โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม Phromkiripittayakom School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | พ.ร. / PR |
ประเภท | รัฐบาล |
คำขวัญ | นัตถิ ปัญญา สมา อาภา (แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี) |
สถาปนา | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2518 (48 ปี) |
ผู้ก่อตั้ง | กระทรวงศึกษาธิการ |
หน่วยงานกำกับ | สพฐ. |
รหัส | 1080210782 - รหัส Smis 8 หลัก : 80042001 |
ผู้อำนวยการ | นายกำพล ทองอยู่ |
ครู/อาจารย์ | 72 คน[1] 2561 |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | ช่วงชั้นที่ 3 และ 4 (มัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย) |
จำนวนนักเรียน | 1,249 คน[2] 2561 |
สี | |
เพลง | มาร์ชพรหมคีรีพิทยาคม |
เว็บไซต์ | www.prnst.ac.th |
โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช (อังกฤษ: Phromkiripittayakom School) (อักษรย่อ: พ.ร. / PR) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ประเภทสหศึกษา ปัจจุบันมีอายุ 48 ปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 12 กรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ รหัสสถานศึกษา 1080210782 ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ 4 ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช 80320
ประวัติโรงเรียน[แก้]
โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม ตั้งขึ้นที่บ้านในเขียว หมู่ที่ 4 ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับคำสั่งอนุญาตให้เปิดตามหนังสือจังหวัดที่ นศ. 23/2605 ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2518 การดำเนินการจัดตั้ง ด้วยประชาชนในเขตอำเภอพรหมคีรีมีความประสงค์จะให้ทางรัฐบาลเปิดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อให้บริการทางการศึกษาแก่บุตรหลานในเขตอำเภอพรหมคีรี ทั้งนี้เพราะนักเรียนมีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและไม่สามารถที่จะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาจากที่อื่น ๆ ได้ เพราะการคมนาคมไม่สะดวกและค่าใช้จ่ายสูง เมื่อทางสำนักงานศึกษาธิการประจำกิ่งอำเภอในขณะนั้น ได้เสนอเรื่องขออนุญาตเปิดโรงเรียนต่อผู้ว่าจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517จึงดำเนินการจัดหาที่ดินเพื่อเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียน ประกอบกับประชาชนได้บริจาคที่ดินเพื่อเป็นที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอในขณะนั้น จึงได้นำพื้นที่จำนวน 35 ไร่ 2 งาน เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างจึงได้อนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้น ชื่อว่า โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2518 และเริ่มรับสมัครนักเรียนในวันถัดมา คือวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2518โดยเปิดรับสมัครทั้งหญิงและชาย โดยนักเรียนรุ่นแรกมีทั้งหมด 93 คน แล้วดำเนินการเปิดในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2518
หลักสูตร[แก้]
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]
- โครงการห้องเรียนพิเศษ
- โครงการการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ (Practical English Programme ; PEP) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (35 คน)
- โครงการการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (Science Mathematics and Technology Programme ; SMTP) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (35 คน)
- โครงการร่วมกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ระดับชั้นละ 1 ห้อง (35 คน)
- โครงการห้องเรียนปกติ
- ห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 5 ห้อง (200 คน)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]
- โครงการห้องเรียนพิเศษ
- โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ (Intensive English Programme ; IEP) 1 ห้อง
- โครงการห้องเรียนส่งเสริมคุณภาพพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ห้องเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย) 1 ห้อง
- โครงการห้องเรียนปกติ
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 1 ห้อง
- แผนการเรียนคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ 2 ห้อง
- แผนการเรียนสังคมศึกษา และภาษา 1 ห้อง
ผู้อำนวยการ[แก้]
รายชื่อ | ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง |
---|---|
1. นายสวงค์ ชูกลิ่น | พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2522 |
2. นายสมปอง สุดเอียด | พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2523 |
3. นายอุทัย เสือทอง | พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2525 |
4. นายถวิล รัตนโชติ | พ.ศ. 2525 – พ.ศ. 2528 |
5. นายสมคิด พัวพันธ์ | พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2531 |
6. นายเสริญ แต้มแก้ว | พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2532 |
7. นายสวงค์ ชูกลิ่น | พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2535 |
8. นายวินัย ชามทอง | พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2539 |
9. นายสุธีร์ เจริญสุข | พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2543 |
10. นายกรีฑา วีระพงศ์ | พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2547 |
11. นายวินัย ชามทอง | พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2550 |
12. นายชลอ ลาชโรจน์ | พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2553 |
13. นาย ส.สมบัติ มีสุนทร | พ.ศ. 2553 – พ.ศ. 2556 |
14. นายสุรพงศ์ เอื้อศิริพรฤทธิ์ | พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2561 |
15. นายกำพล ทองอยู่ | พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2563 |
16. นายสิทธิพร นิลพัฒน์ | พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน |
กิจกรรม[แก้]
- วันไหว้ครู ทำพานไหว้ครู และประกวดพานไหว้ครู
- วันวิชาการ นำเสนอผลงานและผลการปฏิบัติงานของแต่ละชุมนุม
- วันมุทิตาจิต คุณครูที่เกษียณอายุราชการและคุณครูที่ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ
- วันปัจฉิมนิเทศ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6
- งานมหกรรมวิชาการ"วันมัธยมศึกษา"
- กิจกรรมแข่งขันกีฬาสีภายในโรงเรียน โดยจะแบ่งออกเป็น 4 พรรคคือ
██ พรรคสุริยา (สีแดง)
██ พรรควายุบรรณ (สีส้ม)
██ พรรคจันทราทิพย์ (สีเหลือง)
██ พรรคนิพพานนท์(สีม่วง)
สิ่งปลูกสร้างภายในโรงเรียน[แก้]
- อาคาร 1 อาคารเรียนวิชาภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ ห้องแนะแนว
- อาคาร 2 อาคารเรียนวิทยาศาสตร์
- อาคาร 3 อาคารเรียนวิชาสังคมศึกษา ห้องดนตรี อาคารบริหาร
- อาคาร 4 อาคารเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย ห้องสมุด หอศิลป์
- อาคารโรงอาหาร
- อาคารเอนกประสงค์
- ศูนย์ปฏิบัติการเกษตรอินทรีย์
- อาคารประชาสัมพันธ์
- ศาลาพัก
- บ้านพักครู
- สนามฟุตบอล
- สนามบาสเกตบอล
- เรือนเพาะชำ
- สระน้ำ
- หอนอนขนาด 36 เตียง จำนวน 2 อาคาร
- โรงอาบน้ำมาตรฐานนักเรียนหญิง จำนวน 4 หลัง
- โรงหุงต้ม จำนวน 2 หลัง
- อาคารจอดรถ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ จำนวนครูบุคลากร ปีการศึกษา 2561. สถิติจำนวนครูบุคลากรทั้งหมด. ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2561
- ↑ จำนวนนักเรียน ปีการศึกษา 2561. สถิติจำนวนนักเรียนทั้งหมด. ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2561
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
- เว็บโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
- facebook โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
- ข้อมูลโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน