ขุนแผน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลายแก้ว
ตัวละครใน ขุนช้างขุนแผน
วัดแค จ.สุพรรณบุรี (23).jpg
รูปปั้นขุนแผนที่วัดแค
แสดงโดยณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
ชื่อเต็มพระยากาญจนบุรี
เพศชาย
ตำแหน่งเจ้าเมืองกาญจนบุรี
อาชีพทหาร ขุนนาง
อาวุธดาบฟ้าฟื้น
คู่สมรสวันทอง
สายทอง
ลาวทอง
บัวคลี่
แก้วกิริยา
บุตรกุมารทอง
พลายงาม
พลายณรงค์
พลายชุมพล
ญาติขุนไกรพลพ่าย (พ่อ)
ทองประศรี (แม่)
พลายเพชร (หลานชาย)
พลายบัว (หลานชาย)
พลายยง (หลานชาย)
ศาสนาศาสนาพุทธ
ศาสนาผี
บ้านเกิดสุพรรณบุรี
สัญชาติกรุงศรีอยุธยา
ภาพขุนแผน พิมพิลาไลย ที่วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม

พระยากาญจนบุรี(พลายแก้ว) หรือบรรดาศักดิ์เดิม ขุนแผนแสนสะท้าน คนทั่วไปมักรู้จักในนาม ขุนแผน เป็นตัวเอกของวรรณคดีไทย เรื่อง ขุนช้างขุนแผน

ประวัติ[แก้]

พระยากาญจนบุรี(พลายแก้ว)หรือขุนแผน เป็นลูกของขุนไกรพลพ่าย และนางทองประศรี เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี ขุนไกรพลพ่ายเป็นทหารใน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (สมเด็จพระพันวษา) พระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งกรุงศรีอยุธยา รับราชการอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี ขุนไกรพลพ่ายทำความผิดจึงโดนสมเด็จพระพันวษาสั่งประหารชีวิต นางทองประศรีกลัวความผิดจึงพาขุนแผนหนีไปอยู่บ้านญาติฝ่ายขุนไกรพลพ่ายที่เมืองกาญจนบุรี

พลายแก้วบวชเป็นเณรที่วัดส้มใหญ่จนสำเร็จวิชาเมื่ออายุ 15 ปี จากนั้นย้ายกลับมายังวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร โดยเป็นศิษย์ของสมภารมี จังหวัดสุพรรณบุรีแล้วไปเรียนต่อที่วัดแค โดยเป็นศิษย์ของสมภารคง และได้พบกับขุนช้างและนางพิมซึ่งเป็นเพื่อนบ้านกันมาในสมัยเด็กอีกครั้ง พลายแก้วชอบพอกับนางพิม สุดท้ายได้สึกจากเณร และได้นางพิมเป็นภรรยา รวมถึงนางสายทอง พี่เลี้ยงของนางพิมในคืนเดียวกัน

พลายแก้วแต่งงานกับนางพิมได้ไม่นานก็ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระพันวษาไปตีเมืองเชียงทอง และเชียงอินทร์ พลายแก้วได้นางลาวทอง ลูกสาวนายแคว้นบ้านจอมทองมาเป็นภรรยาคนที่สาม หลังจากรบชนะกลับมา สมเด็จพระพันวษาได้ปูนบำเหน็จให้เป็น ขุนแผนแสนสะท้าน ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระกาญจนบุรี และพระยากาญจนบุรี เจ้าเมืองผู้ครองกาญจนบุรี

ผู้แต่ง คือ รัชกาลที่ ๒:: แต่งตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางเนิสทอง ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง ขุนแผนเข้าห้องนางแก้วกิริยา ขุนแผนพานางวันทองหนี รัชกาลที่ ๓:: แต่งตอนขุนช้างขอนางพิมและขุนช้างตามนางวันทอง สุนทรภู่ :: แต่งตอนกำเนิดพลายงาม ครูแจ้ง :: แต่งตอนกำเนิดกุมารทอง ขุนแผนพลายงามแก้พระท้ายน้ำ สะกดพระเจ้าเชียงใหม่และยกทัพกลับ จระเข้เถรขวาด

ภรรยาและบุตร[แก้]

ขุนแผนมีภรรยาทั้งหมด 5 คน เรียงตามลำดับดังนี้

  1. พิมพิลาไลย หรือวันทอง (ลูกสาวของนางศรีประจันกับพันศรโยธา) มีบุตรด้วยกันหนึ่งคนคือ พลายงาม
  2. สายทอง พี่เลี้ยงของนางพิมพิลาไลย
  3. ลาวทอง(ลูกสาวของนางศรีเงินยวงกับแสนคำแมนนายบ้านแห่งจอมทอง) มีบุตรด้วยกันหนึ่งคนคือ พลายณรงค์
  4. บัวคลี่ (ลูกสาวของหมื่นหาญกับสีจันทร์) มีลูกกับขุนแผนหนึ่งคน แต่ขุนแผนได้ผ่าท้องออกมาก่อนเกิด และปลุกเสกเป็น กุมารทอง
  5. แก้วกิริยา (ลูกสาวของพระยาสุโขทัยกับเพ็ญจันทร์) มีบุตรด้วยกันหนึ่งคนคือ พลายชุมพล

คาถาและของวิเศษ[แก้]

ขุนแผนได้เรียนรู้คาถาวิชาต่าง ๆ ในสมัยที่บวชเป็นเณร ตัวอย่างคาถาที่มีได้แก่ คาถามหาละลวย วิชาคงกระพันชาตรี วิชามหาเสน่ห์ วิชาสะเดาะกลอน การเสกกุมารทอง การควบคุมผีพรายหรือโหงพราย

นอกจากนี้ขุนแผนยังมีของวิเศษ 3 อย่างสำคัญ ดังนี้

ม้าสีหมอก
เป็นม้าแสนรู้ พาหนะประจำตัวขุนแผน มีแม่เป็นม้าเทศ พ่อเป็นม้าน้ำ ตัวสีหมอก ตาสีดำ สีหมอกเป็นม้ารุ่นหนุ่มจึงซุกซน เที่ยวไล่กัดม้าตัวอื่น ๆ อยู่เสมอ ถูกคนดูแลม้าไล่ตี ขุนแผนไปพบม้าสีหมอกที่เพชรบุรี เห็นมีลักษณะดีต้องตามตำรา จึงขอซื้อแล้วเสกหญ้าให้สีหมอกกิน สีหมอกจึงเชื่องติดตามขุนแผนไปแต่โดยดี
ดาบฟ้าฟื้น
กุมารทอง

ส่วนหนึ่งบทเสภาจากวรรณคดี ขุนช้าง-ขุนแผนที่แต่งขึ้น ซึ่งกล่าวถึงการเรียนวิชาอาคมของขุนแผน เป็นบทเสภาที่ไพเราะแสดงถึงพรสวรรค์และความชำนาญในการใช้คาถาอาคมของขุนแผน

ซึ่งด้านการเรียนวิชาอาคมนั้นก็ตกทอดมาถึง 'พลายงาม' ลูกของของขุนแผนกับนางวันทองด้วย ครั้งเมื่อเดินทางหนีออกจากบ้านของขุนช้างจากสุพรรณบุรีเพื่อไปอยู่กับย่า คือ 'นางทองประศรี' ที่กาญจนบุรี โดยเรียนผ่านตำราหนังสือต่าง ๆ ที่เป็นของขุนแผนที่เก็บไว้ในตู้ที่บ้านของนางทองประศรีผู้เป็นแม่ ในการเรียนนั้นพลายงามมี 'นางทองประศรี' ผู้เป็นย่าคอยสอนให้ ดังปรากฏในกลอนบทที่ว่า

อันเรื่องราวกล่าวความพลายงามน้อย        อยเรียบร้อยเรียนรู้ครูทองประศรี
ทั้งขอมไทยได้สิ้นก็ยินดี เรียนคัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์
ปัถมังตั้งตัวนะปัดตลอด แล้วถอนถอดถูกต้องเป็นล่องหน
หัวใจกริดอิทธิเจเสน่ห์กล แล้วเล่ามนต์เสกขมิ้นกินน้ำมัน
เข้าในห้องลองวิชาประสาเด็ก แทงจนเหล็กแหลมลู่ยู่ขยั้น
มหาทะมื่นยืนยงคงกระพัน ทั้งเลขยันต์ลากเหมือนไม่เคลื่อนคลาย
แล้วทำตัวหัวใจอิติปิโส สะเดาะโซ่ตรวนได้ดังใจหมาย
สะกดคนมนต์จังงังกำบังกาย เมฆฉายสูรย์จันทร์ขยันดี
ทั้งเรียนธรรมกรรมฐานนิพพานสูตร ร้องเรียกภูตพรายปราบกำราบผี
ผูกพยนต์หุ่นหญ้าเข้าราวี ทองประศรีสอนหลานชำนาญมา

อาจารย์[แก้]

ขุนแผนในสื่ออื่น[แก้]

ในภาพยนตร์เรื่องขุนแผน พ.ศ. 2545 ขุนแผนรับบทโดยวัชระ ตังคะประเสริฐ

ได้มีการนำตัวละครขุนแผน มาเป็นตัวละครหลักในละครย้อนยุคเรื่อง ขุนแผนแสนสะท้าน ใน พ.ศ. 2560 โดยเป็นละครที่ดำเนินเรื่องหลังจากขุนแผนได้รับปูนบำเหน็จเป็นขุนแผนแสนสะท้าน และได้เข้ามาเป็นเจ้าเมืองด่านกาญจนบุรี แสดงโดย ณ ภพ ประสบลาภ ออกอากาศทาง ช่องจ๊ะทิงจา


จากนั้นในปี2564ช่องวันได้นำขุนแผนมาเป็นตัวหลักในเรื่องวันทอง​รับบทโดย​ณวัฒน์​ กุลรัตนรักษ์