง
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณ
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร
- ภาควิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์
และมีหน่วยงานสนับสนุน 1 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขานุการคณะ เนื่องจากภาระหน้าที่ทางด้านการจัดการเรียนการสอนมีเพิ่มขึ้นทำให้สถานที่คับแคบลง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2540 จึงได้ขอตั้งงบประมาณสร้างอาคารใหม่เพิ่มขึ้นอีก 1 อาคาร คือ อาคารคณะเศรษฐศาสตร์ 2 (ECB 2) ซึ่งเป็นอาคาร 8 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอยภายในที่ตั้งอาคารทั้งสิ้น 8,824 ตารางเมตร ประกอบด้วยสำนักงานคณบดี ห้องพักอาจารย์ สำนักงานเลขานุการคณะสำนักงานบัณฑิตศึกษา ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์วิจัย ห้องสมุด ห้องประชุมขนาด 250 ที่นั่ง ห้องสัมมนาย่อย ห้องบรรยายขนาดกลางและเล็ก ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างคณะเศรษฐศาสตร์ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 โดยยกเลิกการแบ่งภาควิชา และให้แบ่งส่วนราชการคณะเศรษฐศาสตร์เป็นกลุ่มวิชาจำนวน 6 กลุ่ม วิชา คือ
- กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีและเชิงปริมาณ
- กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและอุตสาหกรรม
- กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินและการบริหารความเสี่ยง
- กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์การคลังและการพัฒนา
- กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศและโลกาภิวัตน์ศึกษา
- กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร
เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของคณะเศรษฐศาสตร์ที่ปรับปรุงให้มีความทันสมัย เป็นที่สนใจของผู้เรียน พัฒนาทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์รอบด้านทั้งในเรื่องเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมไปถึงการแข่งขันในการให้บริการทางวิชาการ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตรงต่อความความต้องการทรัพยากรบุคคลในตลาดแรงงาน [4]
รายนามคณบดีตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน
[แก้]- นายอัมพร วิจิตรพันธ์ พ.ศ. 2515-2521
- นายธรรมนูญ โสมารัตน์ พ.ศ. 2522-2526
- นายปัญญา อุดมระติ พ.ศ. 2526-2528
- นายพรชัย พัฒนบัณฑิต พ.ศ. 2528-2532
- นางสาวสมจินตนา สีวาลี พ.ศ. 2532-2535
- นายถวิล นิลใบ พ.ศ. 2536-2540
- นายวันชัย ริมวิทยากร พ.ศ. 2536-2540
- นายวิรัช ธเนศวร พ.ศ. 2544-2548
- นายวิรัช ธเนศวร พ.ศ. 2550-2554
- นายจรินทร์ เจริญศรีวัฒนกุล พ.ศ. 2555-2557
- รองศาสตราจารย์บุญธรรม ราชรักษ์ พ.ศ. 2557-2562
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธัญญารัตน์ ทองพาศน์ ดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบัน
หลักสูตร
[แก้]ปริญญาตรี
[แก้]
|
ปริญญาโท
[แก้]- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต
ปริญญาเอก
[แก้]- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์)
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]หมวดหมู่:บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม : อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, อดีตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ, อดีตประธานคณะกรรมการนโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS)
- ไกรฤกษ์ นานา : นักประวัติศาสตร์, นักโบราณคดี, นักเขียน, คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ศิลปะวัฒนธรรมของมติชน, มีความเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ยุโรป-ประวัติผู้นำยุโรปและนโยบายการเมืองระหว่างประเทศ รวมถึงพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในยุคสมัยจักรวรรดินิยมต่อราชอาณาจักรสยามและประเทศเพื่อนบ้าน ในรัชกาลที่ 4-8
- ขัตติยะ สวัสดิผล : กรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร), สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(แบบบัญชีรายชื่อ), อดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย, อดีตรองโฆษกพรรคไทยรักษาชาติ, อดีตหัวหน้าพรรคขัตติยะธรรม, อดีตวิทยากรกับนักวิเคราะห์ทางวอยซ์ทีวี
- รองศาสตราจารย์ คิม ไชยแสนสุข : อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ. 2550 — พ.ศ. 2554), อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- จิรศักดิ์ ปานพุ่ม : นักร้อง, นักดนตรี, โปรดิวเซอร์เพลง
- ชรัส เฟื่องอารมย์ : นักร้อง, อดีตพนักงานธนาคารกรุงเทพ สาขาลุมพินี
- นิพนธ์ บุญญามณี : ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมฮกเกี้ยนสงขลา, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ในรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา), อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 8 สมัย
- ปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล : ประธานกรรมการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน), ประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย, ประธานวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย, ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย และดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารองค์กรการกีฬาหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC), ประธานคณะกรรมาธิการด้านวัฒนธรรมและมรดกโอลิมปิกของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC), ประธานคณะกรรมการด้านวัฒนธรรมแห่งสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA), ประธานสหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF), กรรมการสภาบริหารสมาคมคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งชาติ (ANOC), นายกสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, ที่ปรึกษาในคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33
- พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล) : ประธานพระครูพราหมณ์คนปัจจุบัน, หัวหน้าพราหมณ์ สังกัดกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง, ประธานคณะพราหมณ์ทำหน้าที่ดูแลองค์การศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อันได้แก่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ สมาคมฮินดูสมาช และสมาคมฮินดูธรรมสภา
- รองศาสตราจารย์ ศุภัช ศุภชลาศัย : คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรรมการในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2547), กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2555)
- ศาสตราจารย์ สุชาติ ธาดาธำรงเวช : อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ, อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการ, อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สุรพร ดนัยตั้งตระกูล : อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ในรัฐบาลชวลิต ยงใจยุทธ), อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด, อดีตกรรมการบริหาร พรรคพลังประชารัฐ
- สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ : อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์
- อาณัฐชัย รัตตกุล : ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายสาธารณะและการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ผู้ที่สนับสนุนด้านความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เกาหลี, ผู้สนับสนุนกีฬาเทควันโด จนก่อตั้งเป็นสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย และได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม ฯ เป็นคนแรก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-17. สืบค้นเมื่อ 2010-07-03.
- ↑ "การจัดการความรู้ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-29. สืบค้นเมื่อ 2010-07-03.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อประวัติ
- ↑ ประวัติคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ↑ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลักสูตรปรับปรุงพุทธศักราช 2560 (สำหรับนักศึกษาส่วนกลาง รหัสนักศึกษาขึ้นต้นด้วย 60 เป็นต้นไป)
- ↑ [https://www.ru.ac.th/th/Center_study_plan/11/1453264486_10_%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C_59.pdf หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2555 (สำหรับนักศึกษาส่วนกลาง รหัสนักศึกษาขึ้นต้นด้วย 55-59)]
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เก็บถาวร 2010-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เศรษฐศาสตร์บัณฑิต ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เก็บถาวร 2010-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต ภูมิภาค มหาวิทยาลัยรามคำแหง เก็บถาวร 2010-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โครงการพิเศษ สาขาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหาร หลักสูตรเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต[ลิงก์เสีย]