โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช | |
---|---|
![]() | |
ที่ตั้ง | |
![]() | |
พิกัด | 8°22′24.0″N 99°48′14.3″E / 8.373333°N 99.803972°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 8°22′24.0″N 99°48′14.3″E / 8.373333°N 99.803972°E |
ข้อมูล | |
ชื่อเดิม | โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์[1] |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล[1] |
คำขวัญ | บาลี: สุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ) |
สถาปนา | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2516 (50 ปี 173 วัน) ยกฐานะเป็นสวนฯนคร 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 (12 ปี 273 วัน)[2] |
ผู้ก่อตั้ง | กระทรวงศึกษาธิการ[1] |
เขตการศึกษา | นครศรีธรรมราช[1] |
ผู้บริหาร | เกียรติศักดิ์ บุญรวบ [3] |
ครู/อาจารย์ | 56 คน[4] 2564 |
จำนวนนักเรียน | 1,112 คน[5] 2564 |
ชั้นเรียนที่เปิดสอน | มัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย[1] |
สี | ชมพู-ฟ้า สวนกุหลาบฯ เหลือง-แดง ลานสกาฯ[1] |
เพลง | เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพลงมาร์ชชมพูฟ้า เพลงจากเหลืองแดงสู่ชมพูฟ้า |
สังกัด | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช[1] |
เว็บไซต์ | www.skns.ac.th |
![]() |
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช(อักษรย่อ: ส.ก.นศ., S.K.NS.)[1] เดิมชื่อ โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ (อังกฤษ: LansakaPrachasan School) ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2516 ต่อมากระทรวงศึกษาธิการมีดำริจะให้มีโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยภาคใต้ และมองเห็นความพร้อมของโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ในด้านต่างๆ จึงได้ออกประกาศลงวันที่ 3 มีนาคม 2554 เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ เป็นโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช (อังกฤษ: Suankularb Wittayalai Nakhon Si Thammarat School.) หรือเรียกโดยย่อว่า “สวนนคร” จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา รูปแบบสหศึกษา กลุ่มสถาบันสวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่สิบเอ็ด ให้การศึกษาในระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ รหัสสถานศึกษา 1080210784 มีเนื้อที่ 42 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 109 หมู่ที่ 11 ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช [1]
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช เป็นหนึ่งในสถาบันสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้ง 11 สวน โดยบริหารจัดการภายใต้ธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ ทั้งยังมีกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือ - เนตรนารี สวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ[6]
ประวัติ[แก้]

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ถือกำเนิดจาก “โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์” ซึ่งในระยะเริ่มแรกโรงเรียนยังไม่มีสถานที่ตั้งและอาคารเรียนถาวรจึงได้อาศัยสถานที่ชั่วคราว ณ อาคารเรียนของโรงเรียนวัดดินดอน และโรงฉันวัดดินดอน โดยได้เปิดทำการสอนครั้งแรกในระดับชั้น ม.ศ.1 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2516 มีนักเรียนรุ่นแรก จำนวน 90 คน มี นายสถิต ไชยรัตน์ ครูตรีจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศได้รับแต่งตั้งมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ในขณะนั้น และได้ขอครูประชาบาลมาช่วยสอนสองท่าน คือ นายภิรมณ์ รอดสรี และนายโสภณ จิราสิต ต่อมาได้รับอัตราครูประจำการมาจำนวน 4 อัตรา [7]
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2516 กรมสามัญศึกษา ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนอย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์” (อังกฤษ: LansakaPrachasan School) มีอักษรย่อว่า ล.ส. มีคติพจน์ประจำโรงเรียนว่า “เรียนดี ประพฤติดี สามัคคี มีวินัย” มีปรัชญาประจำโรงเรียนว่า ปญญา วธเนน เสยโย ปัญญาดีกว่าทรัพย์ และใช้ สีเหลือง แดง เป็นสีประจำโรงเรียน[7]
ซึ่งในระหว่างที่อาศัยเรียนอยู่ที่วัดดินดอน ศึกษาธิการอำเภอลานสกาในขณะนั้น คือ นายพิณ สิงคีพงศ์ ได้ประสานงานระดมกำลังกันพัฒนา ปราบพื้นที่ สถานที่ซึ่งได้รับบริจาคให้เป็นที่สร้างโรงเรียน โดยได้รับการบริจาคที่ดินจำนวน 37 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา จากผู้บริจาค 5 ราย คือ นายสีนวล ตรีกำจร จำนวน 21 ไร่ 2 งาน 75 ตารางวา นายซุน ศรีใส จำนวน 13 ไร่ 2 งาน 24 ตารางวา นางหนูเจียร สถานสัตย์ จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 4 ตารางวา นายเลียบ ผกาศรี จำนวน 3 งาน 4 ตารางวา และนายแจ้ว ศรีใส จำนวน 2 งาน 62 ตารางวา [7]
โดยที่ดินได้รับการบริจาคตั้งอยู่บริเวณ เยื้องหน้าที่ว่าการอำเภอลานสกา ซึ่งขณะนั้นอยู่ในพื้นที่ของหมู่ที่ 6 ตำบลกำโลน (ต่อมา พ.ศ. 2545 ได้กำหนดแบ่งแยกพื้นที่ใหม่ของหมู่ที่ 6 เป็นสองหมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 6 เดิม และหมู่ที่ 11 ซึ่งบริเวณโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ อยู่ในเขตของหมู่ที่ 11 ตำบลกำโลนในปัจจุบัน) [7]
ในระยะเริ่มแรกบนที่ตั้งใหม่บริเวณเยื้องหน้าที่ว่าการอำเภอลานสกา ได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง จำนวน 6 ห้องเรียน โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียน และชาวบ้านในการช่วยกันสร้าง และร่วมกันบริจาควัสดุ แรงงาน ในขณะเดียวกันได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู จำนวน 1 หลัง ส้วม 1 หลัง [7]
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ได้ย้ายสถานที่เรียนจากสถานที่ชั่วคราววัดดินดอน มาเรียนในพื้นที่ปัจจุบันบริเวณเยื้องหน้าที่ว่าการอำเภอลานสกา และได้ขยายปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งจำนวนนักเรียน บุคลการ อาคารเรียน และอาคารประกอบต่างๆ [7]
เมื่อมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายพื้นที่โรงเรียนออกไปอีก เพื่อให้เพียงพอกับการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ นายสถิตย์ ไชยรัตน์ ผู้บริหารในขณะนั้นได้ร่วมกับคณาจารย์ หารายได้โดยการออกร้านจำหน่ายอาหาร ในงานเดือนสิบ และเงินบริจาคของคณะอาจารย์ นำไปซื้อที่ดินขยายเพิ่มไปทางตะวันตก เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2527 จำนวน 5 ไร่ เป็นเงิน 200,000 บาท ทำให้ปัจจุบันจึงมีที่ดินจำนวน 42 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา [7]
โรงเรียนได้รับการวางรากฐานที่ดีมากจากนายสถิตย์ ไชยรัตน์ ผู้บริหารคนแรกของโรงเรียน ที่ได้วางรากฐานทั้งการวางผังแม่บท มีภูมิทัศน์ที่โดดเด่น สวยงาม ร่มรื่น รวมทั้งวัฒนธรรมองค์กร และการบริหารจัดการ ผู้บริหารสมัยต่อๆมาก็ได้สานต่อ เสริมสร้าง เติมเต็ม และพัฒนา มีจัดสร้างวัตถุถาวรสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในพื้นที่เพิ่มขึ้นทุกปี และทุกสมัยของผู้อำนวยการ โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์จึงได้รับการยกย่องให้เป็นโรงเรียนเรียนดีเด่นในด้านบรรยากาศสิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่ และด้านการบริหารจัดการ ปีการศึกษา 2537 โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ได้รับรางวัลพระราชทาน และนางสาวสุนันทา เนาวกะ เป็นนักเรียนรับรางวัลพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมขนาดกลาง โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน เมื่อเดือน กรกฎาคม 2546 และได้ผ่านการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนต้นแบบ โครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ได้รับรางวัลพระราชทาน และนายณัฐพงศ์ สมพันธุ์ เป็นนักเรียนรับรางวัลพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมขนาดกลาง นอกจากนี้โรงเรียนได้จัดกิจกรรมชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาจนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ และได้รับการประเมินให้เป็นโรงเรียนรักษามาตรฐานต้นแบบระดับเพชร จัดกิจกรรมรณรงค์และรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกโรงเรียน ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการและได้รับโล่รางวัลจากกรมส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ได้รับโล่งเกียรติยศเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดีเด่น และได้รับเกียรติบัตรพัฒนาเข้าสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับเพชร จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด และกิจกรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในส่วนของนักเรียน นายปฏิพันธ์ เจริญผล ได้รับประกาศเชิดชูเกียรติเป็น “ต้นแบบคนดีศรีแผ่นดิน” จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายวัชรพงศ์ เชี่ยววิทย์ ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติยกย่องว่า “มีความประพฤษดีงาม” เนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2553 โดยพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย นางสาวณัฐกฤตา ทองพิจิตร ได้รับการคัดเลือกไปร่วมงาน Bristish Council Connecting Classrooms Expo ณ ประเทศไต้หวัน
นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนชาวลานสกาทุกคนมีความภูมิใจในโรงเรียนและนักเรียน ทุกคนมีความมุ่งมั่น และร่วมมือกันพัฒนาโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์มาโดยตลอด[7]

จนกระทั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ในขณะนั้น มีดำริจะพัฒนาและสร้างโอกาสทางการศึกษา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยมองจากทำเลที่ตั้ง คุณภาพงาน ความสำเร็จในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งระยะทาง เป็นข้อมูลให้มีการพิจารณา[8] โดยคำนึงถึงจุดกระจายความเจริญ และพัฒนาการศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ในรูปแบบพัฒนาโรงเรียนคุณภาพให้กระจายอยู่ในต่างอำเภอ เป็น จตุรทิศ คือ
- ทิศเหนือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศตะวันออก โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศใต้ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศตะวันตก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ โดยประวัติท่านมีเครือญาตที่อำเภอนี้ ใกล้วัดปะธรรมาราม เมื่อกล่าวถึงบารมีและเจตนาที่ดีต่อประเทศชาติ ถือเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความยั่งยืนของความเป็นไทยที่สุดขณะนั้น เมื่อประกอบกับท่านเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จึงเป็นเหตุผลอีกประการหนึ่งต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
การพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา การสั่งสมคุณงามความดี เกียรติยศ และคุณค่าทางการศึกษา ของโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ เป็นสิ่งที่ปรากฏ และเมื่อได้ร่วมพัฒนาอยู่ในเครือข่ายกับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ก็ยิ่งจะนำไปซึ่งความพร้อม โอกาส และความสำเร็จอันจะเป็นผลดีต่อ ชาวลานสกาประชาสรรค์ อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช สังคมการศึกษาทั่วไปเป็นส่วนรวม
วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ในขณะนั้น ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อ โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ เป็นโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช เพื่อให้เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนากับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร [9] ในวันเดียวกันนี้โรงเรียนได้วางวางศิลาฤกษ์ป้ายนามโรงเรียนใหม่บริเวณด้านหน้าโรงเรียน โดยป้ายโรงเรียนได้รับแรงบันดาลใจมาจากเทือกเขาหลวงนครศรีธรรมราช
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โรงเรียนได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ ก่อสร้างแท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ และประกอบพิธีเททอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 5 ) โดยมี ฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นประธานในพิธี ต่อมา วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรีได้เข้าเยี่ยมโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช เป็นการส่วนตัว โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ตัวแทนนักเรียนให้การต้อนรับ
19 กันยายน พ.ศ. 2559 เมื่อได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จ โรงเรียนจึงได้อัญเชิญจาก มทบ.41 ค่ายวชิราวุธ (อัญเชิญมาจากกรุงเทพฯมาแล้วนำมาพักที่ มทบ.41 ค่ายวชิราวุธ) มายังโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช โดยในภาคกลางคืนมีงานสมโภชองค์พระรูป ร.5 และสมโภชกฐิน และในเช้าของวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559 โรงเรียนได้ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ลงบนแท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โรงเรียนได้ทำพิธีเปิดโรงอาหารใหม่ ขนาด 500 ที่นั่ง โดยมีนายอำเภอลานสกาเป็นประธานในพิธีเปิด นอกจากนี้โรงเรียนก็ได้รับงบประมาณปรับปรุงเรื่อยมาในด้านต่างๆ
สัญลักษณ์[แก้]
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]
-
ตราประจำโรงเรียน พ.ศ. 2425 - 2452
-
ตราประจำโรงเรียน พ.ศ. 2452 - 2459
-
ตราประจำโรงเรียน พ.ศ. 2459 - 2475
-
ตราประจำโรงเรียน พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน



- ตราประจำโรงเรียน ตราประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช เป็นตราประจำโรงเรียนที่ใช้ร่วมกันในกลุ่มสถาบันสวนกุหลาบ ทั้ง 11 สวน โดยที่ตราประจำโรงเรียน เป็นตราของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบซึ่งได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตรานี้ เมื่อ พ.ศ. 2475 มีลักษณะของตราเป็นรูปหนังสือ ที่บริเวณหน้าปกได้ประดิษฐานพระปรมาภิไทยย่อ จ.ป.ร. และมีพระเกี้ยวยอดอยู่ด้านบน ในหนังสือมีขนนก ดินสอ ไม้บรรทัด ด้านขวามีช่อ กุหลาบ 4 ดอก อันหมายถึง หัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ริ หรือ ฟัง พูด อ่าน เขียน การเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมเกิดจาก การฟัง คิด สอบถาม และจดบันทึก จึงจะเรียนได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ด้านล่างซ้ายของ หนังสือมีริบบิ้นผูกอยู่ที่ก้านกุหลาบมีข้อความอยู่ที่ริบบิ้น เขียนว่า “โรงเรียนหลวงสวนกุหลาบ” ด้านบน ปรากฏมีปรัชญาและคติพจน์ “สุวิชาโน ภว โหติ” ด้านล่างมีคำแปลว่า “ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ” ตรานี้จึงประมวลความดีทั้งหลายรวบรวมไว้ในตราโรงเรียน จึงถือว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวสวนกุหลาบวิทยาลัยควรภาคภูมิใจ[10]
- พุทธศาสนสุภาษิตภาษาบาลีสันสกฤต ความว่า “สุวิชาโน ภวํ โหติ” อ่านว่า "สุ-วิ-ชา โน พะ-วัง โห-ติ" แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ”
- ผู้รู้ดี คือ ผู้รู้และเข้าใจในสิ่งต่างๆได้ดี คือรู้อ่าน รู้คิด รู้เท่าทัน รู้ความและรู้คุณ
- ผู้เจริญ คือผู้ที่เจริญด้วย ความประพฤติดี ดีพร้อมทั้งกาย วาจา และใจ กระทำแต่สิ่งที่ดีงาม สร้างสรรค์คำนึงถึงผลประโยชน์ ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว[10]
- อักษรย่อ ส.ก.นศ. เป็นอักษรย่อของโรงเรียนภาษาอังกฤษ S.K.NS.ใช้ปักบนเครื่องแบบนักเรียนทุกชั้นปี โดยจะไม่ปักชื่อ-นามสกุล แต่ปักเพียงอักษรย่อ ส.ก.นศ. สีกรมท่าหรือน้ำเงินเข้ม ประดับบริเวณอกข้างขวา
- สัญลักษณ์เสมาชมพู-ฟ้า เป็นตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนลำดับที่ 3 เดิมเป็นเข็มประดับชุดนักเรียน ต่อมาได้พัฒนาเรื่อยมา และเปลี่ยนมาเป็นการปักด้วยด้ายรูปทรงใบเสมาสีชมพู-ฟ้าอย่างละครึ่ง ประดับเหนืออักษรย่อ ส.ก.นศ. บนชุดนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายบริเวณอกข้างขวา
- สีประจำโรงเรียน ชมพู - ฟ้า
- ███ สีชมพู เป็นสีประจำวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันอังคาร ความหมายของสีชมพู คือ ความสุภาพอ่อนหวาน อ่อนโยน นอบน้อมเป็นสีแห่งความรัก ความเอื้อเฟื้อที่มีต่อบุลคลทั่วไป เป็นสีแห่งความเมตตา
- ███ สีฟ้า เป็นสีประจำนพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ ความหมายของสีฟ้า คือ ความเข้มแข็งอดทน ความกล้าหาญ ความเสียสละเป็นสีของท้องฟ้าที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ไพศาลไม่มีที่สิ้นสุด เป็นสีแห่งจักรวาล
- ██████ สีชมพู-ฟ้า จึงมีความหมายถึง องค์ผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และพระบรมราชินีนาถ ทั้งยังหมายถึง เป็นแหล่งที่มีความรัก ความสามัคคี ของผู้ที่มีความดีงาม มีความนึกคิดที่สูงส่ง[10]
- สุภาพบุรุษสุภาพสตรีสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช “สุภาพบุรุษสวนกุหลาบฯ” หมายถึง นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยที่ได้รับการปลูกฝังให้เป็นเป็นเลิศด้านคุณธรรม เป็นผู้นำที่มีคุณภาพ มีความสามารถทางวิชาการ มีวินัย ใส่ใจในระบอบประชาธิปไตย ยึดมั่นในสถาบันแห่งชาติ ไม่ละเลยในประโยชน์ส่วนรวม เอื้ออาทรต่อกันด้วยความรักความสามัคคี ประจักษ์ในพระคุณครู ร่วมเชิดชูเกียรติภูมิแห่งสวนกุหลาบ “เป็นผู้นำ รักเพื่อน นับถือพี่ เคารพครู กตัญญูพ่อแม่ ดูแลน้อง สนองคุณแผ่นดิน” เป็นสโลแกนช่วยให้จดจำได้ง่าย ต้องใส่ความเป็นสวนกุหลาบด้วยความภาคภูมิใจในเรื่องราวต่างๆ ของ “สวนกุหลาบฯ” เมื่อสิ่งต่างๆ สะสมอยู่ในตัวจึงจะเป็น “สุภาพบุรุษสุภาพสตรีสวนกุหลาบนครฯ” ที่สมบูรณ์[10]
- ภาวะผู้นำเด่น เน้นสิ่งแวดล้อม มีความพร้อมทักษะชีวิต เป็นเอกลักษณ์ประจำโรงเรียน
- นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานความเป็นไทย ก้าวไกลเทคโนโลยี สู่มาตรฐานสากล เป็นวิสัยทัศน์ / ปรัชญาประจำโรงเรียน
- ดอกกุหลาบพันธุ์จุฬาลงกรณ์ เป็นดอกไม้ประจำโรงเรียน กุหลาบจุฬาลงกรณ์ คือ ดอกกุหลาบพันธุ์หนึ่ง ไม่มีหนามที่ลำต้น มีขนาดดอกที่ใหญ่มาก สีชมพู และมีกลิ่นหอมจัด เกิดการการเพาะพันธุ์ของชาวยุโรปผู้หนึ่ง และชาวยุโรปผู้นั้นได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้งชื่อกุหลาบงามพันธุ์ที่เขาผสมขึ้นใหม่ว่า “King of Siam” ซึ่งเป็นดอกกุหลาบที่โปรดของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และทรงถวายนามกุหลาบนั้นว่า "กุหลาบจุฬาลงกรณ์"[10]
- ต้นอโศกน้ำ เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียน อโศกน้ำ โสก หรือ โสกน้ำ (Ashoka tree ชื่อวิทยาศาสตร์: Saraca asoca; บางครั้งใช้ผิดเป็น Saraca indica) เป็นพืชในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (Caesalpinioideae) มีถิ่นกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 20 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ ยาว 10-15 เซนติเมตร ใบย่อย 1-7 คู่ เรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 2-10 เซนติเมตร ยาว 5-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน รูปลิ่ม แผ่นใบหนา ดอกสีส้มหรือแดง ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดเรียว ยาวประมาณ1-2 เซนติเมตร บริเวณปลายแยกเป็น 4 แฉก รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ปลายมน ผลแห้งแตก เป็นฝักทรงแบน กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 6-30 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดรูปไข่ แบน มี 1-3 เมล็ด อโศกน้ำนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ยอดอ่อนและดอกสามารถรับประทานได้ โดยดอกมีรสเปรี้ยวอมฝาด ช่วยขับเสมหะ เปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เช่น Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa และ Staphylococcus aureus ซึ่งภายในโรงเรียนจะมีต้นอโศกน้ำเติบโตให้เห็นภายในโรงเรียนมีจำนวนมาก
- เพลงประจำโรงเรียน เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (บรรดาเรา) ประพันธ์ขึ้นตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คำร้องโดย หม่อมราชวงศ์เลื่อน สิงหรา ผู้เรียบเรียงคือ สุวัฒน์ เทียมหงษ์ ทำนองจากเพลงแขกต่อยหม้อ อัตราจังหวะสองชั้น เป็นเพลงไทยเดิมที่ใช้ประกอบการแสดง ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีจังหวะการเอื้อนทำนองโดยเฉพาะ โดยจะร้องในโอกาสสำคัญของโรงเรียนเท่านั้นโดยจะมีการการทำความเคราพเพลงประจำโรงเรียนก่อนเริ่มร้องเพลง นอกจากนี้ก็ยังมีเพลงสวนกุหลาบอื่นๆอีกมากมาย [11][12]
- ฟอนต์เอสเค นคร (Font SK NAKHON) ฟอนต์ประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ทศวรรษสวนนคร 3 มีนาคม 2564 ฟอนต์ได้รับแรงบัลดาลใจมาจากอักษรประดิษฐ์บนตราประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่ 4 ความว่า “สุวิชาโน ภว โหติ” “ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ” และรูปแบบฟอนต์ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยยังคงเอกลักษณ์ความเป็นอักษรประดิษฐ์เดิมและเพิ่มเติมอักขระเพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้
สิ่งเคารพสักการะ[แก้]
- หลวงพ่อสวนกุหลาบ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง พระราชทานเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เมื่อครั้งเป็นโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงพระมหากรุณาธิคุณให้ตั้งชื่อเป็นครั้งที่พระตำหนักสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2424 เข้าใจว่าเมื่อโรงเรียนย้ายออกมาตั้งภายนอก พระบรมมหาราชวัง หลวงพ่อสวนกุหลาบคงได้เป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียนต่อมา
ในปัจจุบันเนื่องด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนครศรีธรรมราชถูกยกฐานะจากโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์จึงมีพระพุทธรูปประจำโรงเรียนเดิมอยู่ จึงยังไม่มีการจัดสร้างหลวงพ่อสวนกุหลาบในขณะนี้
ดำเนินการจัดสร้าง ตามแบบกรมศิลปากร เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์หล่อด้วยสำริด ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง มีลักษณะพระราชอิริยาบถประทับยืนเต็มพระองค์ ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ฉลองพระองค์จอมพลทหารบกภูษาโยง พระหัตถ์ซ้ายทรงถือพระแสงกระบี่และถุงพระหัตถ์ ความสูง 285 เซนติเมตร น้ำหนัก 800 กิโลกรัม โดยถูกจัดสร้างมีรูปแบบเดียวกับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระราชโอรส ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
ทรงพระราชสมภพ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 เสด็จสวรรคต วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม กอปรด้วยพระเมตตาธรรม และพระคุณธรรมอันประเสริฐ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ สร้างความเจริญแก่ประเทศชาติเป็นอเนกประการ ทางด้านการปกครอง การเลิกทาส การเศรษฐกิจ การคมนาคม การสาธารณสุข การศาสนา ทรงส่งเสริมการศึกษา และวางรากฐานการศึกษาอย่างเป็นระบบ ทรงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อพสกนิกรได้มีโอกาสศึกษาอย่างเสมอภาค ดังพระราชปณิธาน
‘เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะนั้น จึงพอบอกได้ว่า การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้ จะเป็นข้อสำคัญข้อที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดขึ้นให้เจริญจงได้’ ข้าราชการ ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และนักเรียน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงพร้อมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ เพื่อสักการะ เฉลิมพระเกียรติ ประกาศเกียรติคุณ ให้แผ่ไพศาล ตราบกาลนาน
ผู้บริหาร[แก้]
โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ [13][แก้]
ทำเนียบผู้บริหารลานสกาประชาสรรค์ (เดิม) | |||
---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1 | นายสถิตย์ ไชยรัตน์ | พ.ศ. 2516 - 2528 | ครูใหญ่ |
2 | นายไสว สุวรรณอักษร | พ.ศ. 2528 - 2531 | |
3 | นายอุทัย เสือทอง | พ.ศ. 2531 - 2535 | |
4 | นายสวงศ์ ชูกลิ่น | พ.ศ. 2535 - 2536 | |
5 | นายบำรุง จริตงาม | พ.ศ. 2536 - 2537 | |
6 | นายมงคล สุคนธชาติ | พ.ศ. 2537 - 2541 | |
7 | นายสมคิด พัวพันธ์ | พ.ศ. 2541 - 2543 | |
8 | นายถวิล รัตนโชติ | พ.ศ. 2543 - 2547 | |
9 | นายสุพจน์ อภิศักดิ์มนตรี | พ.ศ. 2473 - 2475 | |
10 | นายอำพล ยะสะนพ | พ.ศ. 2547 - 2552 | |
11 | นายโชติ ธานีรัตน์ | พ.ศ. 2552 - 2554 | |
12 | นายวินัย ชามทอง | พ.ศ. 2554 - 2 มีนาคม 2554 |
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช[แก้]
ทำเนียบผู้บริหารสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช (ปัจจุบัน) | |||
---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1 | นายวินัย ชามทอง | 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 - 2555 | |
2 | นายชาติชาย ทองเลี่ยมนาค | พ.ศ. 2555 - 2559 | |
3 | นายสมพงษ์ ปานหงษ์ | พ.ศ. 2559 - 2562 | |
4 | นายเกียรติศักดิ์ บุญรวบ | พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน |
การศึกษา[แก้]
มัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]
การรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จะรับสมัครนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้ารับการสอบข้อเขียน โดยมี 2 ประเภท 8 ห้องเรียน ดังนี้
- ประเภทโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ − คณิตศาสตร์ ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
- ประเภทห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 7 ห้อง (280 คน)
มัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]
การรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จะให้โควตากับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เดิมของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ที่ผ่านเกณฑ์ตามที่โรงเรียนกำหนดก่อน จำนวน 120 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั่วไป จำนวน 80 คน เข้ารับการสอบข้อเขียน โดยมี 3 หลักสูตรดังนี้
- แผนการเรียนวิทย์ – คณิต ระดับชั้นละ 2 ห้อง (80 คน)
- แผนการเรียนศิลป์ – คำนวณ ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
- แผนการเรียนศิลป์ – สังคม ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
- แผนการเรียนศิลป์ – จีน ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)**เปิดรับรุ่นแรกปีการศึกษา 2566**
ที่ตั้ง และสิ่งก่อสร้าง[แก้]

สถานที่ตั้ง[แก้]
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ตั้งอยู่เลขที่ 109 หมู่ที่ 11 ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80230 ประเทศไทย ใกล้กับที่ว่าการอำเภอลานสกา และหมู่บ้านคีรีวง โดยมาตามถนน 4016 จากตัวเมืองนครศรีธรรมราช ผ่านสี่แยกเบญจมตรงมาตามถนน 4016 เมื่อถึงสามแยกบ้านตาลให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนหมายเลข 4015 ทางที่มุ่งหน้าไปยังอำเภอลานสกา ประมาณ 11.8 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสาย นครฯ-ลานสกาใน นครฯ-เขาแก้ว หรือ นครฯ-จันดี โดยให้ลงบริเวณป้ายหยุดรถหน้าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช เยื้องที่ว่าการอำเภอลานสกาและสถานีตำรวจภูธรอำเภอลานสกา[1]
อาคารต่างๆ ภายในโรงเรียน[แก้]
- อาคารเรียน 1 “อำนวยการ” 216 ค..216 ล.ป,29 ,216 ก,,216 ปรัปปรุง 46,216 สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2518 เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน เป็นอาคาร 2 ชั้น หันหน้าไปทางทิศใต้ โดยในอาคารนี้มีห้องสำคัญคือ ห้องประทับทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ห้องผู้อำนวยการ ห้องธุรการ ห้องกิจการนักเรียน ห้องศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น ห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ [14] ห้องพักอาจารย์ สังคมศึกษา และห้องต้อนรับ
- อาคารเรียน 2 216 ค..216 ล.ป,29 ,216 ก,,216 ปรัปปรุง 46,216 สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2521 เป็นอาคารเรียนหลังที่สองของโรงเรียน เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น หันหน้าไปทางทิศใต้ ตั้งอยู่หลัง อาคารอำนวยการ โดยมี ถนนและสวนหย่อม คั่นกลาง โดยในอาคารนี้มีห้องสำคัญคือ ชั้น 1 ห้องสิ่งแวดล้อม ห้องเรียนเขียนแบบ ห้องพยาบาล ห้องกิจการนักเรียน(ห้องคณะกรรมการสภานักเรียนฯ) ชั้น 2 ห้องพักอาจารย์ วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนชีววิทยา ห้องเรียนเคมี ห้องเรียนฟิสิกส์ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไป ชั้น 3 ห้องพักอาจารย์ ภาษาต่างประเทศ และห้องเรียนภาษาต่างประเทศ
- อาคารเรียน 3 216 ค..216 ล.ป,29 ,216 ก,,216 ปรัปปรุง 46,216 สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2526 เป็นอาคารเรียนหลังที่สามของโรงเรียน เป็นอาคาร 3 ชั้น หัหันหน้าไปทางทิศใต้ มีลักษณะอาคารเหมือนอาคารเรียน 2 ตั้งอยู่หลังอาคารเรียน 2 โดยมี ถนนและสวนหย่อม คั่นกลาง โดยในอาคารนี้มีห้องสำคัญคือ ชั้น 1 ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ ห้องแนะแนว ห้องบริการสืบค้นข้อมูล และห้องพักอาจารย์ สุขศึกษาและพละศึกษา ชั้น 2 ห้องพักอาจารย์ ภาษาไทย และห้องเรียนภาษาไทย ชั้น 3 ห้องพักอาจารย์ คอมพิวเตอร์ ห้องอาเซียน ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และห้องเรียนภาษาต่างประเทศ
- อาคารเรียน 4 216 ค..216 ล.ป,29 ,216 ก,,216 ปรัปปรุง 46,216 สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2527 เป็นอาคารเรียนหลังที่สี่ของโรงเรียน เป็นอาคาร 3 ชั้น หัหันหน้าไปทางทิศใต้ ตั้งอยู่หลังอาคารเรียน 3 โดยมี ถนนและที่ซุ้มนั่งพัก คั่นกลาง โดยในอาคารนี้มีห้องสำคัญคือ ชั้น 1 ห้องวิชาการ ห้องโสตทัศนศึกษา 1 ห้องโสตทัศนศึกษาใหม่ ชั้น 2 ห้องพักอาจารย์คณิตศาสตร์ ห้องเรียนคณิตศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ชั้น 3 ห้องเรียนคณิตศาสตร์ ห้องเรียนสุขศึกษา ห้องเรียนประวัติศาสตร์
- อาคารอเนกประสงค์และหอประชุม 100/27 สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2522 บริเวณติดกับลานเชิญธงอโศกน้ำ ฝั่งตรงข้ามกับสวัสดิการร้านค้า หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นอาคารหอประชุมของโรงเรียนและอาคารเรียนพละศึกษา
- อาคารศิลปะ นาฏศิลป์ สามัญ/336 สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2523 อาคารอยู่ตรงกลางระหว่างกับหอประชุม และโรงอาหาร ฝั่งตรงข้ามกับบ้านพักครู หันหน้าไปทางทิศเหนือ โดยในอาคารนี้มีห้องสำคัญคือห้องเรียนนาฏศิลป์ศึกษา และศิลปะศึกษา
- อาคารโรงฝึกงาน สามัญ/336 สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2525 อาคารอยู่ตรงกลางระหว่างกับหอประชุม และโรงอาหาร โดยตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศเหนือ โดยในอาคารนี้มีห้องสำคัญคือห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ใช้สำหรับการลงมือปฏิบัติจริง
- อาคารคหกรรม โรงฝึกงาน 102/27 สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2531 อาคารอยู่ด้านหลังระหว่างหอประชุม และโรงอาหาร ติดกับอาคารห้องน้ำหญิงหลังหอประชุม โดยตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศเหนือ โดยในอาคารนี้มีห้องสำคัญคือห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- อาคารโรงฝึกงาน 102/27 สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2534 อาคารอยู่ด้านหลังโรงอาหาร โดยตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศเหนือ โดยในอาคารนี้มีห้องสำคัญคือห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ใช้สำหรับการลงมือปฏิบัติจริง
- อาคารโรงอาหาร (สร้างเอง) สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2528 อาคารอยู่ด้านข้างสวนป่า ติดกับกลุ่มอาคารอเนกประสงค์ โดยตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศเหนือ โดยในอาคารนี้ใช้เป็นโรงอาหารสำหรับนักเรียนและบุคคลากร
- อาคารโรงอาหาร (หลังใหม่) สร้างแล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2562 อาคารอยู่หลังอาคารโรงอาหารหลังเก่าภายในสวนป่า โดยตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศเหนือ โดยในอาคารนี้ใช้เป็นโรงอาหาร เปิดใช้ในเดือนพฤษจิกายน 2562
- อาคารสวัสดิการร้านค้าและห้องดุริยางค์ อาคารอยู่ตรงข้ามกับหอประชุม เป็นร้านสวัสดิการร้านค้าของโรงเรียนโดยด้านหลังจะเป็นห้องดุริยางค์และใช้เรียนวิชาดนตรีนาฏศิลป์
- อาคารนิทรรศการ อาคารเป็นส่วนเดียวกับอาคารสวัสดิการร้านค้าและห้องดุริยางค์ อยู่ทางด้านหลัง เป็นรูปตัว L เป็นสถานที่สำหรับจัดแสดงนิทรรศการผลงานของชมรมทูบีนัมเบอร์วันโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ - โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
นอกจากนี้ยังมีสิ่งปลูกสร้างอื่น ได้แก่
- กลุ่มบ้านพักครู กลุ่มบ้านพักครูอยู่บริเวณทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกของโรงเรียนขนานควบคู่ถนน มีจำนวน 7 หลัง
- กลุ่มอาคารห้องน้ำนักเรียน ห้องน้ำสำหรับนักเรียนในโรงเรียนมีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ห้องน้ำสำหรับนักเรียนหญิงตั้งอยู่ด้านหลังหอประชุมทางด้านทิศใต้ ห้องน้ำนักเรียนชายตั้งอยู่บริเวณสวนป่าทางด้านทิศตะวันตก และห้องน้ำนักเรียนชาย/หญิง ด้านหลังอาคารเรียน 4 หรือด้านข้างของห้องโสตฯใหม่ ทางด้านทิศเหนือ[15]
สถานที่สำคัญภายในโรงเรียน
- สถานเชิญธง อโศกน้ำ ปัจจุบันได้รับการอนุเคราะห์การจัดสร้างขึ้นใหม่โดยเจ้าของศูนย์การค้าสำเพ็งเมืองคอน นางสมจินต์ จ่างทอง เพื่อเป็นเสาเชิญธงชาติไทย โดยปัจจุบันยังไม่ได้จัดสร้างเป็นสามเสาเพื่อไว้เชิญธงประจำโรงเรียน สีชมพู-ฟ้า
- ห้องประชุมสรวงศัทธา ตั้งอยู่ชั้น 1 อาคาร 4 เดิมเรียกห้องประชุมแห่งนี้ว่าห้องโสตทัศนศึกษา(ใหม่) เนื่องจากเป็นห้องประชุมที่สร้างขึ้นขึ้นใหม่
- ห้องประชุมกุหลาบพันปี ตั้งอยู่ชั้น 1 หัวมุมอาคาร 4 เดิมเรียกห้องประชุมแห่งนี้ว่าห้องโสตทัศนศึกษา(เก่า)
- ห้องกลิ่นกุหลาบ ตั้งอยู่ชั้น 1 อาคาร 1 เดิมเรียกห้องแห่งนี้ว่าห้องประทับ เนื่องจากเป็นห้องประทับทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เมื่อครั้งเสด็จเปิดศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น
- สวนป่า ตั้งอยู่ด้านหลังโรงเรียน อยู่ระหว่างกลางโรงอาหารและอาคารห้องน้ำชาย เป็นสวนที่มีต้นไม้ปกคลุมใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และสถานที่พักผ่อนสำหรับนักเรียน
- ลานโพธิ์ ตั้งอยู่ด้านสวนป่า เพื่อใช้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ อดีตมีต้นโพธิ์สองต้น เพื่อความปลอดภัยของนักเรียนจึงถูกตัดเนื่องจากมีผึ้งมาอาศัยอยู่
- สนามลานสกาประชาสรรค์ หรือสนามฟุตบอล แบบ ฟ.3(พิเศษ) ถูกปรับปรุงเมื่อปี 2558 ตั้งอยู่ด้านหน้าโรงเรียนติดกับพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.5 ใช้สำหรับแข่งกีฬาภายใน และกีฬาอำเภอลานสกา
- ป้ายนามโรงเรียน ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าโรงเรียน สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 ป้ายโรงเรียนถูกออกแบบให้สื่อถึงเทือกเขาหลวงนครศรีธรรมราช [16]
- อาคารโรงอาหาร จำนวน 500 ที่นั่ง
- พัฒนารั้วโรงเรียนใหม่ โดยการนำสีเหลืองแดงชมพูฟ้ามาใช้เพื่อหลอมรวมความเป็นหนึ่งเดียวลานสกาประชาสรรค์-สวนนคร
- สะพานลอยด้านหน้าโรงเรียน
- พัฒนาสนามกรีฑา ลู่ยางสังเคราะห์
ชีวิตนักเรียน[แก้]
กิจกรรมในโรงเรียน[แก้]
- วันปฐมนิเทศก้าวใหม่ในแดนสวน นักเรียนใหม่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4
- วันละอ่อน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
- วันรับขวัญเสมา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
- วันไหว้ครู ทำพานไหว้ครู และประกวดพานไหว้ครู เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อคุณครู
- วันรำลึกลานสกาประชาสรรค์ ทุกๆวันที่ 11 มิถุนายน และ 8 สิงหาคม ของทุกปี
- พระราชพิธีวันปิยมหาราชานุสรณ์ ทุกๆวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี
- พระราชพิธีวันวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกๆวันที่ 28 กรกฎาคม ของทุกปี
- พระราชพิธีวันวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ทุกๆวันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปี
- พระราชพิธีวันแม่แห่งชาติ ทุกๆวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี
- สวนนครวิชาการ วันนำเสนอผลงาน และผลการปฏิบัติงาน
- กุหลาบสายสัมพันธ์ เกษมสันต์วันเกษียณ คุณครูที่เกษียณอายุราชการและคุณครูที่ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ
- วันกุหลาบลาสวน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 3
- วันจากเหย้า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- วันปัจฉิมนิเทศ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
- วันต่อต้านยาเสพติด ทุกวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีโดยมีกิจกรรมต่างๆมากมายตลอดวัน ปัจจุบันได้ลดบทบาทของกิจกรรมลง
- กิจกรรมประเพณีให้ทานไฟและทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่
- ลานสกาสัมพันธ์ การแข่งขันกีฬาลานสกาสัมพันธ์
- กิจกรรมแข่งขันกีฑาสีภายในโรงเรียน "สวนนครเกมส์" หลังจากเปลี่ยนชื่อมาเป็นสวนนครจึงได้ปรับปรุงการจัดการแข่งขัน โดยได้ยุบสีเขียว และน้ำเงิน เหลือไว้เพียงสีเหลือง(ศรเพลิง) และสีแดง(นักรบ) ซึ่งเป็นสีประจำโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ไว้
และก่อตั้งพรรคสีใหม่ขึ้นมาคือ สีชมพูโดยใช้ชื่อว่าจุฬาลักษณ์ และสีฟ้าใช้ชื่อว่าพยัคฆราช ซึ่งเป็นสีประจำสถาบันสวนกุหลาบ ในปี พ.ศ. 2554 เป็นปีแรกที่จัดการแข่งขันและใช้ชื่องานว่า สวนนครเกมส์ ครั้งที่ 1 เรื่อยมาจนมาถึงปี พ.ศ. 2558 ได้มีการปรับปรุงสนามจึงงดจัดการแข่งขัน เมื่อสามารถใช้สนามได้ในปี 2559 จึงได้จัดการแข่งขันสวนนครเกมส์ ครั้งที่ 5 ปัจจุบันจัดการแข่งขันกรีฑาภายใน สวนนครเกมส์ จัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบันเป็นครั้งที่ 12 และจัดการแข่งขันในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมของทุกปี
██ พรรคศรเพลิง (สีเหลือง) สีประจำโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ (พรรคสีเดิม) ศร หมายถึง อาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันศรกับลูกศร ส่วน เพลิง หมายถึง ไฟ พรรคศรเพลิงจึงมีความหมายและสัญลักษณ์ คือ ศรแห่งเพลิง
██ พรรคนักรบ (สีแดง) สีประจำโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ (พรรคสีเดิม) นักรบ หมายถึง ผู้ชำนาญหรือมีหน้าที่ในเรื่องรบ, ทหาร พรรคนักรบจึงมีความหมายและสัญลักษณ์ คือ นักรบช้างศึกไทย
██ พรรคจุฬาลักษณ์ (สีชมพู) สีประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช (พรรคสีก่อตั้งใหม่ 2554) จุฬาลักษณ์ หมายถึง ลักษณะที่เลอเลิศ หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ พรรคจุฬาลักษณ์จึงมีความหมายและสัญลักษณ์ คือ พระเกี้ยวยอดหรือจุลมงกุฏ เพื่อเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 5 ผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียน
██ พรรคพยัคฆราช (สีฟ้า) สีประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช (พรรคสีก่อตั้งใหม่ 2554) พยัคฆ์ หมายถึง เสือโคร่ง ส่วน ราช หมายถึง พญาหรือราชา พรรคพยัคฆราชจึงมีความหมายและสัญลักษณ์ คือ ราชาเสือโคร่ง[17]
กิจกรรมร่วมกับกลุ่มโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย[แก้]
งานชุมนุมลูกเสือ-เนตรนารีสวนกุหลาบสัมพันธ์ กลุ่มโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัด งานชุมนุมลูกเสือ-เนตรนารี “สวนกุหลาบสัมพันธ์” ขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี ซึ่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 จะเป็นผู้แทนของแต่ละโรงเรียน เข้าร่วมกิจกรรมนี้
การแข่งขันกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ กลุ่มโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัด “การแข่งขันกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์” ขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ สนามเมนสเตเดียม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
สถาบันสวนกุหลาบ[แก้]
ปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีสถานศึกษาในเครือที่ใช้ชื่อ “สวนกุหลาบวิทยาลัย” ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยทั้งหมด 11 แห่ง มีการสร้างพันธกิจสำคัญร่วมกันขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่ายสวนกุหลาบ สร้างบรรทัดฐานการเรียนการสอนทั้ง 11 แห่งให้ไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่
ลำดับที่ | โรงเรียน | อักษรย่อ | จังหวัด | สถาปนา | สถานศึกษาเดิม |
---|---|---|---|---|---|
1 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย | ส.ก. / S.K. | กรุงเทพมหานคร | 8 มีนาคม พ.ศ. 2425 (141 ปี 268 วัน) |
|
2 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี | ส.ก.น. / S.K.N. | นนทบุรี | 30 มีนาคม พ.ศ. 2521 (45 ปี 246 วัน) |
|
3 | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ | นมร.ส.ก.ส. / NMR.S.K.S. | สมุทรปราการ | 8 เมษายน พ.ศ. 2534 (32 ปี 237 วัน) |
|
4 | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี | นมร.ส.ก.ป. / NMR.S.K.P. | ปทุมธานี | 4 มีนาคม พ.ศ. 2535 (31 ปี 272 วัน) |
|
5 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต | ส.ก.ร. / S.K.R. | ปทุมธานี | 3 มีนาคม พ.ศ. 2536 (30 ปี 273 วัน) |
|
6 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี | ส.ก.ช. / S.K.C. | ชลบุรี | 5 มีนาคม พ.ศ. 2542 (24 ปี 271 วัน) |
|
7 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ | ส.ก.พ. / S.K.PB. | เพชรบูรณ์ | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2542 (24 ปี 160 วัน) |
โรงเรียนท่าพลพิทยาคม (พ.ศ. 2519) |
8 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี | ส.ก.บ. / S.K.B. | สระบุรี | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (17 ปี 298 วัน) |
โรงเรียนปากเพรียววิทยาคม (พ.ศ. 2537) |
9 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ | ส.ก.จ. / S.K.J. | นครสวรรค์ | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (15 ปี 339 วัน) |
โรงเรียนจิรประวัติวิทยาคม (พ.ศ. 2517) |
10 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี | ส.ก.ธ. / S.K.T. | กรุงเทพมหานคร | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (15 ปี 115 วัน) |
|
11 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช | ส.ก.นศ. / S.K.NS. | นครศรีธรรมราช | 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 (12 ปี 273 วัน) |
โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ (พ.ศ. 2516) |
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- facebook official fanpage โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
- เว็บไซต์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
- ชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
- คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
- โครงการห้องเรียนพิเศษ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
- ข้อมูลพื้นฐาน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 กลุ่มสารสนเทศ สนผ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, "ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นคร">เว็บไซต์ สพฐ.., 2554
- ↑ วันสถาปนาโรงเรียน. จากเว็บไซต์ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา สพม.12
- ↑ ผู้อำนวยการเกียรติศักดิ์ บุญรวบ. ผู้อำนวยการโรงเรียน. ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2563
- ↑ จำนวนครูบุคลากร ปีการศึกษา 2564. สถิติจำนวนครูบุคลากรทั้งหมด. ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2564
- ↑ จำนวนนักเรียน ปีการศึกษา 2564. สถิติจำนวนนักเรียนทั้งหมด. ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2564
- ↑ สถาบันสวนกุหลาบวิทยาลัย เอกสารข้อมูลทั่วไป. ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2562
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 หนังสือคู่มือนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2554,”ประวัติโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์”
- ↑ หนังสือคู่มือนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2554,”ความเป็นมาสวนนคร”
- ↑ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, "หนังสือประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียน">การเปลี่ยนชื่อโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ เก็บถาวร 2019-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2554
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย,"ข้อมูลทั่วไป" เว็บไซต์ ส.ก.
- ↑ กาญจนา เตชะวณิชย์ (18 ตุลาคม 2551). "เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย". ไทยกู๊ดวิวดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-26. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2553.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บทเพลงชาวสวนฯ : เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย". เว็บไซต์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2553.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ รายนามผู้บริหารสวนนคร
- ↑ ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จากเว็บไซต์สนผ
- ↑ ข้อมูลสถานที่ จากแฟนเพจหลักของโรงเรียน
- ↑ ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง (B-OBEC) โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช สิ่งก่อสร้าง. จากเว็บไซต์ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา สพม.12
- ↑ https://www.facebook.com/notes/suankularb-wittayalai-nakhon-si-thammarat/กิจกรรม-ประเพณี/2524432584234903/ ข้อมูลกิจกรรม สกนศ