อำเภอร่อนพิบูลย์
อำเภอร่อนพิบูลย์ | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: อุดมสินแร่ เมืองแม่เศรษฐี ผลไม้พันธุ์ดี มีปศุสัตว์ เกจิหลวงพ่อ ใบพ้อสานพัด ดุกย่างรสจัด ทิวทัศน์รามโรม | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 8°10′48″N 99°51′18″E / 8.18000°N 99.85500°E | |
อักษรไทย | อำเภอร่อนพิบูลย์ |
อักษรโรมัน | Amphoe Ron Phibun |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 358.74 ตร.กม. (138.51 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 82,465 คน |
• ความหนาแน่น | 229.87 คน/ตร.กม. (595.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 80130, 80350 (เฉพาะตำบลเสาธงและหินตก) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8013 |
ที่ตั้ง ที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอร่อนพิบูลย์ หมู่ที่ 12 ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80130 |
![]() |
อำเภอร่อนพิบูลย์ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประวัติ[แก้]
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองแผ่นดิน เป็นแบบเทศาภิบาล ร่อนพิบูลย์เป็นแขวงหนึ่งที่จัดตั้งขึ้น ในมณฑลนครศรีธรรมราช โดยประกาศจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2493 ต่อมาได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครอง จากแขวงเป็นอำเภอ อำเภอร่อนพิบูลย์ ได้ชื่อมาจาก "บ้านร่อน" ด้วยเหตุที่ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพร่อนแร่ขาย เมื่อมีการจัดตั้งแขวงขึ้น จึงได้ใช้ชื่อว่า "ร่อนพิบูลย์" และยังมีความหมายบ่งบอกถึงดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยสินแร่ ซึ่งเดิมทีการทำเหมืองแร่เป็นประเภทเหมืองขุดเจาะ
- วันที่ 14 สิงหาคม 2453 จัดสร้างสะพานข้ามห้วยสัก ในท้องที่อำเภอร่อนพิบูลย์[1]
- วันที่ 1 เมษายน 2460 ตั้งไปรษณีย์โทรเลข ที่อำเภอร่อนพิบูลย์[2] เนื่องจากการทำบ่อแร่ดีบุก[3][4] และการค้าขายเจริญขึ้นมาก เพื่อให้สะดวกแก่ราชการ และการค้าขายในอำเภอ
- วันที่ 16 กันยายน 2466 แยกพื้นที่ตำบลชะอวด ตำบลท่าประจะ ตำบลท่าเสม็ด ตำบลวังอ่าง และตำบลเคร็ง อำเภอร่อนพิบูลย์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอชะอวด ขึ้นกับอำเภอร่อนพิบูลย์[5]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลควนชุม แยกออกจากตำบลควนพัง ตั้งตำบลเสาธง แยกออกจากตำบลหินตก ตั้งตำบลวังอ่าง แยกออกจากตำบลท่าประจะ ตั้งตำบลเคร็ง แยกออกจากตำบลท่าเสม็ด[6]
- วันที่ 1 มีนาคม 2492 โอนพื้นที่หมู่ 6 (ในตอนนั้น) ของตำบลควนพัง อำเภอร่อนพิบูลย์ ไปขึ้นกับตำบลท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่[7]
- วันที่ 10 มีนาคม 2496 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ เป็น อำเภอชะอวด[8]
- วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลร่อนพิบูลย์[9]
- วันที่ 16 มิถุนายน 2502 ตั้งเรือนจำชั่วคราวบ้านเขาหมาก ในพื้นที่ตำบลร่อนพิบูลย์ (ในขณะนั้น)[10]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2508 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[11]
- วันที่ 26 สิงหาคม 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลเขาชุมทอง ในท้องที่บางส่วนของตำบลควนเกย[12]
- วันที่ 13 ธันวาคม 2515 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอร่อนพิบูลย์[13]
- วันที่ 17 มิถุนายน 2523 ตั้งตำบลทางพูน แยกออกจากตำบลเสาธง[14]
- วันที่ 15 มกราคม 2536 ตั้งตำบลนาหมอบุญ แยกออกจากตำบลสามตำบล[15]
- วันที่ 23 สิงหาคม 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลหินตก ในท้องที่บางส่วนของตำบลหินตก[16]
- วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2537 แยกพื้นที่ตำบลบ้านควนมุด ตำบลบ้านชะอวด อำเภอชะอวด และตำบลควนหนองคว้า ตำบลทุ่งโพธิ์ ตำบลนาหมอบุญ ตำบลสามตำบล อำเภอร่อนพิบูลย์ มาตั้งเป็น อำเภอจุฬาภรณ์[17] เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัคคราชกุมารี ในวโรกาสที่ทรงมีพระชันษาครบ 3 รอบ ในปีพุทธศักราช 2536
- วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2537 ตั้งตำบลทุ่งโพธิ์ แยกออกจากตำบลควนเกย ตั้งตำบลควนหนองคว้า แยกออกจากตำบลควนเกย ตำบลควนพัง และตำบลควนชุม[18]
- วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลเชียรเขา ตำบลดอนตรอ ตำบลสวนหลวง อำเภอเชียรใหญ่ และตำบลทางพูน อำเภอร่อนพิบูลย์ มาตั้งเป็น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ[19] เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ สุขาภิบาลเขาชุมทอง และสุขาภิบาลหินตก เป็นเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ เทศบาลตำบลเขาชุมทอง และเทศบาลตำบลหินตก ตามลำดับ
- วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลควนเกย รวมกับเทศบาลตำบลเขาชุมทอง[20]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอร่อนพิบูลย์ตั้งอยู่ทางตอนกลาง ค่อนไปทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลานสกาและอำเภอพระพรหม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอชะอวดและอำเภอจุฬาภรณ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอทุ่งสง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอร่อนพิบูลย์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 57 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอร่อนพิบูลย์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลร่อนพิบูลย์
- เทศบาลตำบลเขาชุมทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนเกยทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหินตก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหินตก
- องค์การบริหารส่วนตำบลร่อนพิบูลย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่อนพิบูลย์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหินตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินตก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหินตก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเสาธง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสาธงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลควนพัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนพังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลควนชุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนชุมทั้งตำบล
ธนาคาร[แก้]
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารกรุงเทพ
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารกรุงไทย
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา[แก้]
- โรงเรียนเสาธงวิทยา
- โรงเรียนตระพังพิทยา
- โรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา
- โรงเรียนควนเกยสุทธิวิทยา
- โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์ (โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ)
- โรงเรียนร่อนพิบูลย์วิทยา
อ้างอิง[แก้]
- ↑ [1]แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทำสะพานข้ามห้วยสัก ในอำเภอร่อนพิบูลย์เมืองนครศรีธรรมราชสะพานหนึ่ง
- ↑ [2]ประกาศกระทรวงคมนาคม แผนกไปรษณีย์โทรเลข เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขขึ้นที่อำเภอร่อนพิบูลย์
- ↑ [3]ประกาศกรมราชโลหกิจ [เรื่อง จีนผั่งยอดผู้ถือประทานบัตรที่ ๑๐๑๖/๑๙๘ และที่ ๑๐๑๗/๑๙๙ ทำเหมืองแร่ดีบุกอำเภอร่อนพิบูลย์ แขวงเมืองนครศรีธรรมราช ประทานบัตร ๒ รายนี้สิ้นอายุ]
- ↑ [4]ประกาศกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา ขอใบแทนประทานบัตร หมายเลขที่ ๑๔๐๗/๑๕๖/๒๐๒๗ เหมืองแร่ดีบุก วุลแฟรม ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ [5]ประกาศ เรื่อง จัดเปลี่ยนแปลงท้องที่ในเขตมณฑลนครศรีธรรมราช
- ↑ [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
- ↑ [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ [8]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอจักราช อำเภอสัตตหีบ อำเภอศรีสงคราม อำเภอชะอวด อำเภอหนองแซง อำเภอภาชี อำเภอเขาไชยสน อำเภอชุมพลบุรี อำเภอวาริชภูมิ อำเภอสบปราบ และอำเภอสุไหงโกลก พ.ศ. ๒๔๙๖
- ↑ [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ [10]คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๘๘๒/๒๕๐๑ เรื่อง ตั้งเรือนจำชั่วคราวบ้านเขาหมากตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ [11]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเขาชุมทอง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ [13]ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๔๒ [มีสถานะเทียบเท่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ กำหนดให้ที่ดินของรัฐในท้องที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดตั้งเป็นนิคมสร้างตนเอง]
- ↑ [14]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชะอวด อำเภอหัวไทร และอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ [15]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ [16]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ [17]พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๓๗
- ↑ [18]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอชะอวดและอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ [19]พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี พ.ศ. ๒๕๓๙
- ↑ [20]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล