อำเภอปากพนัง
อำเภอปากพนัง | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: รังนกเลื่องชื่อ ร่ำลือขนมลา โอชาไข่ปลากระบอก ส่งออกกุ้งกุลาดำ ออกพรรษาไหว้พระลาก นิยมมากแข่งเรือเพรียว | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 8°21′30″N 100°12′24″E / 8.35833°N 100.20667°E | |
อักษรไทย | อำเภอปากพนัง |
อักษรโรมัน | Amphoe Pak Phanang |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 450.45 ตร.กม. (173.92 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 98,670 คน |
• ความหนาแน่น | 219.04 คน/ตร.กม. (567.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 80140, 80330 (เฉพาะตำบลคลองน้อย ชะเมา และเกาะทวด) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8012 |
ที่ตั้ง ที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอปากพนัง หมู่ที่ 2 ถนนชายทะเล ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80140 |
![]() |
อำเภอปากพนัง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประวัติ[แก้]
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดปกครองท้องที่ให้มีมณฑลเทศาภิบาลใน ร.ศ. 114 อำเภอปากพนังมีชื่อว่า อำเภอเบี้ยซัด หมายถึง สถานที่ที่คลื่นซัดเอาหอยเบี้ยจากทะเลเข้าสู่หาด ซึ่งสมัยโบราณใช้หอยเบี้ยเป็นเงินตราแลกเปลี่ยนสินค้า และในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2445 ได้มีพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนชื่ออำเภอเบี้ยซัด เป็น อำเภอปากพนัง[1]
เมืองปากพนัง เป็นเมืองท่ามาตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นศูนย์กลางทางการค้าและเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล และมีอ่าวภายในบริเวณปากแม่น้ำปากพนัง เหมาะแก่การเดินเรือและการกระจายสินค้าต่อไปยังหัวเมืองสำคัญอื่น ๆ ทำให้สภาพเศรษฐกิจในสมัยก่อนเฟื่องฟูมาก เนื่องจากมีสำเภาจากเมืองจีนและเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่มาเทียบท่าและกระจายสินค้า และนอกจากนี้ยังปรากฏในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จเยือนปากพนัง เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 ความตอนหนึ่งว่า "อำเภอปากพนังนี้ ได้ทราบอยู่แล้วว่าเป็นที่สำคัญอย่างไร แต่เมื่อไปถึงฝั่งรู้สึกว่าตามที่คาดคะเนนั้น ผิดไปเป็นอันมาก ไม่นึกว่าจะใหญ่โตมั่งมีถึงเพียงนี้" และอีกตอนหนึ่งว่า "เมื่อจะคิดว่าตำบลนี้มีราคาอย่างไรเทียบกับเมืองสงขลา เงินผลประโยชน์แต่อำเภอเดียวนี้ น้อยกว่าเมืองสงขลาอยู่ 20,000 บาทเท่านั้น บรรดาเมืองท่าในแหลมมาลายูฝั่งตะวันออก เห็นจะไม่มีแห่งใดดีเท่าปากพนัง"
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอปากพนังตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหัวไทร อำเภอเชียรใหญ่ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
(1).พายุโซนร้อนแฮเรียต เป็นพายุที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยเมื่อเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2505 พายุโซนร้อนแฮเรียตพัดขึ้นฝั่งที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นยังคงเป็นที่จดจำมาถึงทุกวันนี้
(2).พายุโซนร้อนปาบึก (พ.ศ. 2562) (T1901, 36W) – พายุลูกแรกของปี 2562 ที่พัดขึ้นฝั่งที่อำเภอปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2562 ส่งผลให้มีฝนตกหนัก ลมแรงและคลื่นสูงในพื้นที่ภาคใต้และบ้านเรือนของชาวบ้านได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอปากพนังแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 18 ตำบล 133 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอปากพนังประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองปากพนัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากพนังทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลหูล่อง ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก ตำบลบางพระ และตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก
- เทศบาลตำบลเกาะทวด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะทวดทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลชะเมา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะเมาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพระ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองปากพนัง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าระกำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าระกำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองกระบือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองกระบือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหูล่อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหูล่อง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองปากพนัง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมตะลุมพุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมตะลุมพุกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองปากพนัง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางศาลาและตำบลบางตะพงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองปากพนัง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเพิงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าพยาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากแพรกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลขนาบนาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขนาบนากทั้งตำบล
สาธารณสุข[แก้]
- โรงพยาบาลปากพนัง ขนาด 120 เตียง
สถานศึกษา[แก้]
- ระดับมัธยมศึกษา
- โรงเรียนปากพนัง
- โรงเรียนสตรีปากพนัง
- โรงเรียนโศภนคณาภรณ์
- โรงเรียนอินทร์ธานีวิทยาคม
- โรงเรียนเทศบาลวัดศรีสมบูรณ์ (สังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง)
- อาชีวศึกษา
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาปากพนัง (โรงเรียนปากพนังพาณิชยการ เดิม)
- วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา (โรงเรียนเทคโนโลยีทักษิณ เดิม)
- วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการต่อเรือ นครศรีธรรมราช
ธนาคาร[แก้]
- ธนาคารกรุงเทพ สาขาปากพนัง
- ธนาคารกรุงไทย สาขาปากพนัง
- ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาปากพนัง
- ธนาคารธนชาต สาขาปากพนัง
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาปากพนัง
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาย่อย ปากพนังฝั่งตะวันตก
- ธนาคารออมสิน สาขาปากพนัง
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- แหลมตะลุมพุก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
สถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจ[แก้]
- สะพานปลานครศรีธรรมราช เป็นสะพานปลาในกำกับดูแลขององค์การสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2547[2]