โรงเรียนอำนาจเจริญ
โรงเรียนอำนาจเจริญ Amnatcharoen School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ถนนชยางกูร ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
โทรศัพท์ 0 4551 1959 โทรสาร 0 4551 1960 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | อ.จ. / A.N.C. |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สหศึกษา |
คำขวัญ | สิกขา ชีวิต โชตนา (การศึกษาทำให้ชีวิตรุ่งโรจน์) |
สถาปนา | วันที่ 12 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2494 (73 ปี 236 วัน) |
โรงเรียนพี่น้อง | โรงเรียนอำนาจเจริญพิทยาคม |
หน่วยงานทางการศึกษา | กระทรวงศึกษาธิการ |
ผู้อำนวยการ | นายนิยม รักพรม |
รหัส | 1037750262 |
การลงทะเบียน | 3,570 คน |
ชั้นเรียนที่เปิดสอน | มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน |
สี | ฟ้า เหลือง |
เพลง | มาร์ชอำนาจเจริญ , ศรีฟ้า-เหลือง |
เว็บไซต์ | http://www.anc.ac.th/ |
โรงเรียนอำนาจเจริญ (อังกฤษ: Amnatcharoen School) เป็นโรงเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา และเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดอำนาจเจริญโดยพฤตินัยหลังจากการจัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญเมื่อปี พ.ศ. 2536 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 29 (อุบลราชธานี - อำนาจเจริญ) กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ นอกจากนี้ โรงเรียนอำนาจเจริญ ยังเป็น 1 ในโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School : WCSS) อีกด้วย
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนอำนาจเจริญ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2494 ตามหนังสือของจังหวัดที่ 5858/2494 เปิดทำการสอนระดับ ม.1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 40 คน เปิดทำการสอนที่โรงเรียนบุ่งชาญวิทยา ปัจจุบันคือ โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ มีครูทำการสอนเพียง 1 คน คือ นายเปลี่ยน อุปริวงศ์ ปี พ.ศ. 2495 โรงเรียนอำนาจเจริญ ได้ย้ายจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยาไปทำการสอนที่วัดสำราญนิเวศ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ และในปี พ.ศ. 2497 ได้ย้ายกลับไปทำการสอนที่โรงเรียนบุ่งชาญวิทยาตามเดิม ปี พ.ศ. 2500 ได้ย้ายจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยาไปเปิดทำการสอนที่โรงเรียนอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนอำนาจเจริญในปัจจุบัน โรงเรียนอำนาจเจริญ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 67 ไร่ 1 งาน 63 ตารางวา ตั้งอยู่ เลขที่ 277 หมู่ที่ 13 ถนนชยางกูร ต.บุ่ง อ.เมืองอำนาจเจริญ จ. อำนาจเจริญ 37000 โดยมี โรงเรียนอำนาจเจริญพิทยาคม หรือ โรงเรียนอำนาจเจริญ 2 เป็นโรงเรียนในเครือข่ายสาขาแรก[1]
-
บริเวณอาคารเรียนหลังที่ 5
-
บริเวณอาคารเรียนหลังที่ 2
-
ทางเดินบริเวณอาคารเรียนหลังที่ 2
โรงเรียนอำนาจเจริญ สามารถเรียงไทม์ไลน์การพัฒนาของโรงเรียน โดยแบ่งออกตามพุทธศักราชได้ดังนี้
- พ.ศ. 2494 จัดตั้งและเปิดสอนในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2494 โดยใช้โรงเรียนบุ่งชาญวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา เปิดทำการสอน ชั้น ม.1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 40 คน ครู 3 คน
- พ.ศ. 2495 ย้ายจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยา ไปเรียนที่ศาลาวัดสำราญนิเวศน์ เนื่องจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยา รื้ออาคารเพื่อปลูกสร้างอาคารใหม่ เปิดทำการสอนระดับ ม.1 ม.2 รวม 2 ห้องเรียน นักเรียนทั้งหมด 77 คน ครู 5 คน นายเพียร จันทาป รักษาการแทนครูใหญ่
- พ.ศ. 2496 เปิดทำการสอน ชั้น ม.1 ม.2 และ ม.3 นักเรียน 120 คน ครู 6 คน
- พ.ศ. 2497 ย้ายจากวัดสำราญนิเวศน์ ไปเรียนที่โรงเรียนบุ่งชาญวิทยาเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 นายสุจริต จันทกาญจน์ รักษาแทนครูใหญ่
- พ.ศ. 2499 เปิดทำการสอน 4 ห้องเรียน คือ ม.1 – ม.4 จำนวนนักเรียน 179 คน ครู 9 คน นายสุจริต จันทกาญจน์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่ คนแรก ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนไม้ 2 ชั้น 1 หลัง บ้านพักครู 2 หลัง สร้างที่สนามม้า ซึ่งเป็นที่ปัจจุบัน
- พ.ศ. 2500 ย้ายจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยา มาเรียนที่อาคารใหม่ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2500 ครู 9 คน สร้างห้องน้ำ 2 หลัง
- พ.ศ. 2501 เปิดทำการสอน ม.1 – ม.6 จำนวน 6 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 272 คน ครู 13 คน
- พ.ศ. 2504 เปิดสอน 6 ห้องเรียน ครู 15 คน สร้างโรงอาหาร 1 หลัง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2504
- พ.ศ. 2506 เปิดทำการสอน ม.ศ.1 –ม.ศ 3 จำนวน 6 ห้องเรียน ครู 15 คน ภารโรง 2 คน
- พ.ศ. 2508 เปิดทำการสอน ม.ศ.1- ม.ศ.3 8 ห้องเรียน สร้างโรงฝึกงาน1 หลัง และใช้เงิน บกศ. สร้างลวดหนาม
- พ.ศ. 2510 เปิดสอน 9 ห้องเรียน ม.ศ.1 – ม.ศ.3 นักเรียน 314 คน ครู 14 คน ภารโรง 3 คน สร้างบ้านพักครู 1 หลัง
- พ.ศ. 2512 สร้างรั้วประตู ได้รับงบประมาณ 240,000 บาท สร้างอาคารไม้ สร้างหอประชุม
- พ.ศ. 2513 เปิดสอน ม.ศ.1 – ม.ศ.3 12 ห้องเรียน ครู 22 คน สร้างส้วม 3 หลัง และงบประมาณ 70,000 บาท สร้างอาคารคหกรรม
- พ.ศ. 2514 สร้างบ้านพักครู 2 หลัง
- พ.ศ. 2515 สร้างบ้านพักครู 2 หลัง สร้างบ้านพักภารโรง 1 หลัง สร้างส้วม 1 หลัง
- พ.ศ. 2517 ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนแบบ 216 จำนวน 6 ห้องเรียน
- พ.ศ. 2518 ได้รับอนุญาต ให้เปิดทำการสอนระดับ ม.ปลาย จำนวน 2 ห้องเรียน สร้างส้วม 2 หลัง สร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง โดยผู้ปกครองนักเรียนให้การช่วยเหลือ เปิดสอนม.ศ.4 หลักสูตร 2518
- พ.ศ. 2519 ได้รับงบประมาณ สร้างบ้านพักครู 1 หลัง บ้านพักภารโรง 1 หลัง และสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก. 1 หลัง
- พ.ศ. 2521 เปิดสอนชั้น ม.ศ.1 – ม.ศ.5 จำนวน 46 ห้องเรียน นักเรียน 1,836 คน ครู 98 คน นายสุจริต จันทกาญจน์ ย้ายไปรักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมตระการพืชผล นายณรงค์ ไชยกาล ย้ายจากโรงเรียนกันทรารมย์ มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอำนาจเจริญ สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 10 ห้องเรียน และต่อเติมอาคารเรียนแบบ 216 ก. จำนวน 8 ห้องเรียน
- พ.ศ. 2522 การจัดห้องเรียน 8-8-1-1-9-0 ชั้น ม.1 – ม4 สอนตามหลักสูตร พ.ศ. 2521 ม.ศ.4 –ม.ศ.5 สอนตามหลักสูตร 2518 มีห้องเรียน 8ห้องเรียน นักเรียน 2,247 คน ครู 114 คน นายเกษม คำทวี ย้ายจากโรงเรียนกันทรารมย์ มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอำนาจเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนเดชอุดม เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2524 วันที่ 1 ตุลาคม 2524 นายเกษม คำทวี ได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่โรงเรียนเบญจะมะหาราช จังหวัดได้แต่งตั้งให้นายเปลี่ยน อุปริวงศ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการชั่วคราว จนถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2524 นายสมพงษ์ โลมะรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมะมหาราชได้มารักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนอำนาจเจริญ เป็นการชั่วคราว
- พ.ศ. 2526 เปิดสอนระดับ ม.1 – ม.6 การจัดชั้นเรียน 8-8-8/12-10-9 จำนวนนักเรียน 2552 คน ครู 124 คน ภารโรง 12 คน นายมนู ส่งเสริม ได้ย้ายมารักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
- พ.ศ. 2527 เปิดสอนระดับ ม.1 – ม.6 การจัดแผนการเรียน 8-8-8/12-12-10 ครู 140 คน นักการภารโรง 12 คน ยาม 1 คน
- พ.ศ. 2528 เปิดสอนตั้งแต่ ม.1 – ม. 6 จัดแผนการเรียน 8-8-8/12-12-12 นักเรียน 2,818 คน ครู 132 คน
- พ.ศ. 2529 เปิดสอน ม.1 – ม.6 การจัดแผนการเรียน 8-8-8/12-12-12 นักเรียน 2,678 คน ครู 133 คน ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอุตสาหกรรม
- พ.ศ. 2530 เปิดสอน ม.1 – ม.6 การจัดแผนการเรียน 8-8-8/12-11-12 ครู 134 คน ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง และสร้าง 1 หลัง
- พ.ศ. 2532 เปิดสอน ม.1 – ม.6 การจัดแผนการเรียน 8-8-8/12-12-12 ครู 137 คนนักเรียน 2,331คน วันที่ 31 ตุลาคม 2532 นายเจริญ ช่วงชิง ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง โรงเรียนอำนาจเจริญ นายมนู ส่งเสริม ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเดชอุดม ในวันที่ 31 ตุลาคม 2532
- ปีการศึกษา 2533 โรงเรียนอำนาจเจริญ ได้รับการกำหนดให้เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาหลักสูตรการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ร่วมกับ 550 โรงเรียนทั่วประเทศ
ปีงบประมาณ 2533 โรงเรียนได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษา ให้เปิดรับนักเรียนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามแผนการจัดชั้นเรียน10-8-8/10-8-12 รวม 56 ห้องเรียน นักเรียน 2,249 คน ครู –อาจารย์ 135 คน นักการภารโรง 14 คน ยาม 3 คน
- ปีการศึกษา 2534 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดโรงเรียนสาขาที่ตำบลนาวัง มีนักเรียน ม.1 จำนวน 61 คน และได้อาศัยอาคารเก่าในโรงเรียนบ้านโคกช้างฮ้าย เป็นที่เรียนชั่วคราว
- ปีการศึกษา 2535 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดโรงเรียนสาขาเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง คือ โรงเรียนอำนาจเจริญ สาขาตำบลนาจิก 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 62 คน และสาขาตำบลสร้างนกทา 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 46 คน
- ปีการศึกษา 2536 โรงเรียนอำนาจเจริญมีนักเรียนทั้งสิ้น 2,509 คน นักเรียนโรงเรียนอำนาจเจริญ สาขาตำบลนาวัง 192 คน สาขาตำบลนาจิก 142 คน และสาขาตำบลสร้างนกทา 126 คน
- ปีการศึกษา 2537 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดโรงเรียนสาขาตำบลบุ่ง เพื่อเตรียมจัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดอำนาจเจริญแห่งที่ 2 รับนักเรียน ม.1 ได้ 2 ห้องเรียน โรงเรียนสาขาตำบลนาวังได้รับประกาศจัดตั้งเป็นเอกเทศชื่อโรงเรียนนาวังวิทยา
- ปีการศึกษา 2538 มีนักเรียนทั้งสิ้น 2,509 คน (13-12-12/12-10-9) สาขาตำบลบุ่ง 217 คน (3-2-0) สาขาตำบลสร้างนกทา 187 คน (2-2-2) สาขาตำบลนาจิก ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นเอกเทศชื่อ โรงเรียนนาจิกพิทยาคม
- ปีการศึกษา 2539 มีแผนชั้นเรียน 12-13-12/13-12-10 สาขาตำบลบุ่ง 3-3-2 สาขาตำบลสร้างนกทา 2-2-2 และได้รับงบประมาณก่อสร้างห้องน้ำ ห้องส้วมนักเรียน จำนวน 1 หลัง
- ปีการศึกษา 2540 มีแผนชั้นเรียน 14-12-13/14-13-12 สาขาตำบลบุ่ง 3-3-2 สาขาตำบลสร้างนกทา 3-2-2 ได้ย้ายนักเรียนสาขาตำบลบุ่งไปเรียนที่บ้านดอนหวายตาใกล้ โดยก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 2 หลัง
- ปีการศึกษา 2541 มีแผนชั้นเรียน 14-14-12/14-14-13 สาขาตำบลบุ่ง และสาขาตำบลสร้างนกทา ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นเอกเทศชื่อ โรงเรียนอำนาจเจริญ 2 และโรงเรียนสร้างนกทาวิทยาคม
- ปีการศึกษา 2542-2547 โรงเรียนสามารถรับนักเรียนให้เป็นไปตามแผนการจัดชั้นเรียนที่กรมอนุมัติทุกประการ แผนจัดชั้นเรียนเต็มรูป คือ 12-12-12/14-14-14 รวม 78 ห้องเรียน
- วันที่ 5 ธ.ค. 2543 รับมอบพระพุทธรูปพร้อมฐานไว้ประจำโรงเรียน
- 12 มิถุนายน 2544 โรงเรียนได้ประกอบพิธีเปิดอาคาร 5 อาคาร 32ล/41 หลังคาทรงไทยมูลค่า 19 ล้านเศษ และรับมอบโรงอาหารตามโครงการ "ธนาคารน้ำใจ" จาก 5 องค์กรหลัก
- 14 กุมภาพันธ์ 2545 โรงเรียนได้รับบริจาคที่ดินแปลงที่ 2 จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 15 ตารางวา เพื่อสร้างสนามกีฬา และรับมอบสนามกีฬาจากกรมพลศึกษา
- 12 เมษายน 2545 โรงเรียนได้รับมอบศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยได้รับวัสดุฉางข้าวจาก ร.พ.ช. และค่าก่อสร้างจากชุมชน
- 1 มกราคม 2546 พิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ โดยปรับปรุงจากโครงสร้างเดิมของโรงอาหาร
- ปีการศึกษา 2546 มีแผนชั้นเรียนเป็น 12-11-11/14-14-14 รวม 76 ห้องเรียน
- ปีการศึกษา 2547 ปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้ให้เป็นห้องสมุด ICT
- ปีการศึกษา 2548 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก บริษัท เกียรติสุรนนท์ จำกัด ในการก่อสร้างอาคาร ICT จำนวนเงิน 7 ล้านบาท และโรงเรียนได้ดำเนินการ ปรับปรุงอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องทำงาน ฝ่ายบริหาร ครู อาจารย์ ตามโครงการห้องเรียนน่าอยู่ มีแผนการจัดชั้นเรียน 12-11-11/14-14-14 รวม 76 ห้องเรียน ครูอาจารย์ 124 คน นักเรียน 3,224 คน ลูกจ้างประจำ 14 คน ลูกจ้างชั่วคราว 6 คน
- ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนได้จัดชั้นเรียนเป็น 14-11-11/11-11-11 รวม 69 ห้องเรียน มีนักเรียน 3531 คน ครูอาจารย์ 126 คน นักการภารโรง 14 คน พนักงานและลูกจ้างชั่วคราว 7 คน
- ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนได้จัดชั้นเรียนเป็น 14-14-11/14-11-11 รวม 75 ห้องเรียน มีนักเรียน 3640 คน ครูอาจารย์ 126 คน นักการภารโรง 14 คน พนักงานและลูกจ้างชั่วคราว 7 คน
- ปีการศึกษา 2552 มีแผนเต็มรูป 15-15-15/15-15-14 จำนวน 89 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 4,004 คน ครู 129 คน ครูอัตราจ้าง 11 คน พนักงานราชการ 2 คน ลูกจ้างประจำ 13 คน เจ้าหน้าที่ทำความสะอาดจำนวน 6 คน
- ปีการศึกษา 2553 มีแผนเต็มรูป 15-15-15/15-15-15 จำนวน 90 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 4,138 คน ครู 138 คน ครูอัตราจ้าง 20 คน พนักงานราชการ 2 คน ลูกจ้างประจำ 11 คน ลูกจ้างชั่วคราว (พนักงานขับรถ) 2 คน เจ้าหน้าที่ทำความสะอาดจำนวน 6 คน
- ปีการศึกษา 2554 มีแผนเต็มรูป 15-15-15/16-15-15 จำนวน 91 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 4,295 คน ครู 142 คน ครูอัตราจ้าง 20 คน พนักงานราชการ 2 คน ลูกจ้างประจำ 11 คน ลูกจ้างชั่วคราว (พนักงานขับรถ) 2 คน เจ้าหน้าที่ทำความสะอาดจำนวน 6 คน
- ปีการศึกษา 2559 มีแผนเต็มรูป 15-15-15/16-15-15 จำนวน 91 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 4,267 คน ครู 162 คน ครูอัตราจ้างไทย 28 คน ครูอัตราจ้างต่างชาติ 9 คน ครูงบวิกฤต 2 คน เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัตรการวิทย์ 1 คน พนักงานราชการ 7 คน ลูกจ้างประจำ 24 คน ลูกจ้างชั่วคราว (พนักงานขับรถ) 2 คน เจ้าหน้าที่ทำความสะอาดจำนวน 6 คน
- ปีการศึกษา 2560 มีแผนเต็มรูป 15-15-15/16-15-15 จำนวน 96 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 3,639 คน ครู 183 คน ครูอัตราจ้างไทย 15 คน ครูอัตราจ้างต่างชาติ 10 คน ครูงบวิกฤต 2 คน เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัตรการวิทย์ 1 คน พนักงานราชการ 9 คน ลูกจ้างประจำ 19 คน ลูกจ้างชั่วคราว (พนักงานขับรถ) 2 คน เจ้าหน้าที่ทำความสะอาดจำนวน 6 คน
-
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
-
สีประจำโรงเรียน
- ตราสัญลักษณ์ : ตราประจำโรงเรียนอำนาจเจริญเป็นรูปดอกบัวมีเปลวไฟรอบคบเพลิง มีคำภาษาบาลี สิกขา ชีวิต โชตนา มีความหมายว่า การศึกษาทำให้ชีวิตรุ่งโรจน์
- สีประจำโรงเรียน : "ฟ้า-เหลือง"
- สีฟ้า หมายถึง ความสูงส่ง ความมีเกียรติ
- สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความรุ่งโรจน์
- ปรัชญา: "สิกขา ชีวิต โชตนา" หมายถึง การศึกษาทำให้ชีวิตรุ่งโรจน์
- คติพจน์ : "ความสำนึกในหน้าที่ มีความรับผิดชอบ เป็นสมบัติของลูกอำนาจเจริญ"
- คำขวัญ : "มีคุณธรรม นำวิชา พัฒนาสังคม"
- อัตลักษณ์ : นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม และคำนิยมที่พึงประสงค์ ดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข และสามารถแข่งขันในระดับประเทศและระดับสากล
- เอกลักษณ์ : "ยิ้ม ไหว้ ทักทายตามแนววิถีพุทธ"
บุคคลที่มีชื่อเสียงของทางโรงเรียน/ประเทศ
[แก้]- สมบัติ คุรุพันธ์ กรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย นายกสมาคมแฮนด์บอลแห่งประเทศไทย อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และอดีตอธิบดีกรมพลศึกษา
- พงศกร เมตตาริกานนท์ ดารานักแสดง
- ราชภัทร วรสาร ดารานักแสดง
อันดับ | นาม | วาระดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายเปลี่ยน อุปริวงศ์ | 2494 - 2495 |
2 | นายเพียร จันทาป | 2495 - 2497 |
3 | นายสุจริต จันทกาญจน์ | 2497 – 2515 |
4 | นายจรูญศักดิ์ จำปาวัลย์ | 2515 – 2521 |
5 | นายณรงค์ ไชยกาล | 2521 – 2524 |
6 | นายเกษม คำทวี | 2524 – 2524 |
7 | นายสมพงษ์ โลมะรัตน์ | 2524 – 2525 |
8 | นายมนู ส่งเสริม | 2525 – 2532 |
9 | นายเจริญ ช่วงชิง | 2532 – 2535 |
10 | นายสมพงษ์ โลมะรัตน์ | 2535 - 2541 |
11 | นายรักษา ศรีภา | 2541 – 2543 |
12 | นายพงษ์สวัสดิ์ ลาภบุญเรือง | 2543 – 2543 |
13 | นางจริยา สารการ | 2543 - 2547 |
14 | นายอรุณ ธานี | 2547 - 2548 |
16 | ดร.จักรทิพย์ กีฬา | 2548 - 2557 |
17 | ดร.ไพฑูรย์ ขันแก้ว | 2557 - 2561 |
18 | ว่าที่ร้อยโท วิเศษ แก้วมีศรี | 2561 - 2563 |
19 | นายนิยม รักพรม | 2563 - 2565 |
20 | นายสุกิจ จันทบาล | 2565 - ปัจจุบัน[5] |
- อาคาร 1 เป็นอาคารสูงสามชั้น
- ชั้นที่ 1 ห้องพัสดุ ห้องเก็บพัสดุ ห้องถ่ายเอกสาร ห้องเก็บเอกสาร สหกรณ์ร้านค้า
- ชั้นที่ 2 ประกอบไปด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ห้องเรียนสีเขียว ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
- ชั้นที่ 3 ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
- อาคาร 2 เป็นอาคารสูงสามชั้น
- ชั้นที่ 1 ห้องทะเบียน ห้องวัดผล/ประเมินผล ห้องวิชาการ ห้องธุรการ ห้องประชุมวันทนียกุล
- ชั้นที่ 2 ห้องเรียนพิเศษคอมพิวเตอร์ (ICTP)
- ชั้นที่ 3 ห้องเรียนพิเศษคอมพิวเตอร์ ห้อง DLIT-COM ห้องเรียนวิชาคอมพิวเตอร์
- อาคาร 3 เป็นอาคารสูงสองชั้น
- กำลังก่อสร้างใหม่
- อาคาร 4 เป็นอาคารสูงสามชั้น
- ชั้นที่ 1 ประกอบไปด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
- ชั้นที่ 2 ห้องปฏิบัติการทางเคมี ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ DLIT-วิทยาศาสตร์
- ชั้นที่ 3 ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา ห้องกายภาพ ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์
- อาคาร 5 เป็นอาคารสูงสี่ชั้น
- ชั้นที่ 1 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ห้อง Resource Center ธนาคารโรงเรียนอำนาจเจริญ
- ชั้นที่ 2 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษเตรียมทหาร (Pre-Cadet)
- ชั้นที่ 3 ประกอบไปด้วยกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ห้อง DLIT-คณิตศาสตร์ ห้องประชุมเปลี่ยนอุปริวงศ์ ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
- ชั้นที่ 4 ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
- อาคาร 6 เป็นอาคารสูงสามชั้น
- ชั้นที่ 1 ประกอบไปด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ศูนย์การเรียนรู้สังคมศึกษา กลุ่มกิจการนักเรียน
- ชั้นที่ 2 ห้องเรียนพิเศษนิติศาสตร์-รัฐศาสตร์ ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
- ชั้นที่ 3 ห้องจริยธรรม ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
- อาคาร 7 เป็นอาคารสูงสองชั้น
- ชั้นที่ 1 ห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ MEP (Mini English Program)
- ชั้นที่ 2 ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- อาคาร 8 เป็นอาคารสูงสี่ชั้น
- อาคารศิลปะ ประกอบไปด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- อาคารเกียรติสุรนนท์ เป็นอาคารสูงสองชั้น ประกอบไปด้วยห้องประชุม ห้องโสตทัศนศึกษา และห้องเรียนคอมพิวเตอร์
- อาคารเอนกประสงค์ เป็นที่ตั้งของหอประชุมเอนกประสงค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา
- โดมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 89 พรรษา ตั้งอยู่บริเวณหน้าอาคารเรียนหลังที่ 5
- โรงอาหารหลังที่ 1 เป็นอาคารสูงหนึ่งชั้น
- โรงอาหารธารน้ำใจ 2
- ศาลาตรีมุข
- อาคารประชาสัมพันธ์
- ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
- อาคารอุตสาหกรรม
- อาคารคหกรรม
- อาคารเกษตรกรรม
- ศูนย์วัตนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ
- ห้องพยาบาล
- ศูนย์ To Be Number One
- สำนักงานนักพัฒนา
การรับบุคคลเข้าศึกษา
[แก้]การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีเกณฑ์คัดเลือก ดังนี้
- มัธยมศึกษาปีที่ 1 (มัธยมศึกษาตอนต้น)
- ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าโดยวิธีสอบคัดเลือกโดยใช้ข้อสอบของโรงเรียนที่อยู่ในกรอบเนื้อหาของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเนื้อหาไม่เกินชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใน 5 วิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ ประกาศผลการคัดเลือกเรียงตามลำดับคะแนนรวมใน 5 วิชาหลัก โดยรวมกับคะแนน O-NET
- นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ รับเฉพาะด้านกีฬาและศิลป์
- นักเรียนเงื่อนไขพิเศษ เป็นไปตามข้อกำหนดของโรงเรียนอำนาจเจริญ
- นักเรียนที่จะเข้าห้องเรียนพิเศษ การรับสมัครและเกณฑ์เป็นไปตามข้อกำหนดของทางโรงเรียน
- มัธยมศึกษาปีที่ 4 (มัธยมศึกษาตอนปลาย)
- นักเรียนจากโรงเรียนเดิม (โรงเรียนอำนาจเจริญ) และจากโรงเรียนอื่น ให้สอบคัดเลือกตามข้อกำหนดของโรงเรียนอำนาจเจริญ
- นักเรียนที่จะเข้าห้องเรียนพิเศษ การรับสมัครและเกณฑ์เป็นไปตามข้อกำหนดของทางโรงเรียน
โรงเรียนอำนาจเจริญ ได้เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลายโดยมีแผนการเรียนและหลักสูตรดังนี้
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น [8]
- หลักสูตรปกติ โดยแบ่งออก 4 แผนการเรียนดังนี้
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- แผนการเรียนภาษาต่างประเทศ - กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี
- แผนการเรียนภาษาต่างประเทศ - กลุ่มศิลปะ
- แผนการเรียนภาษาต่างประเทศ - กลุ่มดนตรีและนาฏศิลป์
- หลักสูตร Mini English Program (MEP)
- หลักสูตรAdvanced Placement Program (AP)
- หลักสูตรพิเศษคอมพิวเตอร์
- หลักสูตรพิเศษคณิตศาสตร์
- หลักสูตรปกติ โดยแบ่งออก 4 แผนการเรียนดังนี้
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[9]
- หลักสูตรปกติ โดยแบ่งออก 4 แผนการเรียนดังนี้
- แผนการเรียนวิทยาศาตร์ - คณิตศาสตร์
- แผนการเรียนสังคมศึกษา - ภาษาจีน
- แผนการเรียนสังคมศึกษา - ภาษาญี่ปุ่น
- แผนการเรียนสังคมศึกษา - ภาษาอังกฤษ
- หลักสูตร Mini English Program (MEP)
- หลักสูตร Advanced Placement Program (AP)
- หลักสูตรพิเศษคอมพิวเตอร์
- หลักสูตรพิเศษนิติศาสตร์ - รัฐศาสตร์
- หลักสูตรปกติ โดยแบ่งออก 4 แผนการเรียนดังนี้
ในอดีตเคยมีห้องเรียนที่แบ่งเป็นห้องเรียนแผนการเรียนธุรกิจ - คอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว เนื่องจากเนื้อหาที่เรียนไม่สอดคล้องกับแกนหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
คณะสีของโรงเรียน
[แก้]โรงเรียนอำนาจเจริญ ได้มีการจัดตั้งคณะสี เพื่อดำเนินการในกีฬาสีและเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ โดยโรงเรียนใช้วิธีแบ่งนักเรียนมัธยมตอนต้นที่เข้าใหม่ ด้วยการแบ่งเป็นห้อง ซึ่งนักเรียนทั้งหมดใน 1 ห้องจะสังกัดคณะสีเดียวกัน โดยจะเปลี่ยนคณะสีใหม่อีกครั้งเมื่อขึ้นมัธยมตอนปลาย โดยแต่เดิมมีทั้งหมด 5 คณะสี แต่ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนใหม่ในปีการศึกษา พ.ศ. 2564 โดยมีทั้งหมด 4 คณะสี อันประกอบด้วย
- ██ คณะสีแดง เป็นสีประจำ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ██ คณะสีเขียว เป็นสีประจำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กลุ่มงานสนับสนุนและแนะแนว
- ██ คณะสีชมพู เป็นสีประจำ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- ██ คณะสีม่วง เป็นสีประจำ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
คณะสีในอดีต
- ██ คณะสีแดง เป็นสีประจำ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- ██ คณะสีเหลือง เป็นสีประจำ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- ██ คณะสีเขียว เป็นสีประจำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- ██ คณะสีฟ้า เป็นสีประจำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- ██ คณะสีชมพู เป็นสีประจำ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
รายการ | จำนวน(คน) |
---|---|
ครูไทย | 187 |
ครูต่างชาติ | 22 |
นักเรียน | 3,485 |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติโรงเรียนอำนาจเจริญพิทยาคม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04.
- ↑ "ประวัติโรงเรียนอำนาจเจริญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2020-12-29.
- ↑ "ปรัชญา/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าประสงค์ อจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-28. สืบค้นเมื่อ 2020-12-29.
- ↑ "ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนอำนาจเจริญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2020-12-29.
- ↑ "ประวัตินายสุกิจ จันทบาล (คนที่ 20) | โรงเรียนอำนาจเจริญ". www.anc.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-09. สืบค้นเมื่อ 2022-12-09.
- ↑ "ข้อมูลอาคารและสถานที่โรงเรียนอำนาจเจริญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2020-12-29.
- ↑ โครงสร้างหลักสูตร[ลิงก์เสีย]
- ↑ หนังสือรับสมัครนักเรียนม.ต้น ห้องเรียนพิเศษ
- ↑ หนังสือรับสมัครห้องเรียนพิเศษม.ปลาย
- ↑ "ข้อมูลบุคลากรโรงเรียนอำนาจเจริญ 2560". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-28. สืบค้นเมื่อ 2020-12-29.
- ↑ "ข้อมูลนักเรียนโรงเรียนอำนาจเจริญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2020-12-29.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]แหล่งข้อมูลจากข่าวออนไลน์
[แก้]- โรงเรียนอำนาจเจริญ โชว์ไอเดียพัฒนาชุมชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง[ลิงก์เสีย]
- เดินหน้าธนาคารน้ำใต้ดินสู่เยาวชนรรอำนาจเจริญ[ลิงก์เสีย]
- ‘เด็กไทบ้าน’ตามรอยพ่อ ยึดหลัก’พอเพียง’แก้น้ำท่วม
- เต้ยไม่ลืมร.ร.เก่า มอบทุนรุ่นน้อง!
- นิติศาสตร์ ม.อุบลฯ จัดแข่งขันตอบปัญหากฎหมายวันรพี รร.อำนาจเจริญ ชนะเลิศถ้วยพระราชทานฯ
- โดมสนามกีฬา ร.ร.อำนาจเจริญถล่ม หวิดทับ ‘น.ร.-ครู’ นับร้อยขณะเรียนพละ เพิ่งสร้างเสร็จไม่ถึง 3 ด.แท้ๆ
- ว่อน ครูลงโทษสั่งนักเรียนก้มกราบเพราะใส่รองเท้าขึ้นอาคารเรียน