คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยนครพนม
Faculty of Industrial Technology, Nakhonphanom University
ชื่อเดิมวิทยาลัยเทคนิคนครพนม
สถาปนาพ.ศ. 2480; 87 ปีที่แล้ว (2480)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.คำรณ สิระธนกุล
ที่อยู่
ที่ตั้ง 214 หมู่ 12 ตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000
ไทย ประเทศไทย
วารสารวารสารคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สี  สีน้ำเงิน
สถานปฏิบัติพื้นที่เขตกลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
เว็บไซต์www.itech.npu.ac.th

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม (อังกฤษ: Faculty of Industrial Technology, Nakhonphanom University) เดิมชื่อวิทยาลัยเทคนิคนครพนม เป็นคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยนครพนม

ประวัติวิทยาลัย[แก้]

"คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม" ประกาศจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2480ในนามโรงเรียนช่างไม้นครพนม พ.ศ. 2503 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการช่างนครพนม ผลิตช่างฝีมือในโครงการ สปอ. พ.ศ. 2519 ยกฐานะเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษานครพนม (วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519) และเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเทคนิคนครพนม เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2522 มีเนื้อที่ทั้งหมด 506 ไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร

พ.ศ. 2480 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งในนาม “โรงเรียนช่างไม้นครพนม” (น.พ.3) เปิดสอนช่างไม้ระดับชั้นประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้นหลักสูตร 3 ปี โดยรับผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

พ.ศ. 2486 เปิดสอนหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนกช่างไม้ปลูกสร้างหลักสูตร 3 ปี โดยรับจากผู้จบ ม.6

พ.ศ. 2499 เปิดสอนหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษาตอนปลาย แผนกช่างไม้ปลูกสร้างหลักสูตร 3 ปี โดยรับจากผู้จบ ม.6

พ.ศ. 2503 เปลี่ยนชื่อจาก “โรงเรียนช่างไม้นครพนม” เป็น “โรงเรียนการช่างนครพนม”เพื่อผลิตช่างฝีมือระดับกลางตามโครงการ ส.ป.อ. เปิดสอน 3 แผนกคือ

แผนกวิชาช่างก่อสร้าง

แผนกวิชาช่างกลโรงงาน

แผนกวิชาช่างเชื่อมและโลหะแผ่น

พ.ศ. 2506 เปิดเพิ่มอีก 1 แผนก คือ แผนกวิชาช่างเครื่องยนต์และดีเซล

พ.ศ. 2515 เปิดสอนแผนกวิชาช่างวิทยุและโทรคมนาคม

พ.ศ. 2519 ยกฐานะเป็น “วิทยาลัยอาชีวศึกษานครพนม” เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519 โดยเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างก่อสร้าง

พ.ศ. 2521 เปิดสอนแผนกวิชาช่างไฟฟ้า

พ.ศ. 2522 ได้เปลี่ยนชื่อจาก “วิทยาลัยอาชีวศึกษานครพนม” เป็น “วิทยาลัยเทคนิคนครพนม” เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2522 เปิดสอนแผนกวิชาคหกรรมศาสตร์, แผนกวิชาพานิชยการ และทำการย้ายสถานที่ไปเปิดสอน ณ สถานที่ตั้งใหม่ อยู่ถนนสายนครพนม-สกลนคร บ.ภูเขาทอง อ.เมือง จ.นครพนม เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาคหกรรมทั่วไป

พ.ศ. 2528 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์

พ.ศ. 2532 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างไฟฟ้าและแผนกวิชาการตลาด

พ.ศ. 2533 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาการบัญชี

พ.ศ. 2536 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

พ.ศ. 2539 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) DVT. แผนกวิชาการตลาด สาขาวิชาค้าปลีก

พ.ศ. 2540 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) DVT. แผนกวิชาคอมพิวเตอร์, แผนกวิชาเลขานุการและแผนกวิชาคหกรรมธุรกิจ, เปิดสอนระดับประกาศนีย-บัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาเลขานุการและแผนกวิชาการบัญชี (ม.6) ตามนโยบายของสุขวิช รังสิตพลรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น

พ.ศ. 2541 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) DVT. แผนกวิชาช่างยนต์, เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างยนต์, แผนกวิชาช่างเทคนิคการผลิต, แผนกวิชาการติดตั้งและควบคุม, แผนกวิชาเครื่องเย็นและปรับอากาศ, แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป, แผนกวิชาการก่อสร้าง, แผนกวิชาการตลาดและแผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

พ.ศ. 2542 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) DVT. แผนกวิชาเลขานุการ, เปิดสอนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) DVT. แผนกวิชาช่างยนต์, แผนกวิชาการบัญชี, แผนกวิชาคอมพิวเตอร์,แผนกวิชาคหกรรม สาขาธุรกิจและการโรงแรม

พ.ศ. 2543 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) DVT. แผนกวิชาการติดตั้งและควบคุม, แผนกวิชาการก่อสร้าง, แผนกวิชาการบัญชี, แผนกวิชาคอมพิวเตอร์, แผนกวิชาคหกรรม ,แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์, แผนกวิชาช่างยนต์ สาขาเครื่องกลการเกษตร, แผนกวิชาช่างเชื่อม, แผนกวิชาช่างไฟฟ้า, และแผนกวิชาการขายและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส. ม.6) แผนกวิชาเทคนิคโลหะ, แผนกวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม และแผนกวิชาคหกรรมธุรกิจ

พ.ศ. 2545 เปลี่ยนโครงสร้างเป็นสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2547 เปิดสอนแผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับ ปวช. และ ระดับ ปวส.

พ.ศ. 2548 วิทยาลัยเทคนิคนครพนม ได้ยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยนครพนม ตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนครพนม เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2548

พ.ศ. 2550 เปิดสอนหลักสูตร ระดับ ปริญญาตรี หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิตสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (อสบ.)

พ.ศ. 2552 เปิดสอนหลักสูตร ระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์, เปิดสอนหลักสูตร ระดับปริญญาตรี 2 ปี ต่อเนื่อง, สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2553 เปิดสอนหลักสูตร ระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและสาขาวิศวกรรมโยธา (ปัจจุบันแยกเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว)

พ.ศ. 2558 เปิดสอนหลักสูตร ระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (ปัจจุบันแยกเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว)

ข้อมูลอาคารสถานที่[แก้]

อาคารสถานที่ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลำดับ อาคาร จำนวน หน่วย หมายเหตุ
1 อาคารอำนวยการ 1 หลัง
2 อาคารเรียน 5 หลัง
3 อาคารห้องสมุด 1 หลัง
4 อาคารโรงอาหาร 1 หลัง
5 อาคารโรงฝึกงาน 6 หลัง
6 อาคารบ้านพักครู อาจารย์นักการภารโรง 18 หลัง
7 สนามกอล์ฟมาตรฐานขนาด 9 หลุม 1 สนาม
8 สนามไดร์กอล์ฟ 1 หลัง
9 อ่างเก็บน้ำ 5 อ่าง
10 สนามฟุตบอล 2 สนาม
11 สนามบาสเก็ตบอล 2 สนาม
12 สนามเทนนิส 2 สนาม
13 อาคารโรงยิม 1 หลัง
14 โรงจอดรถ 2 หลัง

หลักสูตร[แก้]

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม[1]
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรอุสาหกรรม (ปวช.)

  • สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานยานยนต์
  • สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง สาขางานเครื่องมือกล
  • สาขาวิชาโลหะการ สาขางานเชื่อมโลหะ
  • สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขางานไฟฟ้ากำลัง
  • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาการก่อสร้าง สาขางานก่อสร้าง
  • สาขาวิชาการก่อสร้าง สาขางานสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาช่างยนต์ สาขางานยานยนต์
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สาขางานสถาปัตยกรรม

หลักสูตรพาณิชยกรรม (ปวช.)

  • สาขาวิชาการบัญชี สาขางานการบัญชี
  • สาขาวิชาการขาย สาขางานการตลาด
  • สาขาวิชาการเลขานุการ สาขางานการเลขานุการ
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน สาขางานการจัดการสำนักงาน

หลักสูตรคหกรรม (ปวช.)

  • สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขางานธุรกิจคหกรรม

หลักสูตรการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ (ปวช.)

  • สาขาวิชาการโรงแรม สาขางานการโรงแรม

หลักสูตรอุสาหกรรม (ปวส.)

  • สาขาวิชาเครื่องกล เครื่องกลอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขางานเครื่องมือกล
  • สาขาวิชาเทคนิคโลหะ สาขางานเทคนิคการเชื่อมอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเครื่องกล เทคนิคยานยนต์
  • สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขางานติดตั้งไฟฟ้า
  • สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขางานเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
  • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาการก่อสร้าง สาขางานเทคนิคการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม สาขางานเทคนิคสถาปัตยกรรม

หลักสูตรบริหารธุรกิจ (ปวส.)

  • สาขาวิชาการบัญชี สาขางานการบัญชี
  • สาขาวิชาการตลาด สาขางานการตลาด
  • สาขาวิชาการเลขานุการ สาขางานเลขานุการ
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

หลักสูตรคหกรรม (ปวส.)

  • สาขาวิชาการบริหารงานคหกรรมศาสตร์ สาขางานธุรกิจคหกรรม

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ
  • สาขาวิชาหุ่นยนต์อัตฉริยะ


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]