ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 419: บรรทัด 419:
[[หมวดหมู่:โรงเรียนที่มีอายุเกิน 100 ปีในประเทศไทย|บเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนที่มีอายุเกิน 100 ปีในประเทศไทย|บเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง|บเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง|บเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนประจำจังหวัด|บเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช]]
โรงเรียนประจำจังหวัด

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:22, 3 สิงหาคม 2558

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
Benjamarachutit School
ขฺนติ หิต สุขาวหา (ความอดทนนำมาซึ่งความผาสุก)
ที่ตั้ง
แผนที่
เลขที่ 159 หมู่ที่ 3 ถนนนาพรุ-ท่าแพ ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80000
ข้อมูล
ชื่ออื่นบ.ม. / BM
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล สังกัด สพฐ.

- โรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐ

- โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญการเรียนดี ฝีมือเก่ง กีฬาเยี่ยม มารยาทยอด
สถาปนา1 เมษายน พ.ศ. 2441 (สถาปนา)
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 (เปิดทำการ)
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รัตนธโช)
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1080210774

- รหัส Smis 8 หลัก : 80012001

- รหัส Obec 6 หลัก : 210774
ผู้อำนวยการนายภักดี เหมทานนท์
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
สี███ ขาว
███ แดง
เพลงมาร์ชขาวแดง
เว็บไซต์http://www.benjama.ac.th/
ประดู่แดง
รูปหล่อพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รัตนธโช) ภายใน "ศาลาอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี เบญจมฯ" ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียน
ไฟล์:รัชกาลที่ 5.jpg
พระบรมราชนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕
บรรยากาศภายในโรงเรียนเบญจมราชูทิศ

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ (อังกฤษ: Benjamarachutit School) (อักษรย่อ: บ.ม., B.M.) เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสหวิทยาเขตเบญจมราชูทิศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 (นครศรีธรรมราช พัทลุง) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 โดยพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รัตนธโช) ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยโรงเรียนเบญจมราชูทิศ มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน สร้างบุคลากร และปูชนียบุคคลอันมีชื่อเสียงแก่ประเทศชาติไว้เป็นจำนวนมาก

ประวัติ

เดิมโรงเรียนเบญจมราชูทิศเป็นโรงเรียนประจำมณฑลนครศรีธรรมราช หลังจากนั้นได้ปรับเปลี่ยนเป็นโรงเรียนสหศึกษา

ยุคท่าโพธิ์ (พ.ศ. 2441-2478)

ประมาณ พ.ศ. 2434 พระมหาม่วง รัตนธโช (พระรัตนธัชมุนี) เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ กลับจากการศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร ได้เริ่มจัดสอนหนังสือแบบใหม่"มูลบทบรรพกิจ" แก่ภิกษุสามเณรที่วัดท่าโพธิ์ มีสภาพเป็นโรงเรียน เรียกว่า "วิทยาลัยเชลยศักดิ์" ยังไม่ได้จัดชั้นเรียน เรียนเพื่ออ่านหนังสือออก และคิดเลขเป็น โดยใช้โรงธรรมเป็นสถานที่เรียน

พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้เวลาที่ประทับแรมอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พระมหาม่วง รัตนธโช (พระรัตนธัชมุนี)ได้เข้าเฝ้าหลายครั้ง ทรงไต่ถามถึงการพระพุทธศาสนาในจังหวัดนี้ ท่านได้ชี้แจงเป็นที่ชอบพระอัธยาศัย ทรงเห็นว่าเป็นผู้ทรงธรรมวินัยอันน่าเลื่อมใสหลายประการ และทราบว่าเป็นสหชาติ (ผู้เกิดในวัน เดือน ปีเดียว) จึงทรงตั้งให้เป็นพระราชาคณะ มีราชทินนามว่า พระศิริธรรมมุนี

พ.ศ. 2442 พระมหาม่วง รัตนธโช (พระรัตนธัชมุนี) ซึ่งพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นพระราชาคณะที่พระศิริธรรมมุนี และเป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลนครศรีธรรมราช ตลอดไปจนถึงมณฑลปัตตานีด้วย ได้โอนวิทยาลัยเชลยศักดิ์เป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรกของปักษ์ใต้ ได้จัดตั้งคณะสงฆ์ การศึกษา และการศาสนา จึงเกิดผลสมพระราชประสงค์ ดังปรากฏในรายงานการศึกษา ร.ศ.119 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 จำนวนโรงเรียนซึ่งท่านได้ตั้งทั้งหมด 21 แห่ง โดยโรงเรียนหลวงแห่งแรกตั้งอยู่ที่วัดท่าโพธิ์ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช มอบให้อยู่ในความอุปการะของสมุหเทศาภิบาลสมัยนั้น คือ พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) โรงเรียนนี้จึงได้ชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนสุขุมาภิบาลวิทยา" เปิดสอนเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 มีนักเรียนประมาณ 50 คน

พ.ศ. 2447 ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชเริ่มให้ความสนใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนมากขึ้น พระศิริธรรมมุนี (ม่วง รัตนธโช) จึงได้สร้างอาคารเรียนขึ้นในวัดอีกหลังหนึ่ง และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากสุขุมาภิบาลวิทยาเป็น "โรงเรียนศรีธรรมราช" เพื่อให้โรงเรียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช และเปลี่ยนการสอน คือ ใช้"หนังสือแบบเรียนเร็ว" แทนมูลบทบรรพกิจ

19 กันยายน พ.ศ. 2447 พระศิริธรรมมุนี (ม่วง รัตนธโช) ได้โอนกิจการทั้งหมดให้ธรรมการเป็นผู้ดำเนินงาน ส่วนท่านเองเป็นเพียงผู้อุปการะ โดยจัดการเรียนการสอนตามแบบของกรมศึกษาธิการ และเปิดรับนักเรียนเป็นสมาชิกลูกเสือเป็นครั้งแรก มีผู้สมัคร 6 คน

1 เมษายน พ.ศ. 2455 ธรรมการจังหวัดมีคำสั่งให้รวมกิจการแผนกประถม มัธยม และแผนกฝึกหัดครูเข้าด้วยกัน และเปลี่ยนชั้นฝึกหัดครูเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นจึงย้ายแผนกประถมไปเรียน ณ วัดท่ามอญหรือวัดศรีทวีในปัจจุบัน ส่วนแผนกฝึกหัดครู ซึ่งเรียกในสมัยนั้นว่า โรงเรียนฝึกหัดครูมณฑล และโรงเรียนมีแผนกช่างถมด้วย จึงเป็นเหตุให้สถานที่เรียนไม่พอ ทางโรงเรียนแก้ปัญหาโดยให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไปเรียนที่วัดศรีทวี และวัดจันทาราม

3 ธันวาคม พ.ศ. 2459 ได้เปิดเรียนที่อาคารเรียนหลังใหม่ที่สร้างโดยพระศิริธรรมมุนี (ม่วง รัตนธโช) ซึ่งได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมโกษาจารย์ (ม่วง รัตนธโช) ได้สร้างตึกชั้นเดียวบริเวณนอกกำแพงวัดท่าโพธิ์ทางด้านทิศใต้

12 ตุลาคม พ.ศ. 2460 โรงเรียนได้เปลี่ยนนามเป็น "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ" อันเป็นมงคลนามที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อันมีความหมายว่า "อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 5" เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และอุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงวางรากฐานการศึกษาไว้

พ.ศ. 2468 แผนกฝึกหัดครูถูกยกเลิกไป พ.ศ. 2473 มีหนังสือราชการเรื่องการแยกโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชออกเป็น 3 โรงเรียน คือ

  1. "แผนกชาย" เป็น "โรงเรียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช" ปัจจุบัน คือ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
  2. "แผนกสตรี" เป็น "โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช" ปัจจุบัน คือ โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช
  3. "แผนกช่างถม" เป็น "โรงเรียนประถมวิสามัญประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช" ปัจจุบัน คือ วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช

10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 พระสารสาสน์ประพันธ์ รัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ และหลวงสำเร็จวรรณกิจ ได้มาตรวจเยี่ยมโรงเรียน ได้เล็งเห็นถึงสถานที่เรียนไม่เพียงพอ พ.ศ. 2478 ทางราชการได้เริ่มสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เป็นอาคารไม้สองชั้น ในบริเวณสนามหน้าเมือง ในเขตวัดพระสูง บนเนื้อที่ 8 ไร่

ยุคสนามหน้าเมือง (พ.ศ. 2479-2518)

18 กันยายน พ.ศ. 2479 ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่บริเวณสนามหน้าเมือง ในเขตวัดพระสูง บนเนื้อที่ 8 ไร่ มีอาคารเรียนเป็นเรือนไม้สองชั้น มีฐานะเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชาย ระยะแรกเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

พ.ศ. 2490 ได้เปิดสอนระดับเตรียมอุดมศึกษา มีทั้งแผนกวิทยาศาสตร์ และแผนกอักษรศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2504 ได้ย้ายแผนกอักษรศาสตร์ไปเรียนที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช

พ.ศ. 2507 โรงเรียนเปิดรับสมัครนักเรียนชั้น ม.ศ.1 แทนการรับเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) อย่างเดิม

พ.ศ. 2514 โรงเรียนเบญจมราชูทิศเข้าสู่โครงการมัธยมแบบประสม (ค.ม.ส.) ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้มีโอกาสเลือกเรียน ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ต้องใช้พื้นที่สร้างอาคารเรียนมากขึ้น พื้นที่เดิมไม่สามรถรับรองได้ กรมสามัญศึกษาได้จัดงบประมาณจัดซื้อที่ดินแห่งใหม่ บริเวณบ้านทุ่งใสเจริญ หมู่ที่ 3 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 88 ไร่เศษ ได้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 30 ล้านบาท และได้ย้ายมาที่เรียนใหม่ในปี พ.ศ. 2519

ยุคบ้านไสเจริญ (พ.ศ. 2519-ปัจจุบัน)

1 มิถุนายน พ.ศ. 2519 โรงเรียนเบญจมราชูทิศได้ย้ายมาเปิดเรียนที่อาคารใหม่ พร้อมกับเปิดรับนักเรียนหญิงเข้าเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นปีแรก

พ.ศ. 2522 โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานขนาดใหญ่เป็นโรงเรียนแรกในเขตการศึกษา 3

24 ตุลาคม พ.ศ. 2523 โรงเรียนได้อัญเชิญรูปหล่อพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รัตนธโช) ผู้ให้กำเนิดโรงเรียน จากวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารมาประดิษฐาน ณ ศาลาไทยของโรงเรียน

22 กันยายน พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปิดหอสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เบญจองค์กร

  • คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
  • สมาคมศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
  • สมาคมผู้ปกครอง และครูโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
  • เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
  • ชมรมครูเก่าโรงเรียนเบญจมราชูทิศ

ข้อมูลทั่วไป

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

ไฟล์:Banjama.jpg
สัญลักษณ์โรงเรียน
  • สัญลักษณ์ของโรงเรียน : มีหมายเลข ๕ อยู่ภายใต้มงกุฎ หรือมงกุฎ ๕
  1. มงกุฎ หมายถึง สิ่งสูงสุด มงคลสูงสุด
  2. เลข ๕ หมายถึง โรงเรียนตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
  • สีประจำโรงเรียน : ขาว - แดง
  1. ██ สีขาว หมายถึง คุณธรรม ความรับผิดชอบ
  2. ██ สีแดง หมายถึง ความมุ่งมั่น ความกล้าหาญ
  • คติพจน์ : "ขนฺติ หิต สุขาวหา" ความอดทนนำมาซึ่งความผาสุก
  • ปรัชญา : การเรียนดี ฝีมือเก่ง กีฬาเยี่ยม มารยาทยอด
  • เพลง : เพลงมาร์ชขาว-แดง
  • ต้นไม้ : ต้นประดู่แดง หมายถึง สัญลักษณ์ของความพร้อมเพรียง

เพลงประจำโรงเรียน

  1. มาร์ชขาวแดง
  2. เพลงมงกุฎห้า
  3. เพลงเบญจมฯ ฉลองชัย
  4. เพลงเบญจมราชูทิศ
  5. เพลง บ.ม. รำลึก
  6. เพลงปณิธานเบญจมราชูทิศ
  7. เพลงใต้ร่มประดู่แดง
  8. เพลงบูชาครู
  9. เพลงขวัญใจแดนประดู่
  10. มาร์ชขาวแดง(บรรเลง)

เพลงเครือข่ายจตุรมิตรฯ

  1. มาร์ชจตุรมิตร เบญจมฯ
  2. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
  3. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
  4. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี
  5. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี

ทำเนียบผู้บริหาร

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนเบญจมราชูทิศมีผู้บริหาร 18 ท่าน

ลำดับที่ รายนาม ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 นายอยู่ (ไม่มีนามสกุล)
(ขุนสิกขกิจบริหาร)
ครูใหญ่ พ.ศ. 2442
2 นายนาก สังขนิยม ครูใหญ่ พ.ศ. 2442 พ.ศ. 2446
3 นายทอง คุปตาสา
(พระยาพิบูลย์พิทยาพรรค)
ครูใหญ่ พ.ศ. 2447 พ.ศ. 2454
นายอยู่ (ไม่มีนามสกุล)
(ขุนสิกขกิจบริหาร)
ครูใหญ่ พ.ศ. 2454 พ.ศ. 2455
4 นายพร้อย ณ นคร
(ขุนบูรณวาท)
ครูใหญ่ พ.ศ. 2455 พ.ศ. 2461
5 นายมี จันทร์เมือง ครูใหญ่ พ.ศ. 2462 พ.ศ. 2473
6 นายคลิ้ง ขุทรานนท์ รักษาการครูใหญ่ พ.ศ. 2473 พ.ศ. 2474
7 นายโอบ ปักปิ่นเพชร ครูใหญ่ พ.ศ. 2474 พ.ศ. 2450
นายโอบ ปักปิ่นเพชร อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2501 พ.ศ. 2503
8 นายสังข์ ทองรมย์ รักษาการครูใหญ่ พ.ศ. 2503 พ.ศ. 2504
9 นายบุญเนิน หนูบรรจง รักษาการอาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2505
10 นายเพิ่มศักดิ์ นนทภักดิ์ รักษาการอาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2506
11 นายสวัสดี ณ พัทลุง อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2517
นายเพิ่มศักดิ์ นนทภักดิ์ รักษาการอาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2521
นายเพิ่มศักดิ์ นนทภักดิ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2530
12 นายธรรมนูญ ธุระเจน รักษาการผู้อำนวยการ พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2531
13 นายศุภมน เสาหฤทวงศ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2536
14 นางอรุณ นนทแก้ว ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2536 พ.ศ. 2542
15 นายวิญญู ใจอารีย์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2549
16 ว่าที่ร้อยตรี ภักดี ชูหวาน ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2551
17 นายณรงค์ ทองขาว ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2555
18 นายภักดี เหมทานนท์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2555 ปัจจุบัน

คณะผู้บริหาร

รายนาม ตำแหน่ง
นายไตรรัตน์ คงโต รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานอำนวยการ
นายภูตินันท์ เฮ้งศิริ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ
นายดุสิต คงจันทร์ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานพัฒนานักเรียน
นายสุชีพ ทิพย์บุญแก้ว รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานทั่วไป

จำนวนบุคลากร

  • นักเรียน 3,210 คน
  • ครู - อาจารย์ 162 คน
  • ห้องเรียน 78 ห้อง
  • จำนวนนักเรียนต่อครู เฉลี่ย 20:1
  • จำนวนนักเรียนต่อห้อง เฉลี่ย 41:1

วันสำคัญของโรงเรียน

  • วันเบญจมราชูทิศ
  • วันปิยะมหาราช
  • วันมหาธีรราชเจ้า
  • วันขาวแดง
  • วันกิจกรรม บ.ม.
  • EP Open House
  • SMTP Open House

กิจกรรมภายในโรงเรียน

หมวดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

หมวดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับกลุ่มพัฒนานักเรียน มีหัวหน้าหมวดและคณะกรรมการหมวดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเป็นคณะที่ปรึกษา โดยกิจกรรมต่างๆทั้งหมดในโรงเรียนจะจัดทำโดยความคิดและความสามารถของนักเรียนทั้งสิ้น โดยมีแกนนำในการทำงานคือ คณะกรรมการนักเรียน และ คณะกรรมการพรรค

คณะกรรมการนักเรียน

คณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ มีทั้งสิ้น 2 คณะ คือ คณะกรรมการนักเรียนชุดปัจจุบัน และคณะกรรมการนักเรียนชุดที่ปรึกษา คณะกรรมการนักเรียนดำรงตำแหน่ง 1 ปีการศึกษา และเป็นที่ปรึกษาให้คณะกรรมการนักเรียนรุ่นถัดไปอีก 1 ปีการศึกษา โดยคณะกรรมการชุดปัจจุบัน จะเป็นนักเรียนระดับชั้น ม.5 ทั้งหมด เป็นผู้จัดการวางแผนและดำเนินกิจกรรมต่างๆตลอดปีการศึกษา โดยมีคณะกรรมการนักเรียนรุ่นก่อนคอยให้คำแนะนำ และเมื่อหมดวาระของตนแล้ว ก็จะกลายเป็นคณะกรรมการนักเรียนชุดที่ปรึกษา ซึ่งก็คือในช่วงมัธยมศึกษาปีที่6

คณะกรรมการนักเรียน 1 คณะ มีทั้งสิ้น 42 คน 20 ตำแหน่ง ได้แก่ ประธานนักเรียน รองประธานนักเรียนฝ่ายกิจกรรมประจำ (เดิม-กิจกรรมในหลักสูตร) , รองประธานนักเรียนฝ่ายกิจกรรมพิเศษและสถานที่ (เดิม-กิจกรรมเสริมหลักสูตร) รองประธานนักเรียนฝ่ายนันทนาการและบริการ (เดิม-กิจกรรมนอกหลักสูตร) เลขานุการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม สารสนเทศ สาราณียากร ศิลป์ เชียร์ โสตทัศนูปกรณ์ ประเมินผล สวัสดิการ พัสดุ บันเทิง กีฬา บริการ และ อาคารและสถานที่

คณะกรรมการพรรค

คณะกรรมการพรรค เป็นตัวแทนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากพรรคสีทั้ง 6 พรรค มีหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างคณะกรรมการนักเรียนและสมาชิกในพรรค รวมทั้งช่วยเหลือคณะกรรมการนักเรียนในการทำกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน คณะกรรมการพรรค มีทั้งสิ้น 6 พรรค พรรคละ 10 คน 10 ตำแหน่ง ได้แก่ ประธานพรรค รองประธานพรรค เลขานุการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ กีฬา สาราณียกร เชียร์ โสตทัศนูปกรณ์ และ ศิลป์

กิจกรรม

  • กิจกรรมปฐมนิเทศ
  • กิจกรรมสู่ขวัญน้อง
  • กิจกรรมไหว้ครู
  • ประชาสัมพันธ์พรรค
  • กีฬาพรรค
  • กิจกรรม 10 กรกฎา "วันเบญจมราชูทิศ"
  • มหกรรมวิชาการมัธยมศึกษา "วันมัธยมศึกษา"
  • กีฬาจตุรมิตรเบญจมราชูทิศแห่งประเทศไทย
  • กีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช "นครเกมส์"
  • พระราชพิธีวันแม่แห่งชาติ
  • พระราชพิธีวันปิยะมหาราช
  • กีฬาดิวิชั่นพรรค
  • การประกวดวงดนตรี BM Music Awards
  • พระราชพิธีวันพ่อแห่งชาติ
  • เบญจมราชูทิศสัมพันธ์ "วันขาวแดง"
  • กิจกรรม บ.ม.
  • กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ

กีฬา

กีฬาพรรคโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2490 อาจารย์โอบ ปักปิ่นเพชร อาจารย์ใหญ่ในขณะนั้น จัดเป็นกีฬาพรรค 4 พรรค คือ พรรคนาวิน พรรคฟ้าฟื้น พรรคเชิดชัย และพรรคศรเหล็ก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2523 ในสมัยอาจารย์สมพงศ์ สงวนพงศ์ เป็นหัวหน้าหมวดกิจกรรมนักเรียน และอาจารย์สากล พรหมอักษรเป็นที่ปรึกษา มีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมการกีฬาและกิจกรรมอื่นๆ อย่างทั่วถึง จึงได้จัดให้มีการตั้งพรรคเพิ่มขึ้นอีก 2 พรรค โดยมีการประกวดการตั้งชื่อพรรค ด้วยเหตุนี้จึงได้กำเนินพรรคสายฟ้า และพรรคจุฬาลักษณ์นับแต่นั้นมา

นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศทุกคนมีพรรคสังกัด โดยนักเรียนอยู่พรรคเดียวกันทั้งห้องเรียน การสังกัดพรรคใช้การเลือกแบบการจับฉลากโดยจะทำเฉพาะชั้น ม.1 และ ม.4 นักเรียนจะสังกัดพรรคตามห้องเรียนจนกระทั่งจบ ม.3 หรือ ม.6 กิจกรรมพรรคที่สำคัญคือ การประชาสัมพันธ์พรรคในช่วงต้นภาคเรียนที่ 1 กีฬาพรรค กลางภาคเรียนที่ 1 และกีฬาดิวิชั่นในภาคเรียนที่ 2 โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จะเป็นผู้นำในการควบคุมรุ่นน้องในเรื่องการเชียร์กีฬา และ การแข่งขันกีฬา

พรรคกีฬา

  • ██ พรรคนาวิน ก่อตั้งโดยอาจารย์เชาว์ สิงหผลิน เนื่องจากท่านเป็นคนชอบเรือ ชอบทะเล สัญลักษณ์ของพรรคเป็นรูปคลื่น เรือใบ อยู่ภายใต้เกือกม้า
  • ██ พรรคฟ้าฟื้น ก่อตั้งโดยอาจารย์แปลก ปานิตย์เศรษฐ์ ตั้งชื่อพรรคตามชื่อดาบเล่มสำคัญของขุนแผน ซึ่งเชื่อว่า เมื่อชักออกมาจากฝักเมื่อไร ฟ้าจะถล่มทันที สัญลักษณ์ของพรรคเป็นรูปดาบไทยวางพาดบนโล่หน้าสิงห์
  • ██ พรรคเชิดชัย ก่อตั้งโดยอาจาย์ชำนาญ เวทย์วรพันธ์ และอาจารย์ช่วง เพชรานนท์ ชื่อของพรรคหมายถึง ผู้กำชัยเสมอ สัญลักษณ์ของพรรคเป็นรูปมือจับคบเพลิง เปลวไฟปลิวมาข้างหลัง
  • ██ พรรคศรเหล็ก ก่อตั้งโดยอาจารย์จำรัส เรืองรอง และอาจารย์พินิต นุ่นพันธ์ ศรเหล็กหมายถึง ความแข็งแกร่งทนทาน สัญลักษณ์ของพรรคเป็นรูปกงจักรพระนารายณ์ 8 แฉก มีศรเหล็ก 2 อันไขว้กัน
  • ██ พรรคสายฟ้า อาจารย์ประกอบ นาควานิช และนักเรียนอีกหนึ่งคน เป็นผู้ตั้งชื่อตรงกันจากการประกวดตั้งชื่อพรรคใหม่ สายฟ้า หมายถึง ความรวดเร็วทันใจ สัญลักษณ์ของพรรคเป็นรูปวชิราวุธ เพื่อเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 6 ผู้พระราชทานนามโรงเรียน
  • ██ พรรคจุฬาลักษณ์ ก่อตั้งโดย อาจารย์ตุลา ยุทธชัย จุฬาลักษณ์หมายถึงลักษณะที่เลอเลิศ หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ กล่าวโดยรวมคือ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 5 สัญลักษณ์ของพรรคเป็นรูปพระเกี้ยว (มงกุฎน้อย จุลจอมเกล้า) เพื่อเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 5 ผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียน

อาคารและสถานที่

อาคารเรียน

หอประชุมลานเข้าแถว เป็นสถานที่ใช้ในเข้าแถวของนักเรียน ประชุมระดับชั้น และประกอบกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน

อาคารหอเกียรติยศ เป็นอาคาร 2 ชั้น

  • ชั้นที่ 1 เป็นสำนักงานสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
  • ชั้นที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์โรงเรียนเบญจมราชูทิศ

กลุ่มอาคารเรียน

  • อาคาร 1 มีทั้งหมด 3 ชั้น
    • ชั้นที่ 1 เป็นห้องผู้อำนวยการ ห้องธุรการ ห้องการเงิน สำนักงานประชาสัมพันธ์ ห้องวิชาการ ห้องบริหารทั่วไป ห้องพัฒนานักเรียน และห้องประชุมเฟื่องฟ้า
    • ชั้นที่ 2 เป็นห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (121) ห้องสมุดภาษาไทย (122) และห้องปฏิบัติการภาษาไทย(123)
    • ชั้นที่ 3 เป็นห้องเรียน 3 ห้อง (131-133)
  • อาคาร 2 มีทั้งหมด 3 ชั้น
    • ชั้นที่ 1 เป็นห้องปฏิบัติการแนะแนว (211) ห้องแนะแนว (212) ห้องทะเบียน (213) ห้องแผนงาน (214) และห้องพยาบาล (215)
    • ชั้นที่ 2 เป็นห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (221) ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระคอมพิวเตอร์ (222) และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3 ห้อง (223-225)
    • ชั้นที่ 3 เป็นห้องปฏิบัติการพระพุทธศาสนา (231) ห้องปฏิบัติการสังคมศึกษา 2 ห้อง (232,234) ห้องปฏิบัติการอาเซียนศึกษา (233) และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (235)
  • อาคาร 3 มีทั้งหมด 3 ชั้น
    • ชั้นที่ 1 เป็นห้องเรียน (311) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 2 ห้อง (312-313) และห้องปฏิบัติการชีววิทยา (314)
    • ชั้นที่ 2 เป็นห้องปฏิบัติการสุขศึกษา (321) ห้องเรียน 2 ห้อง (322-323) ห้องสมุดภาษาอังกฤษ (324) และห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษและภาษาจีน) (325)
    • ชั้นที่ 3 เป็นห้องเรียน 4 ห้อง (331-334) ห้องปฏิบัติการภาษาจีน (335) และสำนักงานส่งเสริมความเป็นเลิศทางภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (MEP) (336)
  • อาคาร 4 มีทั้งหมด 3 ชั้น
    • ชั้นที่ 1 เป็นห้องปฏิบัติการเคมี (411) ห้องสมุดวิทยาศาสตร์ (412) ห้องปฏิบัติการเคมี (413) ห้องปฏิบัติการชีววิทยา (414) และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (415)
    • ชั้นที่ 2 เป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ (421) ห้องเตรียมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (422) ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ (423) ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (424) และสำนักงานส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (425)
    • ชั้นที่ 3 เป็นห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ (431) สำนักงานเอเอฟเอส เขตนครศรีธรรมราช (432) ห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ (433) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (434-436)
  • อาคาร 5 มีทั้งหมด 3 ชั้น
    • ชั้นที่ 1 เป็นห้องประชุมคุณพ่อนับ ณ นคร (511) และห้องเรียน 7 ห้อง (512-518)
    • ชั้นที่ 2 เป็นห้องสมุดคณิตศาสตร์ (521) ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (522) ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ (523) และห้องเรียน 5 ห้อง (524-528)
    • ชั้นที่ 3 เป็นห้องเรียน 8 ห้อง (531-538)
  • อาคาร 6 (อาคาร EP) มีทั้งหมด 4 ชั้น
    • ชั้นที่ 1 เป็นห้องพฤษศาสตร์ (611) ห้องประชุมประดู่แดง (612) และสำนักงานส่งเสริมความเป็นเลิศทางภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (EP) (613)
    • ชั้นที่ 2 เป็นห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศส (621) ห้องเรียน 3 ห้อง (622-624) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (ุ625) และห้องดนตรี 2 ห้อง (ุ626-627)
    • ชั้นที่ 3 เป็นห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระงานธุรกิจ (631) ห้องปฏิบัติการพิมพ์ดีด 2 ห้อง (632-633) ห้องเรียน 3 ห้อง (634-636) และห้องสมุด EP (637)
    • ชั้นที่ 4 เป็นห้องปฏิบัติการสังคมศึกษา 2 ห้อง (641-642) ห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ 3 ห้อง (643-645) และห้องเรียน 2 ห้อง (646-647)
  • อาคาร 7 หรือ อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช ครบ 7 รอบ (อาคาร SMTP) มีทั้งหมด 4 ชั้น
    • ชั้นที่ 1 เป็นห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ก. (711) สำนักงานส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (SMTP) (712) และลาน SMTP
    • ชั้นที่ 2 เป็นห้องศิลปะ 2 ห้อง (721-722) ห้องเรียน 5 ห้อง (723-727) และห้องพฤษศาสตร์ (728)
    • ชั้นที่ 3 เป็นห้องสมุด SMTP (731) ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ (732) ห้องปฏิบัติการเคมี (733) ห้องปฏิบัติการชีววิทยา (734) ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 ห้อง (735-736)
    • ชั้นที่ 4 เป็นห้องเรียน 8 ห้อง (741-748)

อาคารเอนกประสงค์ เป็นอาคาร 2 ชั้น

  • ชั้นที่ 1 เป็นศูนย์อาหาร ห้องอาหารครู ห้องสหกรณ์ของโรงเรียน ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระคหกรรม และห้องปฏิบัตการคหกรรม 3 ห้อง
  • ชั้นที่ 2 เป็นห้องประชุมทิวสน ห้องปฏิบัติการดนตรีไทย ห้องปฏิบัติการดนตรีสากล ห้องปฏิบัติการวงโยธวาทิต ห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์ และห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ข.

หอสมุดเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นอาคารกลางสระน้ำมี 2 ชั้น

  • ชั้นที่ 1 เป็นห้องสืบค้นทั่วไป 2 ห้อง ห้องสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต 2 ห้อง และสำนักงานหอสมุด(ล่าง)
  • ชั้นที่ 2 เป็นห้องประชุมสิริรัตน์ ห้องบริการติวตำราสอบเข้ามหาวิทยาลัย ห้องสืบค้นทั่วไป 2 ห้อง ห้องสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต 1 ห้อง และสำนักงานหอสมุด(บน)

กลุ่มอาคารย่อย

  • อาคารอุตสาหกรรม 1 เป็นห้องเรียนสีเขียว ห้องผลิตเอกสาร ห้องกิจกรรม สำนักงานคณะกรรมการนักเรียน และห้องปฏิบัติการช่างก่อสร้างและช่างไม้
  • อาคารอุตสาหกรรม 2 เป็นห้องปฏิบัติการช่างไฟฟ้า ห้องปฏิบัติการช่างโลหะ และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระอุตสาหกรรม
  • อาคารอุตสาหกรรม 3 เป็นห้องปฏิบัติการช่างเขียนแบบ ห้องปฏิบัติการช่างเขียนแบบคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการช่างยนต์ 3 ห้อง
  • อาคารเกษตรกรรม เป็นห้องปฏิบัติการเกษตรกรรม 2 ห้อง และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระเกษตรกรรม
  • อาคารวิทยาศาสตร์ เป็นห้องปฏบัติการวิทยาศาสตร์ 3 ห้อง และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

หอประชุมรัตนธัชมุนี เป็นอาคารหอประชุมขนาดใหญ่ จุได้ประมาณ 3,500 คน

โรงยิมเนเซียม เป็นสถานที่ใช้ในการฝึกวิชาพลศึกษา และห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

อาคารศูนย์กีฬา เป็นอาคารสำหรับฝึกซ้อมกีฬา แบ่งออกเป็น 2 ชั้น

  • ชั้นล่าง เป็นลานกิจกรรม ห้องออกกำลังกาย
  • ชั้นบน เป็นลานกีฬาอเนกประสงค์

สระว่ายน้ำ เป็นสระที่ได้มาตรฐานสากลใช้ในการเรียน

สถานที่

หอพระสูง เป็นที่ประดิษฐานของพระสูง (จำลอง) จากบริเวณสนามหน้าเมือง เขตวัดพระสูง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในยุคสนามหน้าเมือง

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นลานพระราชพิธีสักการะอนุสาวรีย์

สนามฟุตบอล ตั้งอยู่ด้านหน้าโรงเรียนสามารถมองเห็นได้บนถนน โรงเรียนมีแผนพัฒนาทำระบบลู่วิ่งเหมือนกับสนามกีฬา

สวน 100 ปีเบญจม เป็นสวนสาธารณะขนาดย่อม เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของนักเรียน บริการเรือพาย อยู่บริเวณหลังอาคาร 7

นอกจากนี้ภายในบริเวณของโรงเรียนยังมีสนามฟุตบอลขนาดใหญ่ บ้านพักครู การประปา สวนต่างๆ ลาน สนามเทนนิสและสนามกอล์ฟขนาดเล็ก

ลานกิจกรรม

  1. ลานเข้าแถว
  2. ลานมะขาม
  3. ลานชงโค
  4. ลานโลหะ
  5. ลานเกษตร
  6. ลานหลังศูนย์อาหาร

หลักสูตรที่เปิดสอน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

  • หลักสูตรภาคปกติ จำนวน 6 ห้อง (เดิม 8 ห้อง)
  • หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ (English Programme ; EP) จำนวน 4 ห้อง
  • หลักสูตรภาควิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (Science Mathematics and Technology Programme ; SMTP) จำนวน 4 ห้อง

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

  • โครงการห้องเรียนพิเศษสำหรับการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Enrichment Science Classroom Programme : ESCP) จำนวน 1 ห้อง
  • โครงการห้องเรียนคู่ขนานสำหรับการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Parallel Science Classroom Programme : PSCP) จำนวน 1 ห้อง
  • โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางภาษาอังกฤษ กลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (Mini English Programme in Science and Mathematics Programme : MEPSMP) จำนวน 1 ห้อง
  • กลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Programme : SMP) จำนวน 3 ห้อง
  • โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางภาษาอังกฤษ กลุ่มการเรียนศิลป์ - คำนวณ (Mini English Programme in English and Mathematics Programme : MEPEMP) จำนวน 1 ห้อง
  • กลุ่มการเรียนศิลป์ - คำนวณ (English and Mathematics Programme : EMP) จำนวน 3 ห้อง
  • กลุ่มการเรียนศิลป์ - ภาษาฝรั่งเศส (English and French Programme : EFP) จำนวน 1 ห้อง
  • กลุ่มการเรียนศิลป์ - ภาษาจีน (English and Chinese Programme : ECP) จำนวน 1 ห้อง
  • กลุ่มการเรียนศิลป์ - ภาษาญี่ปุ่น (English and Japanese Programme : EJP) เปิดเรียนร่วมกับกลุ่มการเรียนศิลป์-ฝรั่งเศส

โอลิมปิกวิชาการ ระหว่างประเทศ

ชื่อ-สกุล รางวัล โอลิมปิกวิชาการ
(International Science Olympiads)
อันดับไทย อันดับโลก
นายอัศวิน เชาวนกฤษณกุล
Mr.Atsawin Chowanakritsanakul
เหรียญเงิน
Silver Medal
การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 3 "เอเธนส์, กรีซ 2534"
The 3rd International Olympiad in Informatics (IOI) "Athens, Greece 1991"
อันดับ 1
อันดับ 10
ด.ญ.พิชามญชุ์ อัศวผดุงสิทธิ์
Miss Pichamon Assawaphadungsit
เหรียญทอง
Gold Medal
การแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 11 "บาหลี, อินโดนีเซีย 2557"
The 11th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) "Bali, Indonesia 2014"
อันดับ 1
อันดับ 3

อื่นๆ

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:ศูนย์สะเต็มศึกษา

โรงเรียนประจำจังหวัด