อำเภอเชียรใหญ่
อำเภอเชียรใหญ่ | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: อำเภอเชียรใหญ่ เมืองใหญ่ลุ่มน้ำ เกษตรกรรมล้ำหน้า พุทธศาสนาเลิศล้ำ วัฒนธรรมรุ่งเรือง ลื่อเลื่องศิลปิน เมืองศิลปาชีพ | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 8°10′6″N 100°8′42″E / 8.16833°N 100.14500°E | |
อักษรไทย | อำเภอเชียรใหญ่ |
อักษรโรมัน | Amphoe Chian Yai |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 257.97 ตร.กม. (99.60 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 43,064 คน |
• ความหนาแน่น | 166.93 คน/ตร.กม. (432.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 80190 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8006 |
ที่ตั้ง ที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเชียรใหญ่ หมู่ที่ 3 ถนนภักดีฤทธิ์ ตำบลเชียรใหญ่ อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80190 |
![]() |
อำเภอเชียรใหญ่ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอเชียรใหญ่มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอปากพนัง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหัวไทร
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอชะอวด
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
ประวัติ[แก้]
อำเภอเชียรใหญ่มีประวัติความเป็นมาสืบทอดมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี แต่มีหลักฐานแน่ชัดในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฏในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช จุลศักราช 1173 ว่า ท้องที่อำเภอนี้เป็นหัวเมืองฝ่ายขวา ขึ้นอยู่ในเขตปกครองท้องที่เมืองนครศรีธรรมราช ชื่อ เมืองพิเชียร ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญ มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 ในปี พ.ศ. 2440 มีการรวมหัวเมืองฝ่ายขวาในลุ่มน้ำปากพนัง 4 หัวเมือง เข้าด้วยกัน คือ เมืองพิเชียร เมืองพนัง เมืองเบี้ยซัด (ที่ตั้งอำเภอปากพนังในปัจจุบัน) และที่ตรงตำบลคลองกระบือและตำบลหูล่อง ตั้งเป็นอำเภอเรียกว่า "อำเภอเบี้ยซัด" ทำให้เมืองพิเชียรกลายเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเบี้ยซัด สำหรับที่ตั้งของเมืองพิเชียร สันนิษฐานว่า เดิมตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำปากพนัง ที่บ้านหม่อมราม หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านกลาง ณ ปัจจุบัน และเล่ากันว่า ที่ตั้งบ้านพิเชียร มีต้นตะเคียนใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง จึงเรียกกันว่า "บ้านพิเชียรเคียนใหญ่" เรียกสั้น ๆ เป็นภาษาปักษ์ใต้ว่า บ้านเชียรใหญ่ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้ง กิ่งอำเภอเชียรใหญ่ และยกฐานะเป็น อำเภอเชียรใหญ่ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอเชียรใหญ่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 98 หมู่บ้าน ได้แก่
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือตำบลในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอเชียรใหญ่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเชียรใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเชียรใหญ่ บางส่วนของตำบลท่าขนาน และบางส่วนของตำบลท้องลำเจียก
- เทศบาลตำบลการะเกด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลการะเกดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเชียรใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียรใหญ่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเชียรใหญ่)
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าขนาน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเชียรใหญ่)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกลางและตำบลบ้านเนินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไสหมาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไสหมากทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท้องลำเจียก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้องลำเจียก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเชียรใหญ่)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเสือหึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสือหึงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาพระบาททั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจ้าอยู่หัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เจ้าอยู่หัวทั้งตำบล
การศึกษา[แก้]
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ได้แก่
- โรงเรียนเชียรใหญ่ เป็นโรงเรียนประจำอำเภอ ตั้งอยู่ที่สี่แยกบ่อล้อ หมู่ที่ 7 ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว
- โรงเรียนเชียรใหญ่สามัคคีวิทยา เลขที่ 9 หมู่ที่ 7 ตำบลเสือหึง
- โรงเรียนธัญญาวดีศึกษา
- โรงเรียนวิเชียรประชาสรรค์
โรงเรียนระดับประถมศึกษาศึกษา ได้แก่
- โรงเรียนวัดเทพนิมิต (ยุบโรงเรียน) เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 แห่งใหม่
- โรงเรียนวัดดอนรักษา
- โรงเรียนบ้านปากเชียร
- โรงเรียนบ้านบางพระ
- โรงเรียนวัดทายิการาม
เป็นต้น
การสาธารณสุข[แก้]
- โรงพยาบาลเชียรใหญ่
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียรใหญ่ ซึ่งมีสถานีอนามัยในสังกัดจำนวน 13 แห่ง คือ
- 1.สถานีอนามัยบ้านศรีรักษา ตำบลท้องลำเจียก
- 2.สถานีอนามัยตำบลการะเกด ตำบลการะเกด (ยกระดับการให้บริการเป็นศูนย์สุขภาพชุมชน)
- 3.สถานีอนามัยตำบลบ้านท้ายทะเล ตำบลการะเกด
- 4.สถานีอนามัยบ้านบ่อล้อ ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว (ยกระดับการให้บริการเป็นศูนย์สุขภาพชุมชน และพัฒนามาเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลในปี 2553)
- 5.สถานีอนามัยบ้านเนินธัมมัง ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว
- 6.สถานีอนามัยบ้านบางแก้ว ตำบลท่าขนาน
- 7.สถานีอนามัยบ้านคชธรรมราช ตำบลเสือหึง
- 8.สถานีอนามัยบ้านดอนโตนด ตำบลเสือหึง
- 9.สถานีอนามัยบ้านกลาง ตำบลบ้านกลาง
- 10.สถานีอนามัยบ้านหัวปอ ตำบลบ้านเนิน
- 11.สถานีอนามัยบ้านทาบทอง ตำบลไสหมาก
- 12.สถานีอนามัยบ้านช่องขาด ตำบลไสหมาก
- 13.สถานีอนามัยบ้านปากคลองวัดแดง ตำบลเขาพระบาท (ยกระดับการให้บริการเป็นศูนย์สุขภาพชุมชน และพัฒนามาเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลในปี 2552)
เศรษฐกิจ[แก้]
- อาชีพหลัก ได้แก่ ทำนา ปลูกปาล์มน้ำมัน ปลูกผัก ประมงน้ำจืด และ ค้าขาย
- อาชีพเสริม ได้แก่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง อุตสาหกรรมในครัวเรือน
- ธนาคาร มี 3 แห่ง ได้แก่
ทรัพยากรธรรมชาติ[แก้]
- แม่น้ำปากพนัง-คลองเชียร
- เขาแก้ววิเชียร
- เขาพระบาท
- ป่าพรุควนเคร็ง
การคมนาคม[แก้]
การเกษตรและอุตสาหกรรม[แก้]
- ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว พริก ถั่วเขียว และพืชผักต่าง ๆ
- แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปากพนัง คลองบ้านกลาง คลองคชธรรมราช คลองขวาง คลองเชียรใหญ่ คลองบางเหลง
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- แม่น้ำปากพนัง-คลองเชียร (วิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น สองฝั่งคลอง)
- วัดแม่เจ้าอยู่หัว (พระเจดีย์ศรีธรรมโศกราช และ พระนางเลือดขาว ) ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว
- ศาลหลวงต้นไทร ตำบลการะเกด (คลองชะอวด-แพรกเมือง)
- วัดเขาพระบาท ตำบลเขาพระบาท
- เขาแก้ววิเชียร (วัดเชียรเขา)
- โครงการหลวง ศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว
- วัดเภาเคือง (พ่อท่านบุญมี)
- วัดเทพนิมิต (พ่อท่านหีด ถาวโร) ตำบลท้องลำเจียก
- วัดบางเนียน (พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ) ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว
- วัดปากเชียร ตำบลเชียรใหญ่
- บ้านดอนจิก บ้านบางเหลง บ้านหัวชด บ้านท้องลาน ตำบลท้องลำเจียก (ธรรมชาติทุ่งนา)
- เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบ่อล้อ