อุตตม สาวนายน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุตตม สาวนายน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563[1]
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
ถัดไปปรีดี ดาวฉาย
หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2561 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ก่อนหน้าก่อตั้งพรรคการเมือง
ถัดไปประวิตร วงษ์สุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 29 มกราคม พ.ศ. 2562
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอรรชกา สีบุญเรือง
ถัดไปสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำรงตำแหน่ง
19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 12 กันยายน พ.ศ. 2559
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าพรชัย รุจิประภา
ถัดไปประจิน จั่นตอง (รักษาการแทน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 (63 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2561–2563, 2566–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
สร้างอนาคตไทย (2565–2566)
คู่สมรสอิชยา สาวนายน
ศิษย์เก่า
วิชาชีพ
  • นักธุรกิจ
  • อาจารย์
  • นักการเมือง

อุตตม สาวนายน (เกิด 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2503) เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[2] หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ประวัติ[แก้]

อุตตม สาวนายน เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2503 เป็นบุตรของนายเล็ก กับนางยาหยี สาวนายน[3] จบประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นจาก โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกา ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (การเงินและธุรกิจระหว่างประเทศ) Kellogg School of Management, มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา ปริญญาเอก สาขาบริหารการเงิน School of Management, University of Massachusetts Amherst สหรัฐอเมริกา

ด้านครอบครัว สมรสกับ นางอิชยา สาวนายน โดยไม่มีบุตร-ธิดา

การทำงาน[แก้]

อุตตม เป็นผู้บริหารสถาบันการเงินเอกชน ต่อมาทำงานเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เคยเป็นรองคณบดี ฝ่ายวิชาการและอาจารย์ประจำสาขาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในเดือนมิถุนายน 2558 อุตตม เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) และผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[5] แต่ได้ยื่นหนังสือลาออกเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559[6] เพื่อให้มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นกระทรวงที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ ภายหลังจากการยื่นลาออกได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[7]

ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[7] ต่อมาเขาได้ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ[8] รวมทั้งได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีในเวลาต่อมา[9]

ในปี 2565 เขาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย[10] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เขาและนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ได้ย้ายกลับไปร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 2563-07-30. สืบค้นเมื่อ 2563-07-30. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "เปิดเผยรายการทรัพย์สินและหนี้สิน นายอุตตม สาวนายน" (PDF). สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. 29 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. "ทีมเจรจา FTA ส่อเค้าแพแตก รับหัวหน้าใหม่". สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. 29 เมษายน 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-21. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี". ราชกิจจานุเบกษา. 20 สิงหาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก". ราชกิจจานุเบกษา. 14 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 "ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี". ราชกิจจานุเบกษา. 16 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. พลังประชารัฐ : กลุ่ม "4 กุมาร" ลาออกจากสมาชิก พปชร. แต่ยังไม่ทิ้งเก้าอี้ รมต. ไม่คิดตั้งพรรคใหม่
  9. ปรับ ครม. ประยุทธ์ 2/2 : สมคิด กับ “4 กุมาร” อ้าง “จากกันด้วยดี” หลังยื่นใบลาออกจาก ครม. มีผลทันที 16 ก.ค.
  10. พรรคสร้างอนาคตไทย: อุตตมเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ประกาศดึงสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นแคนดิเดตนายกฯ
  11. "บิ๊กปัอม" เปิดตัว "อุตตม-สนธิรัตน์-พล.อ.วิชญ์" กลับพลังประชารัฐ วางตัวช่วยด้านเศรษฐกิจ
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่พิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๑๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า อุตตม สาวนายน ถัดไป
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(10 กรกฎาคม 2562 – 15 กรกฎาคม 2563)
ปรีดี ดาวฉาย
อรรชกา สีบุญเรือง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
(16 ธันวาคม 2559 – 29 มกราคม 2562)
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
พรชัย รุจิประภา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(19 สิงหาคม 2558 – 12 กันยายน 2559)
พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง (รักษาการแทน)