ยศ อินทรโกมาลย์สุต
ยศ อินทรโกมาลย์สุต | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2524 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เสียชีวิต | 27 มกราคม พ.ศ. 2529 |
ศาสนา | พุทธ |
นายยศ อินทรโกมาลย์สุต เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 5 สมัย
ยศ อินทรโกมาลย์สุต มีบุตรชายเป็นนักการเมืองคนหนึ่งคือ มานะศักดิ์ อินทรโกมาลย์สุต อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร และมีหลานชายคือ ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต อดีต ส.ส.
การทำงาน
[แก้]ยศ อินทรโกมาลย์สุต ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สมัยแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ได้รับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา[1] ต่อจากนั้นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ในนามพรรคสหประชาไทย ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัย ในนามพรรคกิจสังคม ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522
ยศ อินทรโกมาลย์สุต เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม[2][3] ในปี พ.ศ. 2500 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในปี พ.ศ. 2523[4][5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 42 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-27. สืบค้นเมื่อ 2015-09-09.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓