พระเกี้ยว
พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ "มงกุฎ" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า "พระจอมเกล้าน้อย" อีกด้วย เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์
สถาบันการศึกษาที่ใช้พระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์
[แก้]การใช้พระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายประจำสถาบันการศึกษานั้น มีมาตั้งแต่สมัย "โรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน" โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายหน้าหมวกของนักเรียน ต่อมาเมื่อโรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนมหาดเล็ก" ก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายของโรงเรียน หลังจากนั้นเมื่อโรงเรียนมหาดเล็กเปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ตราพระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนข้าราชการฯ ซึ่งต่อมา ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ยังคงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายประจำมหาวิทยาลัย ตราบจนถึงปัจจุบัน [1] โดยสถานศึกษาที่ใช้พระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ เช่น
สถาบันอุดมศึกษา
[แก้]- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (สัญลักษณ์จุลมงกุฎเหนือตัวอักษร "จภ" หมายถึง พระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี)
- มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (สัญลักษณ์จุลมงกุฎเหนือตัวอักษร “กว” หมายถึง พระนามของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์)
โรงเรียน
[แก้]- โรงเรียนหอวัง และโรงเรียนในเครือ (ยกเว้น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี ที่ใช้ตราพระปรมาภิไธยย่อ สก)
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และโรงเรียนในเครือ (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาค) และ (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สุวินทวงศ์ ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสาขาของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[2])
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ และโรงเรียนในเครือ (ยกเว้น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ที่ใช้ตราพระปรมาภิไธยย่อ สก)
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า และโรงเรียนในเครือ (ยกเว้น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ที่ใช้ตราพระปรมาภิไธยย่อ สก)
- โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และโรงเรียนในเครือ (ยกเว้น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา ที่ใช้ตราพระปรมาภิไธยย่อ สก)
- โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และโรงเรียนในเครือ (ยกเว้น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย ที่ใช้ตราพระปรมาภิไธยย่อ สก)
- โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ (เป็นโรงเรียนในเครือเบญจมราชาลัย เมื่อก่อนชื่อ โรงเรียนเบญจมราชาลัย 2 แต่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระเกี้ยว เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียนของตนเอง เป็นการเฉพาะ เมื่อปี พ.ศ. 2522 และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ ) และโรงเรียนในเครือ (โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี)
- โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี[3]
- โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี[4]
- โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
- โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี
- โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย[5]
- โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนในเครือ[6]
- โรงเรียนทวีธาภิเศก และโรงเรียนในเครือ (โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก)[7]
- โรงเรียนทวีธาภิเศก 2 [8]
- โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย (แต่ในปัจจุบันได้อัญเชิญตรานี้เป็นตราเข็มกรรมการนักเรียน)
- โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร[9]
- โรงเรียนราชวิทยาลัย (หรือโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์)ในปัจจุบัน
- โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ นครปฐม
- โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- โรงเรียนสาธิต ฝค.ตอ. / วศ.ปทุมวัน / มศว ปทุมวัน (ตราพระเกี้ยวธรรมจักร พ.ศ. 2497-2517)
- โรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระเกี้ยว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-07. สืบค้นเมื่อ 2006-09-05.
- ↑ ประวัติโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สุวินทวงศ์ หน้า 7 ที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสาขาของ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเก็บถาวร 2019-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ สัญลักษณ์โรงเรียน (เว็บไซต์โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี)
- ↑ "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-01. สืบค้นเมื่อ 2008-12-30.
- ↑ เว็บไซต์ โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย
- ↑ ข้อมูลทั่วไปโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ↑ "taweethapisek.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-22. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
- ↑ "เว็บไซต์ โรงเรียนทวีธาภิเศก 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-22. สืบค้นเมื่อ 2021-08-18.
- ↑ เว็บไซต์โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร