โรงเรียนทุ่งสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนทุ่งสง
Thungsong School
ที่ตั้ง
เลขที่ 44 หมู่ 2 ถนนทุ่งสง - นครศรีธรรมราช ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
ข้อมูล
ชื่ออื่นท.ส. (TS)
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญรักษาความดี สร้างไมตรี มีชีวิตอยู่เพื่องาน
รกฺขาม อตฺตโน สาธุ
(พึงรักษาความดีของตนไว้) [1]
สถาปนา23 สิงหาคม 2486 (2486-08-23) (80 ปี 245 วัน)
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้บริหารนายนราวุธ สุจิตะพันธ์
ครู/อาจารย์141 คน[3] 2565
จำนวนนักเรียน2,632 คน [2] 2566
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
สี   ม่วง-ขาว

สีม่วง หมายถึง ความเจริญเติบโต ชัยชนะ

สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์,ความสุภาพ,ความซื่อตรง [4]
เพลง
เว็บไซต์www.thungsong.ac.th
ดอกไม้ประจำโรงเรียน - ดอกอินทนิล

โรงเรียนทุ่งสง[5] เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ปัจจุบันเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีเนื้อที่ 54 ไร่ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 44 หมู่ 2 ถนนทุ่งสง - นครศรีธรรมราช ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ได้รับรางวัลสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2524 และ 2563

โรงเรียนเปิดสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ช่วงชั้นที่ 3) และ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 4) เป็นโรงเรียนโครงการร่วมโรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช (โครงการร่วมระหว่างกรมพลศึกษากับกรมสามัญศึกษา) และเป็นโรงเรียนหน่วยเบิกเงินจากคลังจังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอทุ่งสง

โรงเรียนทุ่งสงมีอาคารถาวร 7 หลัง จำนวนห้องเรียน 37 ห้อง ห้องพิเศษ 25 ห้อง ห้องบริการ 15 ห้อง โรงพลศึกษา-หอประชุม 1 หลัง อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง โรงฝึกงานช่างอุตสาหกรรม 2 หลัง คหกรรม 1 หลัง และ อาคาร IT เฉลิมพระเกียรติ 1 หลัง

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนทุ่งสง[6]ได้ก่อตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2486 โดยอาศัยโรงธรรมศาลาในบริเวณวัดชัยชุมพลเป็นสถานที่เรียน โดยมีนายสิริ รัตนรัต ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมาได้ย้ายมาขอใช้สถานที่ราชพัสดุ ติดกับโรงเรียนวัดชัยชุมพล เป็นสถานที่ก่อตั้งโรงเรียน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2490 โรงเรียนจึงได้จัดงบประมาณจากทางราชการให้สร้างอาคารเรียนถาวรที่ราชพัสดุ ในเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน โดยในระยะแรกเปิดรับสมัครนักเรียนทั้งชายและหญิงเข้าเรียน ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 จึงได้แยกนักเรียนหญิงออกไปตั้งเป็นโรงเรียนสตรีทุ่งสง จากความคับแคบของเนื้อที่โรงเรียน ทำให้ไม่สามารถขยายอาคารสถานที่ให้พอเพียงกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นแต่ละปี ทำให้ผู้บริหารโรงเรียนในสมัยนั้นได้ดำริที่จะย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนในปี พ.ศ. 2512 นายพินิจ นุ่นพันธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนทุ่งสงในสมัยนั้น จึงได้ดำเนินเรื่องขอให้ที่ดินราชพัสดุบริเวณกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 8 เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนแห่งใหม่ ทางราชการได้อนุมัติ และดำเนินการจัดสร้างอาคารประกอบขึ้นในปี พ.ศ. 2513 แล้วเสร็จ จึงเปิดให้นักเรียนเข้าเรียนในสถานที่แห่งใหม่นั้น เมื่อปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา ถือว่าได้เป็นยุคใหม่ของโรงเรียน โดยมีลำดับขั้นของการพัฒนา ดังนี้

  • พ.ศ. 2517 กระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกให้โรงเรียนทุ่งสง เข้าอยู่ในโครงการโรงเรียนมัธยมแบบผสมในส่วนภูมิภาค (ค.ม.ภ.1) รุ่นที่ 2 โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2518 และสิ้นสุดโครงการเมื่อปี พ.ศ. 2521
  • พ.ศ. 2520 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดสอนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งในระยะแรกเปิดสอนเพียง 2 ห้องเรียนต่อระดับชั้น และได้เปิดเพิ่มเป็น 8 ห้องเรียนต่อระดับชั้น ในระยะเวลาต่อมา
  • พ.ศ. 2524 โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนดีเด่นได้รับรางวัลพระราชทานประเภทโรงเรียนดีเด่นขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2527 กระทรวงศึกษาธิการได้มอบรางวัลให้กับโรงเรียนในฐานะเป็นโรงเรียนผู้ดำเนินการใช้หลักสูตรดีเด่น ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • พ.ศ. 2530 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมจริยศึกษาดีเด่น ส่วนภูมิภาค
  • พ.ศ. 2531 สมาคมบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ได้ยกย่องผู้บริหารโรงเรียนทุ่งสง (นายศุภมน เสาหฤทวงศ์) เป็นผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ดีเด่นในเขตการศึกษา 3
  • พ.ศ. 2534 เป็นโรงเรียนหน่วยเบิกกรมสามัญศึกษา ประจำคลัง ณ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พ.ศ. 2536 รับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นแบบสหศึกษา โดยเริ่มจากชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 (ในปีการศึกษา 2538 รับนักเรียนแบบสหศึกษา ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายครบทุกระดับชั้น)
  • พ.ศ. 2537 โรงเรียนทุ่งสงเป็นโรงเรียนโครงการร่วมโรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พ.ศ. 2539 โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาเข้าร่วมโครงการห้องสมุด กาญจนาภิเษก และโครงการปฏิรูปการศึกษา
  • พ.ศ. 2542 โรงเรียนทุ่งสงได้จัดโครงการร่วมกับสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชจัดเปิดสอนโครงการ กศ.บป.
  • พ.ศ. 2543 โรงเรียนทุ่งสงได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการห้องเรียนสีเขียว ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2544 โรงเรียนทุ่งสงได้รับประกาศเกียรติคุณจากกรมสามัญศึกษา ให้เป็นโรงเรียนจัดระบบช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น
  • พ.ศ. 2545 โรงเรียนทุ่งสงได้รับรางวัลปฏิบัติรูปการเรียนดีเด่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พ.ศ. 2547 โรงเรียนทุ่งสงได้รับคัดเลือกจากสำนักงานเลขาธิการสถานการศึกษาเข้าร่วมโครงการขยายผลการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตพื้นที่ภาคใต้
  • พ.ศ. 2548 โรงเรียนทุ่งสงได้รับงบประมาณจากผู้ว่า CEO ปรับปรุงห้องสมุด IT ได้รับการสนับสนุนตรามโครงการ TOT IT school จากบริษัท TOT และได้จัดสร้าง IT โดยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองและชุมชน
  • พ.ศ. 2549 โรงเรียนทุ่งสงได้จัดโครงการห้องเรียนพิเศษ ในระดับชั้น ม.1, ม.4
  • พ.ศ. 2549 โรงเรียนทุ่งสงได้เพิ่มการเรียนการสอนภาษาจีน
  • พ.ศ. 2551 โรงเรียนทุ่งสงได้เริ่มจัดการเรียนการสอนในด้านห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • พ.ศ. 2552 โรงเรียนทุ่งสงได้ลงนามความร่วมมือโรงเรียนมาตรฐานสากล "World Class Standard School"
  • พ.ศ. 2553 โรงเรียนทุ่งสงได้จัดตั้งห้องเรียนอาชีพ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ใน 4 สาขาวิชาดังต่อไปนี้ - คอมพิวเตอร์ - อุตสาหกรรม - ดนตรี-นาฏศิลป์ - ศิลปะ

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนทุ่งสงมีผู้บริหาร 14 คน ดังนี้[7]

  1. นายสิริ รัตนะรัตน พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2487 รักษาการแทนครูใหญ่
  2. นายคิด เลิศศิริก้องสมุท พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2487 ครูใหญ่
  3. นายเอก วัฒนกุล พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2495 ครูใหญ่
  4. นายแพ แสงพลสิทธิ์ พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2498 ครูใหญ่
  5. นายสวัสดี ณ พัทลุง พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2507 ครูใหญ่
  6. นายพินิจ นุ่นพันธ์ พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2519 ครูใหญ่
  7. นายศุภมน เสาหฤทวงศ์ พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2531 ผู้อำนวยการโรงเรียน
  8. นางไสว คงสวัสดิ์ พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2535 ผู้อำนวยการโรงเรียน
  9. นายสกนธ์ ไชยกาญจน์ พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2543 ผู้อำนวยการโรงเรียน
  10. นายสุรพล หอมหวล พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2547 ผู้อำนวยการโรงเรียน
  11. นายจำเริญ รัตนบุรี พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2554 ผู้อำนวยการโรงเรียน
  12. นายสนั่น พลรัฐธนาสิทธิ์ พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2558 ผู้อำนวยการโรงเรียน
  13. นายสุนันท์ กลับขันธ์ พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2563 ผู้อำนวยการโรงเรียน
  14. นายนราวุธ สุจิตะพันธ์ พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการโรงเรียน

หลักสูตร[แก้]

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  • ประเภทห้องเรียนพิเศษ
    • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ระดับชั้นละ 2 ห้อง (60 คน)
    • ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (GIFT Program) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
    • ห้องเรียนพิเศษดนตรี (ดนตรีไทย) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (35 คน)
  • ประเภทห้องเรียนปกติ
    • ห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 11 ห้อง (440 คน)

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • ประเภทห้องเรียนพิเศษ
    • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
  • ประเภทห้องเรียนปกติ
    • แผนการเรียนวิทย์ – คณิต ระดับชั้นละ 3 ห้อง (120 คน)
    • แผนการเรียนศิลป์ – คำนวณ ระดับชั้นละ 2 ห้อง (80 คน)
    • แผนการเรียนศิลป์ – ภาษา ระดับชั้นละ 2 ห้อง (80 คน)
    • แผนการเรียนศิลป์ – ทั่วไป ระดับชั้นละ 2ห้อง (80 คน)

บุคคลทีมีชื่อเสียงของโรงเรียน[แก้]

  • นายฉัตรชัย นิติภักดิ์ - ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
  • พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ
  • นายถาวรวัฒน์ คงแก้ว - อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต , รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • นายศักดาพร รัตนสุภา - รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • นายทรงชัย วงศ์วัชรดำรง - นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสง
  • นายอำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ - ศิลปินแห่งชาติ ปี 2563 (สาขาทัศนศิลป์)
  • นายพงศภัค ศรีปรางค์ - ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทอนหงส์ , ถ้ำใหญ่
  • ณัฐวดี ดอกกะฐิน (นัท) - ผู้เข้าแข่งขันรายการ The Voice Thailand ซีซั่นที่ 1 , The Star ค้นฟ้าคว้าดาว ปีที่ 10
  • ลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น - นักร้องและนักแสดงชื่อดัง

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.thungsong.ac.th/content/general
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-22. สืบค้นเมื่อ 2022-09-06.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-22. สืบค้นเมื่อ 2022-09-06.
  4. https://www.thungsong.ac.th/tsschool/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/ เก็บถาวร 2022-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. "เกี่ยวกับโรงเรียนทุ่งสง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-09-10.
  6. "ประวัติโรงเรียนทุ่งสง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-09-10.
  7. "ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนทุ่งสง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-09-10.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]