อำเภอตระการพืชผล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอตระการพืชผล
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Trakan Phuet Phon
คำขวัญ: 
ตระการเมืองข้าวหอม พร่ำพร้อมวัฒนธรรม
งามล้ำหอไตร พระเจ้าใหญ่วัดศรี
มากมีเกลือสินเธาว์ ถิ่นเก่าบ้านขุหลุ
เชิดชูพุทธศาสน์ อุดมชาติด้วยพืชผล
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอตระการพืชผล
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอตระการพืชผล
พิกัด: 15°36′44″N 105°1′19″E / 15.61222°N 105.02194°E / 15.61222; 105.02194
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุบลราชธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,465 ตร.กม. (566 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด121,744 คน
 • ความหนาแน่น83.10 คน/ตร.กม. (215.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 34130
รหัสภูมิศาสตร์3411
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอตระการพืชผล ถนนประเทศธุรกิจ ตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี 34130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตระการพืชผล หมายถึงเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด (ตระการ = งาม ประหลาด แปลก ๆ มีต่าง ๆ)[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอตระการพืชผลตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวจังหวัด 50 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 698 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงดังนี้

ประวัติศาสตร์[แก้]

อำเภอตระการพืชผล เดิมมีฐานะเป็นเมือง ชื่อเมืองตระการพืชผล ตั้งขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมๆกับการตั้งเมืองพิบูลมังสารหาร และเมืองมหาชนะชัย กล่าวคือ ใน พ.ศ. 2406 พระพรหมราชวงศา (กุทอง)เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ 3 (พ.ศ. 2383 - 2406) เห็นว่าบ้านสะพือเป็นหมู่บ้านเก่าแก่และเป็นชุมชนขนาดใหญ่มีความเหมาะสมที่จะตั้งขึ้นเป็นเมือง จึงมีใบขอกราบเรียนเจ้าพระยากำแหงสงคราม เจ้าเมืองนครราชสีมา เพื่อนำความกราบบังคมทูล ขอตั้งบ้านสะพือขึ้นเป็นเมือง พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาดโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านสะพือ เป็นเมืองตระการพืชผล ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันอาทิตย์ แรม 11 ค่ำ เดือน 12 จ.ศ. 1225 (พ.ศ. 2406) และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท้าวสุริยวงศ์ (อ้ม) เป็นพระอมรดลใจเจ้าเมือง ให้ท้าวพรหม (บุตร) เป็นอุปฮาดท้าวสีหาจักร (ฉิม) เป็นราชวงศ์ ท้าวกุลบุตร (ท้าว) เป็นราชบุตร

บ้านสะพือที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเป็นเมืองตระการพืชผลในครั้งนั้น มีฐานะเป็นเมืองที่สมบูรณ์ เพราะมีการตั้งเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ซึ่งเป็นคณะผู้ปกครองสูงสุดของเมือง ที่เรียกว่า คณะ "อาชญาสี่" ในปี พ.ศ. 2430 เมืองตระการพืชผล ต้องส่งส่วยให้เมืองราชธานี(กรุงเทพ) จำนวนเงิน 1,388 บาท

เมืองตระการพืชผล คงฐานะเป็นเมืองและตั้งอยู่ที่บ้านสะพือมาเป็นเวลานานพอสมควร แม้ว่าจะมีการปรับปรุงการปกครองในบริเวณนี้หลายครั้ง กระทั่งปี พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้ " พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 " ซึ่งมีผลใช้บังคับทั่วราชอาณาจักร กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการหัวเมืองมณฑลอิสาน จึงได้ปรับปรุงการปกครองในภูมิภาคนี้เป็นการใหญ่ โดยให้ยุบเมืองเล็กลงเป็นอำเภอ สำหรับเมืองตระการพืชผล ก็มีฐานะเป็นอำเภอขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี มณฑลอิสานตั้งแต่นั้นมา สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอนั้น ในปี ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) นายอำเภอตระการพืชผล คือ ท้าวสุริยะ (มั่น)

อำเภอตระการพืชผล คงสภาพเป็นอำเภอได้ไม่นาน ในปี พ.ศ. 2451 ทางราชการได้มีการปรับปรุงการปกครองในส่วนภูมิภาคครั้งใหญ่ อาจเนื่องจากกรณีเกิด ผีบาป - ผีบุญ ในบริเวณบ้านสะพือ ในปี พ.ศ. 2444 - 2445 ก็เป็นได้ ทางราชการจึงได้รวมอำเภอตระการพืชผล และอำเภอพนานิคม เข้าด้วยกัน เรียกชื่อว่า อำเภอพนานิคม โดยตั้งที่ว่าการอำเภอ ที่อำเภอพนานิคม บ้านสะพือที่เคยมีฐานะเป็นเมืองตระการพืชผล หรือฐานะเป็นอำเภอตระการพืชผล ก็กลายเป็นบ้านสะพือ ตำบลสะพือ ตั้งแต่บัดนั้นมา

ใน พ.ศ. 2457 ทางราชการเห็นว่า ทำเลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอพนานิคมไม่ค่อยเหมาะสม จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอพนานิคม มาตั้งที่บ้านขุหลุ ตำบลขุหลุ แต่ยังคงเรียกชื่ออำเภอพนานิคมอยู่เช่นเดิม เพื่อให้ชื่ออำเภอเหมาะสมกับสถานที่ตั้งอย่างแท้จริง จึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอขุหลุ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. 2460

ในปี พ.ศ. 2482 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอขุหลุเป็นอำเภอพนานิคมอีกครั้ง จนในปี พ.ศ. 2483 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอตระการพืชผล เพื่อความถูกต้องตามทางประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง

ในปี พ.ศ. 2494 ทางราชการได้จัดตั้งกิ่งอำเภอพนานิคม (อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน) ขึ้นใหม่ โดยแยกท้องที่ 5 ตำบลที่เคยอยู่ในบริเวณอำเภอพนานิคมมาก่อนมาขึ้นสังกัดกิ่งอำเภอพนานิคมที่ตั้งขึ้นใหม่ ส่วนอำเภอตระการพืชผลยังคงมีฐานะเป็นอำเภอตระการพืชผล มาจนถึงปัจจุบัน

  • วันที่ 12 ตุลาคม 2456 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภออุดรอุบล จังหวัดอุบลราชธานี มณฑลอุบลราชธานี เป็น อำเภอเกษมสีมา และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภออำเภอปจิมอุบล จังหวัดอุบลราชธานี มณฑลอุบลราชธานี เป็น อำเภอตระการพืชผล[2]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอพนานิคม จังหวัดอุบล มณฑลอุบล เป็น อำเภอขุหลุ[3]
  • วันที่ 30 เมษายน 2483 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอพนานิคม จังหวัดอุบลราชธานี เป็น อำเภอตระการพืชผล[4] อีกครั้ง
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลกุศกร แยกออกจากตำบลโคกจาน ตั้งตำบลไหล่ทุ่ง แยกออกจากตำบลขุหลุ ตำบลนาสะไม และตำบลขามเปี้ย ตั้งตำบลสะพือ แยกออกจากตำบลตระการ ตั้งตำบลกาบิน แยกออกจากตำบลเป้า ตั้งตำบลนาพิน แยกออกจากตำบลเซเป็ด และตำบลขุหลุ[5]
  • วันที่ 30 มกราคม 2494 แยกพื้นที่ตำบลพนา ตำบลจานลาน ตำบลไม้กลอน และตำบลห้วย อำเภอตระการพืชผล มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอพนา ขึ้นกับอำเภอตระการพืชผล[6]
  • วันที่ 6 มกราคม 2496 ตั้งตำบลโนนกุง แยกออกจากตำบลตากแดด[7]
  • วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2496 ตั้งตำบลลือ แยกออกจากตำบลห้วย[8]
  • วันที่ 28 สิงหาคม 2499 โอนพื้นที่หมู่ 18,19,20 (ในขณะนั้น) ของตำบลเกษม ไปขึ้นกับตำบลเป้า และโอนพื้นที่หมู่ 8 บ้านดอนใหญ่ (ในขณะนั้น) ของตำบลนาพิน ไปตั้งเป็นหมู่ 13 ของตำบลขุหลุ[9]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลพนา ในท้องที่บางส่วนของตำบลพนา[10]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลตระการพืชผล ในท้องที่บางส่วนของตำบลขุหลุ[11]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอพนา อำเภอตระการพืชผล เป็น อำเภอพนา[12]
  • วันที่ 23 พฤษภาคม 2504 ตั้งตำบลแก่งเค็ง แยกออกจากตำบลเกษม ตำบลคอนสาย และตำบลข้าวปุ้น[13]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2512 ตั้งตำบลโนนสวาง แยกออกจากตำบลข้าวปุ้น[14]
  • วันที่ 27 กรกฎาคม 2514 แยกพื้นที่ตำบลข้าวปุ้น ตำบลกาบิน ตำบลแก่งเค็ง และตำบลโนนสวาง อำเภอตระการพืชผล มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอกุดข้าวปุ้น ขึ้นกับอำเภอตระการพืชผล[15]
  • วันที่ 12 กันยายน 2521 ตั้งตำบลหนองเต่า แยกออกจากตำบลเป้า[16]
  • วันที่ 25 มีนาคม 2522 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอกุดข้าวปุ้น อำเภอตระการพืชผล เป็น อำเภอกุดข้าวปุ้น[17]
  • วันที่ 9 กันยายน 2523 ตั้งตำบลถ้ำแข้ แยกออกจากตำบลกระเดียน และตำบลคอนสาย[18]
  • วันที่ 4 กันยายน 2527 ตั้งตำบลท่าหลวง แยกออกจากตำบลโนนกุง[19]
  • วันที่ 31 กรกฎาคม 2530 ตั้งตำบลห้วยฝ้ายพัฒนา แยกออกจากตำบลตากแดด[20]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลกุดยาลวน แยกออกจากตำบลเกษม[21]
  • วันที่ 17 สิงหาคม 2533 ตั้งตำบลบ้านแดง แยกออกจากตำบลคอนสาย[22]
  • วันที่ 8 ตุลาคม 2534 ตั้งตำบลคำเจริญ แยกออกจากตำบลขุหลุ[23]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลตระการพืชผล เป็นเทศบาลตำบลตระการพืชผล
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2545 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลขุหลุ รวมกับเทศบาลตำบลตระการพืชผล[24]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอตระการพืชผลแบ่งการปกครองออกเป็น 23 ตำบล 234 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ขุหลุ (Khulu) 8 หมู่บ้าน 13. ไหล่ทุ่ง (Lai Thung) 12 หมู่บ้าน
2. กระเดียน (Kradian) 9 หมู่บ้าน 14. เป้า (Pao) 11 หมู่บ้าน
3. เกษม (Kasem) 15 หมู่บ้าน 15. เซเป็ด (Se Pet) 10 หมู่บ้าน
4. กุศกร (Kutsakon) 9 หมู่บ้าน 16. สะพือ (Saphue) 8 หมู่บ้าน
5. ขามเปี้ย (Kham Pia) 12 หมู่บ้าน 17. หนองเต่า (Nong Tao) 9 หมู่บ้าน
6. คอนสาย (Khon Sai) 10 หมู่บ้าน 18. ถ้ำแข้ (Tham Khae) 9 หมู่บ้าน
7. โคกจาน (Khok Chan) 12 หมู่บ้าน 19. ท่าหลวง (Tha Luang) 9 หมู่บ้าน
8. นาพิน (Na Phin) 11 หมู่บ้าน 20. ห้วยฝ้ายพัฒนา (Huai Fai Phatthana) 12 หมู่บ้าน
9. นาสะไม (Na Samai) 13 หมู่บ้าน 21. กุดยาลวน (Kut Ya Luan) 7 หมู่บ้าน
10. โนนกุง (Non Kung) 12 หมู่บ้าน 22. บ้านแดง (Ban Daeng) 9 หมู่บ้าน
11. ตระการ (Trakan) 9 หมู่บ้าน 23. คำเจริญ (Kham Charoen) 8 หมู่บ้าน
12. ตากแดด (Tak Daet) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอตระการพืชผลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 23 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลตระการพืชผล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุหลุทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลคำเจริญ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระเดียนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกษมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุศกร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุศกรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขามเปี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขามเปี้ยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคอนสายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกจาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกจานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาพิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาพินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาสะไมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนกุงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตระการ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตระการทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตากแดด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตากแดดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไหล่ทุ่งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเป้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเป้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเซเป็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเซเป็ดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะพือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะพือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเต่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำแข้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถ้ำแข้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยฝ้ายพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยฝ้ายพัฒนาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดยาลวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคำเจริญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำเจริญ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลตระการพืชผล)

สถาบันการศึกษาในอำเภอ[แก้]

โรงเรียนมัธยม สพฐ.

วิทยาลัย (ระดับอาชีวศึกษา)

การคมนาคม[แก้]

  1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2050 (ถนนตระการพืชผล-อุบลราชธานี)
  2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2134 (ถนนเกษมสมบัติ)

อ้างอิง[แก้]

  1. สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี. นามานุกรมภูมิศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานี.
  2. [1] เก็บถาวร 2012-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนแจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอ
  3. [2] เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ
  4. [3] เก็บถาวร 2012-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๓
  5. [4] เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่างๆ
  6. [5] เก็บถาวร 2012-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ
  7. [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
  8. [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอพนา จังหวัดอุบลราชธานี
  9. [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเลิงนกทา และอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
  10. [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพนา กิ่งอำเภอพนา อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
  11. [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลตระการพืชผล อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
  12. [11] เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑
  13. [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเดชอุดม อำเภอตระการพืชผล และอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
  14. [13]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเดชอุดม อำเภอบุณฑริก อำเภอตระการพืชผล อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอกุดชุม อำเภอยโสธร และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  15. [14] เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอตระการพืชผล ตั้งเป็นกิ่งอำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี
  16. [15]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอตระการพืชผล อำเภอเขื่องใน และอำเภอชานุมาน จังหวัดอุบลราชธานี
  17. [16] เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. ๒๕๒๒
  18. [17]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
  19. [18]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอโพธิ์ไทร อำเภอเขมราฐ อำเภอตระการพืชผล อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
  20. [19]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอตระการพืชผลบุณฑริก ศรีเมืองใหม่และอำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี
  21. [20]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย อำเภอเดชอุดม อำเภอตระการพืชผล และอำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี
  22. [21]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอตระการพืชผล อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอม่วงสามสิบ และกิ่งอำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
  23. [22]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
  24. [23] เก็บถาวร 2021-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกายุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลขุหลุกับเทศบาลตำบลตระการพืชผล และกำหนดเขตเทศบาลตำบลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๔๕