ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอกุดข้าวปุ้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอกุดข้าวปุ้น
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kut Khaopun
คำขวัญ: 
กุดข้าวปุ้น เมืองอู่ข้าว พระเจ้าใหญ่ขุมคำ งามล้ำผ้าทอ
บ้านก่อปอถัก ภูขามงามนัก ประชารักสามัคคี
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอกุดข้าวปุ้น
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอกุดข้าวปุ้น
พิกัด: 15°47′30″N 104°59′48″E / 15.79167°N 104.99667°E / 15.79167; 104.99667
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุบลราชธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด320.0 ตร.กม. (123.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด41,029 คน
 • ความหนาแน่น128.22 คน/ตร.กม. (332.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 34270
รหัสภูมิศาสตร์3412
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกุดข้าวปุ้น หมู่ที่ 14 ถนนตระการพืชผล-กุดข้าวปุ้น ตำบลข้าวปุ้น อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี 34270
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กุดข้าวปุ้น เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด แยกเขตการปกครองออกมาจากอำเภอตระการพืชผล เมื่อปี พ.ศ. 2514

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอกุดข้าวปุ้นตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ป่าไม้

[แก้]

ป่าภูขาม เป็นส่วนหนึ่งในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงขุมคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองทันน้ำ อำเภอกุดข้าวปุ้น และตำบลแก้งเหนือ ตำบลหัวนา อำเภอเขมราฐ จากนโยบายเปิดให้สัมปทานป่าไม้ในปี พ.ศ. 2514 ทำให้สภาพพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ถูกทำลายลงจนเหลือพื้นที่ป่าอยู่ประมาณ 3,900 ไร่ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2525 ภูขามจึงถูกประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ และมีการผลักดันชาวบ้านออกนอกพื้นที่ ในขณะที่การตัดไม้กับทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงมีชาวบ้านบางกลุ่มเล็งเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากป่าภูขามอย่างยั่งยืน จึงเกิดเป็นเครือข่ายป่าชุมชนภูขามขึ้นมา โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ บ้านโนนหินแร่ ตำบลหนองทันน้ำ

ปัจจุบันสถานการณ์ภายในพื้นที่ป่าภูขามมีการใช้ประโยชน์ในที่ดินผืนป่าอย่างกว้างขวาง บริเวณพื้นที่รอบๆ ภูเขาได้มีการจับจองที่ดินทำกินกลายเป็นเรือกสวนไร่นาหมดสิ้น และมีสวนยางพาราผุดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี ได้มีการอนุรักษ์ป่าไม้บางส่วนเป็นหัวไร่ปลายนาไว้เป็นแนวกันชนพื้นที่ป่าด้วยเช่นกัน [1]

แหล่งน้ำ

[แก้]

อ่างเก็บน้ำห้วยหินกอง หรือชื่อเดิม อ่างเก็บน้ำห้วยตาเที่ยว เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ที่ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ใน 2 อำเภอคือ อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ประมาณ 120 ไร่ ความจุน้ำ 4 ล้านลูกบาศก์เมตร

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอกุดข้าวปุ้นแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 75 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ข้าวปุ้น (Khaopun) 15 หมู่บ้าน
2. โนนสวาง (Non Sawang) 20 หมู่บ้าน
3. แก่งเค็ง (Kaeng Kheng) 13 หมู่บ้าน
4. กาบิน (Ka Bin) 14 หมู่บ้าน
5. หนองทันน้ำ (Nong Than Nam) 13 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอกุดข้าวปุ้นประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลข้าวปุ้น
  • องค์การบริหารส่วนตำบลข้าวปุ้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลข้าวปุ้น (นอกเขตเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสวางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเค็ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก่งเค็งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกาบิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกาบินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทันน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองทันน้ำทั้งตำบล

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

การศึกษา

[แก้]
โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • โรงเรียนกุดข้าวปุ้นวิทยา
  • โรงเรียนขุมคำวิทยาคาร
  • โรงเรียนโนนสวางประชาสรรค์

การขนส่ง

[แก้]

การเดินทางโดยรถยนต์ ถือเป็นเป็นการคมนาคมที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งของอำเภอกุดข้าวปุ้น ซึ่งในปัจจุบันมีการสร้างทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดขึ้นมาหลายสาย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างอำเภอกุดข้าวปุ้นกับอำเภอข้างเคียง ทำให้การเดินทางมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และยังช่วยส่งเสริมการค้าการลงทุนภายในอำเภอไปในตัวอีกด้วย ทางหลวงแผ่นดินที่สำคัญในอำเภอกุดข้าวปุ้น ได้แก่

  • ทางหลวงหมายเลข 2232 เริ่มต้นจากอำเภอกุดข้าวปุ้น ผ่านเขตตำบลโนนสวาง บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 202 (ชัยภูมิ-เขมราฐ) ที่แยกบ้านหนองผือ ซึ่งสามารถเดินทางต่อไปยังอำเภอเขมราฐ หรืออำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญได้
  • ทางหลวงหมายเลข 2252 เป็นเส้นทางสายสำคัญที่ใช้สัญจรไปมาระหว่างอำเภอกุดข้าวปุ้นกับอำเภอปทุมราชวงศา ในจังหวัดอำนาจเจริญ มีความยาวประมาณ 15 กิโลเมตร
  • ทางหลวงหมายเลข 2197 เริ่มต้นจากอำเภอกุดข้าวปุ้น ผ่านเขตตำบลกาบิน แล้วไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 2134 (โขงเจียม-แยกทางหลวง 212 (ลืออำนาจ)) ที่บ้านนาสะไม ช่วยเชื่อมต่อระหว่างอำเภอกุดข้าวปุ้นกับอำเภอข้างเคียงคือ อำเภอตระการพืชผลและอำเภอพนา
  • ทางหลวงหมายเลข 2050 (อุบลราชธานี-เขมราฐ) พาดผ่านอำเภอกุดข้าวปุ้นทางด้านตะวันออก เขตตำบลแก่งเค็ง

อ้างอิง

[แก้]