อำเภอชะอวด
อำเภอชะอวด | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: เมืองต้นน้ำ อิฐแผ่นงาม กุ้งก้ามกราม กระจูดสวย ห้วยน้ำใส | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 7°57′54″N 99°59′54″E / 7.96500°N 99.99833°E | |
อักษรไทย | อำเภอชะอวด |
อักษรโรมัน | Amphoe Cha-uat |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 833.002 ตร.กม. (321.624 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 86,312 คน |
• ความหนาแน่น | 103.61 คน/ตร.กม. (268.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 80180 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8007 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอชะอวด เลขที่ 181 หมู่ที่ 8 ตำบลชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 80180 |
![]() |
ชะอวด เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอชะอวดตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอเชียรใหญ่
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหัวไทร
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอควนขนุน อำเภอป่าพะยอม (จังหวัดพัทลุง) และอำเภอห้วยยอด (จังหวัดตรัง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอทุ่งสง
ประวัติ[แก้]
ชะอวด เดิมเป็นพื้นที่การปกครองของ อำเภอร่อนพิบูลย์ วันที่ 16 กันยายน 2466 แยกพื้นที่ตำบลชะอวด ตำบลท่าประจะ ตำบลท่าเสม็ด ตำบลวังอ่าง และตำบลเคร็ง อำเภอร่อนพิบูลย์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอชะอวด ขึ้นกับอำเภอร่อนพิบูลย์ ต่อมาวันที่ 10 มีนาคม 2496 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ เป็น อำเภอชะอวด ชะอวด เป็นตำบลหนึ่งที่ชื่อของตำบล เหมือนกับชื่อของอำเภอ มีความเป็นมา 2 ประการ คือ มาจากคำว่า "เชือกอวด" หรือ "ย่านอวด" และมาจากคำว่า " เจ็กฮวด" หรือ "เจ้าฮวด" พื้นที่บริเวณนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ หลากหลายพันธุ์ ตามลักษณะของพื้นที่ทางภาคใต้ จะมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ก่อนที่ป่าไม้เหล่านั้นจะถูกแผ้วถางทำลาย ในพื้นที่ป่าถิ่นแถบนี้จะมีเถาวัลย์หลากหลายชนิด เถาวัลย์ชนิดหนึ่งมีขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก มีความเหนียวแน่นทนทาน ชาวบ้านนิยม นำมาใช้ผูกมัดสิ่งของ เรียกกันว่า "เชือกอวด" หรือ "ย่านอวด" หรือ "ต้นอวด" การตัดย่านอวดนั้น ค่อนข้างลำบาก เพราะต้องดึง ออกจากการเกี่ยวพันกับต้นไม้อื่น คนตัดจึงต้องออกแรงดึงซึ่งภาษาใต้ หรือภาษาไทยถิ่นใต้ เรียก "การดึง" ว่า "ชะ" ดังนั้นโดยรวมความหมายคำว่า "ชะอวด" ก็คือ การดึงย่านอวดให้หลุดออกมาจากต้น กิ่ง ก้าน ของต้นไม้อื่นที่ย่านอวดเกี่ยวพันอยู่ และหากมีรังมดแดง อยู่ข้างบน คนที่ ชะ หรือ ดึง ย่านอวด ต้องต่อสู้กับมดแดงอีกทางหนึ่งด้วย ท้องถิ่นชะอวด เป็นบริเวณที่มีย่านอวดมากเป็นพิเศษ และ ชาวบ้านก็จะไปตัดมาใช้สอยอยู่เป็นประจำ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อท้องถิ่นของตนเองว่า "ชะอวด"
( ข้อมูล จาก อบต. ชะอวด)
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอชะอวดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 87 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอชะอวดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลชะอวด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลชะอวดและบางส่วนของตำบลท่าประจะ
- เทศบาลตำบลท่าประจะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าประจะ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลชะอวด)
- องค์การบริหารส่วนตำบลชะอวด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะอวด (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลชะอวด)
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสม็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเสม็ดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเคร็ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเคร็งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังอ่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังอ่างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านตูลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลขอนหาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขอนหาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะขันธ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะขันธ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลควนหนองหงษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนหนองหงษ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาพระทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนางหลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนางหลงทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- วัดเขาพระทอง วัดเก่าแก่โบราณ ที่สำคัญของอำเภอชะอวด
- ป่าพรุควนเคร็ง แหล่งป่าพรุที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช และของภาคใต้